สารบัญ
11 ความสัมพันธ์: การวิเคราะห์อภิมานการศึกษาตามแผนการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมการปริทัศน์เป็นระบบรายงานผู้ป่วยหลักฐานโดยเรื่องเล่าจริยธรรมงานศึกษามีกลุ่มควบคุมงานศึกษาตามขวางงานศึกษาแบบสังเกตเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
- การปฏิบัติอิงหลักฐาน
- การวิจัย
- การวิจัยทางคลินิก
- หลักฐาน
การวิเคราะห์อภิมาน
การวิเคราะห์อภิมาน (meta-analysis) หมายถึงวิธีการทางสถิติที่ใช้เพื่อเปรียบเทียบและรวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดสิ่งที่พบเหมือน ๆ กัน สิ่งที่ต่างกัน และความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ที่อาจปรากฏด้วยการศึกษางานวิจัยหลาย ๆ งาน Meta-analysis สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นการ "ทำการศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาอื่นที่ทำมาแล้ว" โดยแบบที่ง่ายที่สุด Meta-analysis จะทำโดยกำหนดการวัดค่าทางสถิติที่เหมือนกันในงานวิจัยหลาย ๆ งาน เช่น ขนาดผล (effect size) หรือ p-value แล้วสร้างค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (weighted average) ของการวัดค่าที่เหมือนกัน โดยน้ำหนักที่ให้มักจะขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง (sample size) ของแต่ละงานวิจัย แต่ก็สามารถขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอย่างอื่น ๆ เช่นคุณภาพของงานศึกษาด้วย แรงจูงใจที่จะทำงานศึกษาแบบ meta-analysis ก็เพื่อรวมข้อมูลเพื่อจะเพิ่มกำลังทางสถิติ (statistical power) ของค่าที่สนใจ เมื่อเปรียบเทียบกับเพียงใช้ค่าวัดจากงานศึกษาเดียว ในการทำงานศึกษาเช่นนี้ นักวิจัยต้องเลือกองค์ประกอบหลายอย่างที่อาจมีอิทธิพลต่อผลงาน รวมทั้งวิธีการสืบหางานวิจัย การเลือกงานวิจัยตามกฏเกณฑ์ที่เป็นกลาง การแก้ปัญหาเมื่อมีข้อมูลไม่ครบ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ และการแก้ปัญหาหรือไม่แก้ปัญหาความเอนเอียงในการตีพิมพ์ การศึกษาแบบ Meta-analysis มักจะเป็นส่วนสำคัญของงานปริทัศน์แบบทั้งระบบ (systematic review) แต่ไม่เสมอไป ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการทำงานแบบ Meta-analysis โดยใช้ผลงานการทดลองทางคลินิก (clinical trial) เกี่ยวกับการรักษาทางแพทย์อย่างหนึ่ง เพื่อที่จะได้ความเข้าใจที่ดีขึ้นว่าการรักษาได้ผลแค่ไหน เมื่อใช้ศัพท์ต่าง ๆ ที่กำหนดโดยองค์กร Cochrane Collaboration คำว่า meta-analysis ก็จะหมายถึงวิธีทางสถิติที่ใช้ในการประมวลหลักฐาน โดยไม่รวมเอาการประมวลข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ เช่น research synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์งานวิจัย) หรือ evidence synthesis (แปลว่า การสังเคราะห์หลักฐาน) ที่ใช้ประมวลข้อมูลจากงานศึกษาเชิงคุณภาพ (qualitative studies) ซึ่งใช้ในงานปริทัศน์แบบทั้งร.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและการวิเคราะห์อภิมาน
การศึกษาตามแผน
การศึกษาตามแผน หรือ งานศึกษาตามรุ่น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ "cohort-" ว่า "ตามรุ่น" เช่น "cohort analysis" แปลว่า "การวิเคราะห์ตามรุ่น", และของ "panel analysis" ว่า "การวิเคราะห์ตามบุคคลในรุ่น" (cohort study) หรือ งานศึกษาตามบุคคลในรุ่น เป็นแบบหนึ่งของงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ที่ใช้ในสาขาการแพทย์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย "business analytics" และนิเวศวิทยา ยกตัวอย่างเช่น ในการแพทย์ อาจจะมีงานศึกษาที่วิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยง โดยติดตามกลุ่มประชากรที่ไม่มีโรค แล้วใช้ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงกับการติดโรค เพื่อกำหนดความเสี่ยงสัมพัทธ์ ของการติดโรค งานศึกษาตามรุ่นเป็นแบบการศึกษาทางคลินิกชนิดหนึ่ง เป็นงานศึกษาตามยาว (longitudinal study) โดยเทียบกับงานศึกษาตามขวาง (cross-sectional study) คือ เป็นการวัดค่าผลลัพธ์ที่เป็นประเด็นต่าง ๆ ของกลุ่มประชากร และของบุคคลต่าง ๆ ในกลุ่มประชากรนั้น ๆ ตามชั่วระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยเทียบกับการวัดค่าที่เป็นประเด็นเพียงครั้งเดียวในงานศึกษาตามขวาง "cohort" (รุ่น, กลุ่มร่วมรุ่น) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีคุณลักษณะหรือประสบการณ์ที่เหมือนกันภายในช่วงเวลาเดียวกัน (เช่น เกิดในช่วงเวลาเดียวกัน มีประวัติได้ยา ฉีดวัคซีน หรือประสบมลพิษภาวะ ช่วงเดียวกัน หรือได้รับการรักษาพยาบาลแบบเดียวกัน) ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่เกิดในวันเดียวกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นในปี..
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและการศึกษาตามแผน
การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
pmc.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
การปริทัศน์เป็นระบบ
การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและการปริทัศน์เป็นระบบ
รายงานผู้ป่วย
ในสาขาการแพทย์ รายงานผู้ป่วย"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ case ว่า "กรณี, ผู้ป่วย, คนไข้" และของ report ว่า "รายงาน" หรือ รายงานกรณี หรือ รายงานเค้ส (case report) เป็นรายงานอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการ อาการแสดง การวินิจฉัย การรักษาพยาบาล และการติดตามผู้ป่วยคนหนึ่ง และอาจจะมีข้อมูลทางประชากรอื่น ๆ เกี่ยวกับผู้ป่วย ปกติจะเป็นรายงานเกี่ยวกับเค้สที่แปลกหรือใหม่ และบางครั้งจะมีการทบทวนวรรณกรรมของเค้สอื่น ๆ ที่ได้รับรายงานมาแล้ว.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและรายงานผู้ป่วย
หลักฐานโดยเรื่องเล่า
ำว่า หลักฐานโดยเรื่องเล่า (anecdotal evidence) หมายถึงหลักฐานที่ได้มาจากเรื่องที่เล่าสู่กันฟัง เนื่องจากว่า มีตัวอย่างเพียงเล็กน้อย จึงมีโอกาสมากที่หลักฐานนั้นจะเชื่อถือไม่ได้เพราะอาจมีการเลือกเอาหลักฐาน หรือว่า หลักฐานนั้นไม่เป็นตัวแทนที่ดีของกรณีทั่ว ๆ ไปในเรื่องนั้น ๆ by Wayne Weiten มีการพิจารณาว่าหลักฐานโดยเรื่องเล่าไม่ใช่เป็นตัวสนับสนุนข้ออ้างที่ดี จะรับได้ก็ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานที่ดีกว่านั้นแล้วเท่านั้น ไม่ว่าเรื่องเล่านั้นจะซื่อสัตย์ตรงความจริงมากแค่ไหนNovella, Steven.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและหลักฐานโดยเรื่องเล่า
จริยธรรม
ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและจริยธรรม
งานศึกษามีกลุ่มควบคุม
การศึกษาย้อนหลัง (retrospective cohort) จะศึกษาการเกิดของโรคที่มีแล้ว งานศึกษามีกลุ่มควบคุม (page, case history study, case referent study, retrospective study) เป็นแบบการศึกษาอย่างหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์ ที่มีการพัฒนาในยุคแรก ๆ ในสาขาวิทยาการระบาด แม้ว่าต่อ ๆ มาก็มีการสนับสนุนให้ใช้ในการศึกษาสาขาต่าง ๆ ของสังคมศาสตร์ เป็นงานศึกษาแบบสังเกต (observational study) ประเภทหนึ่ง ที่จะกำหนดกลุ่มสองกลุ่มที่มีผลต่างกัน แล้วเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานว่าอะไรเป็นเหตุของผลที่ต่างกันนั้น เป็นแบบงานที่มักจะใช้เพื่อกำหนดองค์ประกอบที่มีผลต่ออาการของโรค โดยเปรียบเทียบคนไข้ที่มีอาการ/โรค (case) กับผู้ที่ไม่มีอาการ/โรค (control) ที่มีลักษณะอย่างอื่น ๆ เหมือน ๆ กัน เป็นแบบงานที่ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า แต่ว่าให้หลักฐานความเป็นเหตุผลได้อ่อนกว่าการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial).
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและงานศึกษามีกลุ่มควบคุม
งานศึกษาตามขวาง
ในงานวิจัยทางการแพทย์และสังคมศาสตร์ งานศึกษาตามขวาง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cross sectional analysis ว่า "การวิเคราะห์ตามขวาง" และของ cross-sectional study ว่า "วิธีศึกษาแบบตัดขวาง" หรือ งานศึกษาแบบตัดขวาง หรือ งานวิเคราะห์ตามขวาง (cross-sectional study, cross-sectional analysis, transversal study, prevalence study) เป็นการศึกษาแบบสังเกตประเภทหนึ่งที่วิเคราะห์ข้อมูลของประชากร หรือของกลุ่มตัวแทนประชากร ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง (คือวิเคราะห์ cross-sectional data) ในสาขาเศรษฐศาสตร์ งานประเภทนี้มักจะใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติแบบ cross-sectional regression เพื่อตรวจสอบตัวแปรอิสระ (independent variable) หนึ่งตัวหรือมากกว่านั้น ว่าเป็นเหตุของตัวแปรตาม (dependent variable) คือผลหรือไม่ และเหตุนั้นมีอิทธิพลต่อผลขนาดไหน ที่เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากการวิเคราะห์แบบ time series analysis ซึ่งติดตามดูความเป็นไปของข้อมูลรวม (aggregate data) อย่างน้อยหนึ่งตัว เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในงานวิจัยทางการแพทย์ งานประเภทนี้ต่างจากงานศึกษามีกลุ่มควบคุม (case-control studies) โดยที่งานประเภทนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อมูลที่เป็นประเด็นศึกษา ของประชากรทั้งกลุ่ม เทียบกับงานศึกษามีกลุ่มควบคุม ที่มักจะศึกษากลุ่มบุคคลที่มีลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแต่ชนกลุ่มน้อยในประชากรทั้งหมด งานประเภทนี้เป็นงานเชิงพรรณนา (descriptive) ไม่ใช่งานตามยาว (longitudinal) ไม่ใช่งานเชิงทดลอง (experimental) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับ odds ratio, ความเสี่ยงสัมบูรณ์ (absolute risk), และความเสี่ยงสัมพัทธ์ (relative risk) จากความชุกของโรค (prevalence) เป็นงานที่สามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับกลุ่มประชากร เช่น ความชุกของโรค หรือแม้แต่ให้หลักฐานเบื้องต้น ในการอนุมานความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล เป็นงานที่ต่างจากงานศึกษาตามยาว (longitudinal studies) เพราะงานตามยาวตรวจสอบข้อมูลจากลุ่มประชากรมากกว่าครั้งเดียว เป็นระยะ ๆ เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและงานศึกษาตามขวาง
งานศึกษาแบบสังเกต
ในสาขาวิทยาการระบาดและสถิติศาสตร์ งานศึกษาแบบสังเกต"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ observational methods ว่า "วิธีวิจัยแบบสังเกต" และ study ว่า "งานศึกษา, การศึกษา" (observational study) เป็นการศึกษาที่อนุมานผลของวิธีการรักษาที่เป็นประเด็นการศึกษาต่อคนไข้ ใช้เมื่อการจัดคนไข้เข้ากับกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ซึ่งแตกต่างจากการทดลองเช่นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ที่สามารถจัดผู้ร่วมการทดลองแต่ละคนให้อยู่ในกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยสุ่มได้.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและงานศึกษาแบบสังเกต
เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
ำว่า เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน (Evidence-based medicine ตัวย่อ EBM) เป็นแบบการแพทย์ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวินิจฉัยตัดสินใจให้ดีที่สุด โดยเน้นการใช้หลักฐานจากงานวิจัยที่มีการออกแบบและการดำเนินการที่ดี แม้ว่าการแพทย์ที่อาศัยวิทยาศาสตร์ (คือไม่ใช่การแพทย์ทางเลือกเป็นต้น) ทั้งหมดล้วนแต่ต้องอาศัยหลักฐานทางประสบการณ์ (empirical evidence) แต่ว่า EBM เข้มงวดยิ่งกว่านั้น คือมีการจัดระดับหลักฐานโดยกำลังของวิธีการสืบหาหลักฐาน (epistemologic strength) และมีการกำหนดว่า หลักฐานที่มีกำลังที่สุด (คือที่มาจากงาน meta-analysis, งานปริทัศน์เป็นระบบ, และงานวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม) เท่านั้นที่จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) ที่เข้มแข็งน่าเชื่อถือที่สุดได้ ส่วนหลักฐานจากงานที่มีกำลังอ่อนประเภทอื่น (เช่นงานศึกษาแบบมีกลุ่มควบคุมเป็นต้น) จะใช้เป็นคำแนะนำ (ในการรักษา) แบบอ่อนเท่านั้น ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Evidence-based medicine" ดั้งเดิม (เริ่มใช้ในปี ค.ศ.
ดู ลำดับชั้นหลักฐานและเวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
ดูเพิ่มเติม
การปฏิบัติอิงหลักฐาน
- การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
- การปฏิบัติอิงหลักฐาน
- การปริทัศน์เป็นระบบ
- การวิจัยขั้นทุติยภูมิ
- การวิเคราะห์อภิมาน
- คอเครน (องค์การ)
- ลำดับชั้นหลักฐาน
การวิจัย
- Self-Archiving
- การทดลอง
- การวิจัย
- การวิจัยและพัฒนา
- การศึกษาตามแผน
- ลำดับชั้นหลักฐาน
การวิจัยทางคลินิก
- Case series
- การทดลองทางคลินิก
- การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม
- การทดลองแบบอำพราง
- การศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก
- งานศึกษาตามรุ่นย้อนหลัง
- นัยสำคัญทางคลินิก
- ยาหลอก
- รายงานผู้ป่วย
- ลำดับชั้นหลักฐาน
- เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
- เวชสถิติ
หลักฐาน
- ลำดับชั้นหลักฐาน
- หลักฐานทางวิทยาศาสตร์
- หลักฐานโดยเรื่องเล่า
- เวชปฏิบัติอิงหลักฐาน
- เหตุผลวิบัติโดยหลักฐานไม่สมบูรณ์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Evidence hierarchiesHierarchy of evidence