โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รางวัลคาร์ล

ดัชนี รางวัลคาร์ล

รางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis หรือ International Charlemagne Prize of the city of Aachen ในภาษาอังกฤษ) เป็นรางวัลที่มอบให้แก่บุคคล ที่เสนอความคิดเห็นที่ดีในการสร้างสันติและการพัฒนาทวีปยุโรป.

20 ความสัมพันธ์: บิล คลินตันฟร็องซัว มีแตร็องยูโรริชาร์ด นีโคเลาส์ ฟอน คูเดินโฮฟ-คาแลร์กีวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็งวินสตัน เชอร์ชิลสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2อังเกลา แมร์เคิลจอร์จ มาร์แชลล์ทวีปยุโรปดาลิอา กรีเบาส์ไกเตคอนราด อเดเนาร์คาร์ล คาร์สเทนส์คณะกรรมาธิการยุโรปประเทศลักเซมเบิร์กโทนี แบลร์เฮนรี คิสซินเจอร์

บิล คลินตัน

วิลเลียม เจฟเฟอร์สัน คลินตัน (William Jefferson Clinton) หรือรู้จักในชื่อ บิล คลินตัน (Bill Clinton) เกิดวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1946 เป็นประธานาธิบดีคนที่ 42 ของสหรัฐอเมริกา ระหว่างค.ศ. 1993 - ค.ศ. 2001 ก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐอาร์คันซอ เขาแต่งงานกับนางฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตัน (อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ทั้งคู่มีบุตรสาวหนึ่งคนชื่อ เชลซี และลงเล่นการเมืองสังกัดพรรคเดโมแครต.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและบิล คลินตัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟร็องซัว มีแตร็อง

ฟร็องซัว มอริส อาเดรียง มารี มีแตร็อง (26 ตุลาคม พ.ศ. 2459 - 8 มกราคม พ.ศ. 2539) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโพ้นทะเลฝรั่งเศส ฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ถึง พ.ศ. 2538 โดยชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในฐานะตัวแทนพรรคสังคมนิยม (PS) เขาชนะการเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2524 กลายเป็นประธานาธิบดีสังคมนิยมคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5และเป็นประมุขแห่งรัฐที่มาจากฝ่ายซ้ายคนแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 และในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส พ.ศ. 2531นั้น เขาก็ชนะอีกครั้งหนึ่งและดำรงตำแหน่งจนถึงปี พ.ศ. 2538 ก่อนที่จะต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในปีเดียวกัน ในการดำรงตำแหน่งทั้งสองวาระนั้น เขาได้ยุบสภาเพื่อที่จะได้เสียงข้างมากในสภา แต่ทว่าพรรคสังคมนิยมก็ได้พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรทั้งสองครั้ง และทำให้เกิด "การบริหารร่วมกัน" ในสองปีสุดท้ายของทั้งสองวาระ โดยมีฌัก ชีรักเป็นแกนนำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2531 และเอดูอาร์ด บัลลาดูร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ถึง พ.ศ. 2538 ในปัจจุบันฟร็องซัว มีแตร็องเป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดด้วยระยะเวลา 14 ปี ทั้งยังเป็นประธานาธิบดีที่อาวุโสที่สุดอีกด้วย (สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่ออายุ 78 ปี) ฟร็องซัว มีแตร็องถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2539 หลังจากเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศอียิปต.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและฟร็องซัว มีแตร็อง · ดูเพิ่มเติม »

ยูโร

ูโร (euro, €; รหัสธนาคาร EUR) เป็นสกุลเงินที่ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป 19 ประเทศ (ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558) ตกลงใช้ร่วมกัน เริ่มใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 (บางประเทศใช้ตามในภายหลัง) 1 ยูโรแบ่งออกเป็น 100 เซนต์ แต่ชื่อเรียกของเซนต์อาจแตกต่างกันในแต่ละประเท.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและยูโร · ดูเพิ่มเติม »

ริชาร์ด นีโคเลาส์ ฟอน คูเดินโฮฟ-คาแลร์กี

ริชาร์ด นีโคเลาส์ ฟอน คูเดินโฮฟ-คาแลร์กี (Richard Nikolaus von Coudenhove-Kalergi; 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 — 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2515) นักการเมืองออสเตรี.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและริชาร์ด นีโคเลาส์ ฟอน คูเดินโฮฟ-คาแลร์กี · ดูเพิ่มเติม »

วาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง

วาเลรี มารี เรอเน ฌอร์ฌ ฌิสการ์ แด็สแต็ง (Valéry Marie René Georges Giscard d'Estaing, 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 —) อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส หมวดหมู่:ประธานาธิบดีฝรั่งเศส.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและวาเลรี ฌิสการ์ แด็สแต็ง · ดูเพิ่มเติม »

วินสตัน เชอร์ชิล

ซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย ก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาเป็นหัวหน้ากรรมการการค้า, รัฐมนตรีปิตุภูมิ, และรัฐมนตรียุติธรรม ระหว่างสงคราม เขายังคงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรียุติธรรม จนกระทั่งความพ่ายแพ้ของอังกฤษในการทัพกัลลิโพลี ทำให้เขาต้องออกจากคณะรัฐบาลและไปประจำการราชการทหารอยู่ที่แนวหน้าภาคตะวันตกในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพันลูกเสือที่ 6 จนกระทั่งเขาได้กลับคืนคณะรัฐบาลในตำแหน่งรัฐมนตรียุทธภัณฑ์ รัฐมนตรีว่าการสงคราม และ รัฐมนตรีน่านฟ้า และในปี 1921-1922 เป็นรัฐมนตรีว่าการอาณานิคม และต่อมาในปี 1924-1929 เป็นรัฐมนตรีคลังหลวง โดยเขาได้กำหนดให้สกุลเงินปอนด์กลับไปอิงค่าทองคำเหมือนกับยุคก่อนสงคราม ซึ่งทำให้เกิดภาวะเงินฝืดแพร่ไปทั้งเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร ภายหลังห่างหายจากงานการเมืองไปในทศวรรษที่ 1930 วินสตันก็ได้กลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งเมื่อนาซีเยอรมนีเริ่มที่จะสั่งสมกำลังทหารและดูจะเป็นภัยคุกคามต่ออังกฤษ และแล้วการอุบัติขึ้นอย่างฉับพลันของสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมอีกครั้ง และภายหลังการลาออกของนายกรัฐมนตรี เนวิล เชมเบอร์ลิน ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1940 วินสตันก็กลายเป็นนายกรัฐมนตรี คำประกาศหนักแน่นของเขาที่จะไม่เป็นผู้ยอมแพ้ได้ช่วยกระตุ้นให้ชาวอังกฤษหันมาต่อต้านนาซีเยอรมนี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นสงครามซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยากเย็นเมื่อสหราชอาณาจักรและอาณานิคมอังกฤษเป็นเพียงฝ่ายเดียวที่ลุกขึ้นอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ วินสตันได้กล่าวสุนทรพจน์ของเขาผ่านวิทยุกระจายเสียงปลุกขวัญกำลังใจชาวอังกฤษ เขาเป็นผู้นำของอังกฤษไปจนกระทั่งสามารถมีชัยเหนือนาซีเยอรมนีได้ แต่ทว่าการได้รับชัยชนะมาต้องแลกกับการสูญเสียการเป็นอภิมหาอำนาจของโลกให้กับสหรัฐอเมริกาไป เหล่าประเทศอาณานิคมที่ยึดครองได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย พม่า เป็นต้นต่างก็ได้เรียกร้องเอกราชจนจำใจต้องยอมเป็นเหตุทำให้จักรวรรดิอังกฤษล่มสลายและกลายเป็นเครือจักรภพแห่งชาติแทน ภายหลังพรรคอนุรักษนิยมพ่ายการเลือกตั้งในปี 1945 เขาก็ทำหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านต่อรัฐบาลพรรคแรงงาน เขาได้ออกมาเตือนอย่างเปิดเผยถึงอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปผ่านมาตรการ "ม่านเหล็ก" และยังส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวของยุโรป ภายหลังชนะเลือกตั้งในปี 1951 วินสตันก็กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ในช่วงการดำรงตำแหน่งครั้งที่สองนี้ รัฐบาลของเขาเต็มไปด้วยข้อราชการต่างประเทศ ทั้งวิกฤตการณ์มาลายา, กบฎมาอูมาอูในเคนยา, สงครามเกาหลี ตลอดจนสนับสนุนการรัฐประหารในอิหร่าน ในปี 1953 เขาเริ่มเจ็บป่วยจากภาวะขาดเลือดในสมอง และลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1955 แต่เขายังคงเป็นสมาชิกสภาสามัญชนไปจนถึงปี 1964 วินสตันถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 90 ปีในปี 1965 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระราชทานรัฐพิธีศพให้เป็นเกียรติ เขายังคงได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติอังกฤษ ชื่อของเขาอยู่ในลำดับที่ 1 ของทำเนียบชาวอังกฤษผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลจากการจัดอันดับในปี 2002.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและวินสตัน เชอร์ชิล · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน หรือ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1 (Juan Carlos I; เสด็จพระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้เผด็จการสเปน กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 เป็นประมุขแห่งรัฐองค์ถัดมาใน..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์

้าหญิงเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (31 มกราคม พ.ศ. 2481) หรือพระนามเต็มว่า เบียทริกซ์ วิลเฮลมินา อาร์มการ์ด (Beatrix Wilhelmina Armgard) หรือเดิมคือ สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ (Beatrix der Nederlanden) อดีตสมเด็จพระราชินีนาถแห่งเนเธอร์แลนด์ ครองราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

มเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส (Francis; Franciscus) เป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 266 มีพระนามเดิมว่า คอร์เค มาเรียว เบร์โกเกลียว (Jorge Mario Bergoglio) พระราชสมภพเมื่อ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2479.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2

มเด็จพระสันตะปาปา นักบุญจอห์น ปอลที่ 2 มีพระนามเดิมว่า การอล ยูแซฟ วอยตือวา (ในภาษาโปแลนด์) เกิดเมื่อ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1920 ที่หมู่บ้านวาดอวิตแซ ใกล้เมืองกรากุฟ ประเทศโปแลนด์ บิดาเป็นทหารมียศเป็นจ่าทหารและเกษียณราชการแล้ว มารดาเสียชีวิต เมื่อคาโรลยังเป็นเด็ก ท่านเป็นเด็กที่มีพรสวรรค์พิเศษ ชอบการกีฬาเป็นอันมาก ท่านยังชอบบทกวีและการแสดงละคร หลังจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 1 คณะพระคาร์ดินัลทั่วโลกก็มีมติเลือกให้พระคาร์ดินัลการอล วอยตือวา ประมุขแห่งอัครมุขมณฑลกรากุฟ ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 58 พรรษา ขึ้นเป็นประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1978 นับเป็นพระสันตะปาปาองค์ที่ 264 ที่สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญซีโมนเปโตรอัครทูต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เป็นประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั่วโลก เป็นพระสันตะปาปาที่ไม่ใช่ชาวอิตาเลียนองค์แรกในรอบ 455 ปี และเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เป็นชาวโปแลนด์ รวมทั้งยังเป็นพระสันตะปาปาที่ได้รับเลือกขณะที่มีอายุน้อยที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 อีกด้วย พระองค์เป็นพระสันตะปาปาที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน พระองค์ทรงเดินทางรอบโลกเพื่อเยี่ยมเยียนคริสตชนมากกว่าพระสันตะปาปาองค์ใด ๆ ในอดีตที่ผ่านมา ทรงต่อต้านกระแสทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต การกดขี่ทางการเมือง ยืนกรานในการต่อต้านการทำแท้ง และปกป้องวิถีทางของศาสนจักรในเรื่องเพศของมนุษย์ ปัจจุบัน พระองค์ท่านได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดยสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 2014 ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

อังเกลา แมร์เคิล

อังเกลา โดโรเทอา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel; นามสกุลเดิม คัสเนอร์; เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ณ เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน(CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 นางแมร์เคิลชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 2 เมื่อปี..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและอังเกลา แมร์เคิล · ดูเพิ่มเติม »

จอร์จ มาร์แชลล์

อร์จ มาร์แชลล์ ผู้วางแผนฟื้นฟูยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จอร์จ แคตเลตต์ มาร์แชลล์ (George Catlett Marshall – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2423 – 16 ตุลาคม พ.ศ. 2502) นายพลกองทัพบก/จอมพล/นายพล5ดาว (General of the Army) แห่งกองทัพบกสหรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ มีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะเป็นผู้นำชัยชนะมาสู่กองทัพสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 และในฐานะผู้วางแผนฟื้นฟูยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า “แผนมาร์แชลล์” (Marshall Plan) จากบทบาทในแผนฟื้นฟูยุโรป ทำให้มาร์แชลล์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ เป็นนายทหารชาวอเมริกันคนเดียวที่เคยได้รับรางวัลนี้ จอร์จ มาร์แชลล์ เกิดที่เมืองยูเนียนทาวน์ รัฐเพนซิลเวเนีย ได้รับการศึกษาจากสถาบันการทหารเวอร์จิเนียและเข้าเป็นทหารทันทีที่จบการศึกษา ต่อมาได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในบังคับบัญชาของนายพลจอห์น เพอร์ชิง และร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งก้าวหน้าเป็นลำดับถึงตำแหน่งหัวหน้าคณะเสนาธิการทหารบก ได้รับยศทางทหารระดับ “พลเอกแห่งกองทัพบก” ซึ่งตั้งหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และเกษียณอายุเมื่อ..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและจอร์จ มาร์แชลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ดาลิอา กรีเบาส์ไกเต

ดาลิอา กรีเบาส์ไกเต (Dalia Grybauskaitė; เกิด 1 มีนาคม 2499) เป็นประธานาธิบดีลิทัวเนีย เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2552 และได้รับเลือกตั้งใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2557 เธอเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกและเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่สอง เธอเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตลอดจนกรรมาธิการยุโรปเพื่อการวางแผนงานการคลังและงบประมาณตั้งแต่ปี 2547 ถึง 2552 เธอมักได้รับขนานนามว่า "สตรีเหล็ก" และ "แมกโนเลียเหล็กกล้า" หมวดหมู่:นักการทูตชาวลิทัวเนีย หมวดหมู่:ประธานาธิบดีลิทัวเนีย หมวดหมู่:ชาวลิทัวเนียที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก หมวดหมู่:สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต หมวดหมู่:บุคคลจากวิลนีอุส.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและดาลิอา กรีเบาส์ไกเต · ดูเพิ่มเติม »

คอนราด อเดเนาร์

อนราด อเดนาวร์ (5 มกราคม พ.ศ. 2419 - 19 เมษายน พ.ศ. 2510) มีชื่อเต็มว่า คอนราด แฮร์มันน์ โยเซฟ อเดนาวร์ (Konrad Hermann Josef Adenauer) เป็นรัฐบุรุษชาวเยอรมัน อัครมหาเสนาบดีหรือนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี คนแรกของเยอรมนีตะวันตก (First Chancellor) ผู้สร้างชาติเยอรมนีตะวันตกภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคการเมืองที่มีชื่อว่า “พรรคสหภาพคริสเตียน - เดโมแครต” (CDU) อีกทั้งยังเป็นนายกรัฐมนตรีที่อายุยืนที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและคอนราด อเดเนาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล คาร์สเทนส์

ร์ล คาร์สเทนส์ (Karl Carstens; 14 ธันวาคม พ.ศ. 2457 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2535) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและคาร์ล คาร์สเทนส์ · ดูเพิ่มเติม »

คณะกรรมาธิการยุโรป

ณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission, Europäische Kommission) เป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป รับผิดชอบการออกกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆของสหภาพยุโรป รวมไปถึงดำเนินกิจการต่างๆของสหภาพยุโรปให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยในทุกๆวัน ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ สมาชิกคณะกรรมาธิการจะต้องให้สัตย์สาบานต่อศาลยุติธรรมแห่งยุโรปซึ่งตั้งอยู่ในลักเซมเบิร์ก ว่าจะเคารพซึ่งสนธิสัญญาต่างๆรวมถึงจะเป็นกรรมาธิการซึ่งมีอิสระในการตัดสินใจโดยไม่ขึ้นแก่ผู้ใดในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง คณะกรรมาธิการยุโรปปฏิบัติหน้าที่เสมือนคณะรัฐมนตรีซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 28 คน(ที่เรียกว่า "กรรมาธิการ")จาก 28 ชาติสมาชิกสหภาพยุโรป แม้จะเป็นตัวแทนของแต่ละชาติ แต่กรรมาธิการจะต้องสาบานตนว่าจะดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่เพื่อพิทักษ์ซึ่งผลประโยชน์ของสหภาพยุโรป กระบวนการสรรหาคณะกรรมาธิการจะเริ่มที่คณะกรรมการยุโรป (European Council) เสนอชื่อบุคคลหนึ่งเพื่อให้รัฐสภายุโรปลงมติรับรองให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการ หลังจากนั้นคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปจะเสนอชื่อกรรมาธิการอีก 27 คนให้ประธานกรรมาธิการพิจารณาเห็นชอบ หลังจากเห็นชอบแล้ว จึงเสนอชื่อกรรมาธิการทั้งคณะ 28 คนให้รัฐสภายุโรปลงมติรับรองอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสรรหา คณะกรรมาธิการยุโรปถือเป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป มีเจ้าหน้าที่ในกำกับกว่า 23,000 คนซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็นหลายกองที่เรียกว่า "กองอำนวยการ" (directorate-general) แต่ละกองมีผู้อำนวยการ (director-general) เป็นหัวหน้ากอง ทุกกองมีที่ทำการอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและคณะกรรมาธิการยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg; Luxembourg; Luxemburg) หรือชื่อทางการคือ ราชรัฐลักเซมเบิร์ก (Grand Duchy of Luxembourg; ลักเซมเบิร์ก: Groussherzogtum Lëtzebuerg; Grand-Duché de Luxembourg; Großherzogtum Luxemburg) เป็นนครรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับประเทศเยอรมนี ด้านใต้ติดกับฝรั่งเศส และด้านตะวันตกติดกับเบลเยียม.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและประเทศลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

โทนี แบลร์

แอนโธนี ชาลส์ ลินตัน "โทนี" แบลร์ (Anthony Charles Lynton "Tony" Blair) เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) เป็นอดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร และเป็นอดีตหัวหน้าพรรคแรงงาน แบลร์สืบทอดตำแหน่งหัวหน้าพรรคแรงงานหลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าพรรคคนก่อนคือ นายจอห์น สมิท (John Smith) ใน พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) และเอาชนะนายจอห์น เมเจอร์ (John Major) ของพรรคอนุรักษนิยม และเป็นหัวหน้าพรรคแรงงานคนเดียวที่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ 3 สมัยติดต่อกัน.

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและโทนี แบลร์ · ดูเพิ่มเติม »

เฮนรี คิสซินเจอร์

นรี คิสซินเจอร์ เฮนรี คิสซินเจอร์ (Henry Alfred Kissinger; เกิด 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1923; ชื่อเมื่อเกิด Heinz Alfred Kissinger) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักการทูตชาวอเมริกันเชื้อสายเยอรมัน และเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: รางวัลคาร์ลและเฮนรี คิสซินเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »