โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์

ดัชนี รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์

รินทร์ หมวดหมู่:โบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์ หมวดหมู่:จังหวัดสุรินทร.

19 ความสัมพันธ์: บ้านปราสาทวัดอิสานศิลาจารึกจังหวัดสุรินทร์ปราสาทช่างปี่ปราสาทบ้านพลวงปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ)ปราสาทบ้านอนันต์ปราสาทบ้านไพลปราสาทภูมิโปนปราสาทยายเหงาปราสาทศีขรภูมิปราสาทสังข์ศิลป์ชัยปราสาทตระเปียงเตียปราสาทตาควายปราสาทตาเมือนปราสาทตาเมือนธมปราสาทตาเมือนโต๊ดปราสาทเมืองที

บ้านปราสาท

้านปราสาท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และบ้านปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

วัดอิสาน

วัดอิสาน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2220 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันตั้งอยู่ ณ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และวัดอิสาน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลาจารึก

ลาจารึกของอียิปต์โบราณ ศิลาจารึก เป็นวรรณกรรมชนิดลายลักษณ์อักษรอย่างหนึ่ง อาศัยการบันทึกบนเนื้อศิลา ทั้งชนิดเป็นแผ่น และเป็นแท่ง โดยใช้โลหะแหลมขูดเนื้อศิลาให้เป็นตัวอักษร เรียกว่า จาร หรือ การจารึก ศิลาจารึกมีคุณค่าในเชิงบันทึกทางประวัติศาสตร์ ผู้จารึกหรือผู้สั่งให้มีศิลาจารึกมักจะเป็นผู้มีอำนาจ มิใช่บุคคลทั่วไป เนื้อหาที่จารึกมีความหลากหลายตามความประสงค์ของผู้จารึก เช่น บันทึกเหตุการณ์ บันทึกเรื่องราวในศาสนา บันทึกตำรับตำราการแพทย์และวรรณคดี เป็นต้น จารึกบนแท่งศิลานั้นมีความคงทน คงสภาพอยู่ได้นับพันๆ ปี ด้วยเหตุนี้ นักประวัติศาสตร์และนักภาษาศาสตร์จึงสามารถสืบสานความรู้ย้อนไปได้นับพันๆ ปี โดยเฉพาะความรู้ด้านอักษร และภาษา ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา จารึกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และศิลาจารึก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุรินทร์

รินทร์ (เขมรถิ่นไทย: ซเร็น) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรือ "อีสานใต้" มีชื่อเสียงด้านการเลี้ยงช้าง การทอผ้าไหม ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ มีผู้คนหลายเผ่าพันธุ์และภาษา เช่น เขมร กูยและลาวหรือไทยอีสาน มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 11 และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 24.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดสุรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทช่างปี่

ปราสาทช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทช่างปี่ เป็นอโรคยศาล หรืออโรคยศาลา หรือโรงพยาบาล หนึ่งในจำนวน 102 แห่ง ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอมโบราณ โปรดให้สร้างขึ้น ตั้งอยู่ที่บ้านช่างปี่ ตำบลช่างปี่ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยนผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง และหินทราย ตั้งแต่ปี 2553 กรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะปราสาทช่างปี่ พบโปราณวัตถุจำนวนมา ส่วนหนึ่งนำไปเก็บรักษาไว้ (แต่ยังไม่ได้จัดแสดง: พฤษภาคม 2555) ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ อีกส่วนหนึ่งเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านช่างปี.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทช่างปี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบ้านพลวง

ปราสาทบ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านพลวง ตั้งอยู่ที่บ้านพลวง ตำบลบ้านพลวง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศาสนสถานขนาดเล็ก หรือสรุก จำนวน 1 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างตามแบบศิลปะแบบบาปวนสร้างด้วยหินทรายสีขาวบนฐานศิลาแลง ล้อมรอบด้วยคูน้ำรูปตัวยู องค์ปราสาทมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 4 x 4 เมตร ฐานศิลาแลงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดประมาณ 8 x 23 เมตร สันนิษฐานกันว่า ด้วยฐานศิลาแลงขนาดใหญ่เพียงนี้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีความตั้งใจสร้างให้มีปราสาท 3 องค์ บนฐานเดียวกัน แต่คงมีเหตุการณ์สำคัญ เช่น สงคราม โรคระบาด ความแห้งแล้ง จึงส่งผลให้การสร้างปราสาทชะงักไป ปราสาทมีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว อีกทางด้านเป็นประตูหลอก ทับหลังด้านตะวันออกและด้านใต้สลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ทับหลังด้านทิศเหนือสลักเป็นภาพพระศิวะปราบนาคกาลิยะ ส่วนทับหลังด้านตะวันตกยังไม่ได้สลักภาพใดๆ ปราสาทบ้านพลวงเป็นปราสาทที่ยังสร้างไม่เสร็จ สังเกตได้จากภาพแกะสลักยังไม่เสร็จ โดยภาพส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวของเทพปกรณัมในลัทธิไศวะนิกาย แต่มีการสลักภาพสัตว์ เช่น สลักภาพกระรอกกระแต และกวางป่าไว้เหนือใบระกาด้านต่อดอกพันธุ์พฤกษา ซึ่งไม่ปรากฏในปราสาทแห่งใด ปราสาทบ้านพลวง ได้รับการบูรณะเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทบ้านพลวง · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ)

ปราสาทบ้านสนม หรือ ปราสาทวัดธาตุ เป็นปราสาทตั้งอยู่ในวัดธาตุ บ้านสนม อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์ คาดว่าสร้างสมัยอาณาจักรขอมเรืองอำนาจประมาณ พ.ศ. 1800 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระองค์โปรดให้สร้างที่พักคนเดินทาง และสร้างอโรคยาศาล หรือสถานพยาบาลขึ้นในชุมชนต่าง ๆ มากมาย ปราสาทแห่งนี้มีขนาดโดยประมาณ กว้าง 20 เมตร ยาว 25 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร สร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม เดิมมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ประมาณ 2 - 3 โอบ จำนวนมาก ได้แก่ ประดู่ ตะแบก ยาง ตะคร้อ ตาเสือ คำไก่ ซึ่งปราสาทหลังนี้มองจากทุ่งนา นอกบ้านเห็นเด่นชัด บริเวณรอบ ๆ ปราสาทมีสระน้ำเรียงรายทั้งสี่ด้าน ในบริเวณวัด ในบริเวณปราสาท ทางวัดได้รื้อปราสาทลง และก่อสร้างอุโบสถแทน เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทบ้านสนม (ปราสาทวัดธาตุ) · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบ้านอนันต์

ปราสาทบ้านอนันต์ ปราสาทบ้านอนันต์ หรือ บ้านอนาร์ ตั้งอยู่ภายในวัดบ้านอนันต์ ริมทางหลวงแผ่นดินหลายเลข 226 (สุรินทร์-ศรีสะเกษ) บ้านอนันต์ ตำบลยาง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กก่อด้วยอิฐไม่สอปูน ตั้งอยู่บ้านฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม มีประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออกเพียงประตูเดียว กรอบประตูทำจากหินทราย เสาประดับกรอบปรตูไม่มีลวดลายสลักไว้ ส่วนอีกสามด้านทำเป็นประตูหลอก ด้านหน้าปราสาทมีทับหลังศิลปะบาปวนตกอยู่ชิ้นหนึ่ง มีสภาพหักครึ่ง ปราสาทอยู่ในสภาพทรุดโทรม.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทบ้านอนันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทบ้านไพล

ปราสาทบ้านไพล ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทบ้านไพล ตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท หมู่ที่ 6 ตำบลเชื้อเพลิง อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นศาสนาสถานในชุมชน หรือสรุก เป็นปราสาทอิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำรูปตัวยูล้อมรอบ องค์ปราสาทมีแผนผังและขนาดเท่ากันทั้งสามองค์ คือ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 4×4 เมตร มีประตูทางเข้าออกด้านหน้าเพียงด้านเดียว ทับหลังของปราสาทองค์กลางและองค์ด้านทิศเหนือสลักเป็นรูปบุคคลนั่งชันเข่าหนือหน้ากาล ส่วนทับหลังปราสาทองค์ด้านทิศใต้สลักเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งปราสาทองค์ด้านทิศใต้พังทลายไปหมดสิ้นแล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทบ้านไพล · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทภูมิโปน

right ปราสาทภูมิโปน.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทภูมิโปน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทยายเหงา

ปราสาทยายเหงา ปราสาทยายเหง.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทยายเหงา · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทศีขรภูมิ

ปราสาทศีขรภูมิ หรือ ปราสาทระแงง ตั้งอยู่ข้างวัดบ้านปราสาท บ้านปราสาท ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ปราสาทหลังนี้เป็นปราสาทที่งดงามที่สุดในจังหวัดสุรินทร์ โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระธิดาทั้ง 3 (มี หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล เป็นต้น) ได้เดินทางมาเยือนเมื่อ มกราคม - กุมภาพันธ์ 2472 (นับอย่างใหม่ต้องปี พ.ศ. 2473) และได้ถูกรวมเข้ากันกับอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูม.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทศีขรภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย

ปราสาทสังข์ศิลป์ชัย ตั้งอยู่ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทอิฐองค์เดียว สภาพปรักหักพัง จากทับหลังที่เหลือให้เห็นในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกับทับหลังแบบเกาะแกร์ ดังนั้นปราสาทสังข์ศิลป์ชัยน่าจะสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ 15.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทสังข์ศิลป์ชัย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตระเปียงเตีย

ปราสาทตระเปียงเตีย ปราสาทตระเปียงเตีย หรือ ปราสาทตะเปียงเตีย ตั้งอยู่ที่บ้านหนองเกาะ ตำบลตะเปียงเตีย อำเภอลำดวน จังหวัดสุรินทร์ มีลักษณะเป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกัน 4 ชั้น ส่วนยอดทำเป็นรูปดอกบัวตูม เมื่อพิจารณาจากลัษณะสถาปัตยกรรม พบว่าเป็นแบบลาวร่วมสมัยกับอยุธยาตอนปลาย หรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตระเปียงเตีย เป็นภาษาเขมรท้องถิ่น คำว่า "ตระเปียง" แปลงว่าบ่อ สระ หนอง หรือหลุมที่มนุษย์ขุดขึ้น หรืออาจจะหมายถึงบารายที่ปราสาทขอมทุกแห่งมักจะมี หรืออาจจะเป็นแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนคำว่า "เตีย" หมายถึง เป็ด แปลรวมกันได้ความว่า ตระเปียงเตีย แปลว่า หนองเป็ด ซึ่งเป็นไปได้ว่าในอดีตบริเวณดังกล่าวมีนกเป็ดน้ำอพยพย้ายถิ่นมาอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวก็เป็นได้.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทตระเปียงเตีย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาควาย

ปราสาทตาควาย หรือปราสาทตาวาย หรือในภาษาเขมรเรียกว่า ปราสาทกรอเบย (ប្រាសាទ​តា​ក្របី​ บฺราสาท​ตา​กฺรบี​) ตั้งอยู่บริเวณช่องตาควาย ในเขตบ้านไทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหินศิลาแลง ตั้งทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทตาเมือนธม ห่างไปประมาณ 12 กิโลเมตร ปราสาทตาควายตั้งอยู่บนสันเขาห่างจากหน้าผาสูงประมาณ 10 เมตร ของเทือกเขาพนมดงรัก เป็นปราสาทจตุรมุข ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ผังของปราสาทเป็นรูปกากบาท ส่วนฐานต่ำ ส่วนล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ส่วนบนก่อด้วยศิลาทรายทั้งหมด หลังคาห้องครรภคฤหะ ก่อเป็นทรงพุ่มยอดปรางค์ ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น ส่วนหลังคามุขก่อเป็นรูปประทุน จรดหน้าบันทั้ง 4 ด้าน ภายในห้องมีประติมากรรม ลักษณะคล้ายสวายยัมภูวลึงค์ 1 ชิ้น นักประวัติศาสตร์คาดการณ์จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างในช่วงปลายสมัยนครวัด ต่อตอนต้นสมัยบายน ระหว่างรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปราสาทตาวายตั้งอยู่บนพื้นที่ค่อนข้างห่างไกล ต้องเดินเท้าเป็นระยะ 3-4 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทตาควาย · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือน

ปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน (Prasat Ta Muen, Prasat Ta Moen) หรือ ปราสาทบายกรีม ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลบ้านตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดเล็กที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือน อย่ห่างจากปราสาทตาเมือนโต๊ด ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 390 เมตร เป็นปราสาทที่เล็กที่สุด ก่อด้วยศิลาแลง มีลักษณะเป็นห้องยาว เชื่อว่าเป็นธรรมศาลา หรือที่พักสำหรับคนเดินทาง.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทตาเมือน · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนธม

ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนธม (ប្រាសាទតាមាន់ធំ. ตาม็วนธม - ตาไก่ใหญ่) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลังเรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่ม (ธม เป็นภาษาเขมร แปลว่า ใหญ่) ตัวปราสาทอยู่บนเนินเขาสร้างคร่อมโขดหินธรรมชาติที่ศักดิ์สิทธิ์ในรูปของสยัมภูศิวลึงค์ และเป็นที่สำหรับประกอบพิธีกรรม ตัวปราสาทตาเมือนธม หันหน้าไปทางทิศใต้ ผิดแผกจากแห่งอื่นซึ่งมักจะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก รับกับเส้นทางที่มาจากเขมรต่ำผ่านมาทางช่องทางตาเมือนนี้ ปราสาทตาเมือนธมประกอบด้วยปราสาทประธาน มีอาคารอื่น คือปรางค์ก่อด้วยหินทรายสองหลัง อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือของปราสาทประธาน มีบรรณาลัยศิลาแลงสองหลัง และนอกระเบียงคดทางทิศเหนือ มีสระน้ำขนาดเล็กสองสระ ปราสาทแห่งนี้อยู่ใกล้เขตชายแดนเขมรมากที่สุด การเที่ยวชมจึงควรอยู่เฉพาะภายในเขตปราสาทเท่านั้น ไม่ควรเดินออกไปไกลจากแนวต้นไม้รอบปราสาทเพราะพื้นที่นี้ยังไม่ปลอดภัยนัก.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทตาเมือนธม · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทตาเมือนโต๊ด

ปราสาทตาเมือนโต๊ด ปราสาทตาเมือนโต๊ด (​ប្រាសាទតាមាន់តូច. ตาม็วนโตจ - ตาไก่เล็ก) ตั้งอยู่ในช่องเขาตาเมือน (หรือช่องเขาตาเมียง) เทือกเขาพนมดงรัก ในเขตบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นปราสาทหลังหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือน ซึ่งประกอบด้วยปราสาทหินสามหลัง เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก คือ ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน ปราสาทตาเมือนโต๊ดอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนธมไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 750 เมตร และอยู่ห่างจากปราสาทตาเมือนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 390 เมตร ก่อด้วยศิลาแลง มีกำแพงล้อมรอบและมีสระน้ำขนาดเล็กอยู่ทางทิศเหนือหนึ่งสระ เชื่อกันว่าปราสาทแห่งนี้เป็นอโรคยศาลหรือสถานรักษาพยาบาลของชุมชนหรือตามรายทางที่เป็นเส้นทางคมนาคม ซึ่งนิยมสร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทตาเมือนโต๊ด · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาทเมืองที

ปราสาทเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ ปราสาทเมืองที ตั้งอยู่ที่บ้านเมืองที หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ ประกอบด้วยปรางค์ ๕ องค์ ก่อสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปัจจุบันหักพังเหลือเพียง ๓ องค์ คือ องค์กลาง องค์มุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และองค์ด้านตะวันตกเฉียงใต้ องค์กลางมีขนาดใหญ่ที่สุด เนื่องจากการดัดแปลงในสมัยต่อๆ มา ส่วนยอดทำเป็นแบบตัวเรือนธาตุซ้อนกัน 3 ชั้น ส่วนบนหัก ที่เหลืออีก 2 องค์มีขนาดและลักษณะคล้ายคลึงกัน จากแผนผังและลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์ปรางค์ที่มีลักษณะผอมเรียว ปราสาทเมืองทีจัดเป็นโบราณสถานศิลปะลาว ที่มีการสร้างขึ้นโดยคนในชุมชนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 23 - 24.

ใหม่!!: รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์และปราสาทเมืองที · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดสุรินทร์ที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »