โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกา

ดัชนี รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกา

นี่คือธงชาติประเทศและดินแดนของทวีปแอฟริก.

77 ความสัมพันธ์: การถือผิวรายชื่อธงในประเทศกานารายชื่อธงในประเทศอียิปต์รายชื่อธงในประเทศซิมบับเวรายชื่อธงในประเทศแอฟริกาใต้รายชื่อธงในประเทศโรดิเซียรายชื่อธงในประเทศไนจีเรียรายชื่อธงในประเทศเคนยาสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับสหภาพแอฟริกาใต้สหสาธารณรัฐอาหรับธงชาติธงชาติบอตสวานาธงชาติชาดธงชาติบุรุนดีธงชาติบูร์กินาฟาโซธงชาติกาบองธงชาติกาบูเวร์ดีธงชาติกานาธงชาติกินีธงชาติกินี-บิสเซาธงชาติมอริเชียสธงชาติมอริเตเนียธงชาติมาลาวีธงชาติมาลีธงชาติมาดากัสการ์ธงชาติยูกันดาธงชาติรวันดาธงชาติลิเบียธงชาติสาธารณรัฐคองโกธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลางธงชาติอิเควทอเรียลกินีธงชาติอียิปต์ธงชาติจิบูตีธงชาติคอโมโรสธงชาติตูนีเซียธงชาติซิมบับเวธงชาติซูดานธงชาตินามิเบียธงชาติแกมเบียธงชาติแอฟริกาใต้ธงชาติแอลจีเรียธงชาติแองโกลาธงชาติแทนซาเนียธงชาติแคเมอรูนธงชาติแซมเบียธงชาติโกตดิวัวร์ธงชาติโมร็อกโก...ธงชาติโมซัมบิกธงชาติโตโกธงชาติโซมาลีแลนด์ธงชาติโซมาเลียธงชาติไลบีเรียธงชาติไนจีเรียธงชาติไนเจอร์ธงชาติเบนินธงชาติเลโซโทธงชาติเอริเทรียธงชาติเอสวาตีนีธงชาติเอธิโอเปียธงชาติเคนยาธงชาติเซาท์ซูดานธงชาติเซาตูเมและปรินซีปีธงชาติเซียร์ราลีโอนธงชาติเซเชลส์ธงชาติเซเนกัลธงตริสตันดากูนยาธงเซนต์เฮเลนาทวีปแอฟริกาประเทศฝรั่งเศสประเทศสเปนประเทศโปรตุเกสแซนซิบาร์โอเปกเซาเทิร์นโรดีเชีย ขยายดัชนี (27 มากกว่า) »

การถือผิว

แผ่นป้ายการแยกผิวบนหาด Durban ในภาษาอังกฤษ ภาษาแอฟริกัน และภาษาซูลู การถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ (Apartheid) เป็นระบบการแบ่งแยกกลุ่มคนต่างเชื้อชาติในประเทศแอฟริกาใต้ออกจากกัน บังคับใช้โดยรัฐบาลของพรรค National Party ในประเทศแอฟริกาใต้ ระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและการถือผิว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศกานา

หน้านี่แสดงรายชื่อธงประเภทต่างๆ ของประเทศกาน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศกานา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศอียิปต์

ตารางข้างล่างนี้แสดงธง ที่ใช้ในประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ อ่านเพิ่มเติมที่หัวข้อธงชาติอียิปต.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศซิมบับเว

รายการของธงต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศซิมบับเว ระหว่างปี พ.ศ. 2523 และในปัจจุบันนี้ สำหรับธงในยุคก่อนหน้..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศซิมบับเว · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศแอฟริกาใต้

งต่าง ๆ ในหน้านี้ เป็นธงชาติ และธงอื่น ๆ ที่มีการใช้ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศโรดิเซีย

นี้คือรายการภาพธงที่เคยใช้ในโรดิเซียใต้ ระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศโรดิเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศไนจีเรีย

ตารางข้างล่างแสดงเป็นภาพธงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในประเทศไนจีเรี.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อธงในประเทศเคนยา

หน้านี้รายชื่อธงต่างๆ ที่ใช้ในประเทศเคน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและรายชื่อธงในประเทศเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ

หพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ (اتحاد الجمهوريات العربية Ittiħād Al-Jumhūriyyāt Al-`Arabiyya) เป็นความพยายามรวมลิเบีย อียิปต์และซีเรียของมูอัมมาร์ อัล-กัดดาฟี แม้จะได้รับการรับรองจาก การลงประชามติเกี่ยวกับสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรั..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพแอฟริกาใต้

Union of South Africa Red Ensign (1912–1928) Union of South Africa Blue Ensign (1912–1928) สหภาพแอฟริกาใต้ คืออดีตรัฐที่ดำรงสถานะก่อนหน้าสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในยุคของการถือผิว.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและสหภาพแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

สหสาธารณรัฐอาหรับ

หสาธารณรัฐอาหรับ (United Arab Republic; UAR; الجمهورية العربية المتحدة) เป็นสหภาพทางการเมืองอายุสั้นระหว่าง อียิปต์ และ ซีเรีย การรวมตัวกันเริ่มต้นเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและสหสาธารณรัฐอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติ

งของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 กลางธงมีตรานกอินทรีแห่งนโปเลียน. ธงชาติประจำประเทศต่างๆ ธงชาติเดนมาร์ก เป็นธงราชการที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ธงชาติ คือธงที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของประเทศและดินแดนต่างๆ ปกติแล้วรัฐบาลของประเทศต่างๆ ย่อมเป็นผู้กำหนดแบบธงชาติและข้อบังคับการใช้ธงชาติ หากแต่พลเมืองในแต่ละประเทศก็สามารถใช้ธงชาติในดินแดนของตนเองได้เช่นกัน โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับการใช้ธงตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ ธงชาตินิยมใช้ชักตามสถานที่ต่างๆ ทั้งของเอกชนและของรัฐ เช่น โรงเรียน และศาลาว่าการเมือง แต่ในบางประเทศ ได้มีข้อกำหนดการใช้ธงชาติว่าจะชักอยู่บนอาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาคารทางทหารได้ในวันที่กำหนดให้ชักธงบางวันเท่านั้น ตามหลักสากล นิยมแบ่งลักษณะการใช้ธงชาติออกเป็น 3 ประเภทสำหรับใช้บนแผ่นดิน และอีก 3 ประเภทสำหรับใช้ในภาคพื้นทะเล แม้ว่าหลายประเทศมักจะใช้ธงชาติเพียงแบบเดียวในการใช้ธงหลายๆ ลักษณะ และบางทีก็ใช้ธงชาติในหน้าที่ทั้ง 6 ประเภทก็ตาม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบอตสวานา

งชาติบอตสวานา เป็นธงพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีฟ้า กลางธงมีแถบสีดำขนาบด้วยขอบสีขาวขนาดเล็กพาดผ่านตามแนวนอน สัดส่วนความกว้างของแต่ละแถบนั้นคือ 9:1:4:1:9 (วัดตามแนวตั้ง) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2509 อันเป็นวันที่ประเทศนี้ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร พื้นธงสีฟ้าหมายถึงน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือน้ำฝน ซึ่งมาจากคำขวัญประจำชาติในตราแผ่นดินที่ว่า Pula อันเป็นคำในภาษาเซตสวานา แปลตามตัวว่า "ฝน" หากแปลเอาความหมายจะหมายถึง "ขอให้ฝนจงตกลงมา" แถบสีดำขอบขาวหมายถึงความกลมกลืนทางเชื้อชาติระหว่างคนผิวดำกับคนผิวขาว และหมายถึงม้าลายซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาต.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติบอตสวานา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติชาด

20px ธงชาติชาด สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติสาธารณรัฐชาด มีลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบอย่างธงชาติฝรั่งเศส กล่าวคือ แต่ละแถบแบ่งตามแนวตั้งและมีความกว้างเท่ากัน ประกอบด้วยแถบสีน้ำเงิน สีเหลือง และสีแดง เรียงจากด้านคันธงไปยังด้านปลายธง ลักษณะโดยรวมของธงนี้พ้องกับธงชาติโรมาเนียเกือบทุกประการ ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่เมื่อชาดเป็นสาธารณรัฐปกครองตนเองและได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2503 และแม้ว่าประเทศจะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายในอีกหลายครั้ง แต่แบบธงชาติชาดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ เหตุที่ประเทศใช้ธงสามแถบอย่างนี้ ก็เนื่องจากได้รับอิทธิพลการออกแบบธงจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของชาดมาก่อน ส่วนแถบสีในธงนี้จัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกา ความหมายของสีธงชาติชาดมีดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติชาด · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบุรุนดี

20px ธงชาติบุรุนดี สัดส่วนธง 3:5 ธงชาติบุรุนดี เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกากบาททแยงสีขาว โดนช่องซ้ายและช่องขาวที่เกิดจากการแบ่งมีพื้นสีเขียว ช่องบนและช่องล่างพื้นสีแดง กลางการบาทนั้นเป็นรูปวงกลมสีขาว ภายในมีดาวหกแฉกสีแดงขอบเขียว 3 ดวง เรียงเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (แถวบน 2 ดวง แถวล่าง 1 ดวง) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2520 ในธงนี้ สีเขียวหมายถึงความหวัง สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราช สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ ดาวสีเขียวขอบแดงทั้งสามดวง หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ 3 กลุ่มหลักของประเทศ ได้แก่ ชาวฮูตู (Hutu) ชาวทวา (Twa) และชาวทุตซี (Tutsi) และหมายถึงหลักการตามคำขวัญประจำชาติ 3 ข้อ คือ เอกภาพ การงาน และความก้าวหน้.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติบุรุนดี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติบูร์กินาฟาโซ

งชาติบูร์กินาฟาโซ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนพื้นสีแดง ครึ่งล่างพื้นสีเขียว กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง ธงนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2527 หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปีนั้น ซึ่งนำโดยร้อยเอกโตมาส์ ซังการา (Thomas Sankara - ต่อมาคือประธานาธิบดีคนแรกของประเทศนี้) สีในธงนี้ถือเป็นสีพันธมิตรแอฟริกาเช่นเดียวกับธงในหลายประเทศ ซึ่งมีต้นแบบมาจากธงชาติเอธิโอเปีย โดยสีแดงหมายถึงการต่อสู้ในการปฏิวัติประเทศ สีเขียวหมายถึงความหวังและความอุดมสมบูรณ์ ดาวสีเหลืองหมายถึงความมั่งคั่งด้วยทรัพยากรแร่ธาตุของประเท.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติบูร์กินาฟาโซ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกาบอง

งชาติกาบอง เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 4 ส่วน ซึ่งสัดส่วนที่กล่าวมานั้นใกล้เคียงกันรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมาก ภายในแบ่งเป็น 3 แถบตามแนวนอน สีเขียว-สีขาว-สีฟ้า เรียกจากบนลงล่าง ทุกแถบมีความกว้างเท่ากัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2503 ก่อนหน้าที่กาบองจะประกาศเอกราชนั้น ธงชาติกาบองภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสมีลักษณะที่คล้ายกับธงปัจจุบัน แต่แถบสีเหลืองนั้นจะแคบกว่าแถบอื่น และที่มุมธงบนด้านคันธงจะมีภาพธงชาติฝรั่งเศสอยู่ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติกาบอง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกาบูเวร์ดี

งชาติกาบูเวร์ดี ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1992 เป็นธงสีน้ำเงิน มีแถบสีแดงซึ่งขนาบที่ตอนบนและตอนล่างด้วยแถบสีขาวอีกที บนธงมีดาวสีเหลือง 10 ดวง แทนจำนวนเกาะของประเทศ สีน้ำเงินแทนมหาสมุทรและท้องฟ้า สีแดงแทนความมุมานะ สีขาวแทนสันติภาพ เมื่อรวมกันจะแทนเส้นทางสู่การสร้างชาต.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติกาบูเวร์ดี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกานา

งชาติกานา เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน แถบบนพื้นสีแดง แถบกลางสีทอง และแถบล่างสีเขียว ซึ่งเป็นสีพันธมิตรแอฟริกาตามแบบที่ใช้ในธงชาติเอธิโอเปีย กลางแถบสีเหลืองนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีดำ ธงนี้นับเป็นธงชาติในทวีปแอฟริกาธงแรก ที่ออกแบบโดยใช้สีตามธงชาติเอธิโอเปีย ออกแบบโดยนางธีโอโดเซีย โอโกห์ เริ่มใช้เมื่อ พ.ศ. 2500 หลังจากกานาได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ความหมายของสีในธงชาติ คือ สีแดง หมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชของชาวกานา สีทอง หมายถึงความมั่งคั่งของทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ สีเขียว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติ และดาวสีดำดวงเดียว หมายถึงดาวที่ส่องนำทางไปสู่เสรีภาพของชาวแอฟริกาทั้งปวง ในช่วงปี พ.ศ. 2502 กานาได้เข้าร่วมกับกินีจัดตั้งเป็นสหรัฐแอฟริกา และ ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน มาลี ซึ่งดาวดำบนธงชาติในช่วงนั้นมี 2 ดวง และ 3 ดวงตามลำดับ จนมาถึงปี พ.ศ. 2505 สหรัฐแอฟริกาได้ล่มสลายเนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองภายใน และ จากนั้นในปี พ.ศ. 2507 - 2509 ธงนี้ได้มีการเปลี่ยนแถบตรงกลางจากสีทองเป็นสีขาว ก่อนที่จะกลับมาใช้ธงแบบเดิมอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ธรรมเนียมการใช้ธงในประเทศกานานั้น เห็นได้ชัดว่าได้รับอิทธิพลจากประเทศสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมเดิม ยกตัวอย่างเช่น ธงนาวีกานา ซึ่งใช้ในกองทัพเรือกานานั้น เป็นธงพื้นสีขาวมีกากบาทสีแดงอยู่กลางธง ที่มุมธงด้านคันธงนั้นมีธงชาติกานา ในลักษณะอย่างเดียวกันกับธงแสดงสัญชาติสีขาว ส่วนธงเรือเอกชนกานานั้น ใช้ธงพื้นสีแดง ที่มุมธงด้านคันธงมีธงชาติกานามีขอบสีดำ ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการเลียนแบบจากธงแสดงสัญชาติสีแดง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติกานา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกินี

23px ธงชาติกินี สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติกินี เริ่มใช้หลังประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส เมื่อวันที่ สักษณะเป็นธงสามสีอย่างธงชาติฝรั่งเศส กล่าวคือ เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็น 3 แถบตามแนวตั้ง เรียงจากด้านคันธงไปยังปลายธงคือ สีแดง สีเหลือง และสีเขียว แต่ละแถบกว้างเท่ากัน ถือได้ว่าธงนี้ได้รับอิทธิพลในการออกแบบจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมเดิมโดยตรง สีในธงนี้เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา โดยมีที่มาจากสีของขบวนการ Rassemblement Democratique Africaine ซึ่งเป็นขบวนการเรียกร้องเอกราชของกินี ส่วนเหตุที่เรียงแถบสีตามแนวตั้ง ก็เพื่อให้ต่างจากธงชาติกานาซึ่งประกาศใช้ธงสามสีเช่นนี้ก่อนในปี พ.ศ. 2500 โดยแถบสีธงในนั้นเรียงกันตามแนวนอน ส่วนธงที่คล้ายกับธงชาติกินีที่สุดคือธงชาติมาลี ซึ่งใช้สีธงและเรียงแถบสีธงในลักษณะเดียวกัน เว้นแต่ว่าลำดับแถบสีธงนั้นจะเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง สำหรับความหมายของสีธงนั้น สีแดงหมายถึงการเสียสละของประชาชน สีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และความอุดมสมบูรณ์ของโลก และสีเขียวหมายถึงบรรดาพันธุ์พืชต่างๆ ในประเทศกินี.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติกินี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติกินี-บิสเซา

23px ธงชาติกินี-บิสเซา สัดส่วนธง 1:2 ธงชาติกินี-บิสเซา (Bandeira da Guiné-Bissau.) เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อประเทศได้รับอิสรภาพจากสาธารณรัฐโปรตุเกสในวันที่ มีลักษณะเป็นธงสามสี พื้นธงแบ่งเป็นสามส่วน ส่วนแรกเป็นแถบสีแดงแนวตั้งอยู่ที่ด้านติดคันธง ความกว้างเป็น 1 ใน 3 ของความยาวธงทั้งหมด ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีดำ พื้นธงที่เหลืองแบ่งครึ่งเป็น 2 ส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีเหลือง ครึ่งล่างสีเขียว สีเหล่านี้เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา โดยดัดแปลงมาจากธงชาติกานา ความหมายของสีในธงชาตินั้น สีแดงหมายถึงเลือดของผู้สละชีพเพื่อเอกราชชาติ สีเขียวหมายถึงป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์และความหวัง สีเหลืองความมั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติ และดาวสีดำหมายถึงเอกภาพของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติกินี-บิสเซา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมอริเชียส

งชาติมอริเชียส เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบ 4 แถบตามแนวนอน แต่ละแถบกว้างเท่ากัน เรียงลำดับจากบนลงล่างเป็นสีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง และสีเขียว แบบของธงนี้ได้รับการบันทึกโดยสถาบัน College of Arms ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2511 และประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ปีเดียวกัน อันเป็นวันที่มอริเชียสได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ในธงนี้ สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราชชาติ สีน้ำเงินหมายถึงมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของเกาะมอริเชียส สีเหลืองหมายถึงแสงแห่งเอกราชที่ทาบทาเหนือแผ่นดิน สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพรรณต่างๆ นานา สำหรับเรือพลเรือนในบังคับของมอริเชียส ใช้ธงพื้นแดงมีรูปธงชาติมอริเชียสที่มุมธงบนด้านคันธง ที่ปลายธงมีภาพตราแผ่นดินของมอริเชียสในวงกลมสีขาว ส่วนเรือในราชการใช้ธงลักษณะที่คล้ายกัน แต่เปลี่ยนพื้นธงเป็นสีน้ำเงิน และรูปตราแผ่นดินที่ปลายธงไม่มีพื้นวงกลมสีขาว สำหรับธงของกองเรือรักษาชายฝั่งนั้นจะมีลักษณะที่แปลกออกไปจากธงอื่น กล่าวคือ เป็นธงแถบสีแดง-ขาว-น้ำเงิน แบ่งเป็นแถบแนวตั้ง 11 แถบ เรียงเป็นแถบสีน้ำเงิน-ขาว-แดง-ขาว-แดง-ขาว-แดง-ขาว-แดง-ขาว-น้ำเงิน ความกว้างแต่ละแถบไม่เท่ากันนัก แต่แถบสีขาวที่อยู่กลาง (แถบที่ 7) เป็นแถบกว้างที่สุด ในแถบนั้นมีรูปสมอเรือ-กุญแจสีแดงพันด้วยเชือกสีเขียว เบื้องบนมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง ไฟล์:Flag of Mauritius.svg|20px ธงชาติและธงฉาน สัดส่วนธง 2:3 ไฟล์:Civil Ensign of Mauritius.svg|20px ธงเรือพลเรือน สัดส่วนธง 1:2 ไฟล์:Government Ensign of Mauritius.svg|20px ธงเรือราชการ สัดส่วนธง 1:2 ไฟล์:Naval Ensign of Mauritius.svg|20px ธงเรือรักษาฝั่ง สัดส่วนธง 26:57 ภาพ:Flag of Mauritius 1906.svg|ธงอาณานิคม..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติมอริเชียส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมอริเตเนีย

23px ธงชาติมอริเตเนีย สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติมอริเตเนีย เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นสีเขียว กลางธงมีรูปจันทร์เสี้ยวหงาย ระหว่างปลายจันทร์เสี้ยวมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง เริ่มใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2502 อันเป็นวันที่ประเทศนี้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส พื้นธงสีเขียว รูปจันทร์เสี้ยวและดาว สัญลักษณ์ทั้งสองอย่างนี้หมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองหมายถึงทรายในทะเลทรายซาฮารา อนึ่ง ทั้งสีเขียวและสีเหลืองนี้จัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกาด้วย สีแดงทั้งบนและล่างหมายถึงทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติมอริเตเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาลาวี

งชาติมาลาวี เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่ไนแอซาแลนด์ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติมาลาวี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาลี

งชาติสหพันธรัฐมาลี พ.ศ. 2502 - 2504 ธงชาติมาลี มีลักษณะเป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งแถบตามแนวตั้งความกว้างเท่ากันทุกแถบ เรียงเป็นแถบสีเขียว สีเหลือง และสีแดง ตามลำดับจากด้านคันธง รูปแบบของธงนี้ได้รับอิทธิพลจากธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติเจ้าอาณานิคมเดิม ส่วนสีในธงมาจากสีพันธมิตรแอฟริกา เดิมธงชาติมาลีมีลักษณะที่คล้ายกับที่ใช้ในปัจจุบัน แต่มีรูปวาดเป็นภาพคนสีดำชูอาวุธ (ภาพนี้เรียกชื่อว่า "คานากา" - "kanaga") อยู่ตรงกลางแถบสีเหลือง ธงดังกล่าวเริ่มใช้เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2502 เมื่อมาลีในขณะนั้นได้เข้าร่วมในประเทศสหพันธรัฐมาลี (ประกอบด้วยประเทศมาลี ประเทศเซเนกัล และประเทศกานาในปัจจุบัน มีอายุอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 - 2503) ภาพดังกล่าวนี้ได้ถูกเอาออกไปจากธงชาติในภายหลังตามแนวคิดต่อต้านรูปเคารพในศาสนาอิสลาม เนื่องจากประชากรกว่าร้อยละ 90 ของมาลีเป็นผู้นับถือศาสนานี้ ภายหลังเมื่อกานาแยกตัวจากมาลีในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2504 ธงนี้ก็คงใช้เป็นธงของประเทศมาลีสืบมาจนถึงทุกวันนี้.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติมาลี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติมาดากัสการ์

23px ธงชาติมาดากัสการ์ สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติมาดากัสการ์ เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศนี้เตรียมการลงประชามติต่อสถานะของประเทศในประชาคมฝรั่งเศส และเป็นเวลาก่อนหน้าการประกาศเอกราชจากประเทศฝรั่งเศส 2 ปี ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตอนต้นธงเป็นแถบสีขาวตามแนวตั้ง กว้างเป็น 1 ใน 3 ส่วนของความยาวธง ส่วนที่เหลือตอนปลายธงแบ่งครึ่งตามแนวนอน ครึ่งบนเป็นพื้นสีแดง ครึ่งล่างพื้นสีเขียว สีในธงชาติมาร์ดากัสการ์นี้สะท้อนถึงประวัติศาสตร์ของประเทศ ความปรารถนาในอิสรภาพ และชนชั้นในสังคมมาร์ดากัสการ์ โดยสีแดงและสีขาวนั้นคือสีธงของสมเด็จพระราชินีรานาวาโลนาที่ 3 (Ranavalona III) กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรเมรินา (Merina kingdom) ซึ่งพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2439 และสีนี้อาจเป็นเครื่องบ่งบอกว่าชาวมาร์ดากัสการ์มาจากคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังปรากฏการใช้สีดังกล่าวนี้ร่วมกันในธงชาติอินโดนีเซีย ส่วนสีเขียวหมายถึงชนชั้นโฮวา (Hova) อันเป็นชนชั้นสามัญชนในสังคมมาร์ดากัสการ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านและเรียกร้องเอกราชจากฝรั่ง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติยูกันดา

งชาติยูกันดา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบแบ่งตามแนวนอน 6 แถบ เรียงเป็นแถบสีดำ-เหลือง-แดง-ดำ-เหลือง-แดง ตามลำดับจากบนลงล่าง กลางธงมีวงกลมสีขาวความกว้างเท่ากับ 2 ใน 6 ของความกว้างธง ภายในมีรูปนกกระเรียนลำตัวสีเทาดำ หางสีแดง หงอนสีแดง-เหลือง-แดง ซึ่งเป็นนกกระเรียนชนิดที่เรียกว่า Grey Crowned Crane หรือนกกระเรียนมงกุฎเทา นกนี้หันหน้าไปทางด้านคันธง ธงนี้ออกแบบโดยนายเกรซ อิบิงกิรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของยูกันดาในขณะนั้น และเริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2515 อันเป็นวันที่ประเทศได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร สีในธงชาติทั้งสามสี (ดำ-เหลือง-แดง) มาจากสีของธงประจำพรรคคองเกรสประชาชนยูกันดา (Uganda People's Congress) มีความหมายถึงประชาชนชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีดำ) แสงอาทิตย์ที่สาดส่องเหนือแผ่นดิน (แทนด้วยสีเหลือง) และภราดรภาพของชาวแอฟริกา (แทนด้วยสีแดง ซึ่งเป็นสีแห่งเลือดที่เชื่องโยงชาวแอฟริกาไว้ด้วยกัน) ส่วนรูปนกกระเรียนนั้นเป็นรูปสัญลักษณ์ถึงธรรมชาติอันอ่อนโยนของยูกันดา ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนประเทศยูกันดามาตั้งแต่สมัยอาณานิคม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติยูกันดา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติรวันดา

20px ธงชาติรวันดา สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติรวันดา พ.ศ. 2505 - 2544 ธงชาติราชอาณาจักรรวันดา พ.ศ. 2502 - 2505 ธงชาติรวันดา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งตามแนวนอนเป็น 3 แถบ แถบบนสุดพื้นสีฟ้ากว้าง 2 ใน 4 ส่วน ของความกว้างธงชาติ ที่มุมธงบนด้านปลายธงมีรูปดวงอาทิตย์เปล่งรัศมี 24 แฉก แถบกลางกว้าง 1 ใน 4 ส่วนของความกว้างธง มีพื้นสีเหลือง แถบล่างสุดพื้นสีเขียว มีความกว้างเท่ากับแถบกลาง อนึ่ง ระดับสีของสีเหลืองในแถบกลางและรูปดวงอาทิตย์นั้นต่างกันเล็กน้อย โดยสีเหลืองของดวงอาทิตย์นั้นจะเข้มกว่าสีในแถบกลาง ธงนี้ออกแบบโดยอัลฟอนซ์ คิริโมเบเนซีโอ (Alphonse Kirimobenecyo) และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ในธงชาตินี้ สีฟ้าหมายถึงความสุขและสันติภาพ สีเหลืองหมายถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สีเขียวหมายถึงความมุ่งหวังต่อความเจริญรุ่งเรืองของชาติ ดวงอาทิตย์หมายถึงความรู้แจ้งในปัญญาของประชาชน ก่อนหน้านั้น ธงชาติรวันดามีลักษณะเป็นธงสามสีแถบแนวตั้งความกว้างเท่ากัน เรียงจากด้านคันธงเป็นแถบสีแดง สีเหลือง และสีเขียว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาจึงเพิ่มอักษร "R" ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของชื่อประเทศลงกลางแถบสีเหลืองในปี พ.ศ. 2505 เพื่อแยกแยะธงนี้ให้ต่างจากธงชาติกินี ซึ่งใช้ธงสามสีอย่างเดียวกันให้ชัดเจน ส่วนสีในธงจัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกา ซึ่งมีที่มาจากธงชาติเอธิโอเปีย ความหมายของสีธงชาติคือ สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเสรีภาพของประชาชน สีเหลืองหมายถึงสันติภาพและความสงบ สีเขียวหมายถึงความหวังและความเชื่อมั่น ธงนี้ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นธงมาเป็นแบบปัจจุบัน เนื่องจากได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวรวันดา (Rwandan Genocide).

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติรวันดา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติลิเบีย

งชาติลิเบีย (علم ليبيا) ในปัจจุบันเป็นธงชาติเดิมในสมัยสหราชอาณาจักรลิเบีย ระหว่าง พ.ศ. 2494 - พ.ศ. 2512 ซึ่งได้ถูกฟื้นฟูเป็นสัญลักษณ์ของชาติลิเบียอีกครั้งเมื่อเริ่มเกิดการต่อต้านรัฐบาลของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 จนกระทั่งบานปลายไปสู่สงครามกลางเมือง ต่อมาเมื่อกองทัพของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติสามารถยึดกรุงตริโปลิและโค่นล้มรัฐบาลของกัดดาฟีลงได้ จึงได้มีการประกาศฟื้นฟูฐานะธงชาติแบบเดิมขึ้นอีกครั้ง เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ปีเดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติลิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐคองโก

23px ธงชาติสาธารณรัฐคองโก สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนคองโก (2513-2535) ธงชาติสาธารณรัฐคองโก เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในมีแถบสีเหลือง พาดเป็นแนวทแยงมุมจากมุมธงบนด้านปลายธงมายังมุมธงล่างด้านคันธง แบ่งพื้นธงที่เหลือออกเป็น 2 ส่วน ด้านที่ติดคันธงเป็นพื้นสีเขียว ด้านปลายธงพื้นสีแดง สีเหล่านี้มีที่มาจากสีพันธมิตรแอฟริกาและธงชาติเอธิโอเปีย เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2501 ต่อมาถูกห้ามใช้ในปี พ.ศ. 2513 เนื่องจากประเทศเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ในชื่อสาธารณรัฐประชาชนคองโก จนกระทั่งถึงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ธงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นธงชาติคองโกอีกครั้ง หลังสิ้นสุดการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนคองโก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติสาธารณรัฐคองโก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี

รนีกา ฟอร์เก นักแสดงหญิงชาวสเปน โบกธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี มีลักษณะที่ผสมกันระหว่างธงสีพันธมิตรอาหรับกับสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 และมีการปรับแบบเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ดินแดนเวสเทิร์นสะฮาราซึ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีได้ประกาศอ้างสิทธินั้น ส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของประเทศโมร็อกโก ในเวสเทิร์นสะฮาราจึงสามารถพบธงชาติโมร็อกโกได้ทั่วไป.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกที่ใช้อยู่ในเวลานี้ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 โดยรัฐธรรมนูญใหม่ฉบับใหม่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งได้มีการให้สัตยาบันในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง

20px ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง สัดส่วนธง 3:5 ธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบสีขนาดเท่ากัน 4 แถบ ได้แก่แถบสีน้ำเงิน สีขาว สีเขียว และสีเหลือง ที่มุมธงบนด้านคันธงในแถบสีน้ำเงินมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง กลางธงชาตินั้นมีแถบสีแดงพาดผ่านตามแนวตัง กว้างประมาณ 1 ใน 5 ส่วนของความยาวธง ธงนี้ออกแบบโดย บาร์เตเลมี โบกองดา (Barthélemy Boganda) ประธานาธิบดีคนแรกของดินแดนปกครองตนเองอูบองกี-ชารี (Oubangui-Chari - ต่อมาคือประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง) ซึ่งเชื่อว่า "ฝรั่งเศสและแอฟริกาต้องก้าวเดินไปด้วยกัน" และได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2501 หลังการประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสประมาณ 4 เดือน ด้วยความเชื่อข้างต้น โบกองดาจึงได้รวมเอาสีจากธงชาติฝรั่งเศสเข้ากับสีพันธมิตรแอฟริกาในธงนี้ โดยสีแดงนั้นหมายถึงเลือดของประชาชนที่หลั่งออกมาในการต่อสู้เรียกร้องเอกราช และจะไหลรินเพื่อปกป้องชาติต่อไป สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและเสรีภาพ สีขาวคือตัวแทนของความบริสุทธิ์และความสง่างาม สีเขียวเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและความเชื่อมั่น และสีเหลืองเป็นเครื่องหมายของความมีขันติธรรม ดังนั้น ความหมายโดยรวมของธงชาติ จึงหมายถึงความปรารถนาของชาวแอฟริกากลางในความเป็นเอกภาพของชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนชาวแอฟริกาด้วยกัน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติสาธารณรัฐแอฟริกากลาง · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอิเควทอเรียลกินี

23px ธงชาติอิเควทอเรียลกินี สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติอิเควทอเรียลกินี มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในธงนั้น ที่ด้านติดคันธงมีรูปสามเหลี่ยมสีฟ้า ฐานยาวเท่าความกว้างของธง ความยาวเป็น 1 ใน 3 ของด้านยาวธง ส่วนที่เหลือแบ่งพื้นที่ภายในตามแนวนอนเป็น 3 แถบ ประกอบด้วยแถบสีเขียว สีขาว และสีแดง เรียงจากบนลงล่าง ทุกแถบนั้นกว้างเท่ากัน ที่ใจกลางแถบสีขาวนั้น มีภาพตราแผ่นดินของอิเควทอเรียลกินี ซึ่งเป็นรูปต้นฝ้ายในโล่สีเทา เบื้องบนมีรูปดาว 6 ดวงเรียงเป็นแถวโค้ง เบื้องล่างมีแพรแถบแสดงคำขวัญประจำชาติเป็นภาษาสเปนว่า Unidad Paz Justicia แปลว่า "เอกภาพ สันติภาพ ยุติธรรม" ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นวันที่อิเควทอเรียลกินีประกาศเอกราชจากสเปน ในธงนี้ สีเขียวหมายถึงป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติในประเทศ สีฟ้าหมายถึงทะเล ซึ่งเชื่อมโยงเกาะกับแผ่นดินใหญ่ไว้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ และสีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเอกราช ส่วนภาพตราแผ่นดินในธงนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2515 ก่อนที่จะกลับมาใช้ตราแบบเดิมอีกครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติอิเควทอเรียลกินี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอียิปต์

งชาติอียิปต์ (علم مصر) เป็นธงสามสีซึ่งประกอบด้วยแถบสีแนวนอนขนาดเท่ากันสามแถบ เรียงลำดับเป็นสีแดง สีขาว และสีดำ จากบนลงล่าง สีทั้งสามนี้เป็นสีที่มาจากธงขบวนการปลดแอกอาหรับ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาย้อนหลังไปถึงเหตุการณ์การปฏิวัติในอียิปต์เมื่อปี ค.ศ. 1952 ในธงดังกล่าวได้บรรจุรูปสัญลักษณ์นกอินทรีแห่งซาลาดิน อันเป็นรูปตราแผ่นดินของอียิปต์ ไว้ที่กลางแถบสีขาว ลักษณะของธงที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1984.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติจิบูตี

23px ธงชาติจิบูตี สัดส่วนธง 4:7 ธงชาติจิบูตี เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 4 ส่วน ยาว 7 ส่วน ภายในแบ่งครึ่งเป็นแถบสีฟ้าและสีเขียวตามแนวนอน ที่ด้านคันธงแบ่งเป็นช่องสามเหลี่ยมพื้นสีขาว ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีแดง 1 ดวงอยู่ตรงกลาง ธงนี้มีที่มาจากธงของสันนิบาตประชาชนแอฟริกาเพื่อเอกราช (Ligue Populaire Africaine pour l'Independance - LPAI) ซึ่งเป็นขบวนการเรียกร้องเอกราชของจิบูติ และได้รับรองเป็นธงชาติเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยชักขึ้นครั้งแรกในวันที่ 4 กรกฎาคม..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติจิบูตี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติคอโมโรส

23px ธง ชาติคอโมโรส สัด ส่วนธง 3:5 ธงชาติคอโมโรส แบบปัจจุบันเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 3 ส่วน ยาว 5 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอน 4 แถบ แต่ละแถบเป็นสีเหลือง สีขาว สีแดง และสีฟ้า เรียงจากบนลงล่าง ที่ด้านคันธงเป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นสีเขียว ภายในรูปนั้นมีจันทร์เสี้ยวสีขาว ที่ระหว่างปลายจันทร์เสี้ยวนั้นมีดาวห้าแฉกสีขาว 4 ดวงเรียงตามแนวตั้ง ธงนี้ออกแบบขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 และประกาศใช้ในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2545 แถบสีทั้ง 4 สีนี้หมายถึงเกาะทั้งสี่เกาะของประเทศ โดยสีเหลืองหมายถึงเกาะโมเอลี (Mohéli) สีขาวหมายถึงเกาะมายอต (Mayotte) ซึ่งเป็นดินแดนที่คอโมโรสอ้างสิทธิแต่มีฝรั่งเศสเป็นผู้ปกครอง สีแดงหมายถึงเกาะอองจวน (Anjouan) และสีฟ้าหมายถึงเกาะกรองด์โกมอร์ (Grande Comore) รูปดาวทั้งสี่ดวงนั้นก็มีความหมายถึงเกาะทั้งสี่เช่นกัน ส่วนจันทร์เสี้ยวนั้น หมายถึงศาสนาอิสลาม อันเป็นศาสนาประจำชาต.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติคอโมโรส · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติตูนีเซีย

งชาติตูนิเซีย (علم تونس) มีลักษณะเป็นธงพื้นสีแดง ที่กลางธงเป็นรูปวงกลมสีขาว ภายในบรรจุรูปเดือนเสี้ยวสีแดงคร่อมดาวห้าแฉกสีแดงดวงหนึ่ง อัล-ฮุสเซนที่ 2 อิบน์ มาห์มุด เบย์แห่งตูนิส (Bey of Tunis) ได้ตัดสินพระทัยที่จะกำหนดธงชาติสำหรับดินแดนตูนิสขึ้นหลังสิ้นสุดการรบที่นาวาริโนในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1827 และได้รับการยอมรับเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1831 หรือ ค.ศ. 1835 ธงดังกล่าวนี้ยังคงเป็นธงชาติของตูนีเซียสืบมาแม้ในยามที่ประเทศตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และได้รับการยืนยันในฐานะธงชาติของสาธารณรัฐตูนีเซียเมื่อมีการลงนามในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ทว่าแบบและสัดส่วนมาตรฐานของธงได้กำหนดอย่างชัดเจนในภายหลัง ตามกฎหมายธงซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1999 รูปดาวและเดือนเสี้ยวเป็นเครื่องหมายระลึกถึงธงของออตโตมาน และเป็นเครื่องบ่งชี้ทางประวัติศาสตร์ว่าตูนีเซียเคยเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมาน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติตูนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติซิมบับเว

งชาติซิมบับเว มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2523 ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งริ้วธงออกเป็น 7 แถบ ประกอบด้วยริ้วสีเขียว-เหลือง-แดง-ดำ-แดง-เหลือง-เขียว ตามลำดับ ที่ด้านคันธงนั้นเป็นรูปสามเหลี่ยมพื้นสีขาวขอบสีดำ โดยฐานสามเหลี่ยมนั้นอยู่ที่ด้านคันธง หมายถึง ความต้องการความร่วมมือและสันติสุขของชนผิวดำ ภายในรูปดังกล่าวมีรูปหินนกแกะสลักสีทอง มีชื่อเรียกว่า "นกซิมบับเว" (Zimbabwe Bird) รูปสลักดังกล่าวนี้ค้นพบครั้งแรกในโบราณสถานนครซิมบับเวโบราณ (Great Zimbabwe) มีนัยหมายถึงประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติ เบื้องหลังของรูปนกแกะสลักเป็นรูปดาวแดง 5 แฉก หมายถึง การต่อสู้ในการปฏิวัติเพื่ออิสรภาพและสันต.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติซิมบับเว · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติซูดาน

งชาติซูดาน (علم السودان) ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในเป็นแถบธง 3 สี แบ่งตามแนวยาว พื้นสีแดง-ขาว-ดำ อันเป็นสีพันธมิตรอาหรับ ที่ด้านต้นธงนั้นมีรูปสามเหลี่ยมสีเขียว โดยฐานของรูปดังกล่าวติดกับด้านคันธง ธงนี้เริ่มบังคับใช้เป็นธงชาติซูดานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ในธงนี้ สีแดงหมายถึงลัทธิสังคมนิยม เลือดและการต่อสู้ของชาวซูดาน และความเป็นชาติอาหรับ สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์และการมีมุมมองในเชิงบวก สีดำหมายถึงชาวซูดาน และการปฏิวัติมาห์ดี (Mahdist Revolution) ในปี พ.ศ. 2427 สามเหลี่ยมสีเขียวหมายถึงความวัฒนาถาวร เกษตรกรรม และศาสนาอิสลาม ธงที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับธงชาติซูดาน ได้แก่ ธงชาติลิเบียในช่วงปี..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาตินามิเบีย

งชาตินามิเบีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในธงถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยแถบสีแดงขอบขาว ซึ่งพาดเป็นแนวทแยงมุมจากมุมธงด้านปลายธงมายังมุมบนด้านปลายธง ส่วนที่ถูกแบ่งนั้นเป็นสีน้ำเงินที่ด้านคันธงและเป็นสีเขียวที่ด้านปลายธง ที่มุมบนของพื้นสีน้ำเงินนั้นเป็นรูปดวงอาทิตย์สีเหลืองมีรัศมี 12 แฉก ธงนี้มีที่มาจากธงขององค์การประชาชนแอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (South West African People's Organization - SWAPO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการเรียกร้องเอกราชของนามิเบีย และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2533 อันเป็นวันที่นามิเบียประกาศเอกราชจากแอฟริกาใต้ แต่ละสีในธงล้วนมีนัยความหมายต่างๆ กล่าวคือ สีแดงหมายถึงประชาชนชาวชาวนามิเบีย ซึ่งมีความกล้าหาญและเด็ดเดี่ยวที่จะสร้างสังคมให้มีแต่ความเสมอภาคในอนาคต สีขาวหมายถึงสันติภาพและความสามัคคี สีเขียวหมายถึงพืชพรรณต่างๆ และการเกษตร สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นที่มาของแหล่งน้ำต่างๆ ในประเทศ ดวงอาทิตย์สีเหลืองหมายถึงชีวิตและพลังงาน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาตินามิเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแกมเบีย

23px ธงชาติแกมเบีย สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติแกมเบีย เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในประกอบด้วยแถบสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว เรียงลำดับจากบนลงล่าง โดยที่แถบสีน้ำเงินนั้นมีแถบสีขาวขนาดเล็ก ขนาบที่ตอนบนและตอนล่างของแถบนั้น เริ่มใช้หลังประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ ออกแบบโดย ปา หลุยส์ โทมาซี แถบสีแดง หมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนา สีน้ำเงินหมายถึงแม่น้ำแกมเบียซึ่งไหลผ่านกลางประเทศ กั้นกลางระหว่างป่าไม้และทุ่งหญ้าสะวันนา สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและป่าไม้ สีขาวหมายถึงสันติภาพ จะเห็นได้ชัดว่า ธงชาติแกมเบียไม่มีสัญลักษณ์ในที่สื่อถึงความคิดทางการเมืองเล.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแกมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแอฟริกาใต้

งชาติแอฟริกาใต้ แบบที่ใช้ในปัจจุบัน ได้รับการคัดเลือกจากธงชาติที่ส่งเข้าประกวดมากกว่า 7,000 แบบ และได้เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2537 หลังจากได้มีการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปและได้มีการยุติการถือผิวในประเทศแอฟริกาใต้ในปีนั้น โดยออกแบบขึ้นเพื่อสื่อความหมายถึงชาวแอฟริกาใต้ทุกเชื้อชาติโดยไม่มีการแบ่งแยก ลักษณะของธงนี้เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ตอนบนทางด้านปลายธงนั้น เป็นแถบแนวนอนพื้นสีแดงและสีน้ำเงิน แต่ละแถบกว้าง 1 ใน 3 ส่วนของความกว้างธง ทั้งสองสีนี้ถูกแบ่งตามแนวนอนด้วยแนวแถบสีรูปตัววายอักษรโรมัน (Y) ซึ่งเป็นแถบสีเขียวมีขอบสีขาว แถบดังกล่าวนี้ล้อมรูปสามเหลี่ยมสีดำมีขอบสีทองซึ่งอยู่ทางด้านคันธง เมื่อดูภาพโดยรวมแล้ว สัดส่วนของความกว้างแถบริ้วในธง เมื่อวัดจากทางด้านปลายธงจะเป็น 5:1:3:1:5 ธงนี้ นับได้ว่าเป็นธงชาติเพียงธงเดียวที่มีการใช้สีประกอบในธงถึง 6 สี โดยไม่มีสัญลักษณ์หรือลวดลายใดๆ ประกอ.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแอฟริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแอลจีเรีย

งชาติแอลจีเรีย (علم الجزائر; Drapeau de l' Algérie) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งครึ่งเป็น 2 แถบตามแนวตั้ง ครึ่งซ้ายพื้นสีเขียว ครึ่งขวาพื้นสีขาว ที่กลางธงประดับด้วยรูปเดือนเสี้ยวและดาว แต่เดิมรัฐบาลเฉพาะกาลของแอลจีเรียได้ใช้ธงชาติในรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียงกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (มีความแตกต่างกันที่แถบสีขาวมีความกว้างมากกว่าแถบสีเขียว) ก่อนที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขและยอมรับเป็นธงชาติแอลจีเรียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 ความหมายของสัญลักษณ์ในธงมีดังนี้ สีเขียวหมายถึงธรรมชาติ สีขาวหมายถึงสันติภาพ สีแดงหมายถึงเลือดของผู้ที่เสียชีวิตในสงครามประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส (ระหว่างปี ค.ศ. 1954 - 1962) รูปจันทร์เสี้ยวและดาวหมายถึงศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นศาสนาของชนส่วนใหญ่ในประเทศ บรรดาเรือต่างๆ ในบังคับของแอลจีเรียจะใช้ธงชาติเป็นธงประจำเรือ เว้นแต่เรือในสังกัดกองทัพเรือจะชักธงนาวี ซึ่งมีการเพิ่มเติมรูปสมอคู่สีแดงไขว้ไว้ที่มุมธงบนด้านคันธง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแอลจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแองโกลา

งชาติแองโกลา ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2518 โดยได้แบบอย่างจากธงขบวนการรักชาติ MPLA ซึ่งได้เรียกร้องเรียกร้องอิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมของโปรตุเกสได้สำเร็จ และได้เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแองโกลา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแทนซาเนีย

งชาติแทนซาเนีย มีใช้ขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2507 หลังจากการรวมกันของแทนกันยีกาและแซนซิบาร์ เข้าเป็นสหสาธารณรัฐแทนซาเนีย ธงดังกล่าวนี้ได้รวมเอาสีธงของทั้งสองประเทศเดิมไว้ด้วยกัน กล่าวคือ สีเขียวและสีน้ำเงินจากธงแซนซิบาร์ถูกคั่นกลางด้วยแถบสีดำที่ขนาบด้วยแถบสีทองจากธงแทนกันยีกาในรูปแบบทแยงมุม ส่วนธงนาวีของกองทัพเรือ ใช้ตามอย่างธงแสดงสัญชาติสีขาว กล่าวคือ เพิ่มรูปธงชาติแทนซาเนียลงบนมุมบนด้านคันธงของธงเซนต์จอร์จ (ธงพื้นขาวมีรูปกากบาทแดง).

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแทนซาเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแคเมอรูน

งชาติแคเมอรูน ที่ใช้ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นธงสามสีมีสามแถบแบ่งตามแนวตั้ง แต่ละแถบประกอบด้วยสีเขียว สีแดง และสีเหลือง เรียงลำดับจากด้านคันธงไปด้านปลายธง แต่ละแถบกว้างเท่ากัน กลางแถบสีเขียวนั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง 1 ดวง เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่20 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 หลังประเทศแคเมรูนสามารถรวมชาติได้สำเร็จ ก่อนหน้านั้นธงชาติแคเมอรูนก็มีลักษณะที่คล้ายกับธงในปัจจุบัน แต่เริ่มแรกที่มีธงในปี พ.ศ. 2500 นั้นไม่มีรูปดาวในธงชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2504 จึงได้เพิ่มรูปดาว 2 ดวงลงในแถบสีเขียว ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้แบบปัจจุบัน แบบธงชาตินแคเมอรูนนี้ดัดแปลงมาจากธงชาติฝรั่งเศส ส่วนสีที่ใช้ในธงชาตินั้นจัดเป็นกลุ่มสีพันธมิตรแอฟริกา โดยแถบสีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์และทุ่งหญ้าสะวันนาในภาคเหนือของประเทศ สีเขียวหมายถึงป่าไม้ในแถบภาคใต้ของประเทศ แถบกลางสีแดงและดาวสีเหลืองกลางธงหมายถึงเอกภาพ ซึ่งดาวดวงนี้มักเรียกกันด้วยชื่อว่า ดาวแห่งเอกภาพ ("the star of unity") ไฟล์:Flag of Deutsch-Kamerun.svg|เยอรมันแคเมอรูน ไฟล์:British Cameroon Flag.svg|อาณานิคมแคเมอรูน (พ.ศ. 2465 - 2504) ไฟล์:Flag of Cameroon (1957).svg|..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแคเมอรูน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติแซมเบีย

งชาติแซมเบีย เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเขียว กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ที่ด้านปลายธงมีแถบแนวตั้ง 3 แถบ เรียงกันเป็นสีแดง สีดำ และสีแสด แถบเหล่านี้แต่ละแถบกว้างเป็น 1 ใน 9 ส่วนของด้านยาวธง และยาวเป็น 2 ใน 3 ของความกว้างของธง ที่ตอนบนของแถบสีดังกล่าวมีรูปนกอินทรีสีแสดอยู่ในท่ากางปีกจะบิน ธงนี้ออกแบบโดย นางกาเบรียล เอลลิสัน (Mrs Gabriel Ellison) ผู้มีผลงานในการออกแบบภาพตราแผ่นดินของแซมเบีย และตราไปรษณียากรอีกจำนวนมากของประเทศ และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2507 ซึ่งเป็นวันที่โรซีเดียเหนือประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร และก่อตั้งประเทศแซมเบีย ภายหลังในปี พ.ศ. 2539 จึงได้มีการปรับสีพื้นธงชาติให้สว่างขึ้น พื้นธงสีเขียวหมายถึงเกษตรกรรมและกิจการป่าไม้ แถบสีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเสรีภาพ แถบสีดำหมายถึงประชาชนชาวแซมเบีย แถบสีแสดหมายถึงทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ ในประเทศ รูปนกอินทรีหมายถึงความสามารถของประชาชนที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาของชาติ โดยตรานกอินทรีนำมาจากธงชาติโรซีเดียเหนือในสมัยอาณานิคม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติแซมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโกตดิวัวร์

งชาติโกตดิวัวร์ (Drapeau de la Côte d'Ivoire) มีลักษณะเป็นธงสามสี กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ประกอบด้วยแถบสีแนวตั้ง 3 แถบ ได้แก่ สีส้ม สีขาว และ สีเขียว เรียงจากด้านคันธงไปยังด้านปลายธง แต่ละแถบกว้างเท่ากัน การออกแบบธงนี้ได้รับอิทธิพลจากธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติเจ้าอาณานิคมเดิม และมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับธงชาติไอร์แลนด์ซึ่งใช้สีแบบเดียวกัน แต่ผิดกันที่การเรียงลำดับสีธงนั้นสลับที่กัน และสัดส่วนของธงชาติไอร์แลนด์นั้นยาวกว่าธงชาติโกตดิวัวร์ ธงนี้เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2502 ก่อนการประกาศเอกราชไม่นานนัก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโกตดิวัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโมร็อกโก

งชาติโมร็อกโก (علم المغرب) เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีแดงเกลี้ยง กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน กลางธงมีรูปเฉลวดาวห้าแฉกสีเขียวขอบสีดำ ประเทศโมร็อกโกใช้สีแดงเป็นธงชาติมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 กล่าวกันว่า สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของสายเลือดที่ผูกพันระหว่างราชวงศ์กษัตริย์กับศาสดามุฮัมหมัด ซึ่งเป็นศาสดาในศาสนาอิสลาม ส่วนดาวสีเขียวคือพระราชลัญจกรแห่งกษัตริย์โซโลมอน ซึ่งได้ถูกเพิ่มลงบนธงชาติในปี พ.ศ. 2458 และได้มาใช้เป็นธงชาติจนถึงทุกวันนี้ แต่ปีที่ประกาศใช้ธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2499 อันเป็นปีที่ได้รับเอกราชจากทั้ง 2 ชาติ คือ สเปน และ ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2455.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโมร็อกโก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโมซัมบิก

งชาติโมซัมบิก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1983 โดยมีพื้นฐานมาจากธงของแนวร่วมปลดปล่อยโมซัมบิก (Mozambican Liberation Front; ย่อว่า FRELIMO) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ธงชาติโมซัมบิกประกอบด้วยแถบสีเขียว สีดำ สีเหลือง เรียงจากบนลงล่าง โดยแถบสีดำนั้นมีแถบสีขาวขนาดเล็กขนาบที่ตอนบนและตอนล่าง ด้านคันธงมีสามเหลี่ยมสีแดง ในสามเหลี่ยมประกอบด้วยดาวสีเหลือง หนังสือสีขาว และปืนยาวติดดาบปลายปืนกับจอบไขว้กัน โมซัมบิกเป็นชาติเดียวในโลกที่มีปืนเอเค 47 ประดับบนธงชาติ สีเขียวแทนความอุดมสมบูรณ์ สีขาวแทนสันติภาพ สีดำแทนทวีปแอฟริกา สีเหลืองแทนอัญมณี สีแดงแทนการต่อสู้เพื่อเอกราช ปืนเอเค 47 แทนการปกป้องประเทศ หนังสือแทนการศึกษา จอบแทนเกษตรกรรม และดาวแทนลัทธิมากซ์และแนวคิดสากลนิยม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโมซัมบิก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโตโก

23px ธงชาติโตโก สัดส่วน: 1:1.618 (หรือ 500:809) ธงชาติโตโก มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 500 ส่วน ยาว 809 ส่วน (หรือสัดส่วน 1:1.618 ซึ่งมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สัดส่วนสี่เหลี่ยมผืนผ้าทองคำ) ภายในแบ่งเป็นริ้วสีเขียวสลับสีเหลือง 5 ริ้ว เป็นสีเขียว 3 ริ้ว สีเหลือง 2 ริ้ว ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีแดง กว้างยาวเท่ากับ 3 ใน 5 ของความกว้างธงชาติ ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ธงนี้ใช้สีพันธมิตรแอฟริกาเป็นหลักในการออกแบบ ส่วนรูปแบบธงนั้นคล้ายกับธงชาติไลบีเรีย ซึ่งได้รับอิทธิพลจากธงชาติสหรัฐอเมริกาอีกทอดหนึ่ง ออกแบบโดยอาห์ยี พอล (Ahyi Paul) ศิลปินชาวโตโก และเริ่มใช้เป็นธงชาติในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2503 อันเป็นวันที่โตโกประกาศเอกราชจากฝรั่ง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโตโก · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโซมาลีแลนด์

งชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ ธงชาติสาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ (พ.ศ. 2534 - 2539) ธงชาติโซมาลีแลนด์ ที่ใช้ในปัจจุบัน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2539 โดยการรับรองจากการลงประชามติในประเทศ หลังจากที่มีการตั้งรัฐบาลปกครองตนเองในดินแดนของประเทศโซมาเลียตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดยที่นานาประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ มิได้ให้การรับรองฐานะความเป็นประเทศของโซมาลิแลนด์ ลักษณะของธงดังกล่าวเป็นธงแถบแนวนอนพื้นสีแดง-ขาว-เชียว โดยได้รับอิทธิพลจากสีกลุ่มพันธมิตรอาหรับ ที่แถบสีเขียวมีรูปอักษรที่เรียกว่า "ชาฮาดาห์" อย่างเดียวกับในธงชาติซาอุดิอาระเบีย รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโซมาลิแลนด์ ฉบับที่มีการลงประชามติเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 ระบุข้อความเกี่ยวกับธงชาติไว้ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโซมาลีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติโซมาเลีย

23px ธงชาติโซมาเลีย สัดส่วน: 2:3 ธงชาติโซมาเลีย เป็นธงพื้นสีฟ้าอ่อน กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ที่กลางธงมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 1 ดวง ธงนี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2497 ออกแบบโดย มูฮัมมัด อาวาเล ลิบาน (Mohammed Awale Liban) เพื่อใช้เคลื่อนไหวต่อความเป็นพันธมิตรของชาวโซมาลี (pan-Somali) ต่อมาหลังการรวมชาติโซมาลีจากดินแดนอิตาเลียนโซมาลีแลนด์และบริติชโซมาลีแลนด์แล้ว ธงนี้จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยโซมาเลียที่เกิดขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2503 ตามคำกล่าวของลิบานซึ่งเป็นผู้ออกแบบธงนั้น ได้ระบุว่าแบบธงนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้คล้ายกับธงขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยให้โซมาเลียได้รับเอกราชจากอิตาลี การพื้นสีฟ้าในธงจึงถือเป็นการให้เกียรติแก่องค์การสหประชาชาติด้วยเหตุข้างต้น ส่วนดาวห้าแฉกสีขาวนั้นหมายถึงชาวโซมาลีที่อาศัยในดินแดนต่างๆ 5 แห่ง ได้แก่ บริติชโซมาลิแลนด์ (พื้นที่ประเทศโซมาเลียปัจจุบัน) อิตาเลียนโซมาลิแลนด์ (ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของโซมาเลีย) เฟรนซ์โซมาลิแลนด์ (ที่ตั้งของประเทศจิบูตีในปัจจุบัน) โอกาเดน (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเอธิโอเปีย) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเคน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติโซมาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไลบีเรีย

งชาติไลบีเรีย มีรูปลักษณ์ที่เลียนแบบมาจากธงชาติสหรัฐอเมริกา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 10 ส่วน ยาว 19 ส่วน พื้นธงเป็นริ้วสีแดงสลับขาวรวม 11 ริ้ว แบ่งเป็นริ้วแดง 6 ริ้ว ริ้วขาว 5 ริ้ว ที่มุมธงบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสีน้ำเงิน ความกว้างเท่ากับความกว้างของริ้วแดงสลับขาวรวมกัน 5 ริ้ว ภายในพื้นสีน้ำเงินั้นมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวดวงใหญ่ 1 ดวง เหตุที่ธงชาติไลบีเรียมีลักษณะคล้ายคลึงกับธงชาติสหรัฐอเมริกานั้น ก็เพื่อให้เชื่อมโยงถึงประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้จัดตั้งอาณานิคมไลบีเรียเมื่อปี ค.ศ. 1822 เพื่อเป็นถิ่นฐานทำกินของทาสผิวดำที่ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ก่อนจะมอบเอกราชโดยสมบูรณ์ให้ในปี ค.ศ. 1847 ความหมายของสัญลักษณ์ต่างในธงประกอบด้วย ริ้วแดงสลับขาว 11 ริ้ว หมายถึงผู้แทนลงนามในคำประกาศเอกราชของไลบีเรียทั้ง 11 คน สีแดงและสีขาวหมายถึงความกล้าหาญและความเป็นเลิศในด้านคุณธรรม ดาวห้าแฉกสีขาวหมายถึงอิสรภาพของทาสผิวดำ พื้นสีน้ำเงินหมายถึงผืนแผ่นดินของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติไลบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไนจีเรีย

งชาติไนจีเรีย เป็นธงสามแถบแนวตั้งสองสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบแนวตั้ง 3 แถบ ความกว้างเท่ากัน แถบกลางสีขาว แถบอื่นรอบนอกเป็นสีเขียว ธงนี้เป็นแบบธงที่ชนะเลิศการประกวดธงชาติ ซึ่งออกแบบโดย ไมเคิล ไทโว อาคินคุนมี (Michael Taiwo Akinkunmi) นักเรียนชาวเมืองอิบาดาน เละเริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2503 อันเป็นวันประกาศเอกราชของชาติจากสหราชอาณาจักร ความหมายสำคัญของธงชาติคือ ความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน (แทนด้วยสีเขียว) และเอกภาพกับสันติภาพ (แทนด้วยสีขาว).

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติไนจีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติไนเจอร์

20px ธงชาติไนเจอร์ สัดส่วนธง 6:7 ธงชาติไนเจอร์ เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็น 3 แถบตามแนวนอน แต่ละแถบนั้นกว้างเท่ากัน โดยแถบบนมีสีส้ม แถบกลางเป็นสีขาว และแถบล่างคือสีเขียว กลางแถบสีขาวเป็นดวงกลมสีส้ม ลักษณะของธงนี้ได้รับอิทธิพลจากธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติเจ้าอาณานิคมเดิม เช่นเดียวกับธงของหลายประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ก่อนหน้าที่ประเทศไนเจอร์จะประกาศเอกราชจากดินแดนแอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส ได้มีการออกแบบธงชาติไนเจอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2501 และได้รับการรับรองจากรัฐสภาดินแดนอาณานิคมไนเจอร์เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 อันเป็นเวลาก่อนการจัดตั้งสาธารณรัฐในเครือประชาคมฝรั่งเศสเพียงไม่นาน (ตรงกับวันที่ 18 ธันวาคม ปีเดียวกัน) ธงนี้ยังคงใช้เป็นธงชาติไนเจอร์เมื่อได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2503 และยังคงกำหนดเป็นธงชาติตามรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐไนเจอร..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติไนเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเบนิน

ธงชาติสาธารณรัฐประชาชนเบนิน (พ.ศ. 2518 - 2533) ธงชาติเบนิน เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 10 ส่วน ยาว 15 ส่วน (อัตราส่วนอย่างต่ำคือ 2:3) ตอนต้นธงเป็นแถบแนวตั้งสีเขียว ความกว้างเป็น 6 ใน 15 ส่วนของความยาวธง ส่วนที่เหลือนั้นแบ่งครึ่งตามแนวนอน ตอนบนเป็นพื้นสีเหลือง ตอนล่างพื้นสีแดง สีในธงนี้จัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกา แต่ละสีมีความหมาย คือ สีแดงหมายถึงความกล้าหาญ สีเหลืองหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเบนิน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเลโซโท

งชาติเลโซโท สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเลโซโท แบบที่ใช้ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบสี 3 แถบ ตามแนวนอน แถบบนสีน้ำเงิน แถบกลางสีขาว แถบล่างสีเขียว ที่กลางแถบขาวมีรูปหมวกพื้นเมืองของเลโซโทที่เรียกว่า หมวกโมโกรอทโล (mokorotlo - หมวกปีกกว้างชนิดหนึ่งของชาวบาโซโท) รูปดังกล่าวนี้มีสีดำ ธงดังกล่าวนี้ได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) เนื่องในว่าระครบรอบ 40 ปี แห่งการได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร รายงานบางฉบับได้กล่าวไว้ว่า แบบธงดังกล่าวนี้แสดงออกถึงแนวโน้มของประเทศที่จะเดินไปสู่ทิศทางแห่งสันติภาพมากกว่าในอดีตที่ผ่านม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเลโซโท · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเอริเทรีย

23px ธงชาติเอริเทรีย สัดส่วนธง 1:2 ธงชาติเอริเทรีย ในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่ด้านค้นธงมีรูปสามเหลี่ยมสีแดง ฐานกว้างเท่ากับความกว้างธง และความยาวของรูปนั้นยาวเท่ากับความยาวธงพอดี ภายในรูปนั้นมีพวงมาลัยล้อมต้นมะกอกสีเหลืองซึ่งมีใบ 14 ใบ พื้นที่ส่วนที่เหลือซึ่งถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยรูปสามเหลี่ยมแดง ประกอบด้วยส่วนบนเป็นพื้นสีเขียว และส่วนล่างเป็นพื้นสีฟ้า เริ่มใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2538 แบบของธงนี้มาจากธงของกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยประชาชนเอริเทรีย (Eritrean People's Liberation Front) ซึ่งมีลักษณะที่เหมือนกันกับธงชาติเอริเทรียเกือบทุกประการ ผิดกันแต่ว่าในรูปสามเหลี่ยมสีแดงนั้นเป็นรูปดาวห้าแฉกสีเหลือง อนึ่ง สัญลักษณ์พวงมาลัยมีต้นมะกอกนี้เริ่มปรากฏในธงชาติเอริเทรียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยลักษณะธงในขณะนั้นแตกต่างจากที่ใช้ในปัจจุบันมาก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเอริเทรีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเอสวาตีนี

23px ธงชาติเอสวาตีนี สัดส่วนธง 2:3 ธงประจำราชวงศ์ สัดส่วนธง 2:3http://www.fotw.net/Flags/sz-roy.html Royal Flag of Swaziland, Flags of the World ลิงก์เสีย ธงชาติเอสวาตีนี มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็น 5 แถบตามแนวนอน แถบกลางพื้นสีแดง มีขนาดใหญ่สุด ถัดออกมาทั้งตอนบนและตอนล่างเป็นแถบสีเหลืองขนาดเล็ก ถัดออกไปอีกเป็นแถบนอกสุด มีพื้นสีฟ้าหม่น ที่กลางแถบสีแดงนั้นมีโล่พื้นเมืองวางทับหอก 2 ด้ามและคทาผูกขนนกตามแนวนอน ธงนี้เริ่มใช้ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2511 อันเป็นวันที่ประเทศนี้ประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร ความหมายธงสัญลักษณ์ในธงนั้น สีแดงหมายถึงการต่อสู้เพื่อชาติในอดีต สีฟ้าหมายถึงสันติภาพและความมีเสถียรภาพ สีเหลืองหมายถึงทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของเอสวาตีนี โล่และหอก 2 ด้าม หมายถึงการปกป้องประเทศจากศัตรูของชาติ สีของโล่นั้นเป็นสีขาวและดำ หมายถึงชนผิวขาวและผิวดำอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขในประเทศนี้ ธงนี้มีที่มาจากธงชัยประจำกองทหารช่างสนามสวาซี (Swazi Pioneer Corps) ซึ่งพระเจ้าโซบูซาที่ 2 (King Sobhuza II) ได้พระราชทานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2484 ในสงครามโลกครั้งที่ 2.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเอสวาตีนี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเอธิโอเปีย

20px ธงชาติเอธิโอเปีย สัดส่วนธง 1:2 ธงชาติเอธิโอเปียในปัจจุบันเป็นธงที่เริ่มใช้อย่างเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 มีลักษณะเป็นธงสามสีสามแถบแนวนอนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในธงเรียงลำดับแถบสีเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง จากบนลงล่าง ที่กลางธงมีวงกลมสีฟ้า ภายในบรรจุรูปเฉลวดาวห้าแฉกสีเหลืองเปล่งรัศมีซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดิน ประวัติของธงสามสีผืนนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึงในรัชสมัยของจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 แห่งเอธิโอเปีย (ค.ศ. 1889–1913) โดยการใช้ธงดังกล่าวเริ่มปรากฏครั้งแรกในปี ค.ศ. 1895 สำหรับธงชาติและตราแผ่นดินของเอธิโอเปียในปัจจุบันได้ประกาศใช้หลังสิ้นสุดการปกครองระบอบมาร์กซิสต์ของเมงกิสตู ไฮเล มาเรียม (Mengistu Haile Mariam) ซึ่งปกครองประเทศระหว่าง..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเอธิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเคนยา

งชาติเคนยา มีลักษณะเป็นธงสามสี รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ภายในแบ่งเป็นพื้นสีดำ-แดง-เขียว ตามแนวนอน โดยที่แถบสีแดงนั้น มีเส้นขอบสีขาวขนาบอยู่ทั้งด้านบนและด้านล่าง ที่กลางธงนั้นมีรูปโล่แบบชนเผ่ามาซาย ซ้อนทับบนหอกไขว้ 2 เล่ม.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเคนยา · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซาท์ซูดาน

งชาติเซาท์ซูดาน ธงชาติเซาท์ซูดาน เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นสามแถบตามแนวนอน โดยแถบกลางธงเป็นแถบสีแดงขนาบด้วยขอบสีขาวที่ตอนบนและตอนล่าง แถบบนสุดมีสีดำ แถบล่างสุดเป็นสีเขียว ลักษณะดังกล่าวนี้คล้ายคลึงกับธงชาติเคนยามาก ทึ่ด้านคันธงนั้นมีรูปสามเหลี่ยมสีน้ำเงิน ภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีเหลืองดวงหนึ่ง ธงดังกล่าวนี้เดิมใช้เป็นธงของขบวนการประชาชนปลดปล่อยซูดาน (Sudan People's Liberation Movement) ต่อมาจึงถือเป็นธงของรัฐบาลเซาท์ซูดานอย่างเป็นทางการภายหลังการลงนามในความตกลงสันติภาพเบ็ดเสร็จเพื่อยุติสงครามกลางเมืองซูดานครั้งที่สอง ในธงนี้ สีดำเป็นสัญลักษณ์แทนตัวชาวซูดาน สีแดงคือสีของเลือดที่หลั่งออกมาเพื่ออิสรภาพ สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดิน ส่วนดาวสีทอง หรือดาวแห่งเบธเลเฮมนั้น เป็นตัวแทนของความสามัคคีระหว่างรัฐของเซาท์ซูดาน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเซาท์ซูดาน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซาตูเมและปรินซีปี

23px ธงชาติเซาตูเมและปรินซีปี สัดส่วนธง 1:2 ธงชาติเซาตูเมและปรินซีปี มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นแถบแนวนอน 2 แถบ มีแถบสีเหลืองอยู่กลาง ขนาบด้วยแถบสีเขียวที่ตอนบนและล่าง โดยแถบสีเหลืองนี้กว้างกว่าแถบสีเขียวเล็กน้อย และภายในมีรูปดาวห้าแฉกสีดำ 2 ดวง ที่ด้านคันธงนั้นมีรูปสามเหลี่ยมสีแดง แบบของธงนี้มาจากธงของขบวนการปลดปล่อยเซาตูเมและปรินซีปี และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการในฐานะธงชาติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 อันเป็นวันประกาศเอกราชจากโปรตุเกส สามเหลี่ยมสีแดงหมายถึงการต่อสู้อย่างหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกราช ดาว 2 ดวงหมายถึงเกาะหลักของประเทศทั้งสองเกาะ ส่วนสีเขียว สีเหลือง และสีดำ เป็นสีพันธมิตรแอฟริกา แสดงถึงความเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเซาตูเมและปรินซีปี · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซียร์ราลีโอน

งชาติเซียร์ราลีโอน เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2504 อันเป็นวันประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร มีลักษณะตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญไว้ว่า ธงนี้เป็นธงสามสีแบ่งตามแนวนอน ประกอบด้วยแถบสีเขียว สีขาว และสีฟ้า สัดส่วนธงโดยรวมกว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ความหมายของสีต่างๆ ในธงชาติ ประกอบด้วย สีเขียวซึ่งหมายถึงภูเขา เกษตรกรรม และทรัพยากรธรรมชาติ สีฟ้าซึ่งได้แก่ความหวังต่อสันติภาพ และสีขาวอันเป็นสัญลักษณ์ของความยุติธรรมและความสามัคคี.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเซียร์ราลีโอน · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซเชลส์

งชาติเซเชลส์ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นรัศมี 5 เส้นจากมุมธงล่างด้านคันธงไปยังด้านปลายธง เรียงเป็นสีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดง สีขาว และสีเขียว เป็นลำดับตามเข็มนาฬิกา เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ ในธงนั้น สีน้ำเงินหมายถึงท้องฟ้าและมหาสมุทรที่โอบล้อมหมู่เกาะเซเชลล์ สีเหลืองหมายถึงดวงอาทิตย์อันเป็นที่มาของแสงสว่างและชีวิต สีแดงคือสีของประชาชน และความเด็ดเดี่ยวในการทำงานเพื่อชาติในอนาคตด้วยความรักและสามัคคี สีขาวได้แก่ความยุติธรรมทางสังคมและความปรองดองในชาติ สีเขียวหมายถึงผืนแผ่นดินและธรรมชาติ ลักษณะของแถบสีต่างๆ ที่เป็นเส้นเฉียง แสดงความหมายถึงพลวัตของประเทศเกิดใหม่ที่จะก้าวไปสู่อนาคต เดิมธงชาติเซเชลส์แบบแรกที่ประกาศใช้เมื่อได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2519 มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในแบ่งเป็น 4 ส่วนด้วยกากบาทสีขาว ช่องบนและช่องล่างที่ถูกแบ่งนั้นเป็นพื้นสีน้ำเงิน ส่วนช่องซ้ายและช่องขวาเป็นพื้นสีส้ม ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520 เมื่อมีประธานาธิบดีเจมส์ แมนแชม ถูกโค่นอำนาจโดยฟรองซ์-อัลแบรต์ เรเน ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม ธงชาติจึงถูกเปลี่ยนเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตอนบนเป็นสีส้ม ตอนล่างสีเขียว ทั้งสองสีถูกแบ่งด้วยแนวเส้นคดสีขาว ซึ่งเป็นธงของพรรคเซเชลล์ พีเพิล ยูไนเต็ด และได้ใช้สืบมาจนถึงปี..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเซเชลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติเซเนกัล

23px ธงชาติเซเนกัล สัดส่วนธง 2:3 ธงชาติเซเนกัล เป็นธงสามสีสามแถบแนวตั้งอย่างธงชาติฝรั่งเศส กว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน พื้นธงแบ่งเป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เรียงตามลำดับจากด้านคันธง กลางแถบสีเหลืองมีรูปดาวห้าแฉกสีเขียว 1 ดวง เหตุที่ธงมีลักษณะอย่างนี้ก็เนื่องจากได้รับอิทธิพลทางความคิดจากฝรั่งเศส ซึ่งเป็นชาติเจ้าอาณานิคมเดิม ส่วนสีในธงนี้จัดเป็นสีพันธมิตรแอฟริกา เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2503 ธงชาติเซเนกัลมีที่มาจากธงชาติสหพันธรัฐมาลี ซึ่งก่อตั้งจากดินแดนเฟรนซ์ซูดานขึ้นในปี พ.ศ. 2502 และได้รับสิทธิปกครองตนเองในปี พ.ศ. 2503 ก่อนจะล่มสลายลงในปีเดียวกันเนื่องจากความไม่ลงรอยทางการเมือง ระหว่างประเทศเซเนกัลกับประเทศมาลี ซึ่งร่วมในสหพันธรัฐดังกล่าว ธงของประเทศนี้มีลักษณะคล้ายธงชาติเซเนกัลในปัจจุบัน แต่ที่กลางธงเป็นรูปคนสีดำ ไฟล์:Flag-senegal-1958.svg|ธงอาณานิคม 25..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงชาติเซเนกัล · ดูเพิ่มเติม »

ธงตริสตันดากูนยา

งชาติตริสตันดากูนยา เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีน้ำเงิน กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ที่มุมบนด้านคันธงมีภาพธงชาติสหราชอาณาจักร ที่ตอนปลายธงมีตราราชการของตริสตันดากูนยา เริ่มใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามประกาศของผู้ว่าการแห่งเซนต์เฮเลนาภายใต้พระปรมาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สิ่งสำคัญที่ควรกล่าวถึงก็คือรายละเอียดของตราราชการที่ปรากฏในธงนี้ ตราดังกล่าวเป็นตราโล่ ภายในมีรูปนกอัลบาทรอสสีขาว 2 ตัวบนพื้นครึ่งบนสีฟ้า และนกอย่างเดียวกันอีก 2 ตัวสีฟ้าบนพื้ขาวครึ่งล่าง กลางโล่มีรูปคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแบ่งครึ่งตอนบนเป็นสีขาว ตอนล่างเป็นสีฟ้า เบื้องบนของโล่มีรูปชุดเกราะส่วนศีรษะมีริ้วสะบัดประดับมงกุฎนาวีรูปเรือทริสตัน ซ้ายขวาของโล่ขนาบด้วยรูปกุ้งมังกรข้างละ 1 ตัว ตอนล่างสุดเป็นม้วนแพรแถบสีขาว จารึกคำขวัญประจำดินแดนของตนเองไว้ว่า "Our faith is our strength" แปลว่า "ความศรัทธาคือกำลังแห่งเรา" ธงนี้ออกแบบโดย เกรแฮม บาร์แทรม (Graham Bartram) นักธัชวิทยาชาวสกอต อนึ่ง ก่อนหน้านี้ตริสตันดากูนยาใช้ธงชาติเซนต์เฮเลนาประจำดินแดนของตน เพราะเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของเซนต์เฮเลน.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงตริสตันดากูนยา · ดูเพิ่มเติม »

ธงเซนต์เฮเลนา

งชาติเซนต์เฮเลนา ธงชาติเซนต์เฮเลนา ใช้ตราแผ่นดินประกอบเข้ากับธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร (Blue Ensign) ที่ด้านปลายธง (เนื่องจากว่าดินแดนแห่งนี้เป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร) ซึ่งตราแผ่นดินดังกล่าวนั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามการกำหนดให้ใช้ตราแผ่นดินในแต่ละครั้ง ธงที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2527 สำหรับธงเรือพลเรือนนั้นใช้ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร (Red Ensign) ซึ่งมีพื้นสีแดง ส่วนเครื่องหมายในธงเป็นรูปตราแผ่นดินอย่างเดียวกับธงชาติ สำหรับธงประจำตำแหน่งผู่ว่าการแห่งเซนต์เฮเลนา ใช้ธงชาติสหราชอาณาจักรประดับด้วยตราแผ่นดินที่กลางธง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและธงเซนต์เฮเลนา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

แซนซิบาร์

แผนที่เกาะหลักของแซนซิบาร์ แซนซิบาร์ (Zanzibar) คือชื่อรวมของเกาะ 2 เกาะของประเทศแทนซาเนีย คือ เกาะอุงกูจา (นิยมเรียกว่าเกาะแซนซิบาร์) และเกาะเพมบา เมืองหลวงของแซนซิบาร์ คือเมืองแซนซิบาร์ตั้งอยู่บนเกาะอุงกูจา ซึ่งมีเขตเมืองเก่าเป็นมรดกโลก แซนซิบาร์มีการปกครองตนเอง อย่างไรก็ดี แซนซิบาร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของแทนซาเนีย ประชากรของแซนซิบาร์สำรวจเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและแซนซิบาร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอเปก

ตราขององค์การประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก (โอเปก) องค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (Organization of Petroleum Exporting Countries) หรือ โอเปก (OPEC) กำเนิดใน..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและโอเปก · ดูเพิ่มเติม »

เซาเทิร์นโรดีเชีย

ซาเทิร์นโรดีเชีย (Southern Rhodesia) เป็นชื่อของอาณานิคมปกครองตนเองของอังกฤษ ตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำลิมโปโปกับสหภาพแอฟริกาใต้ พื้นที่ซึ่งเซาเทิร์นโรดีเชียครอบครองอยู่ถูกเรียกว่า "ซิมบับเว" มาตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อธงชาติในทวีปแอฟริกาและเซาเทิร์นโรดีเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ธงชาติประเทศในทวีปแอฟริกา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »