สารบัญ
16 ความสัมพันธ์: บ่อเหล็กน้ำพี้ลับแล (แก้ความกำกวม)วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถวัดพระยืนพุทธบาทยุคลวัดพระแท่นศิลาอาสน์วัดกลางธรรมสาครวัดวังหมูวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)วัดดอนแก้ววัดใหญ่ท่าเสาวัดเสาหินวัดเจดีย์คีรีวิหารจังหวัดอุตรดิตถ์คูเมืองปรางค์
บ่อเหล็กน้ำพี้
ในศาลเจ้าพ่อบ่อเหล็กน้ำพี้ตั้งรูปเจ้าพ่อ 3 ตน เชื่อว่าเป็นผู้พิทักษ์รักษาเหล็กน้ำพี้มาตั้งแต่โบราณ บ่อเหล็กน้ำพี้ เป็นแหล่งสินแร่เหล็กตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ที่บ้านน้ำพี้ หมู่ 1 ตำบลน้ำพี้ อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ประมาณ 56 กิโลเมตร โดยเป็นบ่อเหล็กกล้า มีอยู่ด้วยกันหลายบ่อ และปรากฏเตาถลุงเหล็กโบราณนับพัน ๆ แห่งในพื้นที่หลายตารางกิโลเมตร แต่บ่อที่สำคัญและสงวนใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ มีอยู่ 2 บ่อ คือ บ่อพระแสง และ บ่อพระขรรค์ มีการนำแร่เหล็กจากบ่อเหล็กน้ำพี้ไปถลุงทำอาวุธเพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งแร่เหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ในตัวสมิธ, เฮอร์เบิร์ท วาริงตัน.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และบ่อเหล็กน้ำพี้
ลับแล (แก้ความกำกวม)
ลับแล อาจหมายถึง.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และลับแล (แก้ความกำกวม)
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง หรือ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ที่กลางเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณประดิษฐานพระมหาธาตุประจำเมืองทุ่งยั้ง เมืองโบราณตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัย ตามตำนานการสร้างพระบรมธาตุกล่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ครองเมืองสุโขทัย ได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้วก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งคงเป็นรูปเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่าพ่อค้าไม้ชาวพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล
วัดพระยืนพุทธบาทยุคล หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ที่บนเนินเขา บ้านพระแท่น หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระยืนพุทธบาทยุคลเป็นวัดโบราณร่วมสมัยกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ โดยมีปูชนียสถานที่มีตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองทุ่งยั้งร่วมกัน ภายในวัดมีศาสนสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ มณฑปศิลปะเชียงแสนครอบรอยพระพุทธบาทประทับยืนทำด้วยศิลาแลง (มณฑปกว้าง 4 เมตร ยาว 49 เมตร) และหลวงพ่อพระพุทธรังสีภายในอุโบสถ เป็นพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย วัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีที่ธรณีสงฆ์ 136 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา วัดแห่งนี้เคยได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระยืนพุทธบาทยุคล
วัดพระแท่นศิลาอาสน์
วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระแท่นศิลาอาสน์
วัดกลางธรรมสาคร
วัดกลางธรรมสาคร หรือ วัดกลาง อยู่ที่ ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวอำเภอ 3 กิโลเมตร วัดกลางเป็น วัดโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง มีพระอุโบสถที่มีลวดลายรูปปั้นสวยงาม ภายในอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีพุทธลักษณะงดงาม เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ตอนต้นผสมศิลปะแบบลาวหลวงพระบาง และจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าแก่หายากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นภาพพระเวสสันดรชาดกและเทพชุมนุม.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดกลางธรรมสาคร
วัดวังหมู
วัดวังหมูตั้งอยู่ที่บ้านวังหมู ตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปรากฏหลักฐานการตั้งวัดในปี พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดวังหมู
วัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)
วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)
วัดดอนแก้ว
ประวัติวัดดอนแก้ว https://www.facebook.com/profile.php?id.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดดอนแก้ว
วัดใหญ่ท่าเสา
วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีโบราณสถานและปูชนียวัตถุมากมาย ปัจจุบันวัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดใหญ่ท่าเสา
วัดเสาหิน
วัดเสาหิน ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดฝายหิน ชื่อเดิม ฝายหิน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 183 ถนนศรีพนมมาศ บ้านตลาดลับแล ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 6.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเสาหิน
วัดเจดีย์คีรีวิหาร
วัดเจดีย์คีรีวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ไทยสังกัดคณะมหานิกาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1043 ตำนานของวัดระบุว่า วัดนี้เดิมมีชื่อว่า "วัดป่าแก้ว" สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเจดีย์คีรีวิหาร
จังหวัดอุตรดิตถ์
ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดอุตรดิตถ์
คูเมือง
หาสน์แบดเดสลีย์คลินตันในวอริคเชอร์ในอังกฤษ คูเมือง หรือ คูปราสาท (moat) คือร่องน้ำกว้างและลึกที่อาจจะเป็นคูแห้งหรือที่มีน้ำขังที่ขุดขึ้นรอบปราสาท, สิ่งก่อสร้าง หรือ เมือง เพื่อใช้เป็นระบบการป้องกันจากการโจมตีจากบุคคลภายนอก ในบางกรณีคูก็อาจจะวิวัฒนาการไปเป็นระบบการป้องกันทางน้ำอันซับซ้อนที่อาจจะรวมทั้งทะเลสาบขุดหรือธรรมชาติ, เขื่อน หรือประตูน้ำ แต่ในปราสาทสมัยต่อมาคูรอบปราสาทอาจจะเป็นเพียงสิ่งตกแต่งเพื่อความงามเท่านั้น.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และคูเมือง
ปรางค์
นครวัด กัมพูชา ปรางค์ หรือ พระปรางค์ เป็นสิ่งก่อสร้างประเภทหนึ่งในงานสถาปัตยกรรมไทย เป็นหลักประธานในวัดเช่นเดียวกับพระเจดีย์ แต่เดิมถือว่าเป็นงานสถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบลักษณะเฉพาะของขอม โดยมีคติความเชื่อในศาสนาฮินดู ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมร.
ดู รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์และปรางค์
หรือที่รู้จักกันในชื่อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดอุตรดิตถ์ที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร