โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)

ดัชนี รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)

รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (1916) เกิดขึ้นหลังจากความล้มเหลวในการบริหารงานของคณะรัฐบาลอนุรักษนิยมหลายคณะ แกรนด์ดัสเชสมารี-อาเดลาอีดทรงเปลี่ยนพระทัยโปรดเกล้าฯให้นักการเมืองแนวคิดเสรีนิยม วิกเตอร์ ทอร์น ทำการจัดตั้งรัฐบาลและดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ปกติทอร์นเป็นผู้นำที่มีแนวโน้มเป็นผู้ไกล่เกลี่ยและเขาได้ทำการร้องขอต่อรัฐสภาโดยตรงให้สนับสนุนรัฐบาลของเขาโดยไม่มีเรื่องของปัจเจกชน แนวคิดทางการเมืองและความเชื่อ เขากล่าวว่า "ถ้าท่านต้องการรัฐบาลที่ปฏิบัติงานและสามารถรักษาการ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุกพรรคการเมืองต้องสนับสนุนรัฐบาลนี้ การสนับสนุนครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมจากทุกพรรคแต่เฉพาะเงื่อนไขเท่านั้นที่แต่ละคนจะถูกเชิญให้ร่วมรัฐบาล ทอร์นถูกทิ้งอย่างไม่มีทางเลือกแต่ก็สามารถกระทำการบริหารได้ ผลของการมีรัฐบาลผสมทั้งหมดซึ่งรวมทุกฝ่ายในการเมืองลักเซมเบิร์ก นอกเหนือจากทอร์นซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว ยังมีฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างเลออน คลัฟแมนน์และอันโตน เลอฟอร์ท, ฝ่ายสังคมนิยมคือ มิเชล เวลเตอร์และฝ่ายเสรีนิยมคือ เลออน มอติแยร์Thewes (2003), p. 69.

6 ความสัมพันธ์: กาชาดราชนาวีสหภาพแรงงานทุพภิกขภัยความอดอยากเทรียร์

กาชาด

100px 100px 100px ขบวนกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงนานาชาติ หรือ กาชาด (International Red Cross and Red Crescent Movement หรือ Red Cross) เป็นคำที่ใช้เรียกหน่วยงานสากลที่ประกอบด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลกราว 97 ล้านคน ที่มีจุดประสงค์ในพิทักษ์ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การบรรเทาทุกข์และการรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ เพศ ความเชื่อทางศาสนา ระดับชั้นในสังคม หรือ ความคิดเห็นทางการเมือง ตราสัญลักษณ์ที่ใช้โดยหน่วยงานนี้มีด้วยกันสามตรา ซึ่งเป็นรูป “ตรากากบาทแดง” (Red Cross), “ตราเสี้ยววงเดือนแดง” (Red Crescent) และ “ตราเพชรแดง” (Red Crystal) หน่วยงานในประเทศไทย เรียก สภากาชาดไทย และใช้ตรากากบาทแดง เป็นตราสัญลักษณ.

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และกาชาด · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวี

กองทัพเรือสหราชอาณาจักร หรือ ราชนาวี (Royal Navy อักษรย่อ: RN) เป็นเหล่าทัพหลักของกองทัพสหราชอาณาจักร ซึ่งมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เหล่าทัพนี้เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุด โดยตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 17 ถึงปลายศตวรรษที่ 19 ราชนาวีสหราชอาณาจักรจัดเป็นทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และราชนาวี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพแรงงาน

หภาพแรงงาน (Labour Union หรือ Labor Union) คือการรวมตัวกันของกลุ่มลูกจ้างโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้มีการดำเนินการตาม หรือเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อประมาณหลายปีที่แล้ว สหภาพแรงงานได้ถือกำเนิดขึ้นและได้พัฒนาไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน เนื่องจากบริบททางการเมืองและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนี้จึงส่งผลให้วัตถุประสงค์ และกิจกรรมหลักของสหภาพแรงงานจึงแตกต่างกันไปด้วย อย่างไรก็ตามอาจสรุปหน้าที่หลักของสหภาพแรงงานได้ดังนี้.

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และสหภาพแรงงาน · ดูเพิ่มเติม »

ทุพภิกขภัย

ทุพภิกขภัย (famine) คือสภาวะของการขาดแคลนอาหารอย่างกว้างขวางซึ่งอาจใช้กับสภาวะที่เกิดในสัตว์ชนิดใดก็ได้ วิกฤติการณ์ดังกล่าวมักจะตามมาด้วยสภาวะทุพโภชนาการ, การอดอยาก, โรคระบาด และการเพิ่มจำนวนการเสียชีวิต องค์ประกอบสำคัญในการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยก็ได้แก่การแจกจ่ายสารอาหารรอง เช่นวิตามินและ แร่ธาตุจากซองอาหารบำบัดที่ประกอบด้วยสารเสริมอาหาร หรือให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงhttp://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1914655, 00.html Can one pill tame the illness no one wants to talk about? ประเภทการบรรเทาสภาวะทุพภิกขภัยแบบหนึ่งการให้เงินหรือให้ตั๋วแก่ผู้ที่อดอยากเพื่อนำไปซื้อหรือแลกเปลี่ยนเป็นอาหารจากเกษตรกรท้องถิ่น แทนที่จะนำทุนไปซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค กฎหมายมักต้องระบุ เพราะเป็นการเสียเงินค่าขนส่ง การแก้ปัญหาความขาดแคลนระยะยาวก็ทำได้โดยการลงทุนในการเกษตรกรรมแบบใหม่ในภูมิภาคที่ยังไม่มีระบบดังกล่าว เช่นการใช้ปุ๋ย และสร้างระบบการชลประทานอันวิธีสำคัญที่ใช้ในการกำจัดความหิวโหยในประเทศพัฒนาแล้ว แต่กฎของธนาคารโลกจำกัดการให้ทุนช่วยเหลือเกษตรกร และการใช้ปุ๋ยก็ได้รับการต่อต้านจากนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มเพราะมีผลตามมาอย่างคาดไม่ถึง คือ ปริมาณน้ำและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ลดลงhttp://www.theatlantic.com/issues/97jan/borlaug/borlaug.htm Forgotten benefactor of humanity.

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และทุพภิกขภัย · ดูเพิ่มเติม »

ความอดอยาก

วามอดอยาก (Starvation) คือภาวะการลดการบริโภคไวตามิน, สารอาหาร และ พลังงานอย่างต่ำลงอย่างผิดปกติ ความอดอยากเป็นรูปแบบที่รุนแรงที่สุดของทุพโภชนาการ ความอดอยากเป็นระยะเวลานานของมนุษย์อาจจะเป็นสร้างความเสียหายให้แก่อวัยวะภายในร่างกายอย่างเป็นการถาวร และผลสุดท้ายก็จะเสียชีวิต องค์การอนามัยโลกว่า ความหิวเป็นศัตรูสำคัญที่สุดของสาธารณสุขของโลก The Starvelings นอกจากนั้นก็ยังกล่าวว่า ทุพโภชนาการเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเสียชีวิตมากที่สุด คิดเป็นราวครึ่งหนึ่งของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมด ส่วนองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่าความอดอยากมีผลต่อประชากรกว่า 1,000 ล้านคนทั่วโลกในขณะนี้.

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และความอดอยาก · ดูเพิ่มเติม »

เทรียร์

กลางตลาดเมืองเทรียร์ เทรียร์ (Trier; Augusta Treverorum) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโมแซลในประเทศเยอรมนี เทรียร์ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศเยอรมนีก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อนปี 16 ก่อนคริสต์ศักราช บันทึกเจสตา เทรเวโรรุมกล่าวว่าเทรียร์เป็นเมืองที่ก่อตั้งขึ้นโดยเทรบีทา พระราชโอรสพระเจ้าไนนัสแห่งอัสซีเรียกับพระชายาองค์ก่อนที่จะมเสกสมรสกับพระราชินีเซมิรามิส เซมิรามิสทรงเกลียดชังเทรบีทา เมื่อทรงขึ้นครองราชย์หลังจากการเสด็จสวรรคตของไนนัสแล้ว ไนนัสก็ออกจากอัสซีเรียไปยังยุโรป หลังจากที่เร่ร่อนอยู่พักหนึ่งแล้วไนนัสก็นำผู้คนไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณเทรียร์ราว 2000 ก่อนคริสต์ศักราชที่ในปัจจุบันอยู่ในประเทศเยอรมนี เมื่อเสียชีวิตร่างของไนนัสก็ได้รับการเผาบนเพทริสแบร์กโดยประชากรชาวเทรียร์ เทรียร์ตั้งอยู่ในหุบเขาเตี้ย ๆ ที่ปกคลุมไปด้วยไร่องุ่นของดินที่เป็นหินทรายทางตะวันตกของรัฐไรน์ลันด์-พฟัลซ์ไม่ไกลจากพรมแดนที่ติดกับประเทศลักเซมเบิร์กและเป็นเมืองสำคัญในภูมิภาคที่มีชื่อในการทำไร่องุ่นที่ใช้ในการผลิตไวน์โมเซิล เทรียร์เป็นที่ตั้งของมุขมณฑลที่เก่าแก่ที่สุดทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ ในยุคกลางอาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์เป็นตำแหน่งเจ้าชายมุขนายกที่มีอำนาจปกครองดินแดนตั้งแต่พรมแดนประเทศฝรั่งเศสไปจนถึงแม่น้ำไรน์ นอกจากนั้นก็ยังเป็นหนึ่งในเจ็ดเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ การที่มีประชากรประมาณ 100,000 ทำให้เทรียร์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่สี่เท่ากับไคเซอร์สเลาเทิร์น มาจนถึงปี..

ใหม่!!: รัฐบาลสหภาพแห่งชาติ (ค.ศ. 1916)และเทรียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รัฐบาลผสมแห่งชาติ (1916)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »