โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

ดัชนี รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น

รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่น (The Royal Lao Government in Exile; RLGE) (ລັດຖະບານລາຊະອານາຈັກລາວພັດຖິ່ນ) เป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของราชอาณาจักรลาวซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป้าหมายคือเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริงในลาว เพื่อรับรองความเป็นอิสรภาพ การพิพากษาคดี สันติภาพของประชาชนลาวทั้งปวง ผู้นำของรัฐบาลพลัดถิ่นนี้คือ ท่านคำผุย สีสวัดดี.

15 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2490พ.ศ. 2523พ.ศ. 2546รัฐบาลพลัดถิ่นราชอาณาจักรลาวราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาวรายนามนายกรัฐมนตรีลาวสหรัฐประเทศลาวปัจจุบันเพลงชาติลาวเวียงจันทน์เจ้าสุริวงศ์ สว่าง6 มีนาคม

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2523

ทธศักราช 2523 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1980 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและพ.ศ. 2523 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลพลัดถิ่น

รัฐบาลพลัดถิ่น (government in exile) เป็นกลุ่มการเมืองซึ่งอ้างตัวเป็นรัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเอกราชรัฐหนึ่ง แต่ไม่อาจใช้อำนาจตามกฎหมายในรัฐนั้น และจำต้องพำนักอยู่นอกรัฐดังกล่าว รัฐบาลพลัดถิ่นมักคาดหวังว่า วันหนึ่งจะได้กลับคืนบ้านเมืองและครองอำนาจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง รัฐบาลพลัดถิ่นต่างจากรัฐตกค้าง (rump state) ตรงที่รัฐตกค้างยังสามารถควบคุมส่วนหนึ่งส่วนใดในดินแดนเดิมได้อยู่ เช่น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แม้จักรวรรดิเยอรมันเข้ายึดครองประเทศเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ แต่ประเทศเบลเยียมและพันธมิตรยังครองภาคตะวันตกซึ่งเป็นส่วนน้อยของประเทศได้อยู่ จึงชื่อว่าเป็นรัฐตกค้าง ถ้าเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นจะตรงกันข้าม คือ ไม่สามารถครอบครองดินแดนไว้ได้เลย รัฐบาลพลัดถิ่นมักมีขึ้นในช่วงการรบซึ่งดินแดนถูกยึดครองไป หรือมักเป็นผลมาจากสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ หรือรัฐประหาร เช่น ระหว่างที่เยอรมนีขยายดินแดนในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยุโรปหลายชาติได้เข้าลี้ภัยในสหราชอาณาจักรเพื่อไม่ตกอยู่ในกำมือพวกนาซี รัฐบาลพลัดถิ่นยังอาจจัดตั้งขึ้นเนื่องจากเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลซึ่งกำลังผ่านบ้านครองเมืองอยู่นั้นขาดความชอบธรรม เช่น หลังเกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย พันธมิตรกองทัพปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยมุ่งหมายจะล้มล้างการปกครองของพรรคบะอัธ (Ba'ath Party) ซึ่งกำลังอยู่ในอำนาจ รัฐบาลพลัดถิ่นจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ เบื้องต้นขึ้นอยู่กับว่า ได้รับการสนับสนุนมากหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนจากรัฐบาลต่างชาติหรือจากพลเมืองประเทศตนเอง รัฐบาลพลัดถิ่นบางชุดกลายเป็นกองกำลังอันน่าเกรงขาม เพราะสามารถท้าทายผู้ปกครองประเทศนั้น ๆ ได้อย่างฉกาจฉกรรจ์ ขณะที่รัฐบาลพลัดถิ่นอื่น ๆ ส่วนใหญ่มักมีสถานะเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น ปรากฏการณ์รัฐบาลพลัดถิ่นมีมาก่อนคำว่า "รัฐบาลพลัดถิ่น" จะได้รับการใช้จริง ในยุคกษัตริย์ พระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์ที่ถูกอัปเปหิเคยตั้งราชสำนักพลัดถิ่น เช่น ราชวงศ์สจวร์ตซึ่งถูกโอลิเวอร์ ครอมเวล (Oliver Cromwell) ถอดจากบัลลังก์ ก็ไปตั้งราชสำนักพลัดถิ่น และราชวงศ์บูร์บง (House of Bourbon) ก็ทำเช่นเดียวกันในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศสและช่วงนโปเลียน (Napoleon) เถลิงอำนาจ ครั้นเมื่อระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแพร่หลายขึ้น รัฐบาลกษัตริย์พลัดถิ่นก็เริ่มมีนายกรัฐมนตรีด้วยเหมือนกัน เช่น รัฐบาลพลัดถิ่นเนเธอร์แลนด์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองตั้ง Pieter Sjoerds Gerbrandy เป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและรัฐบาลพลัดถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรลาว

ราชอาณาจักรลาว เป็นชื่อของประเทศลาวตั้งแต่ พ.ศ. 2496 จนถึงวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518 เมื่อพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถล้มกษัตริย์และสามารถสถาปนาสปป.ลาวได้สำเร็จ โดยได้รับสิทธิปกครองตนเองจากประเทศฝรั่งเศสตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ใช้การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประม.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและราชอาณาจักรลาว · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว

ระเจ้ามหินทรเทพนิภาธร (เจ้าอุ่นคำ) กษัตริย์อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ประทับบนพระราชบัลลังก์ ในพระราชวังหลวงเมืองหลวงพระบาง ลำดับกษัตริย์ลาว อ้างอิงตามพงศาวดารหลวงพระบาง ชินกาลมาลีปกรณ์ และ ตำนานพระแก้วมรกต กรณีศักราชไม่ตรงกัน จะยึดตามตำนานพระแก้วมรกตเป็นหลัก ขุนบรมราชาธิราช (พ.ศ. 1240 - พ.ศ. 1293) ได้ย้ายจากหนองแส (เมืองหลวงของอาณาจักรน่านเจ้า) มาอยู่ที่ใหม่เรียกว่า นาน้อยอ้อยหนู (เมืองแถนหรือเมืองกาหลง) ปัจจุบันเรียกว่าเชียงรุ่งเขตสิบสองพันนา พร้อมทั้งขยายอาณาเขตออกไปโดยส่งโอรส 7 องค์ไปครองเมืองต่าง ๆ คือ.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและรายพระนามพระมหากษัตริย์ลาว · ดูเพิ่มเติม »

รายนามนายกรัฐมนตรีลาว

นายกรัฐมนตรีลาว เป็นตำแหน่งหัวหน้าคณะรัฐบาลของประเทศลาว เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2483 โดยมีเจ้าเพชรราช รัตนวงศาเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศในสมัยที่ประเทศลาวถูกปกครองโดยญี่ปุ่น โดยปัจจุบันมี ทองลุน สีสุลิด ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและรายนามนายกรัฐมนตรีลาว · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจุบัน

ปัจจุบัน คือเวลาที่เหตุการณ์เป็นที่รับรู้โดยตรงและเป็นครั้งแรก ต่างจากการระลึกได้ (รับรู้มากกว่าหนึ่งครั้ง) หรือ การคาดหวัง (การคาดการณ์, สมมุติฐาน, ความไม่แน่นอน) ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาระหว่างอดีตและอนาคต และอาจแปรเปลี่ยนไปจากชั่วขณะ ไปจนถึงหนึ่งวัน หรือนานกว่านั้น ในการหาอายุจากคาร์บอนกัมมันตรังสี "ปัจจุบัน" ระบุด้วยปีก่อน ค.ศ. 1950 ปัจจุบัน บางครั้งแทนด้วยระนาบเกินระนาบหนึ่งในปริภูมิ-เวลา เรียกง่าย ๆ ว่า "ขณะนี้" (now) แม้ว่าฟิสิกส์สมัยใหม่สาธิตว่าผู้สังเกตการณ์ไม่สามารถกำหนดระนาบเกินราบหนึ่งให้เด่นชัดในการเคลื่อนที่แบบสัมพัทธ์ได้ ปัจจุบันอาจถือว่าเป็นระยะเวลาชนิดหนึ่งJames, W. (1893).

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและปัจจุบัน · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติลาว

ลงชาติลาว หรือ เพงซาดลาวในภาษาลาว (ลาว: ເພງຊາດລາວ) เป็นเพลงที่ได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติของราชอาณาจักรลาวอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2490 แต่งขึ้นทั้งส่วนคำร้องฉบับแรกสุด ประพันธ์โดย มหาพูมี และ ทำนองเรียบเรียงเมื่อปี พ.ศ. 2484 โดย ดร.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและเพลงชาติลาว · ดูเพิ่มเติม »

เวียงจันทน์

วียงจันทน์ (ວຽງຈັນ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมดที่อาศัยในนครหลวงเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน เวียงจันทน์มีชื่อที่ตั้งในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ว่า กรุงศรีสัตนาคคนหุต วิสุทธิ์รัตนราชธานีบุรีรม.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและเวียงจันทน์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าสุริวงศ์ สว่าง

้าสุลิวงศ์ สว่าง (ເຈົ້າສຸລິວົງ ສະຫວ່າງ) (ประสูติ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2506) เป็นพระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา เจ้ามหาชีวิตองค์สุดท้ายแห่งพระราชอาณาจักรลาว ทรงเป็นผู้อ้างสิทธิในพระราชบัลลังก์ลาว ปัจจุบันประทับในฐานะผู้ลี้ภัย ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่ง.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและเจ้าสุริวงศ์ สว่าง · ดูเพิ่มเติม »

6 มีนาคม

วันที่ 6 มีนาคม เป็นวันที่ 65 ของปี (วันที่ 66 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 300 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รัฐบาลราชอาณาจักรลาวพลัดถิ่นและ6 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »