โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อทางแยกในเขตบางรัก

ดัชนี รายชื่อทางแยกในเขตบางรัก

รายชื่อทางแยกในเขตบางรัก เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

24 ความสัมพันธ์: พิกัดภูมิศาสตร์อักษรละตินอักษรไทยถนนบรรทัดทองถนนพญาไทถนนพระรามที่ 4ถนนมหาพฤฒารามถนนมหาเศรษฐ์ถนนราชดำริถนนวิทยุถนนสาทรถนนสุรวงศ์ถนนสีลมถนนสี่พระยาถนนอังรีดูนังต์ถนนปั้นถนนนราธิวาสราชนครินทร์ถนนเจริญกรุงถนนเจริญราษฎร์ถนนเดโชทางพิเศษศรีรัชเขตบางรักเขตสาทรเขตปทุมวัน

พิกัดภูมิศาสตร์

แผนที่โลกแสดงพิกัดภูมิศาสตร์; https://www.cia.gov/cia/publications/factbook/reference_maps/pdf/political_world.pdf ดูรุ่นที่ใหญ่กว่านี้ (pdf, 1.8MB) ภาพทรงกลมประกอบมุม ซึ่งใช้เป็นหลักในการระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งใด ๆ บนผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและพิกัดภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบรรทัดทอง

นาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนเพชรบุรี ซึ่งตั้งอยู่บนถนนเพชรบุรี ที่บริเวณแยกเพชรพระราม อันเป็นจุดสิ้นสุดของถนน (ภาพจากมุมมองของถนนบรรทัดทอง) ถนนบรรทัดทอง (Thanon Banthat Thong) เป็นถนนเส้นหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่ 2 เขตคือ เขตปทุมวันและเขตราชเทวี.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนบรรทัดทอง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพญาไท

นนพญาไทช่วงมาบุญครองและสี่แยกปทุมวัน ถนนพญาไท (Thanon Phaya Thai) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกสามย่าน) ไปทางทิศเหนือ เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวังใหม่กับแขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน ผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นตัดกับถนนพระรามที่ 1 (สี่แยกปทุมวัน) ข้ามคลองบางกะปิ หรือคลองแสนแสบ (ที่สะพานเฉลิมหล้า 56 หรือสะพานหัวช้าง) เข้าสู่ท้องที่แขวงถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี ตัดกับถนนเพชรบุรี (สี่แยกราชเทวี) จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท โดยตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามทางรถไฟสายตะวันออก ตัดกับถนนศรีอยุธยา (สี่แยกพญาไท) ไปสิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือ ถนนพหลโยธิน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนพญาไท · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระรามที่ 4

นนพระรามที่ 4 ช่วงสวนลุมพินี ถนนพระรามที่ 4 (Thanon Rama IV) เป็นถนนในกรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ทางแยกหมอมี (แยกจากถนนเจริญกรุง) ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่สะพานเจริญสวัสดิ์ ผ่านสถานีหัวลำโพง สามย่าน ไปบรรจบถนนสุขุมวิท.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนพระรามที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาพฤฒาราม

นนมหาพฤฒาราม (Thanon Maha Phruettharam) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่เขตปทุมวัน, เขตสัมพันธวงศ์ และเขตบางรัก ถนนมหาพฤฒาราม ได้ชื่อมาจากวัดมหาพฤฒาราม (ชื่อเดิม: วัดท่าเกวียน, วัดตะเคียน) วัดแห่งหนึ่งที่ถนนเส้นนี้ตัดผ่าน เป็นถนนสายสั้น ๆ จากแยกหัวลำโพงตัดกับถนนพระราม 4 ในแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน บริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง จากนั้นทอดยาวเข้าพื้นที่แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โดยเลียบไปกับคลองผดุงกรุงเกษม ไปสิ้นสุดลงที่เชิงสะพานพิทยเสถียรตัดกับถนนเจริญกรุง ในลักษณะเป็นสามแยก ในพื้นที่แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนมหาพฤฒาราม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาเศรษฐ์

นนมหาเศรษฐ์ (Thanon Maha Set) เป็นถนนสายหนึ่งในท้องที่แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนมหาเศรษฐ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชดำริ

นนราชดำริ (Thanon Ratchadamri) เป็นถนนที่เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงปทุมวันกับแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มตั้งแต่สี่แยกศาลาแดง ถนนพระรามที่ 4 ตัดกับถนนพระรามที่ 1 ที่สี่แยกราชประสงค์ และสิ้นสุดที่สี่แยกประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี ถนนราชดำริมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนราชดำริ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิทยุ

นนวิทยุ ถนนวิทยุ (quote เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนพระรามที่ 4 (แยกวิทยุ) ในท้องที่แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนสารสิน (แยกสารสิน) และถนนเพลินจิต (แยกเพลินจิต) จากนั้นข้ามคลองแสนแสบเข้าสู่ท้องที่แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี และไปสิ้นสุดที่ถนนเพชรบุรี (แยกวิทยุ-เพชรบุรี) ถนนวิทยุเป็นถนนที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2463 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัดเพื่อเชื่อมถนนเพลินจิตกับถนนพระรามที่ 4 ผ่านที่ตั้งวิทยุโทรเลข ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนวิทยุ" เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2464 เนื่องจากตัดผ่านสถานีวิทยุแห่งแรกของไทย ซึ่งพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธินทรงจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2479 ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของสวนลุมพินี (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นโรงเรียนเตรียมทหาร) จึงตั้งชื่อถนนตามสถานที่ที่ตัดถนนผ่านว่าถนนวิทยุ ถนนวิทยุ นับว่าเป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีความยาวประมาณ 2.6 กิโลเมตร แต่เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงศุลมากถึง 22 แห่ง นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย อีกทั้งยังแวดล้อมไปด้วยอาคารของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ตลอดจนโรงแรม และยังอยู่ใกล้เคียงกับศูนย์การค้าชั้นแนวหน้าหลายแห่ง อีกทั้งยังเป็นถนนที่มีความร่มรื่นด้วยทั้งสองข้างทาง รวมถึงเกาะกลางถนนมีต้นไม้ใหญ่ และยังเลียบขนานไปกับสวนลุมพินีในช่วงระหว่างแยกวิทยุกับแยกสารสิน สวนสาธารณะขนาดใหญ่และเป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงเทพมหานครและประเทศไทยอีกด้วย จึงทำให้ที่ดินแถบถนนวิทยุนี้มีมูลค่าสูงมาก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนวิทยุ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสาทร

นนสาทร ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนสาทร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุรวงศ์

นนสุรวงศ์ (Thanon Surawong) เป็นถนนในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคู่ขนานกับถนนสีลมและถนนสี่พระยา ซึ่งอยู่ใกล้เคียง ถนนสุรวงศ์โดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย โดยถนนสายหนึ่งตัดแยกจากถนนเจริญกรุงไปยังสะพานข้ามคลองวัวลำพอง (บริเวณถนนพระราม 4 และสถานีรถไฟหัวลำโพงในปัจจุบัน) และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนสุรวงศ์ และ ถนนเดโช เมื่อแรกตัดถนนเสร็จ บริเวณรอบ ๆ ถนนสุรวงศ์ยังคงเป็นทุ่งนา, ไร่อ้อยและสวนผัก มีบ้านเรือนทรงยุโรปบ้างประปราย ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เป็นถนนที่เป็นที่ตั้งของภัตตาคารและร้านอาหารชั้นสูงสำหรับรับรองชาวต่างชาติ และชนชนสูงโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับถนนราชวงศ์ ในย่านเยาวราช และถนนสี่พระยาที่อยู่ใกล้เคียงและยังปรากฏหลักฐานของกองช่างนคราทร (เทียบกับปัจจุบัน คือ กรมโยธาธิการและผังเมือง) ที่ได้ทำการประเมินพื้นที่ก่อสร้างที่แนวถนนสุรวงศ์ต่อไปยังอาคารศุลกสถาน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันนี้ ถนนสุรวงศ์ถือเป็นย่านธุรกิจที่สำคัญ เช่นเดียวกับ ถนนสีลม หรือถนนสาทร ที่อยู่ใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวยามราตรีที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีถนนพัฒน์พงษ์ และถนนธนิยะ ตัดผ่าน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนสุรวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสี่พระยา

นนสี่พระยา ถนนสี่พระยา (Thanon Si Phraya) ถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ถือเป็นถนนสายรองของพื้นที่ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนเจริญกรุงกับถนนพระราม 4 มีจุดเริ่มต้นที่แขวงสี่พระยา บริเวณหน้าโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ไปสิ้นสุดที่แยกสามย่าน บริเวณหน้าวัดหัวลำโพง อันเป็นจุดตัดของถนนพระราม 4 และถนนพญาไท ถนนสี่พระยา มีที่มาจาก การที่ขุนนางซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยา 4 คน ได้แก่ พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง (ม.ร.ว.ลพ สุทัศน์), พระยาพิพัฒโกษา (เซเรสติโน ซาเวียร์), พระยานรฤทธิ์ราชหัช (ทองดี โชติกเสถียร) และพระยานรนารถภักดี (สุด บุนนาค) รวมถึงหลวงมนัศมานิต (เถียน โชติกเสถียร) ได้ร่วมกันซื้อที่ดินระหว่างถนนสุรวงศ์กับคลองผดุงกรุงเกษมและสร้างผ่านที่ดินเชื่อมต่อกับถนนเจริญกรุง คือ วัดหัวลำโพงไปตกท่าน้ำ คือ ท่าน้ำสี่พระยา พระยาทั้ง 4 คนได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "ถนนสี่พระยา" เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนสี่พระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอังรีดูนังต์

นนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศใต้ จากมุมมองสะพานลอยหลังสยามสแควร์ ถนนอังรีดูนังต์ มองไปทางทิศเหนือ จากมุมมองสะพานลอยด้านหลังคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนอังรีดูนังต์ (Thanon Henri Dunant) เป็นถนนในท้องที่แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 1 (สามแยกเฉลิมเผ่า) ถึงถนนพระรามที่ 4 (สี่แยกอังรีดูนังต์) เดิมเรียกถนนสายนี้ว่า "ถนนสนามม้า" เนื่องจากผ่านสนามม้าปทุมวัน (ปัจจุบันคือราชกรีฑาสโมสร) ตัดผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน สยามสแควร์ โรงพยาบาลตำรวจ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาต.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนอังรีดูนังต์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนปั้น

นนปั้น ช่วงหน้าวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ถนนปั้น เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีความยาวเพียง 480 เมตร เชื่อมระหว่างถนนสีลม กับถนนสาทรเหนือ โดยชื่อ "ถนนปั้น" มาจากชื่อของผู้ที่อุทิศที่ดินยกให้ทางการตัดถนน คือ นางปั้น วัชราภัย ผู้เป็นภริยาของหลวงอุปการโกษากร (เวท วัชราภัย) ตรงหัวมุมถนนปั้นที่ถนนสีลม เป็นที่ตั้งของวัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขกสีลม) ศาสนสถานสำคัญของศาสนาฮินดู จึงทำให้ถนนปั้นมีชื่อเรียกติดปากว่า "ตรอกวัดแขก" หรือ "ซอยวัดแขก" เป็นจุดที่มีจำหน่ายข้าวของตลอดจนเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมลัฑฑู สำหรับบูชาพระพิฆเนศ เป็นต้น และยังมีร้านอาหารและร้านกาแฟตลอดจนบาร์หรือแกลเลอรีเป็นจำนวนมากอีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนปั้น · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนราธิวาสราชนครินทร์

นนนราธิวาสราชนครินทร์ บริเวณสถานีรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ หรือบีอาร์ที ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (Thanon Naradhiwas Rajanagarindra) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่เขตบางรัก เขตสาทร และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร ลักษณะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 8 ช่องจราจร ความกว้าง 60 เมตร ระยะทาง 5.115 กิโลเมตร เริ่มจากถนนสุรวงศ์ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้พร้อมกับเลียบคลองช่องนนทรี ตัดกับถนนสีลมเข้าพื้นที่แขวงสีลม ตัดกับถนนสาทรเข้าพื้นที่เขตสาทร โดยฝั่งซอยเลขคี่เป็นท้องที่ของแขวงทุ่งมหาเมฆ ส่วนฝั่งซอยเลขคู่เป็นท้องที่แขวงยานนาวา จนถึงปากซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 8 (อาคารสงเคราะห์ 6) จึงเข้าท้องที่แขวงทุ่งวัดดอน ตัดกับถนนจันทน์ เฉพาะฝั่งซอยเลขคู่เข้าสู่ท้องที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา ส่วนฝั่งซอยเลขคี่ยังอยู่ในท้องที่แขวงทุ่งมหาเมฆจนกระทั่งตัดกับถนนจันทน์เก่า จากนั้นตัดกับถนนรัชดาภิเษก และไปบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกพระรามที่ 3-นราธิวาส (ช่องนนทรี) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดขึ้นตามโครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำและถนนเลียบคลองช่องนนทรี ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535-2539) เมื่อสร้างแล้วเสร็จถนนสายนี้ยังไม่มีชื่อทางการ ดังนั้น เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนที่สัญจรไปมา เพื่อความสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ตลอดจนหน่วยงานราชการต่าง ๆ และเพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กรุงเทพมหานครจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ มาเป็นนามถนนอย่างเป็นทางการว่า ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตเมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนนราธิวาสราชนครินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญราษฎร์

นนเจริญราษฎร์ (Thanon Charoen Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ที่แยกสาทร-สุรศักดิ์ในพื้นที่แขวงยานนาวา เขตสาทร แล้วเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัชไปทางทิศใต้ เข้าพื้นที่แขวงทุ่งวัดดอน ก่อนตัดกับถนนจันทน์ที่แยกเจริญราษฎร์-จันทน์ จากนั้นจึงแยกออกจากแนวทางพิเศษ เข้าพื้นที่แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกเจริญราษฎร์ (ระหว่างคลองบางโคล่กลางกับคลองบางโคล่สาร) ระยะทางรวมประมาณ 3.5 กิโลเมตร ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โดยมีแนวเส้นทางตัดผ่านซอยสาทร 17 (โรงน้ำแข็ง) ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล) ถนนจันทน์ ซอยอยู่ดี ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) และถนนเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา (เมื่อก่อสร้างจริงสิ้นสุดที่ถนนเจ้าพระยา) เนื่องจากระบบถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เขตยานนาวาขณะนั้นมีเขตทางแคบมากและมีเส้นทางคดเคี้ยวไปมา จึงต้องตัดถนนขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาธร และถนนจันทน์แต่กฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรุงเทพมหานครจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จและเปิดการจราจรในปี พ.ศ. 2540 ประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานราชการเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนเหนือ-ใต้ หรือ ถนนสาทรตัดใหม่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานครได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่ว่า ถนนเจริญราษฎร์ ตามที่สำนักงานเขตบางคอแหลมเสนอไป เนื่องจากเจริญราษฎร์เป็นชื่อที่มีความหมายและยังคล้องกับถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนครที่อยู่ในแนวขนานกันอีกด้วย หมวดหมู่:ถนนในเขตบางคอแหลม หมวดหมู่:ถนนในเขตสาทร หมวดหมู่:ถนนในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนเจริญราษฎร์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเดโช

นนเดโช (Thanon Decho) เป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนสั้น ๆ ในลักษณะเป็นซอยเชื่อมระหว่างถนนสุรวงศ์กับถนนสีลม ที่แยกเดโช เป็นถนนที่เกิดขึ้นโดยเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้จัดซื้อที่ดินและตัดถนนขึ้นสองสาย และท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ผู้เป็นภรรยาได้ขอพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ขณะที่ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระองค์พระราชทานชื่อว่า ถนนเดโช ตามบรรดาศักดิ์ที่เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ดำรงอยู่ในขณะนั้น คือ พระยาสีหราชเดโชชัย พร้อมกับถนนสุรวงศ์ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงรับถนนทั้งสองสายนี้เป็นถนนหลวงด้วย ในปัจจุบันบริเวณถนนเดโชเป็นถนนที่เต็มไปด้วยตึกรามของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมาก เช่นเดียวกับ ถนนสีลมที่อยู่ใกล้เคียง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและถนนเดโช · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษศรีรัช

ทางพิเศษศรีรัช หรือ ระบบทางด่วนขั้นที่ 2 (ส่วนในเมือง) เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กันยายน..

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและทางพิเศษศรีรัช · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางรัก

ตบางรัก เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตลุมพินี ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและเขตบางรัก · ดูเพิ่มเติม »

เขตสาทร

ตสาทร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ และการทูต.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและเขตสาทร · ดูเพิ่มเติม »

เขตปทุมวัน

ตปทุมวัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพใต้ ซึ่งถือเป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานครและที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตบางรักและเขตปทุมวัน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »