โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวเรียงกระแส

ดัชนี ตัวเรียงกระแส

ตัวเรียงกระแส (Rectifier) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง.

11 ความสัมพันธ์: ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูงรางที่สามตัวเก็บประจุแหล่งจ่ายไฟใยแก้วนำแสงไฟฟ้ากระแสสลับไฟฟ้ากระแสตรงไดโอด

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Component) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่แยกออกเป็นชิ้นย่อยๆเป็นเอกเทศหรือเป็นอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์ทางกายภาพในระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการส่งผลกระทบต่ออิเล็กตรอนหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กตรอน ตัวอย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมากกว่าสองขั้วไฟฟ้า(ขาหรือลีดส์) เมื่อนำขาของชิ้นส่วนหลายชนิดมาบัดกรีเข้าด้วยกันบนแผงวงจรพิมพ์จะสร้างเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (วงจรย่อย) ที่มีฟังก์ชันที่เฉพาะเจาะจง (เช่นเครื่องขยายสัญญาณ, เครื่องรับสัญญาณวิทยุหรือ oscillator) ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐานอาจจะถูกเก็บในบรรจุภัณฑ์แยกชนิดกัน หรือจัดเรียงเป็นแถวหรือเครือข่ายของส่วนประกอบที่เหมือนกันหรือผสมกันภายในแพคเกจเช่นวงจรรวมเซมิคอนดักเตอร์, แผงวงจรไฟฟ้าไฮบริดหรืออุปกรณ์ฟิล์มหน.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่

การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ หรือ การรีไซเคิลพลังงาน เป็นการนำพลังงานที่ใช้แล้ว ซึ่งปกติจะปล่อยทิ้งไป แต่ยังมีศักยภาพอยู่ กลับมาใช้ใหม่ โดยเปลี่ยนรูปให้เป็นพลังงานความร้อน หรือพลังงานไฟฟ้า ขบวนการนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่โรงงานผลิต หรือโรงไฟฟ้า หรือสถาบันใหญ่ๆเช่นมหาวิทยาลัยหรือโรงพยาบาล มันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกัน ก็ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและลดมลภาวะในการปล่อยแก๊สเรือนกระจกไปด้วยในตัว ขบวนการนี้ได้รับการยอมรับว่าช่วยลดโลกร้อนได้ ขบวนการนี้ปกติจะถูกดำเนินการในรุปของกำลังความร้อนร่วม (cogeneration) หรือ การกู้กลับคืนของของเสียที่เป็นความร้อน (Waste heat recovery).

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ

หัวรถจักรไฟฟ้าในสวีเดนที่ใช้กระแสไฟฟ้าจากสายไฟระบบเหนือหัว ระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ หรือ (Railway Electrification System) เป็นการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับรถไฟหรือรถราง เพื่อให้สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าบนขบวน การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีข้อดีเหนือกว่าระบบให้พลังงานอื่น ๆ ในการขับเคลื่อนหัวรถจักร แต่ต้องใช้เงินลงทุนอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการติดตั้ง ในบทความนี้ "ระบบ" หมายถึงการกำหนดค่าทางเทคนิคและรายละเอียดทางเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้น "เครือข่าย" หมายถึงขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของระบบที่มีการติดตั้งจริงในสถานที่ติดตั้ง.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและระบบการจ่ายไฟฟ้าแก่ทางรถไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง

ง HVDC ระยะไกล เพื่อส่งไฟฟ้าพลังน้ำจากแม่น้ำเนลสันของคานาดา มายังสถานีที่เห็นนี้ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นไฟ AC ป้อนให้กริดสำหรับเมืองมานิโตบา ระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง (High Voltage Direct Current Transmission System: HVDC) ใช้กระแสตรงในการส่งพลังงานไฟฟ้า ซึ่งตรงกันข้ามกับระบบการส่งด้วยกระแสสลับที่ใช้กันอยู่ทั่วไป สำหรับการส่งทางไกลระบบ HVDC อาจจะถูกกว่าและประสบความสูญเสียไฟฟ้าน้อยกว่า แต่ยังเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละผู้ผลิตอยู่ สำหรับเคเบิ้ลใต้น้ำ HVDC หลีกเลี่ยงการใช้กระแสสูงที่จำเป็นในการ chargeและ discharge ตัว capacitor ของสายเคเบิลในแต่ละรอบคลื่น สำหรับระยะทางที่สั้นๆ อุปกรณ์แปลงไฟ DC มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับระบบ AC แต่อาจยังคงพอรับได้เนื่องจากประโยชน์หลายๆอย่างของระบบ DC ในการเชื่อมโยงหลายระบบเข้าด้วยกัน Proposed HVDC ยอมให้ทำการส่งกำลังระหว่างระบบไฟฟ้า AC สองระบบที่ต่างกันได้ และสามารถขจัดสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวที่กริด, HVDC ยังยอมให้ทำการถ่ายโอนกำลังไฟระหว่างระบบที่มีความถี่แตกต่างกันได้ เช่นความถี่ 50 Hz กับ 60 Hz ความสัมพันธ์ดังกล่าวช่วยปรับปรุงเสถียรภาพของแต่ละกริด เนื่องจากทำให้สามารถดึงเอากำลังจากอีกระบบหนึ่งมาใช้ในคราวจำเป็นได้ รูปแบบใหม่ของการส่งด้วย HVDC ใช้เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างกว้างขวางในช่วงทศวรรษที่ 1930 ในประเทศสวีเดน (ASEA) และในประเทศเยอรมนี การติดตั้งในเชิงพาณิชย์ในช่วงต้นรวมถึงในสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ.1951 ระหว่างมอสโกและ Kashira และ ระบบ 100 กิโลโวลต์, 20 MW ระหว่าง Gotland กับสวีเดนในปี ค.ศ.1954 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดในโลกในปัจจุบันคือ Xiangjiaba-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 2,071 กิโลเมตร (1,287 ไมล์) เป็นระบบ± 800 kV 6400 เมกะวัตต์ ช่วงต้นปี ค.ศ.2013 การเชื่อมโยง HVDC ที่ยาวที่สุดจะเป็นที่ ริโอเดราในประเทศบราซิล ซึ่งประกอบด้วยสอง bipoles ของ± 600 กิโลโวลต์ 3,150 เมกะวัตต์เชื่อมต่อระหว่าง Porto Velho ในรัฐ Rondôniaไปยังพื้นที่ São เปาโล ด้วยความยาวของสาย DC มากกว่า 2,500 กิโลเมตร (1,600 ไมล์) ในประเทศไทย ได้การเชื่อมโยงกับประเทศมาเลเซีย ด้วยไฟฟ้ากระแสตรงแรงดันสูง ระหว่างสถานีไฟฟ้าแรงสูงคลองแงะ จังหวัดสงขลา กับสถานีกูรุน ประเทศมาเลเซีย ด้วยแรงดัน 300 KV.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและระบบสายส่งกระแสตรงความดันสูง · ดูเพิ่มเติม »

รางที่สาม

รางที่สามที่สถานีใกล้กรุงวอชิงตัน ดีซี มีแรงดันที่ 750V DC รางที่สามอยู่บนสุดของภาพมีกันสาดสีขาว สองรางล่างเป็นรางวิ่งทั่วไป กระแสจากรางที่สามวิ่งกลับสถานีจ่ายไฟด้วยรางวิ่งนี้ รางที่สาม เป็นรางตัวนำลักษณะกึ่งแข็งที่มีกระแสไฟฟ้าเพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับขบวนรถไฟอย่างต่อเนื่อง รางนี้จะถูกวางที่ด้านข้างหรือระหว่างรางวิ่งของรถไฟ โดยทั่วไปมันมักจะถูกใช้ในระบบขนส่งมวลชนหรือระบบรถไฟฟ้าขนส่งความเร็วสูง ส่วนใหญ่รางที่สามจะจ่ายไฟฟ้ากระแสตรง ระบบรถไฟฟ้ามหานครกรุงเทพ ใช้ไฟ 750 VDC ระบบรางที่สามของการจ่ายไฟฟ้าโดยทั่วไปไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบรางที่สามที่ใช้ในการรถไฟ.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและรางที่สาม · ดูเพิ่มเติม »

ตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุ หรือ คาปาซิเตอร์ (capacitor หรือ condenser) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บ้างเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์ (condenser) แต่ส่วนใหญ่เรียกสั้น ๆ ว่า แคป (Cap) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร มีคุณสมบัติตรงข้ามกับตัวเหนี่ยวนำ จึงมักใช้หักร้างกันหรือทำงานร่วมกันในวงจรต่าง ๆ เป็นหนึ่งในสามชิ้นส่วนวงจรเชิงเส้นแบบพาสซีฟที่ประกอบขึ้นเป็นวงจรไฟฟ้า ในระบบจ่ายไฟฟ้าใช้ตัวเก็บประจุเป็นชุดหลายตัวเพิ่มค่าตัวประกอบกำลัง (Power factor) ให้กับระบบไฟฟ้าที่เรียกว่า แคปแบงค์ (Cap Bank) ตัวเก็บประจุบางชนิดในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงที่จะถูกนำมาใช้แทนแบตเตอรี่ เช่น ตัวเก็บประจุยิ่งยวด (Supercapacitor).

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและตัวเก็บประจุ · ดูเพิ่มเติม »

แหล่งจ่ายไฟ

รูปแสดงแหล่งจ่ายไฟแบบหลอดสูญญากาศ แขวนบนแร็ค ปรับได้ ทำงานที่ +/- 1500 volts DC, 0 to 100mA output, สามารถจำกัดกระแสได้ แหล่งจ่ายไฟ (Power supply)เป็นอุปกรณ์ที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับโหลดไฟฟ้.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและแหล่งจ่ายไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ใยแก้วนำแสง

ใยแก้วนำแสงใยแก้วนำแสง หรือ ออปติกไฟเบอร์ หรือ ไฟเบอร์ออปติก เป็นแก้วหรือพลาสติกคุณภาพสูง ที่สามารถยืดหยุ่นโค้งงอได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 8-10 ไมครอน (10 ไมครอน.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและใยแก้วนำแสง · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้ากระแสสลับ

แสดงความแตกต่างระหว่างไฟฟ้ากระแสตรงและไฟฟ้ากระแสสลับ กระแสตรงอาจเป็นบวกหรือลบก็ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ไปก็กลับ แต่กระแสสลับ วิ่งไปวิ่งกลับตลอดเวลา จำนวนรอบของไทยคือ 50 รอบต่อวินาที หรือ 50 Hz ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Electricity: AC หรือ ac) หมายถึงกระแสที่มีทิศทางไปและกลับตลอดระยะเวลา มีการสลับขั้วบวกและลบกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เหมือนกระแสตรง (Direct Current, DC หรือ dc) ที่ไฟฟ้าจะไหลไปในทิศทางเดียวและไม่ไหลกลับ เช่น ไฟฟ้าที่ได้จากถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ของรถยนต์ เป็นต้น ไฟฟ้ากระแสสลับจึงเป็นไฟฟ้าที่เหมาะสำหรับบ้านเรือนหรือธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากๆ รูปคลื่นเป็น sine wave ในบางกรณี รูปคลื่นอาจเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม ภาพจำลองการส่งคลื่น AC จาก generator ซึ่งส่งพลังงานกลับทิศทางตลอดเวล.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและไฟฟ้ากระแสสลับ · ดูเพิ่มเติม »

ไฟฟ้ากระแสตรง

ัญลักษณ์แทนไฟฟ้ากระแสตรง พบได้บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายชนิดที่ผลิตหรือต้องการไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรง (direct) แสดงเป็นเส้นตรงสีแดง แกนตั้งคือปริมาณกระแส (i) หรือความต่างศักย์ (v) และแกนนอนคือเวลา (t)pulsating — ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดเป็นจังหวะvariable — ไฟฟ้ากระแสแปรผันalternating — ไฟฟ้ากระแสสลับ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดต่าง ๆ(บน) ชนิดสมบูรณ์(กลางและล่าง) ชนิดเป็นจังหวะเกิดจากการเรียงกระแส ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current, อักษรย่อ: DC) เป็นไฟฟ้ากระแสที่มีทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าไปในทิศทางเดียวกันเป็นวงจร ในอดีตไฟฟ้ากระแสตรงเคยถูกเรียกว่า กระแสกัลวานิก (galvanic current) อุปกรณ์ที่สามารถผลิตไฟฟ้ากระแสตรงได้ เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ แบตเตอรี่ ทั้งชนิดประจุไฟฟ้าใหม่ได้และชนิดใช้แล้วทิ้ง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ไฟฟ้ากระแสตรงสามารถไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า เช่น สายไฟ สารกึ่งตัวนำ ฉนวนไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งเคลื่อนที่ในภาวะสุญญากาศในรูปของลำอิเล็กตรอนหรือลำไอออน เราสามารถใช้ตัวเรียงกระแส เปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงได้ โดยส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวเรียงกระแสจะบังคับให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ในทิศทางเดียว นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสสลับได้โดยใช้อินเวอร์เตอร์หรือชุดไดนามอเตอร์ เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าประเภทที่หนึ่งคือ -แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ และโอห์มมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้า เพื่อใช้วัดปริมาณต่างๆ ทางไฟฟ้าเครื่องวัดทางไฟฟ้าต่างๆนี้สามารถสร้างขึ้นโดยดัดแปลงมาจาก แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) ชนิดขดลวดเคลื่อนที่ ซึ่งประกอบด้วยขดลวดวางระหว่างขั้วแม่เหล็กและประเภทที่สองคือ-แกลแวนอมิเตอร์ (Galvanometer) คือ เครื่องมือวัดพื้นฐานทางไฟฟ้าที่สามารถวัดได้ทั้งกระแสไฟฟ้าและความต่างศักย์ไฟฟ้า แต่จะวัดได้ปริมาณน้อยๆ ดังนั้นจึงนิยมนำไปดัดแปลงใช้วัดกระแสไฟฟ้าความต่างศักย์ไฟฟ้าและความต้านทาน.

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและไฟฟ้ากระแสตรง · ดูเพิ่มเติม »

ไดโอด

อดชนิดต่าง ๆ ไดโอด (diode) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ชนิดสองขั้วคือขั้ว p และขั้ว n ที่ออกแบบและควบคุมทิศทางการไหลของประจุไฟฟ้า มันจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลในทิศทางเดียว และกั้นการไหลในทิศทางตรงกันข้าม เมื่อกล่าวถึงไดโอด มักจะหมายถึงไดโอดที่ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor diode) ซึ่งก็คือผลึกของสารกึ่งตัวนำที่ต่อกันได้ขั้วทางไฟฟ้าสองขั้ว ส่วนไดโอดแบบหลอดสูญญากาศ (Vacuum tube diode) ถูกใช้เฉพาะทางในเทคโนโลยีไฟฟ้าแรงสูงบางประเภท เป็นหลอดสูญญากาศที่ประกอบด้วยขั้วอิเล็ดโทรดสองขั้ว ซึ่งจะคือแผ่นตัวนำ (plate) และแคโทด (cathode) ส่วนใหญ่เราจะใช้ไดโอดในการยอมให้กระแสไปในทิศทางเดียว โดยยอมให้กระแสไฟในทางใดทางหนึ่ง ส่วนกระแสที่ไหลทิศทางตรงข้ามกันจะถูกกั้น ดังนั้นจึงอาจถือว่าไดโอดเป็นวาล์วตรวจสอบแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างมากในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใช้เป็นตัวเรียงกระแสไฟฟ้าในวงจรแหล่งจ่ายไฟ เป็นต้น อย่างไรก็ตามไดโอดมีความสามารถมากกว่าการเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปิด-ปิดกระแสง่าย ๆ ไดโอดมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าที่ไม่เป็นเชิงเส้น ดังนั้นมันยังสามารถปรับปรุงโดยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพวกมันที่เรียกว่ารอยต่อ p-n มันถูกนำไปใช้ประโยชน์ในงานที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ นั่นทำให้ไดโอดมีรูปแบบการทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเนอร์ไดโอด เป็นไดโอดชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่รักษาระดับแรงดันให้คงที่ วาริแอกไดโอดใช้ในการปรับแต่งสัญญาณในเครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์ ไดโอดอุโมงค์หรือทันเนลไดโอดใช้ในการสร้างสัญญาณความถี่วิทยุ และไดโอดเปล่งแสงเป็นอุปกรณ์ที่สร้างแสงขึ้น ไดโอดอุโมงค์มีความน่าสนใจตรงที่มันจะมีค่าความต้านทานติดลบ ซึ่งเป็นประโยชน์มากเมื่อใช้ในวงจรบางประเภท ไดโอดตัวแรกเป็นอุปกรณ์หลอดสูญญากาศ โดยไดโอดแบบสารกึ่งตัวนำตัวแรกถูกค้นพบจากการทดสอบความสามารถในการเรียงกระแสของผลึกโดยคาร์ล เฟอร์ดินานด์ บรวน นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ในปี..

ใหม่!!: ตัวเรียงกระแสและไดโอด · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วงจรเรียงกระแส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »