โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลอมพอก

ดัชนี ลอมพอก

เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เมื่อ พ.ศ. 2229 วาดโดย ฌ็อง ไฮน์เซลมาน (Jean Hainzelman) จิตรกรชาวเยอรมันที่พำนักในประเทศฝรั่งเศส ลอมพอก เป็นเครื่องสวมศีรษะรูปยาว บ้างมียอดแหลม บ้างมียอดมนไม่แหลมมากนัก เมื่อสวมแล้วจะแลดูเหมือนการเกล้าผมขึ้นไปข้างบนเป็นทรงกรวยแหลม แล้วปัดไปด้านหลังเล็กน้อย ใช้เป็นเครื่องทรงของพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นเครื่องแบบขุนนางยุคกรุงศรีอยุธยา ซึ่งลักษณะของลอมพอกสามารถบ่งถึงตำแหน่งสูงต่ำของขุนนางได้ นอกจากนี้เหล่าโขนละครเองก็เคยใช้ลอมพอกในการแสดง ก่อนพัฒนาเป็นชฎาหรือมงกุฎในภายหลัง ลอมพอกเป็นเครื่องสวมศีรษะของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากการโพกผ้าของมุสลิมเปอร์เซีย และมีความเป็นไปได้ว่าน่าจะรับมาตั้งแต่ก่อนเกิดกรุงศรีอยุธยา มงซีเออร์ เดอ วีเซได้เขียนคำอธิบายเกี่ยวกับการแต่งกายของคณะทูตสยามที่ไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นำโดยออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) เมื่อปี..

16 ความสัมพันธ์: ชฎาฟ. ฮีแลร์พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสมงกุฎสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์สุจิตต์ วงษ์เทศอาณาจักรอยุธยาผ้าขาวม้าซีมง เดอ ลา ลูแบร์ประเทศอิหร่านโขนเชอวาเลีย เดอ ฟอบังเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

ชฎา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี ทรงชฎา ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ โดยทั่วไปมียอดแหลม มีกรรเจียก (กระหนกข้างหู) ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะเช่นทองหรือเงิน หรือวัสดุอื่นเช่นไม้ เปเปอร์มาเช่ หรือพลาสติก แล้วทาสีให้ดูเหมือนโลหะ ผิวด้านนอกของชฎาจะตกแต่งอย่างสวยงาม โดยการแกะสลัก ประดับอัญมณี กระจกสี และพวงดอกไม้ ชฎาเกิดขึ้นช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยพัฒนาการจากลอมพอก ชฎาและมงกุฎต่างกัน คือชฎาจะมียอดปัดไปข้างหลังเหมือนลอมพอก ส่วนมงกุฎจะมียอดแหลมเป็นปลียอด ชฎาที่เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ส่วนใหญ่เรียกว่า "พระชฎา" หรือ "มงกุฎรอง" มีหลายชนิด ชฎามักใช้ในงานพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายชั้นสูงและใช้ในงานนาฏศิลป์ วัฒนธรรมสมัยใหม่มีการใช้ชฎาเป็นเครื่องแต่งตัวในการเดินแบบ ถ่ายภาพยนตร์ และประกอบการแสดง.

ใหม่!!: ลอมพอกและชฎา · ดูเพิ่มเติม »

ฟ. ฮีแลร์

ฟร็องซัว ตูเวอแน อีแลร์ (François Touvenet Hilaire) หรือที่รู้จักในนาม ฟ.ฮีแลร์ (F. Hilaire) หรือ เจษฎาจารย์ฮีแลร์ (18 มกราคม 2424 – 3 ตุลาคม 2511) เป็นนักบวชคณะภราดาเซนต์คาเบรียล เจ้าของสมญานาม "ปราชญ์แห่งอัสสัมชัญ" ได้รับการยกย่องในด้านความแตกฉานภาษาไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากท่านเป็นชาวฝรั่งเศสมาแต่กำเนิด จนเมื่อได้มาอยู่ที่ประเทศไทย ท่านก็ศึกษาภาษาไทยจนแตกฉานและสามารถแต่งหนังสือเรียนภาษาไทยให้เด็กไทยเรียนได้ นามว่า "ดรุณศึกษา" ท่าน ฟ.ฮีแลร์ เป็นหนึ่งในสองบุคคลที่สำคัญที่สุดของโรงเรียนอัสสัมชัญ ร่วมกับ คุณพ่อกอลมเบต์ ปัจจุบัน ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์ และสร้างอาคารโดยใช้ชื่อตามภราดา ฟ.ฮีแลร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านทั้งต่อโรงเรียนและต่อประเทศชาติ คำว่า ฟ.ฮีแลร์ เป็นศาสนนามของภราดาฟร็องซัว ตูเวอแน โดย ฟ. มิได้ย่อมาจากนามเดิม หากย่อมาจากภาษาฝรั่งเศส frère ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Brother ซึ่งบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "เจษฎาจารย์" หรือ ภร.

ใหม่!!: ลอมพอกและฟ. ฮีแลร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

ระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (នរោត្ដម សីហនុ; นโรตฺฎม สีหนุ ออกเสียง โนโรด็อม สีหนุ) (31 ตุลาคม พ.ศ. 2465 — 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555)  พระมหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 - 2498 และ พ.ศ. 2536 - 2547 โดยการสละราชบัลลังก์ให้แก่พระราชโอรสนโรดม สีหมุนี และดำรงพระอิสริยยศเป็นพระมหาวีรกษัตริย์ (พระวรราชบิดา) ในท้ายสุด พระองค์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา, ประมุขแห่งรัฐกัมพูชา และนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาหลายสมัย กระทั่งบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้บันทึกไว้ว่า พระองค์ทรงเป็นนักการเมือง ที่ทรงดำรงตำแหน่งทางการเมืองมากมายที่สุดในโลก (the world's greatest variety of political offices) กล่าวคือ เป็นพระมหากษัตริย์ 2 สมัย ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ (ดำรงตำแหน่งกษัตริย์โดยไม่ได้รับการบรมราชาภิเษก) 2 สมัย ประธานาธิบดี 1 สมัย นายกรัฐมนตรี 2 สมัย และประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลพลัดถิ่นของพระองค์เองอีก 1 สมัย ทั้งนี้พระองค์เป็นหุ่นเชิดของรัฐบาลเขมรแดงช่วงปี ค.ศ. 1975–1976.

ใหม่!!: ลอมพอกและพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: ลอมพอกและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มงกุฎ

มงกุฎของพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 แห่งเดนมาร์กปัจจุบันตั้งอยู่ที่ปราสาทโรเซ็นบอร์กในกรุงโคเปนเฮเกน '''มงกุฎ'''ของจักรพรรดินีฟาราห์ ปาห์ลาวีที่ทรงสวมในวันราชาภิเษกของพระสวามี มงกุฎ (crown; สะกดด้วยตัว ฎ ชฎา) คือเครื่องสวมศีรษะที่เป็นสัญลักษณ์ที่สวมโดยพระมหากษัตริย์ หรือผู้นำทางศาสนาที่เป็นเครื่องหมายของความมีอำนาจทางการเมือง, ความมีสิทธิ, ความเป็นอมตะ, ความชอบธรรมในการเป็นกษัตริย์, ชัยชนะ, การฟื้นฟู, เกียรติยศ และความรุ่งโรจน์ของผู้สวม ทางด้านศิลปะมงกุฎอาจจะแสดงในภาพที่มีเทวดาประทานมงกุฎให้แก่มนุษย์ นอกจากมงกุฎที่สร้างกันตามปกติแล้ว อาจจะทำจากดอกไม้, ดาว, ใบไม้, หรือหนาม แต่มงกุฎประจำตำแหน่งแล้วส่วนใหญ่จะทำจากโลหะและอัญมณี.

ใหม่!!: ลอมพอกและมงกุฎ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ตราจารย์ (พิเศษ) พลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (ประสูติ: 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก,; สิ้นพระชนม์: 2 มกราคม พ.ศ. 2551 โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร) เป็นพระธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา) เป็นสมเด็จพระเชษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และเป็นสมเด็จพระราชปิตุจฉาในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายแก่ประเทศชาติ เพื่อแบ่งเบาพระราชภาระของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีโครงการในพระอุปถัมภ์หลายร้อยโครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา และอื่น ๆ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการเขียน ด้านการกีฬา และด้านการถ่ายภาพ พระองค์มีพระอาการผิดปกติเกี่ยวกับพระนาภี และได้เข้าประทับรักษาพระอาการประชวร ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งวันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2551 พระอาการประชวรได้ทรุดลงตามลำดับ และสิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 02:54 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 84 พรรษ.

ใหม่!!: ลอมพอกและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ลเอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี (24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในวันต่อมา พระนาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้ในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ โดยมีคำนำหน้าพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าภาติกาเธอ (ลูกสาวของพี่ชาย) ในรัชกาลที่ 7 และเป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโดยพระชนมายุพระองค์จึงเคยเป็นพระกุลเชษฐ์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ หลังจากเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นการถาวร พระองค์ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 9 ทรงเจริญพระวัยและทรงสามารถแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้ กอปรกับพระองค์มีพระชนมายุสูงขึ้นจึงเสด็จออกทรงเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารน้อยลง นอกจากนี้ พระองค์ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ทั้งในส่วนที่สืบสานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และโดยส่วนพระองค์เองไว้ในพระอุปถัมภ์มากกว่า 30 แห่ง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 นาฬิกา ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริพระชนมายุ 85 พรรษา 8 เดือน 3 วัน.

ใหม่!!: ลอมพอกและสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์

มเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ (នរោត្ដម រណឬទ្ធិ นโรตฺฎม รณฤๅทฺธิ; ประสูติ 2 มกราคม พ.ศ. 2487) พระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุ แห่งกัมพูชา และพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลอมพอกและสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุจิตต์ วงษ์เทศ

ตต์ วงษ์เทศ (20 เมษายน พ.ศ. 2488 - ปัจจุบัน) นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ประจำปี พ.ศ. 2536 ปัจจุบันเป็นนักเขียนประจำในเครือมติชน เขียนเป็นประจำในคอลัมน์ "สยามประเทศไทย" ในหนังสือพิมพ์มติชน และผู้บรรยาย องค์ปาฐกถาพิเศษด้านศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี นอกจากนี้ยังได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ. 2545 (แต่ได้ขอปฏิเสธรางวัลและค่าตอบแทน).

ใหม่!!: ลอมพอกและสุจิตต์ วงษ์เทศ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ลอมพอกและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

ผ้าขาวม้า

ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ ส่วนใหญ่ผู้ใช้จะเป็นเพศชาย สามารถใช้นุ่งอาบน้ำ เช็ดตัว คลุมหัวกันแดด หรือทำเปลก็ได้ บ้างก็เรียกว่า "ผ้าเคียนเอว" ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นผ้ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณ 2 ศอก ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตารางเล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสี อย่างไรก็ตาม ผ้าสีเดียว ที่มีขนาดเท่ากับผ้าขาวม้าลายตารางหมากรุกแบบนี้ หากนำมาใช้นุ่งสำหรับผู้ชาย ก็นิยมเรียกผ้าขาวม้าเช่นกัน ผ้าขาวม้าในประเทศไทยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่น ซึ่งคำว่าผ้าขาวม้า เป็นภาษาทางภาคกลาง ส่วนในภาคอีสานบางแห่งเรียกว่าผ้าแพร ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า กี่ และจะทอเป็นขนาดยาวประมาณ 20-30 เมตร ต่อการทอแต่ละครั้งแล้วจึงตัดแบ่งออกเป็นผืน ผืนละ 1 วา หรือ ประมาณ 1 เมตรครึ่ง ดังนั้น บางท้องถิ่นจึงเรียกว่าผ้าแพรวา เรียกตามความยาวของผ้าแต่ละผืน สีและลวดลายของผ้าขาวม้าจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องถิ่นโดยทางภาคกลาง ผ้าขาวม้าจะมีลวดลายเป็นตาลายสก๊อต และของภาคอีสานจะเป็นแบบตาเล็กๆ หมวดหมู่:ผ้าไทย.

ใหม่!!: ลอมพอกและผ้าขาวม้า · ดูเพิ่มเติม »

ซีมง เดอ ลา ลูแบร์

กจดหมายเหตุลา ลูแบร์ พ.ศ. 2236 ซีมง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubère; 21 เมษายน พ.ศ. 2185-26 มีนาคม พ.ศ. 2272) เป็นราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ได้เดินทางเข้ามาใน ประเทศไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย โดยเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) และทหารของฝรั่งเศสประมาณ 600 คน เดอ ลา ลูแบร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะทูตฝรั่งเศสร่วมกับกล๊อด เซเบอเร็ต ดูว์ บูเลย์ (Claude Céberet du Boullay) เดินทางมาอยุธยาเพื่อเจรจาเรื่องศาสนาและการค้าของฝรั่งเศสในอาณาจักรอยุธยาเมื่อ..

ใหม่!!: ลอมพอกและซีมง เดอ ลา ลูแบร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ลอมพอกและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

โขน

น เป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยที่มีความสง่างาม อลังการและอ่อนช้อย การแสดงประเภทหนึ่งที่ใช้ท่ารำตามแบบละครใน แตกต่างเพียงท่ารำที่มีการเพิ่มตัวแสดง เปลี่ยนทำนองเพลงที่ใช้ในการดำเนินเรื่องไม่ให้เหมือนกับละคร แสดงเป็นเรื่องราวโดยลำดับก่อนหลังเหมือนละครทุกประการ ซึ่งไม่เรียกการแสดงเหล่านี้ว่าละครแต่เรียกว่าโขนแทน มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จากหลักฐานจดหมายเหตุลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการกล่าวถึงการแสดงโขนว่า เป็นการเต้นออกท่าทาง ประกอบกับเสียงซอและเครื่องดนตรีประเภทต่าง ๆ ผู้แสดงจะสวมหน้ากากปิดบังใบหน้าตนเองและถืออาวุธว่าด้วยการแสดงและการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม, มหรสพสามอย่างของชาวสยาม,จดหมายเหตุ ลา ลู แบร์ ราชอาณาจักรสยาม, เขียนโดย: มองซิเอร์ เดอ ลาลูแบร์, แปลโดย: สันต์ ท. โกมลบุตร, สำนักพิมพ์ศรีปัญญา, 2548, หน้า 157 โขนเป็นจุดศูนย์รวมของศาสตร์และศิลป์หลากหลายแขนงเช่น วรรณกรรม วรรณศิลป์ นาฏศิลป์ คีตศิลป์ หัตถศิลป์คำนำการแสดงโขนชุดนางลอย, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด นางลอย, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 19 -20 และ 22 -24 พฤศจิกายน 2553, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยนำเอาวิธีเล่นและการแต่งตัวบางชนิดมาจากการเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์ มีท่าทางการต่อสู้ที่โลดโผน ท่ารำ ท่าเต้นเช่น ท่าปฐมในการไหว้ครูของกระบี่กระบอง รวมทั้งการนำศิลปะการพากย์ การเจรจา หน้าพาทย์และเพลงดนตรีเข้ามาประกอบการแสดง ในการแสดงโขน ลักษณะสำคัญอยู่ที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขน ซึ่งเป็นเครื่องสวมครอบหุ้มตั้งแต่ศีรษะถึงคอ เจาะรูสองรูบริเวณดวงตาให้สามารถมองเห็น แสดงอารมณ์ผ่านทางการร่ายรำ สร้างตามลักษณะของตัวละครนั้น ๆ เช่น ตัวยักษ์ ตัวลิง ตัวเทวดา ฯลฯ ตกแต่งด้วยสี ลงรักปิดทอง ประดับกระจก บ้างก็เรียกว่าหน้าโขน ในสมัยโบราณ ตัวพระและตัวเทวดาต่างสวมหัวโขนในการแสดง ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงไม่ต้องสวมหัวโขน คงใช้ใบหน้าจริงเช่นเดียวกับละคร แต่งกายแบบเดียวกับละครใน เครื่องแต่งกายของตัวพระและตัวยักษ์ในสมัยโบราณมักมีสองสีคือ สีหนึ่งเป็นสีเสื้อ อีกสีหนึ่งเป็นสีแขนโดยสมมุติแทนเกราะ เป็นลายหนุนประเภทลายพุ่ม หรือลายกระจังตาอ้อย ส่วนเครื่องแต่งกายตัวลิงจะเป็นลายวงทักษิณาวรรต โดยสมมุติเป็นขนของลิงหรือหมี ดำเนินเรื่องด้วยการกล่าวคำนำเล่าเรื่องเป็นทำนองเรียกว่าพากย์อย่างหนึ่ง กับเจรจาเป็นทำนองอย่างหนึ่ง ใช้กาพย์ยานีและกาพย์ฉบัง โดยมีผู้ให้เสียงแทนเรียกว่าผู้พากย์และเจรจา มีต้นเสียงและลูกคู่ร้องบทให้ ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าประกอบการแสดง นิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และอุณรุท ปัจจุบันสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์มีหน้าที่หลักในการสืบทอดการฝึกหัดโขน และกรมศิลปากร มีหน้าที่ในการจัดการแสดงคำนำการแสดงโขนชุดพรหมมาศ, สูจิบัตรการแสดงโขนชุด พรหมมาศ, มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, ระหว่างวันที่ 25 และ 27 -28 ธันวาคม 2550, หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ลอมพอกและโขน · ดูเพิ่มเติม »

เชอวาเลีย เดอ ฟอบัง

เชอวาเลีย เดอ ฟอบัง ในเครื่องแต่งกายแบบขุนนางสยาม ที่ตำแหน่ง "ออกพระศักดิสงคราม" โกลด เดอ ฟอร์แบ็ง-การ์ดาน (Claude de Forbin-Gardanne) หรือ เชอวาเลีย เดอ ฟอบัง (Chevalier de Forbin) เป็นนายเรือโทชาวฝรั่งเศส เข้ามากับคณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เพื่อมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อพ.ศ. 2228 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรัสขอฟอบังไว้รับราชการ แล้วทรงตั้งให้เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น ออกพระศักดิ์สงคราม หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2199 หมวดหมู่:ทหารชาวฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยราชวงศ์ปราสาททอง หมวดหมู่:ชาวต่างชาติในกรุงศรีอยุธยา หมวดหมู่:บรรดาศักดิ์ชั้นพระ.

ใหม่!!: ลอมพอกและเชอวาเลีย เดอ ฟอบัง · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)

้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) (พ.ศ. 2176–2242) เป็นข้าราชการในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์ เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศสเมื่อ..

ใหม่!!: ลอมพอกและเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »