สารบัญ
3 ความสัมพันธ์: พลาสโมเดียมมาลาเรียยุง
- มาลาเรีย
- แมลงพาหะจุลชีพก่อโรคในมนุษย์
พลาสโมเดียม
พลาสโมเดียม (Plasmodium) เป็นสกุลของเชื้อปรสิตโปรโตซัวชนิดหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโรคมาลาเรีย ในวงชีวิตของเชื้อชนิดนี้ต้องการโฮสต์สองตัวได้แก่พาหะที่เป็นยุงและโฮสต์ที่เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีเชื้อพลาสโมเดียมไม่ต่ำกว่าสิบชนิดที่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ ส่วนชนิดอื่นๆ ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในสัตว์ชนิดอื่นเช่นนก สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ฟันแทะ เป็นต้น หมวดหมู่:ปรสิตวิทยา หมวดหมู่:ปรสิต.
มาลาเรีย
มาลาเรีย (malaria) หรือไข้จับสั่น ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็นหรือไข้ดอกสัก เป็นโรคติดเชื้อของมนุษย์และสัตว์อื่นที่มียุงเป็นพาหะ มีสาเหตุจากปรสิตโปรโตซัว (จุลินทรีย์เซลล์เดียวประเภทหนึ่ง) ในสกุล Plasmodium (พลาสโมเดียม) อาการทั่วไปคือ มีไข้ อ่อนเพลีย อาเจียนและปวดศีรษะ ในรายที่รุนแรงอาจทำให้ตัวเหลือง ชัก โคม่าหรือเสียชีวิตได้ โรคมาลาเรียส่งผ่านโดยการกัดของยุงเพศเมียในสกุล Anopheles (ยุงก้นปล่อง) และปกติอาการเริ่ม 10 ถึง 15 วันหลังถูกกัด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม บุคคลอาจมีอาการของโรคในอีกหลายเดือนให้หลัง ในผู้ที่เพิ่งรอดจากการติดเชื้อ การติดเชื้อซ้ำมักมีอาการเบากว่า การต้านทานบางส่วนนี้จะหายไปในเวลาเป็นเดือนหรือปีหากบุคคลไม่ได้สัมผัสมาลาเรียอย่างต่อเนื่อง เมื่อถูกยุง Anopheles เพศเมียกัดจะนำเชื้อปรสิตจากน้ำลายของยุงเข้าสู่เลือดของบุคคล ปรสิตจะไปตับซึ่งจะเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ มนุษย์สามารถติดเชื้อและส่งต่อ Plasmodium ห้าสปีชีส์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากเกิดจากเชื้อ P.
ยุง
ง เป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกแต่พบมากในเขตร้อนและเขตอบอุ่น โดยปกติ ตัวเมียมักจะกินเลือดเป็นอาหาร ส่วนตัวผู้มักจะกินน้ำหวานในดอกไม้ ยุงยังเป็นแมลงที่เป็นพาหะแพร่เชื้อโรคอีกด้วย เช่น ไข้เลือดออก ยุงทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 3,450 ชนิด แต่พบในประเทศไทยประมาณ 412 ชนิด แต่ที่คุ้นเคยกันดี คือ ยุงก้นปล่อง (Anopheles) และยุงลาย (Aedes).
ดูเพิ่มเติม
มาลาเรีย
- ดีดีที
- พลาสโมเดียม
- มาลาเรีย
- ยุงก้นปล่อง
แมลงพาหะจุลชีพก่อโรคในมนุษย์
- ยุง
- ยุงก้นปล่อง
- ยุงลายบ้าน
- หมัด (สัตว์)
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Anopheles