โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐสภากลางเบลเยียม

ดัชนี รัฐสภากลางเบลเยียม

รัฐสภากลางเบลเยียม (Belgian Federal Parliament; Parlement fédéral belge; Federaal Parlement van België; Föderales Parlament von Belgien) เป็นสภานิติบัญญัติระดับชาติของเบลเยียม ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร (Chamber of Representatives; la Chambre des Représentants, Kamer van Volksvertegenwoordigers) กับวุฒิสภา (Senate; le Sénat; Senaat).

15 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ภาษาฝรั่งเศสภาษาดัตช์มณฑลลักเซมเบิร์กมณฑลแอนต์เวิร์ปมณฑลเฟลมิชบราบันต์ระบบสองสภาสภานิติบัญญัติสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียมประเทศเบลเยียมเลอเฟินเจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียมเจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเตเขตฟลามส์เขตวัลลูน

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดัตช์

ษาดัตช์ (Dutch; Nederlands) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกต่ำที่มีคนพูด 22 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเบลเยียม ภาษาดัตช์ที่พูดในเบลเยียมมักเรียกว่าภาษาเฟลมิช และมักจะถือเป็นภาษาที่แยกต่างหากกัน.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและภาษาดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg ลุกซ็องบูร์, ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg) เป็นมณฑลทางใต้ที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลนามูร์, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลลีแยฌของประเทศเบลเยียม, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศลักเซมเบิร์ก และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดอาร์แดน, จังหวัดเมิซ และจังหวัดเมอร์เตมอแซลของประเทศฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์กมีเมืองหลวงชื่ออาร์ลง ประกอบด้วยเขตการปกครอง 5 เขต ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 44 เทศบาล และมีพื้นที่ 4,440 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทำให้ลักเซมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและมณฑลลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลแอนต์เวิร์ป

แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) เป็นมณฑลที่อยู่ทางเหนือที่สุดของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก, ทางเหนือของมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันตกของมณฑลลิมเบิร์ก ในประเทศเบลเยียม, ทางใต้ของจังหวัดนอร์ทบราแบนต์และจังหวัดเซลันด์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แอนต์เวิร์ปมีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 2,867 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 70 เทศบาล แอนต์เวิร์ปเป็นที่ตั้งของท่าเรือแอนต์เวิร์ป ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของมณฑล และมีทางหลวงยุโรป E313, E19 และ E34 พาดผ่าน นอกจากนี้ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อสถานีรถไฟแอนต์เวิร์ป-เซนทราลกับบรัสเซลส์และอัมสเตอร์ดัม แม่น้ำสายหลักของจังหวัดคือแม่น้ำสเกลต์ที่เชื่อมต่อท่าเรือแอนต์เวิร์ปกับทะเลเหนือ และคลองอัลเบิร์ตที่เชื่อมต่อแม่น้ำสเกลต์ในมณฑลแอนต์เวิร์ปและแม่น้ำเมิซในมณฑลลีแยฌเข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและมณฑลแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเฟลมิชบราบันต์

ฟลมิชบราบันต์ (Flemish Brabant) หรือ ฟลามส์-บราบานท์ (Vlaams-Brabant) เป็นมณฑลในเขตฟลามส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเขตของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก, ทางใต้ของมณฑลแอนต์เวิร์ป, ทางตะวันตกของมณฑลลิมเบิร์ก, ทางตกเฉียงเหนือของมณฑลลีแยฌ, ทางเหนือของมณฑลวัลลูนบราบันต์, ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลแอโน และล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมดของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เฟลมิชบราบันต์มีเมืองหลวงชื่อเลอเฟน และมีพื้นที่ 2,106.13 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 65 เทศบาล แม่น้ำสายหลักของจังหวัดคือแม่น้ำเดเมอร์และแม่น้ำเซน เฟลมิชบราบันต์ตั้งขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 จากการแยกอดีตจังหวัดบราบันต์เป็น 3 ส่วน ได้แก่ มณฑลเฟลมิชบราบันต์, มณฑลวัลลูนบราบันต์ และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับมณฑลใ.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและมณฑลเฟลมิชบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสองสภา

ระบบสองสภา (อังกฤษ: bicameralism -bi + Latin camera หรือ chamber) เป็นระบบการปกครองที่มีองค์นิติบัญญัติสององค์หรือมีรัฐสภาสองสภา ดังนั้น ระบบสองสภา หรือ สององค์นิติบัญญัติจึงประกอบด้วย 2 องค์ประชุมคือสภาสูงและสภาล่าง ระบบสองสภานับเป็นหัวใจสำคัญของรูปแบบคลาสสิกของรัฐบาลผสม องค์นิติบัญญัติแบบสองสภาจึงจำเป็นต้องมีเสียงข้างมากในการผ่านกฎหม.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและระบบสองสภา · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม

มเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม (การออกเสียงภาษาอื่น: His Majesty King Philippe of the Belgians; Sa Majesté le Roi Philippe des Belges; Zijne Majesteit de Koning Filip der Belgen; Seine Majestät der König Philipp der Belgier, เสด็จพระราชสมภพ 15 เมษายน ค.ศ. 1960) เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 7 แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในอดีตสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และสมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม ทรงสืบราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ภายหลังจากการสละราชสมบัติของสมเด็จพระราชบิดาอันเนื่องมาจากปัญหาพระพลานามัย โดยหลังจากการเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ จึงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น ดัชเชสแห่งบราบันท์ รัชทายาทพระองค์ต่อไปของเบลเยียม.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เลอเฟิน

ลอเฟิน (Leuven), ลูแว็ง (Louvain) หรือ เลอเวิน (Löwen) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดเฟลมิชบราบันต์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของจังหวัด ห่างจากกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 25 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 97,000 คน เลอเฟินเป็นที่ตั้งของ Anheuser-Busch InBev บริษัทผลิตเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มหาวิทยาลัยคาทอลิกเลอเฟิน (Katholieke Universiteit Leuven) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ และสถาบันปรัชญาชั้นสูง (Higher Institute of Philosophy) ซึ่งมีชื่อเสียงโดยเฉพาะการเก็บรักษาผลงานของเอ็ดมุนด์ ฮัสเซิร์ล นักปรัชญาชาวเยอรมันไว้อย่างถาวร.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและเลอเฟิน · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม

้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม (พระนามเต็ม: โลร็อง เบอนัว โบดวง มารี, Laurent Benoît Baudouin Marie de Belgique, Laurens Benedikt Boudewijn Maria van België) ประสูติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1963 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองของสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 กับสมเด็จพระราชินีเปาลา และพระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม และ เจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต พระมหากษัตริย์เบลเยี่ยมองค์ปัจจุบัน ประสูติ ณ ปราสาทแบลเวอแดร์ ในพระราชวังลาเคิน, เบลเยียม พระองค์ทรงศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร และต่อมาที่โรงเรียนนายร้อยแห่งเบลเยียม พระองค์ได้รับการประดับยศเป็น "นาวาเอก" (Ship-of-the-Line Captain) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..​ 2004 เจ้าชายโลร็องในปัจจุบันทรงอยู่ในลำดับที่ 11 แห่งการสืบราชสันตติวง.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและเจ้าชายโลร็องแห่งเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต

้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต (พระนามเต็ม: อัสตริด โจเซฟิน-ชาร์ลอต ฟาบรีเซีย เอลิซาเบธ เปาลา มารี, Astrid Joséphine-Charlotte Fabrizia Elisabeth Paola Marie) ประสูติเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ทรงเป็นสมเด็จพระโสทรกนิษฐภคินี ใน สมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิป พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียมองค์ปัจจุบันและก็เป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวใน สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และ สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม พระองค์เป็นพระชายาในอาร์ชดยุกลอเรนซ์แห่งออสเตรีย-เอสเตดังนั้น พระองค์จึงทรงได้รับพระอิสริยยศเป็น อาร์ชดัชเชสแอสตริดแห่งออสเตรีย-เอสต์ เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม ดัชเชสแห่งโมเดนา และ เจ้าหญิงแห่งฮังการี (Her Imperial and Royal Highness The Archduchess of Austria-Este, The Princess of Belgium, The Duchess of Modena, and the Princess Royal of Hungary) พระบิดาทูนหัวคือ เจ้าชายฟาบริซีโอ้ ราฟโฟ แห่งคาลาเบรีย และพระมารดาทูนหัวคือ แกรนด์ดัชเชสโจเซฟีน-ชาร์ลอตแห่งลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 และทรงเป็นสมเด็จป้าในพระองค์อีกด้ว.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและเจ้าหญิงอัสตริดแห่งเบลเยียม อาร์ชดัชเชสแห่งออสเตรีย-เอสเต · ดูเพิ่มเติม »

เขตฟลามส์

ตฟลามส์ (Vlaams Gewest, Région flamande, Flamish region) หรือเรียกอีกอย่างว่า เขตเฟลมิช เป็นหนึ่งในสามเขตการปกครองอย่างเป็นทางการของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตวัลลูนและเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เขตฟลามส์มีเนื้อที่อยู่ทางเหนือของประเทศและกินพื้นที่ประมาณ 13,522 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 44.29 ของประเทศ) เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป โดยประมาณ 455 คนต่อตารางกิโลเมตร ใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการ ในความหมายปัจจุบัน ฟลานเดอร์ (Flanders) มักใช้หมายถึงเขตฟลาม.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและเขตฟลามส์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: รัฐสภากลางเบลเยียมและเขตวัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รัฐสภาแห่งเบลเยียม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »