โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อทางแยกในเขตคลองสาน

ดัชนี รายชื่อทางแยกในเขตคลองสาน

รายชื่อทางแยกในเขตคลองสาน เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ หมวดหมู่:ทางแยกในกรุงเทพมหานคร.

10 ความสัมพันธ์: พิกัดภูมิศาสตร์อักษรละตินอักษรไทยถนนลาดหญ้าถนนสมเด็จเจ้าพระยาถนนอิสรภาพถนนท่าดินแดงถนนเจริญรัถถนนเจริญนครเขตคลองสาน

พิกัดภูมิศาสตร์

แผนที่โลกแสดงพิกัดภูมิศาสตร์; https://www.cia.gov/cia/publications/factbook/reference_maps/pdf/political_world.pdf ดูรุ่นที่ใหญ่กว่านี้ (pdf, 1.8MB) ภาพทรงกลมประกอบมุม ซึ่งใช้เป็นหลักในการระบุพิกัดภูมิศาสตร์ของตำแหน่งใด ๆ บนผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์ คือสิ่งที่บอกให้เราทราบถึงตำแหน่งของสถานที่ต่าง ๆ บนผิวโลก โดยยึดตามระบบพิกัดทรงกลม (spherical coordinate system) ชาวบาบิโลเนียเป็นผู้คิดแนวคิดพิกัดภูมิศาสตร์ขึ้น ต่อมาโตเลมี นักปราชญ์ชาวกรีกเป็นผู้ปรับปรุงแนวคิดนี้อีกครั้ง โดยให้หนึ่งวงกลมมีมุม 360 องศา พิกัดภูมิศาสตร์ในปัจจุบัน ประกอบด้วยสองส่วน คือละติจูด และลองจิจูด ดังจะได้อธิบายต่อไปนี้.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและพิกัดภูมิศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดหญ้า

นนลาดหญ้า ถนนลาดหญ้า (Thanon Lat Ya) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 28 เมตร ระยะทางยาว 1,650 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสามเหลี่ยมลาดหญ้า (จุดตัดกับถนนอิสรภาพและถนนท่าดินแดง) ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านทางแยกคลองสาน (จุดตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนเจริญนคร) ไปสิ้นสุดที่หน้าสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บริเวณปากคลองสาน ถนนลาดหญ้าเป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 4 ไว้ตั้งแต่ท่าสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ที่วงเวียน ไปสิ้นสุดที่ท่าสินค้าริมคลองบางกอกใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใช้เกณฑ์ "มหาชัย" ที่ไทยรบชนะพม่าในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สำหรับถนนสายที่ 4 ทรงตั้งชื่อว่า ถนนลาดหญ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงคราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงยกทัพรบชนะกองทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2328กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนลาดหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ใกล้วัดพิชยญาติการามไปจนถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า "ถนนสมเด็จเจ้าพระยา" ตามเดิม และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจากวัดอรุณราชวรารามจนถึงวัดอมรินทรารามจึงเรียกชื่อถนนส่วนนี้ใหม่ว่า "ถนนอรุณอมรินทร์" ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนสมเด็จเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอิสรภาพ

นนอิสรภาพ (Thanon Itsaraphap) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนอิสรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนท่าดินแดง

นนท่าดินแดง (Thanon Tha Din Daeng) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 4 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 22 เมตร ระยะทางยาว 936 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากสามเหลี่ยมลาดหญ้าซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้าและถนนอิสรภาพ มุ่งขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยาและตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่ทางแยกท่าดินแดง ไปสิ้นสุดที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเรือท่าดินแดง ถนนท่าดินแดงเป็น "ถนนสายที่ 9" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 9 ไว้ตั้งแต่ถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ผ่านถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ไปจนถึงริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงข้ามท่าเรือราชวงศ์ ทางการเริ่มก่อสร้างถนนสายที่ 9 ในปี พ.ศ. 2474กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนท่าดินแดง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญรัถ

นนเจริญรัถ (Thanon Charoen Rat) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงคลองสาน และแขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน ในฝั่งธนบุรี เดิมเคยเป็นทางรถไฟสายแม่กลองมาก่อน โดยเป็นส่วนต้นของทางรถไฟสายนี้ ที่วิ่งจากสถานีวงเวียนใหญ่ ไปยังสถานีปลายทาง คือ สถานีปากคลองสาน แต่ในรัฐบาลที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้ยกเลิกทางรถไฟส่วนนี้และยกเลิกสถานีปากคลองสาน และถมที่สร้างเป็นถนนแทน ถนนเจริญรัถ เป็นถนนที่มีลักษณะเป็นซอย เชื่อมระหว่างถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ด้านวงเวียนใหญ่ กับถนนเจริญนคร ในช่วงต้นถนน ในฝั่งถนนด้านวงเวียนใหญ่ เป็นตลาดวงเวียนใหญ่ เป็นตลาดสดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในฝั่งธนบุรี และกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วช่วงถัดไป ยังเป็นแหล่งรวมร้านค้าที่ขายสินค้าเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทำเครื่องหนังและกระเป๋าไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง นับเป็นแหล่งรวมร้านค้าประเภทนี้ที่ขึ้นชื่อ ถนนเจริญรัถไปสิ้นสุดที่แยกเจริญนคร ที่เป็นจุดตัดกับถนนเจริญนคร ซึ่งบริเวณนี้เป็นท่าคลองสาน ท่าเรือข้ามฟากที่ข้ามไปยังท่าสี่พระยา ในฝั่งพระนครได้ ซึ่งอยู่ใกล้กับริเวอร์ซิตี้และโรงแรมรอยัลออร์คิดเชอราตัน และสามารถเชื่อมต่อไปยังย่านตลาดน้อย และตรอกกัปตันบุช (ซอยเจริญกรุง 30) อันเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่ใกล้เคียงได้ รถโดยสารประจำทางสาย 57 เป็นเพียงสายเดียวที่วิ่งผ่านถนนเจริญรัถตลอดทั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนเจริญรัถ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญนคร

นนเจริญนคร (Thanon Charoen Nakhon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งทางฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 4,900 เมตร จุดเริ่มต้นของถนนอยู่ที่ทางแยกคลองสานในพื้นที่แขวงคลองสาน เขตคลองสาน เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 1 (คลองสาน) ตัดกับถนนเจริญรัถและเข้าพื้นที่แขวงคลองต้นไทร ข้ามสะพานเจริญนคร 2 (คลองวัดทองเพลง) ตัดกับถนนกรุงธนบุรีที่ทางแยกกรุงธนบุรี (เหนือและใต้) เลียบแม่น้ำไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ข้ามสะพานเจริญนคร 3 (คลองต้นไทร) และเข้าพื้นที่แขวงบางลำภูล่าง ข้ามสะพานเจริญนคร 4 (คลองบางลำภูล่าง) ข้ามสะพานเจริญนคร 5 (คลองบางไส้ไก่) และเข้าพื้นที่แขวงสำเหร่ เขตธนบุรี ข้ามสะพานเจริญนคร 6 (คลองสำเหร่) และสะพานเจริญนคร 7 (คลองบางน้ำชน) ตัดกับถนนมไหสวรรย์ที่ทางแยกบุคคโลและเข้าพื้นที่แขวงดาวคะนอง เมื่อผ่านปากซอยเจริญนคร 72 จะโค้งไปทางทิศใต้ ไปสิ้นสุดที่สะพานเจริญนคร 8 (คลองดาวคะนอง) โดยมีแนวถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือถนนราษฎร์บูรณะในพื้นที่เขตราษฎร์บูรณะ ถนนเจริญนครตัดขึ้นในราวปี พ.ศ. 2482–2483กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและถนนเจริญนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: รายชื่อทางแยกในเขตคลองสานและเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »