โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วอบเบิล

ดัชนี วอบเบิล

ฟรานซิส คริก เป็นผู้ตั้งสมมติฐานนี้ขึ้นมา อธิบายเกี่ยวกับการจับคู่เบสระหว่างโคดอนของ mRNA และแอนไทโคดอนของ tRNA ในขั้นตอนการสังเคราะห์โปรตีน ว่าเป็นไปอย่างยืดหยุ่นกว่าการจับคู่เบสในสาย DNA การสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบสคู่ที่หนึ่งและคู่ที่สองนั้นเป็นไปอย่างเข้มงวดและไม่ค่อยผิดพลาด แต่เบสคู่ที่สามซึ่งจับกันระหว่างเบสที่ปลาย 3' ของ mRNA และเบสที่ปลาย 5' ของ tRNA นั้นค่อนข้างจะมีอิสระกว่าเบสของคู่แรก การจับคู่เบส แบบวอบเบิล มี 4 แบบคือ guanine-uracil inosine-uracil inosine-adenine และ inosine-cytosine (G-U, I-U, I-A และ I-C).

1 ความสัมพันธ์: ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก

ฟรานซิส คริก ฟรานซิส คริก (Francis Harry Compton Crick OM FRS (8 มิถุนายน พ.ศ. 2459 – 28 กรกฎาคม 2547) นักอณูชีววิทยาชาวอังกฤษ นักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาศาสตร์ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นผู้ร่วมค้นพบโครงสร้างโมเลกุลของ “กรดดีออกซีไรโบนิวคลิอิก” หรือ “ดีเอ็นเอ” เมื่อ พ.ศ. 2496 ฟรานซิส คริก กับ เจมส์ ดี. วัตสัน ผู้ร่วมค้นพบ ได้ร่วมรับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยา หรือ การแพทย์ “สำหรับการค้นพบที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างโมเลกุลของกรดนิวคลิอิกและความสำคัญของมันในการถ่ายทอดข้อมูลสำคัญในสิ่งมีชีวิต” งานของฟรานซิส คริกในช่วงหลังจนถึงปี พ.ศ. 2520 ที่หอทดลองอณูชีววิทยา “เอ็มอาร์ซี” หรือ “สภาวิจัยทางการแพทย์” (MRC-Medical Research Council) ไม่ได้รับการยอมรับเป็นทางการมากนัก ในช่วงท้ายในชีวิตงาน คริกได้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เมธีวิจัย “เจ ดับบลิว คีกเคเฟอร์” ที่ “สถาบันซอล์คชีววิทยาศึกษา” ที่เมืองลาโฮลา รัฐแคลิฟอร์เนีย และได้ดำรงตำแหน่งนี้จนสิ้นชีวิตเมื่ออายุได้ 88 ปี.

ใหม่!!: วอบเบิลและฟรานซิส คริก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »