เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ร่องไบซิพิทัล

ดัชนี ร่องไบซิพิทัล

ร่องไบซิพิทัล (bicipital groove) หรือ ร่องระหว่างปุ่มกระดูก (intertubercular groove) เป็นร่องลึกบนกระดูกต้นแขน (humerus) ที่แบ่งระหว่างปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเอ็นของปลายจุดเกาะต้นด้านยาวของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (Biceps brachii) และเป็นทางผ่านของแขนงหลอดเลือดแดงรอบต้นแขนด้านหน้า (anterior humeral circumflex artery) ไปยังข้อต่อไหล่ (shoulder-joint) ร่องนี้วิ่งลงมาในแนวเฉียง และสิ้นสุดประมาณ 1/3 ด้านบนของกระดูกต้นแขน ร่องนี้ยังเป็นผนังด้านข้างของรักแร้อีกด้ว.

สารบัญ

  1. 6 ความสัมพันธ์: กระดูกต้นแขนกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอร่องสไปรัลข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขนปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ดู ร่องไบซิพิทัลและกระดูกต้นแขน

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก.

ดู ร่องไบซิพิทัลและกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ร่องสไปรัล

ร่องสไปรัล, ร่องเรเดียล หรือ ร่องมัสคิวโลสไปรัล (Spiral groove; Radial sulcus; musculospiral groove) เป็นร่องที่อยู่ตรงกลางของขอบด้านข้างของกระดูกต้นแขน (humerus) มีลักษณะกว้าง ตื้น วิ่งในแนวเฉียง เป็นร่องสำหรับเส้นประสาทเรเดียล (radial nerve).

ดู ร่องไบซิพิทัลและร่องสไปรัล

ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (Glenohumeral joint) หรือข้อต่อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ข้อต่อนี้เป็นข้อต่อซินโนเวียล (Synovial joint) ชนิดเบ้า (ball and socket) โดยมีแอ่งกลีนอยด์ (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่เป็นเบ้ารองรับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน และยังมีโครงสร้างของเอ็นรอบกระดูกและกล้ามเนื้อกลุ่มโรเตเตอร์ คัฟฟ์ (rotator cuff muscles) คอยค้ำจุน ข้อต่อนี้จึงเป็นข้อต่อที่มีอิสระในการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายมนุษ.

ดู ร่องไบซิพิทัลและข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านข้างต่อหัวกระดูกและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน.

ดู ร่องไบซิพิทัลและปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน (humerus) แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle) แต่ก็ยื่นออกมามากกว่า ตั้งอยู่ด้านหน้า และชี้ไปทางใกล้กลางลำตัวและไปด้านหน้า เหนือต่อและหน้าต่อปุ่มกระดูกนี้เป็นรอยประทับซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ดู ร่องไบซิพิทัลและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Bicipital grooveIntertubercular groove