โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธนาวีอ่าวอกโพ

ดัชนี ยุทธนาวีอ่าวอกโพ

ยุทธนาวีแห่งอกโพ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2135ซึ่งเป็นปีที่ 25 ในรัชกาลพระเจ้าซอนโจแห่งราชวงศ์โชซอน โดยศึกครั้งนี้ถือว่าเป็นสงครามทางน้ำครั้งแรกโดยแม่ทัพฝ่ายญี่ปุ่น นำโดยโทโด ทะคะโทระ ส่วนแม่ทัพฝ่ายเกาหลีนำโดยยอดขุนพลแม่ทัพ ลี ซุนชิน ปรากฏว่าฝ่ายเกาหลีที่กำลังพลน้อยกว่ากลับมีชัยเหนือกองทัพญี่ปุ่น หมวดหมู่:การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) หมวดหมู่:ยุทธนาวี.

9 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2135พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อนการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)ราชวงศ์โชซ็อนอี ซุน-ชินประเทศญี่ปุ่นโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิเกาหลี7 พฤษภาคม

พ.ศ. 2135

ทธศักราช 2135 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและพ.ศ. 2135 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน

ระเจ้าซ็อนโจ (선조 宣祖) เป็นพระมหากษัตริย์ราชวงศ์โชซ็อนองค์ที่ 14 (พ.ศ. 2110 ถึง พ.ศ. 2151) รัชสมัยของพระองค์เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในประวัติศาสตร์เกาหลีและมีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่าง ทั้งการรุกรานของญี่ปุ่นและการแบ่งฝ่ายของกลุ่มซานิมออกเป็นฝ่ายตะวันออก และฝ่ายตะวันตก ที่จะส่งผลต่อการเมืองอาณาจักรโชซ็อนไปอีกหลายร้อยปี แม้ว่าในสมัยของพระเจ้าซ็อนโจจะมีผู้มีความสามารถมากมาย เช่น ลีซุนชิน ลีฮวาง ลีอี แต่ความแตกแยกก็ทำให้โชซ็อนต้องเผชิญกับศึกหนัก องค์ชายฮาซง เป็นพระโอรสขององค์ชายทอกกึง ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้าจุงจงกับพระสนมอันชางบิน เป็นองค์ชายธรรมดาที่ห่างไกลจากราชบัลลังก์และไม่มีขุนนางใดสนับสนุนให้มีอำนาจ แต่ในพ.ศ. 2110 พระเจ้าเมียงจง สิ้นพระชนม์โดยที่ไม่มีทายาท บรรดาขุนนางจึงสรรหาพระราชวงศ์ที่พระเยาว์มาขึ้นครองราชย์ องค์ชายฮาซงจึงถูกเลือกและขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซ็อนโจ และเลื่อนสถานะของพระบิดาและพระมารดาเป็นแทวอนกุนและแทกุนบูอิน.

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและพระเจ้าซ็อนโจแห่งโชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98)

การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น คือ เหตุการณ์สู้รบบนคาบสมุทรเกาหลีและยุทธการที่เกิดขึ้นตามมา ในช่วงระหว่าง..

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและการบุกครองเกาหลีของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1592–98) · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและราชวงศ์โชซ็อน · ดูเพิ่มเติม »

อี ซุน-ชิน

อี ซุน-ชิน (28 เมษายน พ.ศ. 2087 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล: 삼도수군통제사, ฮันจา: 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวนน้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้ เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก), "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister), และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君, เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง".

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและอี ซุน-ชิน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

7 พฤษภาคม

วันที่ 7 พฤษภาคม เป็นวันที่ 127 ของปี (วันที่ 128 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 238 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ยุทธนาวีอ่าวอกโพและ7 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธนาวีอ่าวโอ๊กโปยุทธนาวีแห่งโอ๊กโป

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »