โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชรัฐแอนติออก

ดัชนี ราชรัฐแอนติออก

ราชรัฐแอนติออก (Principality of Antioch) ที่มีอาณาบริเวณบางส่วนที่อยู่ในตุรกีและซีเรียปัจจุบันเป็นนครรัฐครูเสด ที่ก่อตั้งระหว่างสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ที่รุ่งเรืองระหว่าง..

17 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกภาษาละตินภาษาอาหรับภาษาอิตาลีรัฐนักรบครูเสดศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามสงครามครูเสดสงครามครูเสดครั้งที่ 1ทวีปเอเชียตะวันออกกลางตะวันออกใกล้ประเทศตุรกีประเทศซีเรียปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)แอนติออกโรมันคาทอลิก

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอิตาลี

ษาอิตาลี (Italiano หรือ lingua italiana; Italian) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์,โดยส่วนใหญ่ภาษาอิตาลีเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาละตินมากที่สุดในภาษากลุ่มโรมานซ์ด้วยกัน, ภาษาอิตาลีเป็นภาษาทางการในอิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, ซานมารีโน, นครรัฐวาติกัน และอิสเตรียตะวันตก (ในสโลวีเนียและโครเอเชีย), เคยมีสถานะเป็นภาษาทางการของแอลเบเนีย, มอลตา และ โมนาโก ซึ่งมีการพูดภาษานี้กันอย่างกว้างขวางรวมทั้งอดีตแอฟริกาตะวันออกของอิตาลีและแอฟริกาเหนือของอิตาลี (ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย), มีการพูดภาษาอิตาลีในกลุ่มผู้อพยพชาวอิตาเลียนขนาดใหญ่ในอเมริกาและออสเตรเลีย, มีสถานะเป็นภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, สโลวีเนีย, โครเอเชีย และ โรมาเนีย left.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและภาษาอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

รัฐนักรบครูเสด

ตะวันออกใกล้ในปี ค.ศ. 1135 โดยมีอาณาจักรครูเสดเป็นสีเขียว อานาโตเลียและอาณาจักรครูเสด ราว ค.ศ. 1140 รัฐนักรบครูเสด (Crusader states) คือกลุ่มรัฐเจ้าขุนมูลนายที่นักรบครูเสดชาวยุโรปตะวันตกตั้งขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 - 13 ในอานาโตเลีย กรีซ และแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ (อิสราเอลโบราณและปัจจุบัน และในบริเวณปาเลสไตน์) แต่ในที่สุดอำนาจของอิสลามในตะวันออกกลางก็พิชิตรัฐเหล่านี้ได้หมด นอกจากนั้นรัฐนักรบครูเสดก็ยังหมายถึงดินแดนอื่นที่คริสตจักรสมัยกลางได้มา (ส่วนใหญ่เป็นรัฐเล็กและเพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น) เพื่อป้องกันชาวมุสลิมและดินแดนของผู้นอกศาสนาอื่น ๆ ด้ว.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและรัฐนักรบครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสด

กรุงเยรูซาเลมในสงครามครูเสดครั้งแรก สงครามครูเสด (Crusades; الحروب الصليبية, อัลฮุรูบ อัศศอลีบียะหฺ หรือ الحملات الصليبية, อัลฮัมลาต อัศศอลีบียะหฺ แปลว่า "สงครามไม้กางเขน") เป็นชุดสงครามรบนอกประเทศทางศาสนา ที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 2 และศาสนจักรคาทอลิก มีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อฟื้นฟูการเข้าถึงที่ศักดิ์สิทธิ์ในและใกล้เยรูซาเล็มของคริสเตียน เยรูซาเล็มเป็นนครศักดิ์สิทธิ์และสัญลักษณ์ของศาสนาเอบราฮัมหลักทั้งสาม (ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม)Esposito What Everyone Needs to Know about Islam ภูมิหลังสงครามครูเสดเกิดเมื่อเซลจุคเติร์กมีชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือกองทัพไบแซนไทน์เมื่อ..

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและสงครามครูเสด · ดูเพิ่มเติม »

สงครามครูเสดครั้งที่ 1

งครามครูเสดครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1096–1099) เริ่มต้นเป็นการแสวงบุญอย่างกว้างขวาง (ฝรั่งเศสและเยอรมนี) และจบลงด้วยปฏิบัติการนอกประเทศของทหารโดยทวีปยุโรปที่นับถือโรมันคาทอลิกเพื่อทวงแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ซึ่งถูกยึดในการพิชิตเลแวนต์ของมุสลิม (ค.ศ. 632–661) จนเป็นผลให้ยึดเยรูซาเลมได้เมื่อ..

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและสงครามครูเสดครั้งที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกกลาง

แผนที่แสดงที่ตั้งของประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง ตะวันออกกลาง คือ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านใต้และตะวันออก ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ต่อเนื่องจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกไปยังอ่าวเปอร์เซีย เอเชียตะวันออกกลางเป็นอนุภูมิภาคของแอฟริกา-ยูเรเชีย หรือให้เฉพาะเจาะจงลงไปก็คือทวีปเอเชีย และบางส่วนของแอฟริกา สามวัฒนธรรมหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางได้แก่ วัฒนธรรมเปอร์เซีย วัฒนธรรมอาหรับ และวัฒนธรรมตุรกี อิทธิพลของวัฒนธรรมทั้งสามนี้ ได้ก่อกำเนิดเชื้อชาติและภาษาที่แตกต่างกันสามกลุ่ม คือ เปอร์เซีย เตอร์กิกและอาหรั.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและตะวันออกกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกใกล้

ตะวันออกใกล้ในบริบททางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ตะวันออกใกล้ (Near East) เป็นคำที่มีความหมายกำกวมที่ครอบคลุมกลุ่มประเทศที่ต่างกันระหว่างนักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ฝ่ายหนึ่ง และนักรัฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และผู้สื่อข่าวอีกฝ่ายหนึ่ง เดิมคำว่า "ตะวันออกใกล้" หมายถึงรัฐในคาบสมุทรบอลข่านทางตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป แต่ในปัจจุบันมักจะหมายถึงประเทศในบริเวณเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงอิหร่านโดยเฉพาะในบริบททางประวัติศาสตร์ คำว่า “ตะวันออกใกล้” ที่ใช้โดยนักโบราณคดี นักภูมิศาสตร์ และ นักประวัติศาสตร์ยุโรปหมายถึงบริเวณที่รวมทั้งอานาโตเลีย (บริเวณตุรกีที่อยู่ในเอเชีย), บริเวณเลแวนต์ (ซีเรีย, เลบานอน, จอร์แดน, ไซปรัส, อิสราเอล และดินแดนในปาเลสไตน์ (Palestinian territories)), เมโสโปเตเมีย (อิรัก) และคอเคซัสใต้ (จอร์เจีย, อาร์มีเนีย และอาเซอร์ไบจาน) แต่ในบริบททางการเมืองและการสื่อข่าว "ตะวันออกใกล้" หมายถึงจะรวมบริเวณที่กว้างกว่าของตะวันออกกลาง ขณะที่คำนี้หรือคำว่าเอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นคำที่นิยมมากกว่าในบริบทของการศึกษาทางโบราณคดี ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษย์วิทยา และพันธุศาสตร์ของประชากร.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและตะวันออกใกล้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซีเรีย

ประเทศซีเรีย (Syria; سورية ซูริยา) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย (Syrian Arab Republic; الجمهورية العربية السورية) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีพรมแดนทิศตะวันตกจดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทิศตะวันออกจดประเทศอิรัก ทิศใต้จดประเทศจอร์แดน และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศอิสราเอล กรุงดามัสกัส เมืองหลวง เป็นนครที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศซีเรียเป็นที่ราบอุดมสมบูรณ์ ภูเขาสูงและทะเลทราย มีประชากรกลุ่มชาติพันธุ์และศาสนาหลากหลาย ส่วนมากเป็นชาวอาหรับ ซึ่งรวมอลาวียะห์ ดรูซ มุสลิมซุนนีย์และคริสต์ศาสนิกชน กลุ่มชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ชาวอาร์มีเนีย อัสซีเรีย เคิร์ดและเติร์ก ชาวอาหรับซุนนีย์เป็นกลุ่มประชากรใหญ่ที่สุดในประเทศซีเรีย ในภาษาอังกฤษ เดิมชื่อ "ซีเรีย" สมนัยกับเลแวนต์ (ภาษาอาหรับว่า al-Sham) ขณะที่รัฐสมัยใหม่ครอบคลุมที่ตั้งของราชอาณาจักรและจักรวรรดิโบราณหลายแห่ง รวมถึงอารยธรรมเอบลา (Ebla) ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ในสมัยอิสลาม ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ และเมืองเอกในรัฐสุลต่านมัมลุกในอียิปต์ รัฐซีเรียสมัยใหม่สถาปนาขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยเป็นอาณาเขตในอาณัติของฝรั่งเศส และเป็นรัฐอาหรับใหญ่ที่สุดที่กำเนิดขึ้นจากเลแวนต์อาหรับที่เดิมออตโตมันปกครอง ประเทศซีเรียได้รับเอกราชในเดือนเมษายน 2489 เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา สมัยหลังได้รับเอกราชมีความวุ่นวาย และกลุ่มรัฐประหารและความพยายามรัฐประหารสะเทือนประเทศในสมัยปี 2492–2514 ระหว่างปี 2501 ถึง 2504 ประเทศซีเรียเข้าร่วมสหภาพช่วงสั้น ๆ กับอียิปต์ ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหาร ประเทศซีเรียอยู่ภายใต้กฎหมายฉุกเฉินระหว่างปี 2506 ถึง 2554 ระงับการคุ้มครองพลเมืองส่วนใหญ่ของรัฐธรรมนูญอย่างชะงัด และระบบรัฐบาลถูกพิจารณาว่าไม่เป็นประชาธิปไตย บัชชาร อัลอะซัดเป็นประธานาธิบดีตั้งแต่ปี 2543 สืบทอดจากฮาเฟซ อัลอะซัด บิดา ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2513 ถึง 2543 ประเทศซีเรียเป็นสมาชิกสหประชาชาติและขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปัจจุบันถูกระงับสมาชิกภาพจากสันนิบาตอาหรับและองค์การความร่วมมืออิสลาม และระงับตนเองจากสหภาพเพื่อเมดิเตอร์เรเนียน นับแต่เดือนมีนาคม 2554 ประเทศซีเรียเกิดสงครามกลางเมืองในห้วงการก่อการกำเริบ (ถือว่าเป็นผลขยายของอาหรับสปริง) ต่ออะซัดและรัฐบาลพรรคบะอัธ กลุ่มต่อต้านตั้งรัฐบาลทางเลือกขึ้น คือ แนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ในเดือนมีนาคม 2555 ต่อมา ผู้แทนรัฐบาลนี้ได้รับเชิญให้แทนที่ประเทศซีเรียในสันนิบาตอาหรั.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและประเทศซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ปาเลสไตน์ (ภูมิภาค)

ปาเลสไตน์ (فلسطين‎ ฟาลัสติน) (Palestine) เป็นชื่อสามัญของภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ในเอเชียตะวันตกระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับแม่น้ำจอร์แดน และ ดินแดนใกล้เคียงต่าง ๆ Carl S. Ehrlich "Philistines" The Oxford Guide to People and Places of the Bible.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและปาเลสไตน์ (ภูมิภาค) · ดูเพิ่มเติม »

แอนติออก

ที่ตั้งของ “แอนติออก” ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออก (Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Δάφνῃ, Ἀντιόχεια ἡ ἐπὶ Ὀρόντου หรือ Ἀντιόχεια ἡ Μεγάλη; Antiochia ad Orontem; Antioch หรือ Great Antioch หรือ Syrian Antioch) เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บนฝั่ง แม่น้ำออรอนตีส ในประเทศตุรกีปัจจุบัน แอนติออกตั้งอยู่ใกล้กับเมืองใหม่อันทาเคีย แอนติออกก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชโดยเซลิวคัสที่ 1 นิคาเตอร์ขุนพลในพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แอนติออกเจริญขึ้นมาจนในที่สุดก็เป็นเมืองคู่แข่งของอะเล็กซานเดรีย และเป็นเมืองเอกของตะวันออกใกล้ และเป็นเมืองศูนย์กลางของประวัติศาสตร์ยุคแรกของคริสต์ศาสน.

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและแอนติออก · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ราชรัฐแอนติออกและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Principality of Antiochราชรัฐอันติออคราชรัฐอันติโอคราชอาณาจักรอันติโอคนครรัฐอันติโอค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »