โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ย่อยหมาก

ดัชนี วงศ์ย่อยหมาก

วงศ์ย่อยหมาก หรือ Arecoideae เป็นวงศ์ย่อยของพืชตระกูลปาล์ม ที่มีใบประกอบแบบขนนก ดอกแยกเพศไม่แยกต้น ตัวอย่างเช่น หมากสง เต่าร้าง มะพร้าว หมวดหมู่:วงศ์ย่อยหมาก.

7 ความสัมพันธ์: พืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมะพร้าวหมากสงปาล์ม (แก้ความกำกวม)เต่าร้าง

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

หมากสง

หมากสง หรือที่เรียกทั่วไปว่า "หมาก" (พืชที่เรียกว่า "หมาก" นั้น มีด้วยกันหลายชนิด นักพฤกษศาสตร์จึงเรียกหมากที่ใช้กินกับใบพลูว่า "หมากสง") เป็นพืชจำพวกปาล์ม เป็นชนิดหนึ่งในสกุล Arecaceae นับว่ามีความสำคัญมากทั้งในด้านเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในหลายท้องถิ่น ในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยด้วย ส่วนสำคัญของพืชชนิดนี้ คือ เมล็ด ซึ่งมีสารจำพวก อัลคาลอยด์ (alkaloid) อันประกอบด้วย อาเรเคน (arecaine) และ อาเรโคลีน (arecoline) นิยมนำมาเคี้ยวกับหมากใบและใบพลู ซึ่งนับว่าเป็นสารเสพติดอย่างอ่อน หมากพบได้ในหลายประเทศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ แถบมหาสมุทรแปซิฟิกในส่วนที่เป็นเขตร้อน และบางส่วนของทวีปแอฟริกา ในภาษาอังกฤษ เรียกหมากว่า "Betel palm" หรือ "Betel nut" ทั้งๆ ที่ คำว่า " betel" แปลว่า พลู ที่เรียกเช่นนี้ เพราะชาวอังกฤษ (ในสมัยโบราณ) เห็นว่าหมากนิยมเคี้ยวกับพลูนั่นเอง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและหมากสง · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (แก้ความกำกวม)

ปาล์ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและปาล์ม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

เต่าร้าง

ต้นเต่าร้าง เต่าร้าง เป็นพืชในวงศ์ Palmae เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ขนาดใหญ่ ไม่มีหนาม ปล้องบนลำต้นยาว แผ่นใบเป็นร่องรูปตัว V ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น ก้านใบยาวขนาดใหญ่ ออกดอกแล้วตาย ดอกช่อแยกเพศ ผลสุกสีแดง พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ศรีลังกา อินเดีย ตอนใต้ของจีน ไทยและเวียดนาม เนื้อไม้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง และทำเครื่องมือทางการเกษตร เป็นไม้ประดับ ช่อดอกปาดเอาน้ำหวานมาผลิตน้ำตาลได้ ใบใช้มุงหลังคา ทำเชือก ยอดอ่อนต้มรับประทานได้ ทางภาคใต้นำยอดนำมาต้มกะทิกับกุ้ง ขนที่ผลเมื่อถูกผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงและคัน 'ผลเต่าร้างดิบ เบียร์หมักจากน้ำตาลเต่าร้าง.

ใหม่!!: วงศ์ย่อยหมากและเต่าร้าง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Arecoideae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »