โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์นกพรานผึ้ง

ดัชนี วงศ์นกพรานผึ้ง

วงศ์นกพรานผึ้ง (Honeyguide, Indicator bird, Honey bird) เป็นวงศ์ของนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Indicatoridae เป็นนกขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับนกปรอด จะงอยปากสั้นและแบนข้างเล็กน้อยและค่อนข้างหนา ปีกยาวแหลม นิ้วตีนยื่นไปข้างหน้า 2 นิ้ว และข้างหลัง 2 นิ้ว เหมือนนกหัวขวาน เหตุที่ได้ชื่อว่า "พรานผึ้ง" เพราะเป็นนกที่ชอบกินผึ้งและขี้ผึ้งถึงขนาดบุกเข้าไปกินถึงในรวงผึ้ง และยังมีอีกชนิดหนึ่งที่พบในแอฟริกาที่มีพฤติกรรมนำพาสัตว์อื่นไปพบรวงผึ้ง พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียและแอฟริกา 17 ชนิด ใน 4 สกุล สำหรับในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียวเท่านั้นทางภาคใต้ตอนล่าง.

13 ความสัมพันธ์: วงศ์นกหัวขวานสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์ปีกสปีชีส์อันดับนกหัวขวานและนกโพระดกผึ้งทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียขี้ผึ้งนกพรานผึ้งนกปรอด

วงศ์นกหัวขวาน

นกหัวขวาน เป็นนกวงศ์หนึ่ง ในอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก (Piciformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Picidae เป็นนกที่มีสามารถไต่ขึ้นลงตามต้นไม้ได้ดีเป็นแนวตั้ง ด้วยขาที่สั้น และเล็บที่แหลมคม ส่วนใหญ่มีนิ้วหน้า 2 นิ้ว นิ้วหลัง 2 นิ้ว (ขณะที่บางชนิดจะมีเพียง 3 นิ้ว หรือบางชนิดก็มีนิ้วยื่นไปข้างหน้า Walters, Michael P. (1980). Complete Birds of the World. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.) เล็บมีความคมและแข็งแรง หางมักจะแข็งมากและเป็นรูปลิ่ม ใช้ช่วยยันต้นไม้ขณะไต่ขึ้นลงตามลำต้น นกหัวขวานเป็นนกประเภทอยู่รู หรืออยู่อาศัยตามโพรงไม้ ตามปกติแล้วมักจะเลือกสถานที่ทำรังโดยใช้จะงอยปากที่แข็งแรงเจาะต้นไม้จนเป็นโพรงใหญ่ ขนาดที่ตัวของนกเองจะเข้าออกได้อย่างสะดวก นกหัวขวานเป็นนกที่ปกติจะอาศัยอยู่เพียงลำพัง ไม่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนนกอื่น ๆ ถ้าหากมีนกอื่นรุกล้ำเข้ามา จะส่งเสียงร้อง "แก๊ก ๆ ๆ" ดังกังวาลเพื่อเตือน อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็มีส่วนช่วยเลือกสถานที่ทำรังเหล่านี้ด้วย ส่วนมากมักชอบไม้เนื้ออ่อน ซึ่งในฤดูแล้ง ต้นไม้เหล่านี้จะทิ้งใบ แต่บางครั้งจะทำรังตามต้นไม้แห้ง ๆ หรือต้นมะพร้าวหรือต้นปาล์ม จุดเด่นของนกหัวขวานก็คือ สามารถใช้จะงอยปากที่แหลมยาวและแข็งแรงเหมือนลิ่ม เจาะลำต้นของต้นไม้ใหญ่ประเภทไม้ยืนต้นจนเป็นรูหรือเป็นโพรงได้เป็นอย่างดี ขณะที่เจาะต้นไม้อยู่นั้นจะได้ยินเสียงกังวาลไปไกลเป็นเสียง "ป๊อก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ" เพื่อที่จะหาหนอนและแมลงที่ซ่อนอยู่ใต้เปลือกไม้และเนื้อไม้กินเป็นอาหาร ด้วยการใช้ลิ้นและน้ำลายที่เหนียวดึงออกมา ลิ้นของนกหัวขวานเมื่อยืดออกจะยาวมาก โดยลิ้นนี้จะถูกเก็บไว้โดยการพันอ้อมกะโหลก แล้วเก็บปลายลิ้นไว้ที่โพรงจมูกด้านใน ซึ่งการกระทำเช่นนี้นับว่าเป็นผลดีต่อต้นไม้ที่ช่วยกำจัดหนอนแมลงที่รบกวนได้ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จนได้รับฉายาว่า "หมอรักษาต้นไม้" แต่ในทางตรงกันข้าม การเจาะต้นไม้เช่นนี้ก็ทำการทำลายความแข็งแรงของเนื้อไม้ได้ด้วย เนื่องจากนกหัวขวานไม่ได้เจาะต้นไม้ที่มีชีวิตอย่างเดียว แต่กับไม้แปรรูป เช่น เสาไฟฟ้าที่ทำจากต้นไม้ก็ถูกเจาะได้เช่นกัน และถูกเมื่อเจาะหลาย ๆ ที่ก็เป็นโพรงที่ทำให้แมลงหรือสัตว์อื่นเข้าไปอยู่อาศัยและทำลายเนื้อไม้ได้ แรงกระแทกที่นกหัวขวานใช้เจาะต้นไม้นั้นแรงมาก โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 6 เมตรต่อวินาที และแรงที่เข้ากระทำนั้นเป็น 1,000 เท่าของแรงโน้มถ่วงโลก แต่เหตุที่นกหัวขวานสามารถที่จะกระทำเช่นนี้ได้ โดยที่สมองหรือส่วนหัวไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ ก็เนื่องด้วยรอบ ๆ สมองนั้นห่อหุ้มไปด้วยกะโหลกรูปจานที่อ่อนนุ่มแต่หนาแน่นและยืดหยุ่นเหมือนฟองน้ำที่ภายในเต็มไปด้วยอากาศ อีกทั้งยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงล้อมรอบกะโหลกภายนอกที่โค้งเป็นรูปเลข 8 อีกต่างหาก และอีกยังมีจะงอยปากบนและล่างที่ยาวไม่เท่ากัน เหล่านี้เป็นสิ่งช่วยในการลดแรงกระแทกที่ส่งผลกระทบถึงสมอง โดยวันหนึ่ง ๆ นกหัวขวานสามารถเจาะต้นไม้ได้ถึง 500-600 ครั้ง หรือถึง 12,000 ครั้ง นกหัวขวานมีพฤติกรรมการวางไข่ที่แปลก กล่าวคือ หลังจากออกไข่แล้ว ตัวผู้จะเป็นฝ่ายเข้ากกไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อนเป็นหลัก โดยมีตัวเมียมาช่วยบ้างเป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม นกหัวขวานมักจะมีโพรงอยู่เป็นประจำ คือ โพรงใดของตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อเวลาพลบค่ำ ก็บินกลับมานอนในโพรงต่าง ๆ เหล่านี้ ตามปกติ นกหัวขวานตัวหนึ่ง ๆ มักจะมีโพรงที่อาศัยนอนเช่นนี้ 2-3 แห่ง เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งอื่นที่มารบกวน นกหัวขวานอาศัยอยู่ในป่าทั่วโลก ยกเว้นออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และมาดากัสการ์ พบประมาณ 200 ชนิด ในประเทศไทยพบได้ราว 36 ชนิด และมี 2 ชนิดที่หายสาบสูญไปนานกว่า 50 ปีแล้ว จากการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย คือ นกหัวขวานอิมพีเรียล (Campephilus imperialis) กับนกหัวขวานปากงาช้าง (C. principalis) ซึ่งเป็นนกหัวขวานขนาดใหญ่ที่สุดในโลก 2 ชน.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและวงศ์นกหัวขวาน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ปีก

ัตว์ปีก หรือ นก (รวมถึง ไก่, เป็ด, ห่าน, ไก่ฟ้า) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท เลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้าเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิตมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น ถ้าหากปราศจากนก คงเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงการดำรงอยู่ต่อไปของชีวภาคใบนี้.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและสัตว์ปีก · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก

อันดับนกหัวขวานและนกโพระดก เป็นอันดับของนกขากรรไกรแบบใหม่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Piciformes โดยลักษณะทั่วไปของนกในอันดับนี้ คือ เป็นนกขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง (16-60 เซนติเมตร) มีลักษณะเด่น คือ รูจมูกทะลุไม่ถึงกันเพราะมีผนังกั้น ตัวเต็มวัยไม่มีขนอุย ขนแต่ละเส้นมีแกนขนรอง ขนปลายปีกมี 9-10 เส้น มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 10-12 เส้น ขาสั้น การจัดเรียงนิ้วเป็นแบบนิ้วคู่สลับ ทำรังตามโพรงไม้หรือโพรงดิน ไข่มีรูปร่างกลม สีขาว ลูกนกแรกเกิดมีสภาพช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยนกในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae) และนกโพระดก (Megalaimidae) เป็นต้น ในประเทศไทย พบนกในอันดับนี้ 3 วงศ์ ได้แก่ นกหัวขวาน (Picidae), นกโพระดก (Megalaimidae) และนกพรานผึ้ง (Indicatoridae) รวมกันแล้วประมาณ 52 ชนิด ขณะที่ทั่วโลกพบมากกว่า 400 ชนิด ใน 67 สกุล.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและอันดับนกหัวขวานและนกโพระดก · ดูเพิ่มเติม »

ผึ้ง

ำหรับผึ้งในความหมายอื่น ดูที่: ผึ้ง ผึ้ง จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด จัดเป็นแมลงชนิดหนึ่งอาศัยรวมกันอยู่เป็นฝูง โดยส่วนใหญ่จะออกหาอาหารเป็นน้ำหวานจากเกสรของดอกไม้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพืชในการผสมพันธุ์ ผึ้งทำงานกันเป็นระบบ มีผึ้งนางพญาเป็นหัวหน้าใหญ่ มนุษย์รู้จักผึ้งมานาน 7000 ปีแล้ว ฟาโรห์เมเนสของอียิปต์โปรดให้ผึ้งเป็นสัญลักษณ์แห่งอาณาจักรของพระองค์ คาดว่าผึ้งมีมากกว่า 30,000 ชนิด ซึ่งมากกว่ามนุษย์, ปลา และสัตว์เลื้อยคลานรวมกันเสียอีก ลักษณะทั่วไปของผึ้ง แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ขี้ผึ้ง

ี้ผึ้ง คือ ไขมันในสถานะของแข็ง เกิดขึ้นจากการผสมของสารประกอบหลายชนิดได้แก่ไฮโดรคาร์บอน (สารเคมีจำพวกน้ำมันดิน) 14%, โมโนเอสเตอร์ 35%, ไดเอสเตอร์ 14%, ไตรเอสเตอร์ 3%, ไฮดรอกซีโพลีเอสเตอร์ 8%, เอสเตอร์ของกรด 1%, กรดอิสระ 12%, แอลกอฮอล์อิสระ 1% รวมถึงสารที่ไม่สามารถระบุได้อีก 6% ขี้ผึ้งถูกเก็บอยู่ในตัวของผึ้งน้ำหวานในรูปของเกล็ดบางๆ เกล็ดดังกล่าวถูกสร้างขึ้นโดยต่อมที่อยู่บริเวณท้องน้อยของผึ้ง ส่วนผึ้งงานมีต่อมดังกล่าวอยู่แปดต่อมอยู่ด้านในของเปลือกปล้องกลางบริเวณท้องน้อยในอัตราส่วน 4 ต่อ 7 ขนาดของต่อมผลิตขี้ผึ้งขึ้นอยู่กับอายุของผึ้งงาน ผึ้งน้ำหวานนำขี้ผึ้งของตนเองไปใช้สร้างโพรงเล็กๆ ในรวงน้ำผึ้ง ซึ่งใช้ในการเลี้ยงผึ้งที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ และใช้ในการเก็บน้ำผึ้งและเรณูดอกไม้ ในการที่ผึ้งที่ทำหน้าที่ในการสร้างขี้ผึ้ง (ผึ้งน้ำหวานอายุ 12 วัน) จะผลิตขี้ผึ้งได้นั้น อุณหภูมิภายในรังผึ้งจะต้องอยู่ระหว่าง 33 ถึง 36°C (องศาเซลเซียส) โดยผึ้งที่มีหน้าที่ดังกล่าวจะต้องบริโภคน้ำผึ้งถึงประมาณแปดปอนด์ (ประมาณ 3.6 กิโลกรัม) ในการที่จะผลิตขี้ผึ้งเพียงปอนด์เดียว (ประมาณ 0.4 กิโลกรัม) เมื่อผู้เก็บน้ำผึ้งเข้าไปทำการเก็บน้ำผึ้ง พวกเขาจะตัดฝาปิดโพรงผึ้งออกในแต่ละโพรงของรังน้ำผึ้ง สีของขี้ผึ้งมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงสีเหลืองแกมน้ำตาล ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของขี้ผึ้ง ขี้ผึ้งจากรวงเพาะเลี้ยงในรังผึ้งจะมีสีเข้มกว่าขี้ผึ้งจากรวงน้ำผึ้ง ที่ๆ ซึ่งความปนเปื้อนเกิดขึ้นได้น้อยกว่า ขี้ผึ้งเป็นสสารที่มีจุดหลอมเหลวอยู่ระหว่าง 62 - 64°C ขี้ผึ้งไม่มีจุดเดือด แต่จะกักเก็บความร้อนต่อไปจนมันลุกเป็นไฟเมื่ออุณหภูมิประมาณ 120°C เมื่อขี้ผึ้งได้รับความร้อนจนถึงอุณหภูมิ 85°C สีของขี้ผึ้งจะเริ่มหลอมละลายออกไป ความหนาแน่นสัมพัทธ์ที่อุณหภูมิ 15°C คือตั้งแต่ 0.958 - 0.970 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร มนุษย์นำขี้ผึ้งไปใช้ในการผลิตเทียนไขคุณภาพดี, เครื่องสำอาง รวมถึงวัสดุและสารขัดเงา (มักจะเป็นยาขัดรองเท้า) และเป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์หุ่นขี้ผึ้ง รวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ขี้ผึ้งเมื่อนำมาใช้เป็นเทียนจะไม่เกิดน้ำตาเทียนและมีควันที่น้อยกว่าธูปหรือเทียนธรรมดาอย่างมาก ซึ่งทำให้มันเป็นที่นิยมใช้ในการประกอบพิธีทางคริสต์ศาสนา หมวดหมู่:ไข หมวดหมู่:ผึ้ง หมวดหมู่:กีฏวิทยา.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและขี้ผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

นกพรานผึ้ง

นกพรานผึ้ง (Malaysian honeyguide) เป็นนกขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์นกพรานผึ้ง (Indicatoridae) เป็นนกขนาดเล็ก (จะงอยปากถึงปลายหาง 17 เซนติเมตร) ลักษณะคล้ายนกปรอดมาก แต่จะงอยปากหนาและอวบกว่า จะงอยปากสีคล้ำแต่ปากล่างสีจางกว่า ลำตัวด้านบนสีเทาแกมเขียว ลำตัวด้านล่างขาว อกสีเทาแกมขาว ข้างลำตัวมีลายขีดดำ ตาสีน้ำตาลแดงหรือสีน้ำตาลในนกวัยอ่อน ตัวผู้ที่หัวไหล่มีแถบเหลืองเล็ก ๆ ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้แต่ไม่มีแถบเหลือง มีเสียงร้องคล้ายแมว คือ "เมี้ยว" นกพรานผึ้ง เป็นนกที่กินผึ้ง, ตัวอ่อนของผึ้ง และขี้ผึ้งเป็นอาหาร รวมถึงตัวต่อ ถึงขนาดบุกเข้าไปกินถึงในรวงผึ้ง โดยที่ไม่ได้รับอันตรายจากเหล็กไนของผึ้ง ทั้งนี้เป็นเพราะมีปีกที่หนาที่เหล็กไฟผึ้งทำอันตรายไม่ได้ และมีผู้เชื่อว่ามีกลิ่นตัวแรงจนผึ้งไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ นกพรานผึ้ง เป็นนกที่มีพฤติกรรมอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว นานครั้งจึงเห็นอยู่เป็นคู่ เป็นนกที่บินได้เก่งและเร็ว และเป็นนกประจำถิ่น จะอยู่ในถิ่นใดถิ่นหนึ่งไปตลอด ต่อเมื่อนกตัวเก่าตายไป นกตัวใหม่ถึงเข้ามาอยู่แทน ในประเทศไทยมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้ง ในป่าในเขตชายแดนภาคใต้ที่ติดกับมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีรายงานพบในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ทั้งในพื้นที่ราบและที่สูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในประเทศไท.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและนกพรานผึ้ง · ดูเพิ่มเติม »

นกปรอด

นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด" ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้ ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล" ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์นกพรานผึ้งและนกปรอด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Honey birdHoneyguideIndicator birdIndicatoridae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »