เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากร

ดัชนี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากร

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านการจัดการทรัพยากร (รัฐมนตรีช่วยฯ ด้านการจัดการทรัพยากร) เป็นตำแหน่งที่ 3 ทำหน้าที่ร่วมกันกับ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีช่วยฯด้านการจัดการทรัพยากร ถือเป็นตำแหน่งที่ปรึกษาระดับสูงของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและมีส่วนร่วมในความรับผิดชอบทั่วโลกสำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการกำกับและประสานงานด้านความช่วยเหลือจากต่างประเทศของสหรัฐฯและการดำเนินการด้านการทูตในต่างประเทศ ตำแหน่งนี้ตราขึ้นโดยสภาคองเกรสในปีพุทธศักราช 2543 ในหมวด 4 มาตรา 404 ของกฎหมายมหาชน 106-553 อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการแต่งตั้งผู้ใดให้ดำรงตำแหน่ง จนกระทั่งปีพุทธศักราช 2552 เมื่อประธานาธิบดี บารัค โอบามาได้แต่งตั้ง แจ็ค หลิว อดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณทำเนียบขาว สมัยของประธานาธิบดีบิล คลินตัน ให้เข้าดำรงตำแหน่งเป็นคนแรก.

สารบัญ

  1. 5 ความสัมพันธ์: กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐวอชิงตัน ดี.ซี.จอห์น ซัลลิแวนประธานาธิบดีสหรัฐ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (United States Department of State) เป็นกระทรวงของรัฐบาลกลางสหรัฐ รับผิดชอบด้านกิจการและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของสหรัฐ กระทรวงดังกล่าวก่อตั้งขึ้นในปี..

ดู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากรและกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหรัฐ (United States Secretary of State.) เป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งบังคับบัญชากระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่รับผิดชอบและพิจารณาการดำเนินการด้านกิจการต่างประเทศของรัฐบาลสหรัฐ รัฐมนตรีต่างประเทศได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีสหรัฐและโดยการรับรองของวุฒิสภา ตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในสี่ตำแหน่งสำคัญที่สุดของคณะรัฐบาล อันได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอัยการสูงสุด รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันคือ ไมก์ ปอมเปโอ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ คนที่6 เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐคนที่ 70 นับตั้งแต่สถาปนาตำแหน่งนี้ม.

ดู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ

วอชิงตัน ดี.ซี.

กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington, D.C) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตปกครองพิเศษโคลอมเบีย (District of Columbia) มักเรียกทั่วไปว่า กรุงวอชิงตัน (Washington) หรือ ดี.ซี (D.C.) เป็นเมืองหลวงของสหรัฐ ก่อตั้งขึ้นเมื่อภายหลังจากการปฏิวัติอเมริกา โดยชื่อ วอชิงตัน มาจากชื่อของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐคนแรก และบิดาผู้ก่อตั้งประเทศคนหนึ่ง วอชิงตันเป็นนครหลักนครหนึ่งของเขตมหานครวอชิงตัน (Washington Metropolitan Area) โดยมีประชากรที่อาศัยอยู่ในวอชิงตันจำนวนประมาณ 6,131,977 คน โดยวอชิงตันได้รับฉายาว่าเป็นเมืองหลวงทางการเมืองของโลก เนื่องจากเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางสหรัฐและสถาบันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำนวนมากเช่น ธนาคารโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ เป็นต้น กรุงวอชิงตันเป็นนครที่นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมมากที่สุดนครหนึ่งในโลก โดยในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมวอชิงตัน ปีละประมาณ 20 ล้านคน การลงนามรัฐบัญญัติที่ตั้งในสหรัฐ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม..

ดู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากรและวอชิงตัน ดี.ซี.

จอห์น ซัลลิแวน

อห์น โจเซฟ ซัลลิแวน (เกิด 20 พฤศจิกายน 2502) เป็นนักกฎหมาย และเจ้าพนักงานรัฐบาลกลางชาวอเมริกัน ผู้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คนที่ 19 และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ด้านการจัดการทรัพยากร คนที่ 4 ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน ก่อนหน้านั้นทำหน้าที่รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2018 (โดยพฤตินัย) และอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2018 - 27 เมษายน 2018 หลังประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ไล่นายเร็กส์ ทิลเลอร์สัน ออก.

ดู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากรและจอห์น ซัลลิแวน

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ดู รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐด้านการจัดการและทรัพยากรและประธานาธิบดีสหรัฐ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านการจัดการทรัพยากร