โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวัน

ดัชนี รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวัน

รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวัน เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:จราจร หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

25 ความสัมพันธ์: พิกัดภูมิศาสตร์สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยอักษรละตินอักษรไทยถนนบรรทัดทองถนนพญาไทถนนพระรามที่ 1ถนนพระรามที่ 4ถนนพระรามที่ 6ถนนมหาพฤฒารามถนนราชดำริถนนวิทยุถนนสาทรถนนสุรวงศ์ถนนสีลมถนนสี่พระยาถนนอังรีดูนังต์ถนนเพลินจิตทางพิเศษศรีรัชทางพิเศษเฉลิมมหานครเจริญเมืองเขตบางรักเขตคลองเตยเขตปทุมวัน

พิกัดภูมิศาสตร์

แผนที่โลกแสดงพิกัดภูมิศาสตร์; https://www.cia.gov/cia/publications/factbook/reference_maps/pdf/political_world.pdf ดูรุ่นที่ใหญ่กว่านี้ (pdf, 1.8MB) ภาพทรงกลมประกอบมุม ซึ่งใช้เป็นหลักในการระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งใด ๆ บนผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและพิกัดภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

นเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (在タイ日本国大使館) ตั้งอยู่เลขที่ 177 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (รวมทั้งแผนกกงสุล สถานที่ทำวีซ่า).

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

นเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ตรงข้ามอาคารสินธร ฝ่ายการพาณิชย์ สถานทูตอเมริกา ตั้งอยู่เลขที่ 93/1 อาคารดีทแฮล์มทาวเวอร์ เอ ชั้น 3 ห้อง 302 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบรรทัดทอง

นาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี ที่บริเวณแยกเพชรพระราม อันเป็นจุดสิ้นสุดของถนน (ภาพจากมุมมองของถนนบรรทัดทอง) ถนนบรรทัดทอง (Thanon Banthat Thong) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 2 เขตคือ เขตปทุมวันและเขตราชเทวี.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนบรรทัดทอง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 1

นนพระรามที่ 1 ช่วงสยามสแควร์ ถนนพระรามที่ 1 (Thanon Rama I) เริ่มต้นจากถนนกรุงเกษม (สี่แยกกษัตริย์ศึก) ซึ่งต่อเนื่องมาจากถนนบำรุงเมือง บริเวณสะพานกษัตริย์ศึก (ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม และทางรถไฟสายเหนือ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนรองเมือง (ทางแยกกลางสะพานกษัตริย์ศึก) ถนนพระรามที่ 6 และทางพิเศษศรีรัช (สี่แยกพงษ์พระราม) ข้ามคลองสวนหลวงและตัดกับถนนบรรทัดทอง (สี่แยกเจริญผล) ถนนพญาไท (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองอรชร (สะพานเฉลิมเผ่า 52) และตัดกับถนนอังรีดูนังต์ (สามแยกเฉลิมเผ่า) ไปสิ้นสุดที่แยกตัดถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์ ต่อเนื่องไปยังถนนเพลินจิต) อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนพระรามที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 6

นนพระรามที่ 6 (Thanon Rama VI) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนจรัสเมือง แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกพงษ์พระราม บริเวณใกล้วัดชำนิหัตถการ (วัดสามง่าม) ข้ามคลองมหานาคเข้าสู่พื้นที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกอุรุพงษ์) และทางรถไฟสายตะวันออก เข้าสู่แขวงทุ่งพญาไท ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกศรีอยุธยา) ถนนราชวิถี (สี่แยกตึกชัย) ข้ามคลองสามเสน และเริ่มเลียบคลองประปาในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท ตัดกับถนนนครไชยศรี (สามแยกโรงกรองน้ำ) ตัดกับซอยพระรามที่ 6 ซอย 34 และซอยพระรามที่ 6 ซอย 37 (สี่แยกพิบูลวัฒนา) ตัดกับถนนประดิพัทธ์ (สี่แยกประดิพัทธ์) จากนั้นไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนกำแพงเพชร ทางรถไฟสายเหนือ และถนนเทอดดำริ เข้าสู่พื้นที่แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต จนถึงถนนเตชะวณิช (สามแยกวัดสะพานสูง) ถนนพระรามที่ 6 เดิมชื่อ "ถนนประทัดทอง" สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คำว่า "ประทัดทอง" นั้นจากชื่อเครื่องลายครามที่มีภาพต้นประทัดทอง ภายหลังเรียกเพี้ยนเป็นบรรทัดทอง ครั้นมาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อถนนประทัดทองตลอดทั้งสายเป็น "ถนนพระรามที่ 6" เพราะเป็นถนนที่โปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงเป็นเส้นทางไปโรงกรองน้ำประปาสามเสน และต่อไปยังสะพานพระราม 6.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนพระรามที่ 6 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาพฤฒาราม

นนมหาพฤฒาราม (Thanon Maha Phruettharam) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก ถนนมหาพฤฒาราม ได้ชื่อมาจากวัดมหาพฤฒาราม (ชื่อเดิม: วัดท่าเกวียน, วัดตะเคียน) วัดแห่งหนึ่งที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่าน เป็นถนนสายสั้น ๆ จากแยกหัวลำโพงตัดกับถนนพระราม 4 ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง จากนั้นทอดยาวเข้าพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โดยเลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษม ไปสิ้นสุดลงที่เชิงสะพานพิทยเสถียรตัดกับถนนเจริญกรุง ในลักษณะเป็นสามแยก ในพื้นที่แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนมหาพฤฒาราม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำริ

นนราชดำริ (Thanon Ratchadamri) เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่สี่แยกประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนราชดำริ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิทยุ

นนวิทยุ ถนนวิทยุ (quote เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (แยกวิทยุ) ในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนสารสิน (แยกสารสิน) และถนนเพลินจิต (แยกเพลินจิต) จากนั้นข้ามคลองแสนแสบเข้าสู่ท้องที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรบุรี (แยกวิทยุ-เพชรบุรี) ถนนวิทยุเป็นถนนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัดเพื่อเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 ผ่านที่ตั้งวิทยุโทรเลข ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 เนื่องจากตัดผ่านสถานีวิทยุแห่งแรกของไทย ซึ่งพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2479 ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของสวนลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร) จึงตั้งชื่อถนนตามสถานที่ที่ตัดถนนผ่านว่าถนนวิทยุ ถนนวิทยุ นับว่าเป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีความยาวประมาณ 2.6 กิโลเมตร แต่เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงศุลมากถึง 22 แห่ง นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ตลอดจนโรงแรม และยังอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์การค้าชั้นแนวหน้าหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความร่มรื่นด้วยทั้งสองข้างทาง รวมถึงเกาะกลางถนนมีต้นไม้ใหญ่ และยังเลียบขนานไปกับสวนลุมพินีในช่วงระหว่างแยกวิทยุกับแยกสารสิน สวนสาธารณะขนาดใหญ่และเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย จึงทำให้ที่ดินแถบถนนวิทยุนี้มีมูลค่าสูงมาก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสาทร

นนสาทร ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนสาทร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุรวงศ์

นนสุรวงศ์ (Thanon Surawong) เป็นถนนในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคู่ขนานกับถนนสีลมและถนนสี่พระยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์โดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระราม 4 และสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ ถนนเดโช เมื่อแรกตัดถนนเสร็จ บริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของภัตตาคารและร้านอาหารชั้นสูงสำหรับรับรองชาวต่างชาติ และชนชนสูงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับถนนราชวงศ์ ในย่านเยาวราช และถนนสี่พระยาที่อยู่ใกล้เคียงและยังปรากฏหลักฐานของกองช่างนคราทร (เทียบกับปัจจุบัน คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง) ที่ได้ทำการประเมินพื้นที่ก่อสร้างที่แนวถนนสุรวงศ์ต่อไปยังอาคารศุลกสถาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันนี้ ถนนสุรวงศ์ถือเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับ ถนนสีลม หรือถนนสาทร ที่อยู่ใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีถนนพัฒน์พงษ์ และถนนธนิยะ ตัดผ่าน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนสุรวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสี่พระยา

นนสี่พระยา ถนนสี่พระยา (Thanon Si Phraya) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ถือเป็นถนนสายรองของพื้นที่ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระราม 4 มีจุดเริ่มต้นที่แขวงสี่พระยา บริเวณหน้าโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ไปสิ้นสุดที่แยกสามย่าน บริเวณหน้าวัดหัวลำโพง อันเป็นจุดตัดของถนนพระราม 4 และถนนพญาไท ถนนสี่พระยา มีที่มาจาก การที่ขุนนางซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา 4 คน ได้แก่ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์), พระยาพิพัฒโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์), พระยานรฤทธิ์ราชหัช (ทองดี โชติกเสถียร) และพระยานรนารถภักดี (สุด บุนนาค) รวมถึงหลวงมนัศมานิต (เถียน โชติกเสถียร) ได้ร่วมกันซื้อที่ดินระหว่างถนนสุรวงศ์กับคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างผ่านที่ดินเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุง คือ วัดหัวลำโพงไปตกท่าน้ำ คือ ท่าน้ำสี่พระยา พระยาทั้ง 4 คนได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนสี่พระยา" เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนสี่พระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอังรีดูนังต์

นนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศใต้ จากมุมมองสะพานลอยหลังสยามสแควร์ ถนนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศเหนือ จากมุมมองสะพานลอยด้านหลังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ (Thanon Henri Dunant) เป็นถนนในท้องที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 1 (สามแยกเฉลิมเผ่า) ถึงถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกอังรีดูนังต์) เดิมเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนสนามม้า" เนื่องจากผ่านสนามม้าปทุมวัน (ปัจจุบันคือราชกรีฑาสโมสร) ตัดผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สยามสแควร์ โรงพยาบาลตำรวจ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาต.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนอังรีดูนังต์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพลินจิต

นนเพลินจิต ถนนเพลินจิต (Thanon Phloen Chit) เป็นถนนในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีระยะทางตั้งแต่ถนนราชดำริ (สี่แยกราชประสงค์) โดยต่อเนื่องจากถนนพระรามที่ 1 ตัดกับถนนชิดลม (สี่แยกชิดลม) และถนนวิทยุ (สี่แยกเพลินจิต) ไปจนถึงทางรถไฟเก่าสายช่องนนทรี ซึ่งจากทางรถไฟสายนี้ไปจะเป็นถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิตสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาลได้ตัดถนนขึ้น 2 สาย คือ สายหนึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนราชดำริตรงสะพานราชปรารภ ตรงไปทางตะวันออกถึงถนนขวางที่ตั้งวิทยุโทรเลข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนเพลินจิต" ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 ส่วนอีกถนนหนึ่งตัดเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 และพระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" โดยถนนเพลินจิต เดิมสะกดว่า "เพลินจิตร์" ได้รับนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการเสนอแนะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เนื่องจากเดิมสถานที่บริเวณนี้เป็นที่ห่างไกล การสัญจรไปถึงลำบากจนแทบลืมความสบายไปเลย ผู้คนจึงมักนิยมเรียกว่า "หายห่วง" ปัจจุบัน จัดว่าเป็นถนนสายธุรกิจสายหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าระดับหรูหราและใหญ่โตหลายแห่ง เช่นเดียวกับบริเวณสี่แยกราชประสงค์ที่อยู่ใกล้เคียง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและถนนเพลินจิต · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและทางพิเศษศรีรัช · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร

ทางพิเศษเฉลิมมหานคร หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 1 เป็นทางพิเศษสายแรกของประเทศไทย ก่อสร้างและเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและทางพิเศษเฉลิมมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เจริญเมือง

ริญเมือง อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและเจริญเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองเตย

ตลาดคลองเตย เขตคลองเตย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตเจ้าพระยา ซึ่งถือเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่และการพัฒนาตามแนววงแหวนอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและเขตคลองเตย · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตปทุมวันและเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »