โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน

ดัชนี กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน

กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน หรือ เจี้ยเตาซาเหริน (Kill with a borrowed knife) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการกำจัดศัตรูที่มีความเข้มแข็ง ไม่จำเป็นที่จะต้องลงมือเอง พึงยืมกำลังและไพร่พลทหารของผู้อื่นเป็นฝ่ายกำจัดศัตรู เพื่อเป็นการรักษากำลังและไพร่พลทหารของตนเองไว้สำหรับการศึกอื่น ตัวอย่างการนำเอากลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนไปใช้ได้แก่จิวยี่ที่หลอกให้โจโฉฆ่าซัวมอและเตียวอุ๋นสองแม่ทัพเรือของตนเองในคราวศึกเซ็กเพ็กระหว่างเล่าปี่และซุนกวนเจี้ยเตาซาเหริน กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคน, 36 กลยุทธ์ในสามก๊ก-อินไซด์สามก๊ก, กัญจน์ดามาศ โกพล, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

15 ความสัมพันธ์: ชัวมอพิชัยสงครามพิชัยสงครามซุนจื่อกลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าวกลศึกสามก๊กยุทธการที่ผาแดงสามก๊กจิวยี่ซุนกวนโจโฉเล่าจ๋องเล่าปี่เจียวก้านเตียวอุ๋น

ชัวมอ

ัวมอ (Cai Mao) เป็นขุนพลในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นแม่ทัพเรือของเล่าเปียว และเป็นน้องชายของชัวฮูหยินภรรยาของเล่าเปียวด้วย ครั้งเมื่อเล่าปี่มาอาศัยอยู่กับเล่าเปียว ชัวมอก็กลัวจะถูกแย่งชิงอำนาจ จึงวางแผนจะฆ่าเล่าปี่เสียแต่เล่าปี่ก็หนีรอดไปได้ หลังจากเล่าเปียวถึงแก่กรรมก็ยึดครองอำนาจ แต่งตั้งเล่าจ๋องลูกของพี่สาวตัวเองเป็นผู้ครองแคว้นสืบไป ต่อมาภายหลังจากโจโฉยึดครองเมืองเกงจิ๋ว ชัวมอ ได้สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ และได้รับตำแหน่งเนแม่ทัพเรือของโจโฉเพื่อยกทัพไปตีกังตั๋ง แต่ต่อมาจิวยี่ได้ใช้อุบายหลอกให้โจโฉหลงเชื่อว่าชัวมอคิดทรยศ โจโฉจึงสั่งให้ประหารชัวมอ.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและชัวมอ · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงคราม

ตัวอย่างเนื้อหาของตำราพิชัยสงครามของไทย แสดงภาพการแปรขบวนทัพแบบมหิงสาพยุหะ หรือการตั้งทัพเป็นรูปควาย พิชัยสงคราม เป็นคำที่ใช้เรียกหนังสือหรือเอกสารที่มีการรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับกลยุทธ ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีการรบต่าง ๆ อาทิ การรุก การตั้งรับ การแปรขบวนทัพ การใช้อุบายทำลายข้าศึก เป็นต้น หนังสือจำพวกนี้ในบางแห่งมักจะมีการใส่เนื้อหาที่เป็นความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์เข้ามาประกอบ เช่น การดูฤกษ์ยามในการเคลื่อนทัพ การทำพิธีข่มขวัญข้าศึกและบำรุงขวัญฝ่ายตน ฯลฯ รูปแบบเนื้อหานั้นอาจอยู่ในลักษณะของร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้ ในสารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้คำจำกัดความของตำราพิชัยสงครามไว้ว่า ตำราพิชัยสงครามที่นับว่ามีชื่อเสียงมากในระดับโลก คือ ตำราพิชัยสงครามของซุนวู ซึ่งแต่งขึ้นเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล อันอยู่ในช่วงยุครณรัฐของจีน ทั้งนี้ หนังสือพงศาวดารจีนบางเรื่องที่มีการกล่าวถึงการรบและการใช้อุบาย เช่น สามก๊ก ไซ่ฮั่น ก็อาจนับว่าเป็นตำราพิชัยสงครามได้เช่นกัน เนื้อหาและหลักในตำราพิชัยสงครามต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำราพิชัยสงครามของซุนวู ปัจจุบันได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการบริหารและด้านเศรษฐกิจขององค์กรต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและพิชัยสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

พิชัยสงครามซุนจื่อ

ัยสงครามซุนจื่อ (The Art of War) เป็นตำรายุทธศาสตร์การทหารหรือตำราพิชัยสงครามของจีน ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อราวหกร้อยปีก่อนคริสตกาลโดยซุนจื่อ นักยุทธศาสตร์คนสำคัญในยุครณรัฐของจีน เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามฉบับนี้มี 13 บท แต่ละบทเน้นถึงแต่ละแง่มุมของการสงคราม ตำราพิชัยสงครามของซุนจื่อเป็นหนึ่งในตำรายุทธศาสตร์การทหารเล่มหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยนับได้ว่าเป็นตำราเล่มแรกและเล่มหนึ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเชิงยุทธศาสตร์ และมีอิทธิพลอย่างมหาศาลต่อแนวคิดทางการทหาร กลยุทธทางธุรกิจ และแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งในโลกตะวันออกและโลกตะวันตก ซุนจื่อถือเป็นบุคคลแรกที่ตระหนักในความสำคัญของตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งจากเงื่อนไขเชิงรุกในด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และความคิดเชิงรับของฝ่ายคู่แข่งในสภาพแวดล้อมดังกล่าว เขาได้สอนว่า ยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพียงการวางแผนกำหนดสิ่งที่จะลงมือทำเท่านั้น แต่ยังต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็วและเหมาะสมในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในสถานการณ์ต่างๆ ด้วย ตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ได้แปลเป็นภาษาตะวันตกครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและพิชัยสงครามซุนจื่อ · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย

กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย หรือ อี่อี้ไต้เหลา (Substitute leisure for labour) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูยังคงมีความเข้มแข็ง กำลังไพร่พลทหารยังคงแข็งแกร่งยากจะต่อสู้ ก็ไม่ควรจะเข้าปะทะโดยตรงด้วยแรงและพละกำลังที่มีอยู่ แต่ยามใดที่ศัตรูเกิดความอ่อนแอในกองทัพต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังบุกเข้าโจมตีโดยเร็ว เพื่อเป็นการข่มขวัญและป้องกันไม่ให้ศัตรูหวนกลับมาแข็งแกร่งดั้งเดิม กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ยเป็นการใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ให้ระยะเวลาเป็นการบั่นทอนกำลังและจิตใจของศัตรู ฉวยโอกาสพลิกสถานการณ์จากเดิมที่กลายเป็นรองหรือเสียเปรียบให้กลายเป็นฝ่ายได้เปรียบเพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ในสามก๊กยามเกิดศึกสงคราม กองทัพทุกกองทัพต่างใช้กลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย เพื่อหาโอกาสเหมาะในการบุกเข้าโจมตีศัตรูยามเพลี่ยงพล้ำอยู่ตลอดเวลา ในการทำศึกสงคราม แก่นหลักสำคัญของคำว่า "สถานการณ์" หมายถึงการรู้จักใช้จังหวะหรือสถานการณ์ที่ได้เปรียบให้เป็นประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ศัตรูอาจพ่ายแพ้ในการศึก ต้องรีบฉกฉวยโอกาสนำกำลังเข้ากระหน่ำโจมตีกองทัพของศัตรูให้พินาศย่อบยับ สถานการณ์ที่เป็นฝ่ายพลิกผันได้เปรียบ ความสามารถในการจับจังหวะรู้สถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการทำศึกสงคราม ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "จงอาศัยสถานการณ์เข้าทำลายศัตรู"สถานการณ์, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและกลยุทธ์รอซ้ำยามเปลี้ย · ดูเพิ่มเติม »

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว

กลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว หรือ เหวยเว่ยจิ้วจ้าว (Besiege Wèi to rescue Zhào) เป็นหนึ่งในกลศึกสามก๊ก กลยุทธ์ที่มีความหมายถึงการที่ศัตรูรวบรวมกำลังทหารและไพร่พลไว้เป็นจุดศูนย์กลาง ทำให้เกิดกำลังและความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ควรที่จะใช้กลยุทธ์ในการดึงแยกศัตรูให้แตกออกจากกัน เพื่อให้กำลังไพร่พลทหารกระจัดกระจาย คอยระแวดระวังมีความห่วงหน้าพะวงหลังแล้วจึงบุกเข้าโจมตี ตามความหมายของตำราพิชัยสงครามคือ การบุกเข้าโจมตีในจุดที่อยู่นอกเหนือความคาดหมาย โจมตีในจุดที่ศัตรูไม่ได้เตรียมการตั้งรับและคอยระวังป้องกัน ย่อมถือว่าได้เปรียบและได้รับชัยชนะมาแล้วครึ่งหนึ่ง ในการทำศึกสงคราม การบุกเข้าโจมตีศัตรูจะบุกเข้าทางด้านหน้า ซึ่งเป็นเพียงกลอุบายหลอกล่อให้ศัตรูหลงทิศและนำกำลังบุกเข้าโจมตีทางด้านหลัง การแสร้งบุกโจมตีทางด้านตะวันออกแต่จริงแล้วบุกเข้าโจมตีทางด้านตะวันตก การทำให้ศัตรูคาดเดาแผนการรบไม่ถูก ทำให้เกิดความสับสนในการวางกำลังป้องกันฐานทัพ พึงหักเอาในขณะที่ศัตรูเป็นฝ่ายที่ไม่ได้เตรียมความพร้อม เข้าจู่โจมในยามที่ศัตรูไม่ได้คาดคิด ตำราพิชัยสงครามกล่าวไว้ว่า "เมื่อเห็นจุดอ่อนเปราะของศัตรู เราต้องใช้กลยุทธ์พิสดารโจมตี"พิสดารเหนือความคาดหมาย, สงครามสามก๊ก กลยุทธ์พลิกสถานการณ์, ทองแถม นาถจำนง, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและกลยุทธ์ล้อมเวยช่วยจ้าว · ดูเพิ่มเติม »

กลศึกสามก๊ก

กลยุทธ์ตีชิงตามไฟ พระเจ้าหองจูเปียนเสียอำนาจ กลยุทธ์สาวงาม เตียวเสี้ยนลวงตั๋งโต๊ะให้ลุ่มหลง กลยุทธ์ล่อเสือออกจากถ้ำ ลิโป้บาดหมางใจกับตั๋งโต๊ะ กลยุทธ์ทุกข์กาย อุยกายใช้อุบายเผาทัพเรือโจโฉ กลยุทธ์จูงแพะติดมือ จูกัดเหลียงลวงเกาฑัณฑ์จากโจโฉ กลศึกสามก๊ก (Thirty-Six Stratagems) เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฏในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสามก๊กมีการทำศึกสงครามมากมายหลายครั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจและความเป็นใหญ่ การนำกำลังทหารและไพร่พลจำนวนมากการบุกโจมตีและยึดครองเมืองหรือสถานที่ต่าง ๆ หรือทางการทูตต่างแดนในการเจรจาต่อรองผูกสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นอื่น การต่อสู้ทางด้านสติปัญญาและกุศโลบายในการแสดงแสนยานุภาพแก่ศัตรู การปกครองไพร่พลรวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา การทหาร การเมือง การเศรษฐกิจ การบริหารปกครองบ้านเมือง หรือแม้นแต่การใช้คนอย่างถูกต้อง ในสามก๊กทุกสิ่งล้วนแต่เป็นการนำเอาทรัพยากรทุกอย่างที่มีเพื่อนำมาใช้ในการทำศึกสงคราม สงครามสามก๊กนั้นมีบ่อยครั้งที่กำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลน้อยกว่ากลับเอาชนะกำลังทหารที่มีกำลังไพร่พลมากกว่าได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือกลยุทธ์ในด้านยุทธศาสตร์และการชำนาญภูมิศาสตร์สถานที่ในการทำศึกสงครามกลศึกสามก๊ก ตำราพิชัยสงครามรูปธรรมที่มีชีวิต,หลี่ปิ่งเอี้ยน ซุนจิ้ง ผู้ค้นคว้า, บุญศักดิ์ แสงระวี แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทย, สำนักพิมพ์สุขภาพใจ,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและกลศึกสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่ผาแดง

แผนที่บริเวณศึก ยุทธการที่ผาแดง หรือ ศึกผาแดง (Battle of Red Cliffs) หรือ ศึกเซ็กเพ็ก หรือ ศึกเปี๊ยะเชียะ หรือ ศึกชื่อปี้ (Battle of Chìbì) เป็นสงครามที่มีความสำคัญที่สุดสงครามหนึ่งในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นในรัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเหี้ยนเต้ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสามก๊กในประเทศจีนในเวลาต่อมา ศึกผาแดงนี้เกิดขึ้นใน..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและยุทธการที่ผาแดง · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จิวยี่

วยี่ (Zhou Yu) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก แม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊ก ขุนพลผู้ปราดเปรื่อง และเป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง เป็นชาวเมืองลู่เจียนซู เกิดในครอบครัวขุนนางเก่า มีชื่อรองว่า กงจิน (公瑾) ลักษณะเป็นบุรุษรูปงาม หน้าขาว เมื่อวัยเด็กได้เรียนรู้วิชาอย่างแตกฉาน ทั้งการทหาร และศิลปะแขนงต่าง ๆ โดยจิวยี่เป็นผู้ชำนาญทางดนตรี กล่าวกันว่า ถ้าใครดีดพิณผิดแม้นิดเดียว ใครต่อใครจับไม่ได้ แต่จิวยี่สามารถจับได้ จิวยี่เป็นผู้มีนิสัยโอบอ้อม มีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง ดังนี้ จึงมีผู้ที่เคารพนับถือเป็นมิตรสหายมากม.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและจิวยี่ · ดูเพิ่มเติม »

ซุนกวน

ระเจ้าซุนกวน (181 — 252) หรือ พระเจ้าหวูต้าตี้ เป็นตัวละครในวรรณกรรม จีน อิง ประวัติศาสตร์ เรื่อง สามก๊ก ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ผู้ก่อตั้งและพระมหากษัตริย์ของง่อก๊ก (吳) หนึ่งในสามอาณาจักรของยุคสามก๊ก ซุนกวนเป็นบุตรคนที่สองของซุนเกี๋ยน และเป็นน้องชายของซุนเซ็ก เมื่อซุนเซ็กพี่ชายตายไปจึงได้ขึ้นครองเมืองกังตั๋งแทนด้วยวัยแค่ 18 ปี แม้ซุนกวนจะไม่ปรากฏความสามารถในการรบเหมือนผู้พี่แต่มีความสามารถในการปกครองสูงมาก มารดาของซุนกวนได้ตายไปก่อนหน้านี้ ผู้ที่เลี้ยงซุนกวนขึ้นมา คือ ง่อก๊กไท่ ผู้มีศักดิ์เป็นน้าของซุนกวน ซึ่งซุนกวนนับถือง่อก๊กไท่ผู้นี้เสมือนแม่แท้ ๆ ของตัว ซุนกวนมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวขาว มีตาสีเขียว หนวดเคราแดง เมื่อขึ้นครองเมืองแต่ยังเล็ก จึงได้รับฉายาว่า "ทารกตาเขียว" ซึ่งในบรรดาผู้นำก๊กทั้ง 3 นั้น ซุนกวนเป็นผู้มีอายุน้อยที่สุด แม้ตอนที่โจโฉยกทัพไปรบกับง่อก๊กของซุนกวนในศึกหับป๋า ซุนกวนก็บัญชาการรบอย่างแข็งขัน จนโจโฉที่แม้แต่เป็นศัตรูยังเอ่ยปากชมว่า "ถ้าจะได้บุตร ต้องได้บุตรอย่างซุนกวน" ซุนกวนมีน้องสาวอยู่นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวของง่อก๊กไท่ ชื่อว่าซุนซางเซียงแต่เรียกกันว่า ซุนฮูหยิน ซึ่งต่อมาในภายหลังได้แต่งงานกับเล่าปี่ เป็นภรรยาคนที่ 3 ของเล่าปี่ ซุนกวนออกอุบายให้นางกลับคืนมาง่อก๊ก โดยเชิญนางให้เร่งรีบกลับมาพร้อมอาเต๊าโดยที่เล่าปี่ไม่รู้ แต่ขงเบ้งอ่านอุบายออก จึงให้จูล่งเร่งรีบเดินทางติดตามไป เมื่อถึงเรือของนางก็กระโดดขึ้นเรือขอให้นางกลับไป แต่นางไม่ยอม จูล่งจึงให้นางไปได้แต่อาเต๊า บุตรของเล่าปี่ต้องอยู่ ท้ายที่สุดอาเต๊าก็ได้กลับไปจ๊กก๊ก และเมื่อซุนฮูหยินทราบเมื่อกลับไปถึงว่านี่เป็นอุบายของพี่ชาย ก็เศร้าโศกเสียใจ ท้ายที่สุดนางก็ตรอมใจตาย ซุนกวน เองก็ปรารถนาก็จะเป็นใหญ่ในแผ่นดินเช่นเดียวกับโจโฉและเล่าปี่ เมื่อตอนที่เล่าปี่มาที่ง่อก๊กเพื่อที่จะสมรสกับซุนฮูหยิน แต่ซุนกวนได้ให้คนคอยซุ่มทำร้ายเล่าปี่อยู่เป็นระยะ ๆ เล่าปี่ก็รู้ทันและได้จูล่งแก้สถานการณ์ให้ เมื่อออกมาจากงานได้รำพันถอดถอนหายใจถึงชะตากรรมตัวเอง และได้เจอหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง เล่าปี่อธิษฐานว่าหากตนจะได้เป็นใหญ่ ขอให้ใช้กระบี่ฟันหินนี้ให้แตกเป็น 2 ท่อน ก็ปรากฏว่าฟันหินได้ขาดจริง ๆ ซุนกวนเห็นดังนั้นจึงอธิษฐานบ้าง ก็ปรากฏว่าสามารถฟันหินได้แตกเช่นกัน และทั้งคู่จึงได้ขี่ม้าออกชมทัศนียภาพของง่อก๊กด้วยกัน แต่นโยบายในการทำสงครามของซุนกวนจะไม่ประกาศเป็นศัตรูกับก๊กใหญ่อีก 2 ก๊ก นั้นอย่างเต็มที่ แต่จะผูกไมตรีกับทุกก๊กที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเอง ดังจะเห็นว่า ซุนกวนเองแม้จะผูกไมตรีกับจ๊กก๊ก แต่ก็หาทางจะกำจัดเล่าปี่อยู่เสมอ ๆ ถ้ามีโอกาส และซุนกวนเองก็เป็นสาเหตุการตายของกวนอู โดยซุนกวนออกอุบายทำให้จับกวนอูได้ จากนั้นจึงตัดหัวกวนอูส่งไปให้โจโฉ ซึ่งทำให้ทั้งเล่าปี่และเตียวหุยแค้นซุนกวนมาก และทั้งเตียวหุยและเล่าปี่ก็ต้องมาตายด้วยการมาแก้แค้นให้กวนอูทั้งสิ้น และต่อมาใน ปี..252 พระเจ้าซุนกวนสวรรคต รวมเวลาเสวยราชย์อยู่ได้ 24 ปี ภายหลังพระเจ้าซุนกวนสวรรคตไปแล้ว พระโอรสก็ได้ขึ้นเป็นผู้นำก๊กต่อ แต่สภาพภายในง่อก๊กไม่แข็งแกร่งเหมือนเก่า ขุนนางแตกแยกกันเอง จนนำมาสู่การล่มสลายของก๊กในที.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและซุนกวน · ดูเพิ่มเติม »

โจโฉ

ฉา เชา ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ โจโฉ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 155 – 15 มีนาคม ค.ศ. 220) ชื่อรองว่า เมิ่งเต๋อ (孟德) ชื่อเล่นว่า อาหมาน (阿瞞) และ จี๋ลี่ (吉利)(太祖一名吉利,小字阿瞞。) Pei Songzhi.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและโจโฉ · ดูเพิ่มเติม »

เล่าจ๋อง

ล่าจ๋อง (Liu Cong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเล่าเปียวเจ้าแคว้นเกงจิ๋ว อันเกิดจากนางชัวฮูหยินภรรยาน้อย หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ตามประเพณี ลูกชายคนโตคือเล่ากี๋ควรมีสิทธิ์ในตำแหน่งเจ้าแคว้น แต่ชัวฮูหยินและชัวมอน้องชาย ได้ปลอมแปลงพินัยกรรมของเล่าเปียวว่าให้เล่าจ๋องขึ้นดำรงตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วคนต่อไป เล่าจ๋องจึงได้ครองตำแหน่งเจ้าแคว้นเกงจิ๋วต่อจากบิดาขณะมีอายุได้ 14 ปี ต่อมา โจโฉยกทัพจะเข้าตีเกงจิ๋ว เล่าจ๋องได้ยอมจำนนต่อโจโฉ โจโฉแต่งตั้งให้เล่าจ๋องเป็นเจ้าเมืองเฉงจิ๋ว ระหว่างที่เล่าจ๋องเดินทางไปรับตำแหน่งที่เฉงจิ๋วพร้อมกับนางชัวฮูหยิน อิกิ๋มซึ่งโจโฉสั่งให้นำกำลังไปซุ่มระหว่างทาง ได้นำกำลังออกมาสังหารเล่าจ๋องและนางชัวฮูหยินเสี.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและเล่าจ๋อง · ดูเพิ่มเติม »

เล่าปี่

หลิว เป้ย์ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เล่าปี่ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 161 – 10 มิถุนายน ค.ศ. 223) ชื่อรองว่า เสวียนเต๋อ (玄德) เป็นขุนศึกสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออกผู้ก่อตั้งรัฐฉู่ฮั่น/จ๊กฮั่น (蜀漢) ในสมัยสามก๊กและได้เป็นผู้ปกครองคนแรกของรัฐดังกล่าว แม้จะเริ่มต้นด้วยความล้มเหลวเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ทั้งยังปราศจากขุมกำลังและสถานะทางสังคมดังที่คู่แข่งมี แต่นานวันเข้า หลิว เป้ย์ ก็ได้การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ภักดีต่อราชวงศ์ฮั่นซึ่งต่อต้านเฉา เชา/โจโฉ (曹操) ขุนศึกผู้สามารถควบคุมการปกครองส่วนกลางรวมถึงพระเจ้าฮั่นเสี่ยน/ฮั่นเหี้ยน (漢獻帝) จักรพรรดิหุ่นเชิด ไว้ได้ ครั้นแล้ว หลิว เป้ย์ ก็ขับเคลื่อนขบวนการประชาชนเพื่อรื้อฟื้นราชวงศ์ฮั่น จนก่อตั้งดินแดนของตนซึ่งกินอาณาเขตที่ปัจจุบันคือกุ้ยโจว ฉงชิ่ง ซื่อชวน หูหนาน และบางส่วนของกานซู่กับหูเป่ย์ ในทางวัฒนธรรมแล้ว สืบเนื่องความโด่งดังของนวนิยายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 เรื่อง สามก๊ก หลิว เป้ย์ จึงได้รับการมองว่า เป็นผู้ปกครองที่โอบอ้อมอารี รักใคร่ปวงประชา และเลือกสรรคนดีเข้าปกครองบ้านเมือง เรื่องแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อยกตัวอย่างเชิงสดุดีผู้ปกครองที่ยึดมั่นคุณธรรมแบบขงจื๊อ แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว หลิว เป้ย์ ยึดถือเล่าจื๊อมากกว่า เฉกเช่นเดียวกับผู้ปกครองหลาย ๆ คนแห่งราชวงศ์ฮั่น ทั้งเขายังเป็นนักการเมืองที่ชาญฉลาด เป็นผู้นำที่ความสามารถฉายออกมาในแบบนักนิตินิยม ความนับถือขงจื๊อของหลิว เป้ย์ นั้นได้รับการแต่งเติมมากกว่าของคู่แข่งอย่างเฉา พี/โจผี (曹丕) กับซุน เฉวียน/ซุนกวน (孫權) ผู้ซึ่งบริหารบ้านเมืองอย่างนิตินิยมเต็มรูปแ.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและเล่าปี่ · ดูเพิ่มเติม »

เจียวก้าน

เจียวก้าน (Jiang Gan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ที่ปรึกษาคนหนึ่งของโจโฉ เป็นชาวเมืองกังหวย เป็นนักพูด และเป็นทั้งเพื่อนร่วมชั้นเรียนในวัยเยาว์กับจิวยี่ ปรากฏตัวในศึกเซ็กเพ็ก เมื่อเจียวก้านขออาสาตัวเองไปเจรจาเกลี้ยกล่อมจิวยี่ให้ยอมแพ้ แต่จิวยี่รู้ทันจึงทำอุบายซ้อนกลเจียวก้านอีกต่อ โดยหลอกว่า ซัวมอและเตียวอุ๋น แม่ทัพเรือคนใหม่ของโจโฉที่ทรยศต่อเล่าเปียวมาเข้ากับโจโฉ หักหลังโจโฉ โดยเจียวก้าน เหลือบไปเห็นจดหมายของซัวมอ และเตียวอุ๋น ที่จิวยี่ทำปลอมไว้ ขณะนอนหลับในกระโจมเดียวกับจิวยี่ เจียวก้านขโมยจดหมายแล้วกลับไปรายงานโจโฉ โจโฉเชื่อตามนั้น สั่งตัดหัวซัวมอและเตียวอุ๋นทันที แต่มารู้ทีหลังว่าเป็นแผนของจิวยี่ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้แล้ว และอีกครั้งหนึ่งที่ โจโฉ ต้องการคนไปหาข่าวจากกังตั๋ง เจียวก้านรับอาสาไปอีกครั้งเอง เพื่อขอแก้ตัวที่เคยทำพลาดจากครั้งที่แล้ว จิวยี่รู้ทันอีกครั้ง คราวนี้จึงแกล้งทำเป็นโกรธเจียวก้าน ที่เจียวก้านครั้งก่อนลาไปโดยไม่ได้บอกกล่าว จึงสั่งให้โลซกจำกัดบริเวณเจียวก้านอยู่ที่เขาเมืองซงหยง จึงทำให้เจียวก้านได้พบกับบังทอง ซึ่งบังทองเจตนาอ่านคัมภีร์เสียงดัง ๆ เพื่อให้เจียวก้านเข้าใจว่าเป็นผู้มีความรู้สูง เมื่อได้สนทนากัน เจียวก้านเชื่ออย่างเต็มเปี่ยมว่า บังทองคือผู้มีความรู้ความสามารถจริง ๆ จึงชักนำมาหาโจโฉ และเป็นที่มาของแผน "ห่วงโซ่สัมพันธ์" ที่ผูกมัดกองเรือของโจโฉเป็นหนึ่ง ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้จิวยี่สามารถเผาทัพเรือโจโฉให้ราบคาบได้ จีเยวก้าน จีเยวก้าน.

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและเจียวก้าน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวอุ๋น

ตียวอุ๋น (Zhang Yun, ? — ?) ขุนศึกแห่ง วุยก๊ก ในช่วง ยุคสามก๊ก ซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยรับใช้ เล่าเปียว เจ้าเมือง เกงจิ๋ว เมื่อ โจโฉ ยกกองทัพลงใต้ทางฝ่ายเกงจิ๋วซึ่งในขณะนั้นปกครองโดย เล่าจ๋อง บุตรชายของเล่าเปียวที่ถึงแก่กรรมไปก่อนหน้านั้นไม่นานก็เกรงว่าจะไม่ปลอดภัยจึงได้ยอมแพ้ต่อโจโฉเตียวอุ๋นจึงได้มารับใช้วุยก๊กสืบต่อมาซึ่งเตียวอุ๋นถึงแก่กรรมเมื่อใดไม่มีหลักฐาน แต่สามก๊กฉบับวรรณกรรมของ ล่อกวนตง ได้กล่าวไว้ว่าก่อนเกิด ศึกผาแดง ใน..

ใหม่!!: กลยุทธ์ยืมดาบฆ่าคนและเตียวอุ๋น · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kill with a borrowed knifeกลยืมดาบฆ่าคนกลศึกยืมดาบฆ่าคนยืมดาบฆ่าคนเจี้ยเตาซาเหริน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »