โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงเวียนเล็ก

ดัชนี วงเวียนเล็ก

แยกวงเวียนเล็ก (Wongwian Lek Intersection) ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า "วงเวียนเล็ก" คู่กับ "วงเวียนใหญ่" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในภายหลังมีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งมีเชิงลาดขึ้นสะพานใกล้วงเวียนเล็กมาก จึงได้รื้อวงเวียนเล็กและหอนาฬิกาเดิมทิ้ง และปรับให้เป็นแยกวงเวียนเล็กในช่วงที่สะพานพระปกเกล้ายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หลังจากสะพานพระปกเกล้าแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดกระแสการจราจรหลักบนถนนประชาธิปกทั้งขาขึ้นและขาลงสะพานพระปกเกล้า จึงได้ยกเลิกการเป็นแยกวงเวียนเล็กทำเกาะกลางถนนปิดกั้นตามแนวถนนประชาธิปก ทำให้กายภาพปัจจุบันไม่มีสภาพการเป็นวงเวียนหรือสี่แยกอีกต่อไป โดยแยกวงเวียนเล็กแต่ละฝั่งจะไม่สามารถสัญจรถึงกันได้ ต้องไปกลับรถที่แยกบ้านแขกหรือใต้สะพานพุทธแทน นอกจากนี้ จุดบรรจบถนนเทศบาลสาย 3 บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารียังได้มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์มาเชื่อมต่อในภายหลัง ทำให้ช่องทางสัญจรจากย่านวัดกัลยาณ์ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดออกจากวงเวียนเล็กไปยังแยกวังเดิมและแยกศิริราชได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่รถที่มาจากถนนอรุณอมรินทร์เข้าสู่แยกวงเวียนเล็กจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นสะพานพระปกเกล้า ไม่สามารถตัดกระแสการจราจรไปใช้สะพานพุทธได้ ปัจจุบัน บริเวณแยกวงเวียนเล็กมีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้น บริเวณริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งเขตคลองสาน เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวงเวียนเล็กอีกครั้งหนึ่ง.

17 ความสัมพันธ์: กรุงเทพมหานครรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรมวัดพิชยญาติการามวรวิหารวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหารวัดอนงคารามวรวิหารวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารวงเวียนใหญ่สะพานพระพุทธยอดฟ้าสะพานพระปกเกล้าถนนสมเด็จเจ้าพระยาถนนอรุณอมรินทร์ถนนประชาธิปกแยกบ้านแขกแยกศิริราชโรงเรียนศึกษานารีเขตธนบุรีเขตคลองสาน

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม

รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (Metropolitan Rapid Transit Chalong Ratchadham Line) หรือ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง (MRT Purple Line) ซึ่งเรียกตามสีที่กำหนดในแผนแม่บทโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้ามหานคร โดย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม. หรือ MRTA) เส้นทางรถไฟฟ้าสายนี้เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 ที่นำเอาเส้นทางรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยายเดิมช่วงเตาปูน-บางใหญ่, สายสีม่วงเดิม ช่วงหอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน และสายสีส้มเดิม ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน กลายเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางใหม่ที่กำหนดให้เป็นสายสีม่วง บรรจุในแผนแม่บทฯ ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2547 นาม ฉลองรัชธรรม เป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเพื่อเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง ระยะแรก สายคลองบางไผ่-นนทบุรี-เตาปูน มีความหมายว่า “เฉลิมฉลองพระราชาที่ปกครองโดยธรรม” โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานชื่อเส้นทาง เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสพระราชพืธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม..

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม · ดูเพิ่มเติม »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

ระปรางค์วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร รอยพระบาท 4 พระองค์ วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ..

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและวัดพิชยญาติการามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หรือ "วัดกัลยาณ์" ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและวัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอนงคารามวรวิหาร

วัดอนงคาราม วรวิหาร ตั้งอยู่ในบนถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน วัดอนงคาราม วรวิหาร มีชื่อเดิมคือวัดน้อยขำแถม เป็นชื่อท่านผู้หญิงน้อย ซึ่งเป็นภรรยาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย เป็นผู้สร้างขึ้นคู่กันกับวัดพิชัยญาติแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 ส่วนคำว่าขำแถมนั้นมีเพิ่มเติมมาจากนามเดิมของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ) ซึ่งเป็นผู้ปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ ต่อมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 วัดนี้ก็ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดอนงคารามอย่างในปัจจุบัน พระอุโบสถที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ช่อฟ้า ใบระกาลงรักประดับกระจก หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างก็มีลวดลายลงรักปิดทองสวยงาม มีพระพุทธรูปสำคัญอย่างพระพุทธจุลนาคซึ่งเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยปางมารวิชัย เป็นพระประธานในพระวิหาร และมีพระพุทธรูปพระสาวกหล่อด้วยโลหะปิดทองยืนอยู่ด้านซ้ายขวา อีกทั้งด้านหน้าพระประธานยังมีพระพุทธมังคโล ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิตั้งอยู่ด้านหน้าอีกด้วย และใกล้ ๆ กับพระวิหารนั้นก็ยังมีพระมณฑปซึ่งสร้างขนาบกับพระวิหาร หลังที่อยู่ด้านทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปไสยาสน์ที่จำลองมาจากวัดราชาธิวาส และหลังที่อยู่ด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองเอาไว้ วัดอนงคาราม บนชั้นสอง เป็นห้องสมุดประชาชนภายในวัดนั้น และเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตคลองสาน" ซึ่งในพิพิธภัณฑ์นั้นมีการจัดแสดงนิทรรศการเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปต่างๆ ในเขตคลองสาน ทั้งเรื่องของวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของชาวคลองสานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและวัดอนงคารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า ฝั่งธนบุรี โดยมีเลขทะเบียนวัดที่ 24 ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร การบูรณะวัดส่งผลให้วัดได้รับรางวัลยอดเยี่ยม อันดับ 1 (Award of Excellence) ให้โครงการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุมหาเจดีย์วัดประยุรวงศาวาส ด้านการอนุรักษ์ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก).

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนใหญ่

วงเวียนใหญ่ เป็นวงเวียนที่ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และถนนอินทรพิทักษ์มาบรรจบกันในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี บริเวณใกล้เคียงเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีต้นทางของทางรถไฟสายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่-มหาชัย).

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและวงเวียนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระปกเกล้า

นพระปกเกล้า (Phra Pok Klao Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมระหว่างถนนจักรเพชร ในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ฝั่งธนบุรี เป็นสะพานคู่ขาไปและขากลับ สร้างเคียงข้างขนานกันกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า เนื่องจากการจราจรบริเวณนั้นถึงจุดวิกฤต รัฐบาลจึงเห็นว่าควรมีสะพานอีกแห่งหนึ่งเพื่อช่วยระบายการจราจร โดยได้เว้นที่ช่วงกลางสะพานไว้สำหรับก่อสร้างรถไฟฟ้าลาวาลินด้วย ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและสะพานพระปกเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ใกล้วัดพิชยญาติการามไปจนถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า "ถนนสมเด็จเจ้าพระยา" ตามเดิม และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจากวัดอรุณราชวรารามจนถึงวัดอมรินทรารามจึงเรียกชื่อถนนส่วนนี้ใหม่ว่า "ถนนอรุณอมรินทร์" ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและถนนสมเด็จเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและถนนอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนประชาธิปก

นนประชาธิปก ถนนประชาธิปก (Thanon Prajadhipok) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ผ่านทางแยกบ้านแขก (ตัดกับถนนอิสรภาพ) และเข้าพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านวงเวียนเล็ก (ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) หลังจากนั้นถนนจะแยกออกเป็นสามทาง ทางแรกมุ่งหน้าข้ามสะพานพระปกเกล้า เชื่อมกับถนนจักรเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สองมุ่งหน้าข้ามสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมกับถนนตรีเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สามมุ่งวัดประยุรวงศาวาส ไปสิ้นสุดที่ใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยมีแนวถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพญาไม้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ถึงสะพานพระปกเกล้ายาวประมาณ 900 เมตร และยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตธนบุรี (ฝั่งขาเข้าเมือง) กับเขตคลองสาน (ฝั่งขาออกเมือง) อีกด้วย ถนนประชาธิปกเป็น "ถนนสายที่ 1" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 1 ไว้ตั้งแต่เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ตัดกับถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนอินทรพิทักษ์และถนนลาดหญ้า) ไปจนถึงคลองดาวคะนอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอชื่อถนนสายที่ 1 ของโครงการนี้ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" และ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิมคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและสร้างถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เมื่อพระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนประชาธิปกกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและถนนประชาธิปก · ดูเพิ่มเติม »

แยกบ้านแขก

แยกบ้านแขก (Ban Khaek Intersection) เป็นสี่แยกที่มีจุดตัดระหว่างถนนประชาธิปก กับ ถนนอิสรภาพ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และเป็นแยกสุดท้ายก่อนที่จะไปยังสะพานพระปกเกล้า เพื่อไปยังฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและแยกบ้านแขก · ดูเพิ่มเติม »

แยกศิริราช

แยกศิริราช (Siriraj Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนวังหลังกับถนนอรุณอมรินทร์ ในย่านตลาดวังหลังและท่าพรานนก ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริร.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและแยกศิริราช · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนศึกษานารี

รงเรียนศึกษานารี (Suksanari School) (อักษรย่อ: ศ.น., S.N.R) เป็นโรงเรียนสตรีล้วนในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและโรงเรียนศึกษานารี · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: วงเวียนเล็กและเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »