โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระเบิดมือเอ็ม26

ดัชนี ระเบิดมือเอ็ม26

ระเบิดเอ็ม 26 (M26 grenade) เป็นระเบิดมือกระจายตัวที่ทำโดยสหรัฐอเมริกา ระเบิดเอ็ม 26 เป็นระเบิดที่กระจายตัวที่ได้รับการพัฒนาโดยทหารสหรัฐ ซึ่งนำมาใช้งานเมื่อประมาณปี..

7 ความสัมพันธ์: ระเบิดมือสงครามฟอล์กแลนด์สงครามกลางเมืองซีเรียสงครามยมคิปปูร์สงครามหกวันสงครามเกาหลีสงครามเวียดนาม

ระเบิดมือ

ระเบิดเอฟ 1 ที่นิยมใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ระเบิดเอฟ 1 ที่นิยมใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ระเบิดเอฟ 1 ที่นิยมใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ระเบิดมือ เป็นวัตถุระเบิดที่มีขนาดพอเหมาะกับฝ่ามือ ใช้โดยการจุดชนวนและขว้างไปยังเป้าหมาย เพื่อให้เป้าหมายได้รับแรง, การติดเพลิง, หรือสะเก็ดจากการระเบิด เกิดเป็นความเสียหายของเป้าหมาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบิดขว้าง ระเบิดมือบางรุ่นสามารถใช้ติดกับปากกระบอกปืนเล็กยาวเพื่อการยิงได้ หรือใช้กับเครื่องยิงระเบิดมือที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระเบิดก๊าซน้ำตา ที่ใช้ควบคุมจลาจล และเครื่องยิงระเบิดมือแบบ เอ็ม 203 (M203) ที่ติดไว้ใต้ปืนเล็กยาวรุ่นใหม.

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และระเบิดมือ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามฟอล์กแลนด์

งครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (ภาษาอังกฤษ: Falklands War, ภาษาสเปน: Guerra de las Malvinas) เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2525 อาร์เจนตินาส่งทหารเข้ายึดหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ หมู่เกาะอันเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นการประกาศสงครามของอาร์เจนตินา ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ต่ออังกฤษประเทศมหาอำนาจในขณะนั้น โดยอาร์เจนตินาถือว่าหมู่เกาะฟอล์กแลนด์แท้จริงแล้วคือหมู่เกาะมัลบีนัสของตนที่ถูกอังกฤษยึดครองมากว่าศตวรรษ 6 เมษายน ปีเดียวกัน อังกฤษจัดตั้งคณะรัฐมนตรีสงคราม นำโดยมาร์กาเรต แทตเชอร์ และเมื่อการตัดสินใจมาถึง "เราจะไม่ยึดติดกับปัญหาต่างๆ" นางแทตเชอร์ประกาศ: "day-to-day oversight was to be provided by...

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามฟอล์กแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองซีเรีย

งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามยมคิปปูร์

งครามยมคิปปูร์, สงครามเราะมะฎอนหรือสงครามตุลาคม (Yom Kippur War, Ramadan War, หรือ October War; หรือ מלחמת יום כיפור) เป็นสงครามรบกันระหว่างแนวร่วมรัฐอาหรับซึ่งมีประเทศอียิปต์และซีเรียเป็นผู้นำต่ออิสราเอลตั้งแต่วันที่ 6 ถึง 25 ตุลาคม 2516 การสู้รบส่วนใหญ่เกิดในคาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลัน ดินแดนซึ่งอิสราเอลยึดครองตั้งแต่สงครามหกวันเมื่อปี 2510 ประธานาธิบดีอียิปต์ อันวัร อัสซาดาต ยังต้องการเปิดคลองสุเอซอีกครั้ง ทั้งสองประเทศมิได้วางแผนเจาะจงทำลายอิสราเอล แต่ผู้นำอิสราเอลไม่อาจมั่นใจได้ สงครามเริ่มต้นเมื่อแนวร่วมอาหรับเปิดฉากจู่โจมร่วมต่อที่ตั้งของอิสราเอลในดินแดนที่อิสราเอลยึดครองในวันยมคิปปูร์ (Yom Kippur) ซึ่งเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนายูดาย ซึ่งในปีนั้นยังตรงกับเดือนเราะมะฎอนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามด้วย กำลังอียิปต์และซีเรียข้ามเส้นหยุดยิงเข้าสู่คาบสมุทรไซนายและที่ราบสูงโกลันตามลำดับ ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเริ่มความพยายามส่งกำลังบำรุงแก่พันธมิตรของตนระหว่างสงคราม และนำไปสู่การเกือบเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจนิวเคลียร์สองประเทศ สงครามเริ่มต้นด้วยการข้ามคลองสุเอซครั้งใหญ่ที่สำเร็จของอียิปต์ หลังข้ามเส้นหยุดยิง กำลังอียิปต์รุดหน้าโดยแทบไม่มีการต้านทานเข้าสู่คาบสมุทรไซนาย หลังสามวันผ่านไป อิสราเอลได้ระดมพลกำลังส่วนใหญ่และหยุดยั้งการรุกของอียิปต์ ทำให้เกิดการตรึงอำนาจทางทหาร ฝ่ายซีเรียประสานงานการโจมตีที่ราบสูงโกลันให้พร้อมกับการรุกของอียิปต์ และทีแรกได้ดินแดนเพิ่มอย่างคุกคามสู่ดินแดนที่อิสราเอลถือครอง ทว่า ภายในสามวัน กำลังอิสราเอลผลักซีเรียเข้าสู่เส้นหยุดยิงก่อนสงคราม จากนั้นกำลังป้องกันอิสราเอลเปิดฉากการตีโต้ตอบสี่วันลึกเข้าไปในประเทศซีเรีย ภายในหนึ่งสัปดาห์ ปืนใหญ่อิสราเอลเริ่มระดมยิงชานกรุงดามัสกัส เมื่อประธานาธิบดีอียิปต์ซาดาตเริ่มกังวลเกี่ยวกับบูรณภาพของพันธมิตรหลักของเขา เขาเชื่อว่าการยึดจุดผ่านยุทธศาสตร์สองจุดซึ่งตั้งอยู่ลึกในไซนายจะทำให้ฐานะของเขาแข็งแรงขึ้นระหว่างการเจรจาหลังสงคราม ฉะนั้นเขาจึงสั่งให้อียิปต์กลับไปรุกอีก แต่การเข้าตีนั้นถูกขับกลับมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นอิสราเอลตีโต้ตอบที่แนวต่อระหว่างกองทัพอียิปต์สองกองทัพ ข้ามคลองสุเอซเข้าประเทศอียิปต์ และเริ่มรุกหน้าอย่างช้า ๆ ลงใต้และไปทางตะวันตกสู่นครสุเอซในการสู้รบอย่างหนักกว่าหนึ่งสัปดาห์ซึ่งทำให้ทั้งสองฝ่ายเสียกำลังพลมาก วันที่ 22 ตุลาคม การหยุดยิงที่สหประชาชาติเป็นนายหน้าคลี่คลายอย่างรวดเร็ว โดยต่างฝ่ายต่างโทษอีกฝ่ายว่าละเมิด ในวันที่ 24 ตุลาคม อิสราเอลพัฒนาฐานะของตนอย่างมากและสำเร็จการล้อมกองทัพที่สามของอียิปต์และนครสุเอซ การพัฒนานี้นำไปสู่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ผลคือ มีการกำหนดการหยุดยิงครั้งที่สองด้วยความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคมถึงสิ้นสงคราม สงครามนี้มีการส่อความกว้างขวาง โลกอาหรับซึ่งประสบความอับอายในการแตกล่าฝ่ายเดียวของพันธมิตรอียิปต์–ซีเรีย–จอร์แดนในสงครามหกวัน รู้สึกว่าได้แก้ตัวทางจิตใจจากความสำเร็จขั้นต้นในความขัดแย้งนี้ ในประเทศอิสราเอล แม้มีความสำเร็จทางปฏิบัติการและยุทธวิธีอันน่าประทับใจในสมรภูมิ แต่สงครามนี้นำให้มีการตระหนักว่าไม่มีการรับประกันว่าประเทศอิสราเอลจะครอบงำรัฐอาหรับในทางทหารได้เสมอไป ดังที่เคยเป็นมาตลอดสงครามอาหรับ–อิสราเอลครั้งที่หนึ่ง สงครามสุเอซและสงครามหกวันก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ปูทางสู่กระบวนการสันติภาพต่อมา ข้อตกลงค่ายเดวิดปี 2521 ในภายหลังนำสู่การคืนคาบสมุทรไซนายให้ประเทศอียิปต์และการคืนความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการรับรองอิสราเอลอย่างสันติโดยประเทศอาหรับเป็นครั้งแรก ประเทศอียิปต์ยังตีตนออกห่างจากสหภาพโซเวียตต่อไปและออกจากเขตอิทธิพลโซเวียตโดยสิ้นเชิง.

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามยมคิปปูร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามหกวัน

งครามหกวัน (Six-Day War., מלחמת ששת הימים) เป็นสงครามระหว่างอิสราเอลกับอียิปต์ หลังจากวิกฤตการณ์สุเอซ ญะมาล อับดุนนาศิร ประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ได้ขอให้สหประชาชาติถอนกำลังออกไปจากอียิปต์แล้ว กองทัพของอียิปต์ได้เคลื่อนที่เข้ายึดฉนวนกาซาและปิดล้อมอ่าวอะกาบา และห้ามไม่ให้เรือสินค้าของอิสราเอลผ่าน อิสราเอลจึงได้โจมตีอียิปต์ก่อน ทำให้เกิดสงครามระหว่างยิวกับอาหรับขึ้นเป็นครั้งที่ 3 โดยสงครามนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน ถึง 10 มิถุนายน..

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามหกวัน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: ระเบิดมือเอ็ม26และสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ระเบิดเอ็ม 26

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »