โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จังหวัดมุกดาหาร

ดัชนี จังหวัดมุกดาหาร

มุกดาหาร เป็นจังหวัดชายแดน อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทยตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และอยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 642 กิโลเมตร แยกออกมาจากจังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2525 นับเป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไท.

49 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2525กรุงเทพมหานครกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน (ประเทศไทย)มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหารรายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหารรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหารวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์วิทยาลัยชุมชนมุกดาหารสฤษดิ์ ธนะรัชต์สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒สงกรานต์หมู่บ้านหอแก้วมุกดาหารอำเภออำเภอกุดชุมอำเภอหว้านใหญ่อำเภอหนองสูงอำเภอทรายมูลอำเภอดอนตาลอำเภอดงหลวงอำเภอคำชะอีอำเภอนิคมคำสร้อยอำเภอเมืองมุกดาหารอำเภอเลิงนกทาองค์การบริหารส่วนจังหวัดองค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดสกลนครจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดนครพนมขนส่ง (บริษัท)ตารางกิโลเมตรตานเหลืองตำบลประเทศลาวประเทศไทยแม่น้ำโขงแอ่งสกลนครแขวงสุวรรณเขตโรงเรียนมุกดาหารเทศบาลตำบลเทศบาลเมืองเทศบาลเมืองมุกดาหาร27 กันยายน

พ.ศ. 2525

ทธศักราช 2525 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1982 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปี สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและพ.ศ. 2525 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มจังหวัด

กลุ่มจังหวัด เป็นการจัดตั้งกลุ่มจังหวัดในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการบริหารงานแบบบูรณาการ โดยริเริ่มจัดตั้งโดยการกำหนดจังหวัดต้นแบบการบริหารงานแบบบูรณาการ (CEO) ในสมัยรัฐบาลของ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ จะคำนึงถึงหลักการดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและกลุ่มจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร เป็นอดีตวิทยาเขตหนึ่งของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยตั้งอยู่ที่จังหวัดมุกดาหาร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2550 เปิดรับนักศึกษาครั้งแรก พ.ศ. 2552 มีนักศึกษา 4 รุ่น ปัจจุบันมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ยกเลิกสถานะวิทยาเขตมุกดาหารแล้ว.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร

รายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและรายชื่อวัดในจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและรายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

วรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์

นางวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ (เกิด 20 ตุลาคม พ.ศ. 2498) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมุกดาหาร 3 สมั.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและวรศุลี สุวรรณปริสุทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกลุ่มสถาบันวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2547 ตามนโยบาย "การศึกษาสร้างชาติ สร้างคน สร้างงาน" ของรัฐบาล โดยเฉพาะจังหวัดที่ไม่มีสถาบันอุดมศึกษา โดยการคัดเลือกศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดมุกดาหาร ให้ทำหน้าที่วิทยาลัยชุมชนควบคู่ไปกับภารกิจเดิม ปัจจุบัน วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จัดการศึกษาหลักสูตรอนุปริญญาและหลักสูตรพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและคุณภาพชีวิต (ฝึกอบรมระยะสั้น)จัดโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

สฤษดิ์ ธนะรัชต์

อมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ (16 มิถุนายน พ.ศ. 2451 — 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506) เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 11, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารบกและอธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่มการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงบประมาณ เป็นผู้ก่อตั้งธนาคารทหารไทย และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด เจ้าของคำพูดที่ว่า "พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ" และ "ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ใน วันที่ 16 กันยายน..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและสฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒

ันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ (Institute of Vocational education: Northeastern Region 2) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เกิดจากการรวมตัวกันของ วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ และวิทยาลัยการอาชีพในกลุ่ม (จังหวัดสนุก) สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร  เพื่อทำหน้าที่ผลิตปัญญาชน คนอาชีวศึกษาสู่ตลาดแรงงานซึ่งในปัจจุบันถือว่ามีความต้องการสูง และเพิ่มอัตรากำลังคนอาชีวศึกษาให้ได้รับการศึกษาขั้นสูง โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี (สายปฏิบัติการ) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) .

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒ · ดูเพิ่มเติม »

สงกรานต์

ำหรับ สงกรานต์ ความหมายอื่น ดูที่: สงกรานต์ (แก้ความกำกวม) สงกรานต์ (សង្រ្កាន្ត; သင်္ကြန်; ສົງການ; 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไทแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและสงกรานต์ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่บ้าน

หมู่บ้าน (village) เป็นนิคมหรือชุมชนมนุษย์ ใหญ่กว่าหมู่บ้านขนาดเล็ก (hamlet) แต่เล็กกว่าเมือง มีประชากรตั้งแต่ไม่กี่ร้อยคนไปถึงหลายพันคน (บางแห่งถึงหมื่นคน) ในอดีต หมู่บ้านเป็นรูปแบบชุมชนปกติสำหรับสังคมที่ใช้เกษตรกรรมเพื่อยังชีพ และยังมีในบางสังคมที่มิใช่สังคมเกษตรบ้าง ในบริเตนใหญ่ หมู่บ้านขนาดเล็กได้รับสิทธิเรียกหมู่บ้านเมื่อสร้างโบสถ์ ในหลายวัฒนธรรม เมืองและนครมีน้อย โดยมีสัดส่วนประชากรอาศัยอยู่น้อย การปฏิวัติอุตสาหกรรมดึงดูดให้คนจำนวนมากทำงานในโรงสีและโรงงาน การกระจุกของคนทำให้หลายหมู่บ้านเติบโตเป็นเมืองและนคร นอกจากนี้ยังทำให้มีความชำนาญพิเศษของแรงงานและช่างฝีมือ และพัฒนาการของการค้าจำนวนมาก แนวโน้มการกลายเป็นเมืองดำเนินต่อ แม้ไม่เชื่อมโยงกับการปรับให้เป็นอุตสาหกรรมเสมอไป หมู่บ้านเสื่อมความสำคัญลงทั้งที่เป็นหน่วยสังคมและนิคมมนุษย์ แม้มีชีวิตหมู่บ้านหลากรูปแบบ แต่หมู่บ้านตรงแบบเล็ก บางทีประกอบด้วย 5 ถึง 30 ครอบครัว บ้านตั้งอยู่ด้วยกันเพื่อการเข้าสังคมและการป้องกัน และดินแดนโดยรอบพื้นที่อยู่อาศัยมีการทำไร่นา หมู่บ้านประมงเดิมยึดการประมงพื้นบ้าน (artisan fishing) และตั้งอยู่ติดพื้นที่จับปลา หมวดหมู่:หน่วยการปกครอง หมวดหมู่:หมู่บ้าน หมวดหมู่:ที่อยู่อาศัย.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและหมู่บ้าน · ดูเพิ่มเติม »

หอแก้วมุกดาหาร

หอแก้วมุกดาหาร (Ho Kaeo Mukdahan) หรือหอแก้วมุกดาหารเฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก คือ หอสังเกตการณ์ที่มีความสูง 65.50 เมตร สร้างขึ้นใน..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและหอแก้วมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอ

อำเภอ เป็นหน่วยการปกครองระดับที่สองในประเทศไทย ลำดับรองมาจากจังหวัด จัดตั้งขึ้นโดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีนายอำเภอ เป็นหัวหน้าปกครอง โดยในแต่ละอำเภอจะแบ่งส่วนย่อยออกเป็น ตำบล ในปัจจุบันประเทศไทยมี 878 อำเภอใน 76 จังหวัด ซึ่งไม่รวม 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการบริหารกรุงเทพมหานครในปี..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอกุดชุม

กุดชุม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดยโสธร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอกุดชุม · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหว้านใหญ่

หว้านใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอหว้านใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอหนองสูง

อำเภอหนองสูง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอหนองสูง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอทรายมูล

ทรายมูล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดยโสธร มีสถานที่สำคัญทางศาสนา คือ "พระธาตุฝุ่น" เป็นพระธาตุที่มีลักษณะเป็นเนินดินทรายที่มนุษย์สร้างขึ้น ตั้งอยู่ภายในตัวอำเภอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอทรายมูลเพียงไม่กี่ร้อยเมตร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอทรายมูล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดอนตาล

อนตาล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอดอนตาล · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอดงหลวง

งหลวง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอดงหลวง · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอคำชะอี

ำชะอี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอคำชะอี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอนิคมคำสร้อย

นิคมคำสร้อย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร เดิมเป็นตำบลคำสร้อย ขึ้นกับอำเภอมุกดาหาร ตั้งเป็นกิ่งอำเภอนิคมคำสร้อย เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอนิคมคำสร้อย · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเมืองมุกดาหาร

มืองมุกดาหาร เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอเลิงนกทา

ลิงนกทา เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดยโสธร ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของจังหวัด มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 และมีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากอำเภอเมืองยโสธร และเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 รองจากอำเภอเมืองยโสธร อีกทั้งมีสนามบินเก่าในช่วงสมัยสงครามเวียดนาม ก่อสร้างโดยกองทัพสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโคกสำราญ ขณะนี้อยู่ในช่วงกำลังปรับปรุงสนามบินเพื่อให้เป็นสนามบินพาณิชย์ และในอนาคตจะสามารถพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติได้ และโครงการก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่ - มหาสารคาม - ร้อยเอ็ด - มุกดาหาร - นครพนม ซึ่งผ่านพื้นที่อำเภอเลิงนกทา โดยกำหนดสถานีรถไฟและป้ายหยุดรถไฟคือ สถานีรถไฟเลิงนกทา และป้ายหยุดรถไฟบ้านห้องแซง.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและอำเภอเลิงนกทา · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละหนึ่งแห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ องค์การบริหารส่วนจังหวัด มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ตลอดทั้งช่วยเหลือพัฒนางานของเทศบาลและ อบต. รวมทั้งการประสานแผนพัฒนาท้องถิ่นเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและองค์การบริหารส่วนจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

องค์การบริหารส่วนตำบล

องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็น ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและองค์การบริหารส่วนตำบล · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัด

ังหวัด หรือมณฑล (province) คือชื่อเรียกหน่วยการปกครองระดับหนึ่ง โดยปกติจะเป็นระดับใหญ่ที่สุดในประเทศ หรือรัฐ (ลำดับแรกในการแบ่งการปกครอง) คำว่าจังหวัดใช้เรียก province ในประเทศไทย ส่วนมณฑลใช้กับบางประเทศ เช่น มณฑลยูนนาน (Yunnan Province) ในประเทศจีน หรือ.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาฬสินธุ์

ังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางหรือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 510 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์จังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน จากหลักฐานทางโบราณคดีบ่งบอกว่าเคยเป็นที่อยู่อาศัยของเผ่าละว้า ซึ่งมีความเจริญทางด้านอารยธรรมประมาณ 1,600 ปี ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ให้ยกฐานะบ้านแก่งสำโรงขึ้นเป็นเมือง และพระราชทานนามว่า “เมืองกาฬสินธุ์” หรือ “เมืองน้ำดำ” ซึ่งเป็นเมืองที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยโบราณกาล “กาฬ” แปลว่า “ดำ” “สินธุ์” แปลว่า “น้ำ” กาฬสินธุ์จึงแปลว่า “น้ำดำ” และยังมีแหล่งซากไดโนเสาร์หลายแห่งด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอำเภอสหัสขันธ์ นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงด้านโปงลาง.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดกาฬสินธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดยโสธร

ร เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย เดิมชื่อ บ้านสิงห์ท่า, เมืองยศสุนทร เป็นเมืองเก่าแก่อยู่ริมฝั่งแม่น้ำชีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 200 ปี มีประเพณีบุญบั้งไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก ประเพณีหนึ่งเดียวในโลก จัดตั้งโดยคณะปฏิวัติของจอมพลถนอม กิตติขจร ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 อันให้แยกอำเภอยโสธร อำเภอกุดชุม อำเภอเลิงนกทา อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย และอำเภอป่าติ้ว ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี แล้วรวมกันตั้งเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 สืบไป โดยมีนายชัยทัต สุนทรพิพิธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธรคนแรก.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดยโสธร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดร้อยเอ็ด

ร้อยเอ็ด เดิมสะกดว่า ร้อยเอ็จ เป็นจังหวัดบริเวณลุ่มแม่น้ำชีในภาคอีสานตอนกลางหรือตอนบนของไท.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดร้อยเอ็ด · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสกลนคร

กลนคร หรืออีกชื่อหนึ่งว่า "เมืองหนองหานหลวง" เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร และเป็นศูนย์ปฏิบัติการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน2 ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์สืบเนื่องจวบจนปัจจุบัน ทั้งนี้จังหวัดสกลนครยังเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีความสำคัญและหลากหลายในด้านต่างๆโดยเฉพาะทางด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ สังคม การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น และเป็นจังหวัดศูนย์กลางในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศูนย์กลางทางการศึกษา อันเป็นสถานที่ตั้งของสถานศึกษาขนาดใหญ่ใน กลุ่มจังหวัดสนุก (สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร).

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอำนาจเจริญ

อำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานจากการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ โบราณสถาน และโบราณวัตถุตามที่กรมศิลปากรค้นพบและสันนิษฐานไว้ตามหลักฐานทางโบราณคดี (ใบเสมาอายุราว 1,000 ปี) และได้ตั้งเป็นเมืองมานานหลายร้อยปี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นจังหวัดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดสระแก้ว เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคืออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ เมืองที่มีสมญานามว่า เมืองข้าวหอมโอชา ถิ่นเสมาพันปี.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดอำนาจเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม · ดูเพิ่มเติม »

ขนส่ง (บริษัท)

หน้านี้เป็นหน้าบทความที่กล่าวถึง บริษัท ขนส่ง จำกัด สำหรับบทความอื่นดูเพิ่มเติมได้ที่ ขนส่ง บริษัท ขนส่ง จำกัด หรือ. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในสังกัดกระทรวงคมนาคม ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2473 โดยใช้ชื่อว่า บริษัท เดินอากาศ จำกัด และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัท ขนส่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2482โดย ปัจจุบัน พลตรี สุรพล ตาปนานนท์ เป็นประธานกรรมการบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.).

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและขนส่ง (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ตานเหลือง

ตานเหลือง, ช้างน้าว, กำลังช้างสาร หรือ ตานนกกด เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ochnaceae ลำต้นคดงอ ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง กิ่งก้านออกต่ำ ดอกสีเหลือง กลีบรองดอกสีแดงคล้ำ ผลกลม เป็นดอกไม้ที่เป็นที่นิยมมากทางภาคใต้ของเวียดนามและเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร รากใช้ขับพยาธิและฟอกน้ำเหลืองทางภาคอีสานใช้ลำต้นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย ทางจังหวัดอุบลราชธานีใช้แก่นต้มน้ำดื่มแก้ประดง ชาวเขาเผ่ามูเซอใช้รากเป็นยาบำรุงกำลัง โดยตากแห้ง หรือดองเหล้า หรือต้มน้ำดื่ม.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและตานเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

ตำบล

ตำบลหรือ เขตที่ตั้งเมือง (township) เป็นนิคมมนุษย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหมู่บ้าน แต่เล็กกว่าเมือง ขนาดของเมืองขนาดเล็กอาจแตกต่างกันอย่างมากในทุกภูมิภาคของโลก เมืองขนาดเล็กในประเทศไทยยังหมายถึงเทศบาลตำบล.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและตำบล · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและประเทศลาว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขง (မဲခေါင်မြစ်; ແມ່ນ້ຳຂອງ; ទន្លេដ៏ធំ; Mê Kông) มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านบริเวณที่ราบสูงทิเบตและมณฑลชิงไห่ ประเทศจีน ผ่านประเทศจีน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา และออกสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4,880 กิโลเมตร เป็นความยาวในประเทศจีน 2,130 กิโลเมตร ช่วงที่แม่น้ำไหลผ่านประเทศจีนมีชื่อเรียกว่า แม่น้ำหลานชาง หรือ หลานชางเจียง (จีนตัวย่อ: 澜沧江, จีนตัวเต็ม: 瀾滄江) แปลว่า "แม่น้ำที่มีความเชี่ยวกราก" และเมื่อไหลผ่านเข้าเขตประเทศพม่าและประเทศลาว เรียกว่า แม่น้ำของ รวมถึงคำเมืองล้านนาก็เรียก น้ำของ เช่นกัน ส่วนในภาษาไทยเรียกว่า แม่น้ำโขง ลักษณะสำคัญของแม่น้ำโขงคือ มีตลิ่งที่สูงชันมากทั้งสองฝั่ง ไหลเลี้ยวเลาะไปตามไหล่เขา กระแสน้ำจะไหลจากทางเหนือลงสู่ทางใต้ตลอดทั้งปี ระดับน้ำในฤดูฝนกับฤดูแล้งจะมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความเร็วของกระแสน้ำขึ้นอยู่กับแต่ละฤดูกาล ดินในแม่น้ำโขงเป็นดินทราย มีเกาะแก่งน้อยใหญ่กว่าหนึ่งร้อยแห่งเรียงรายตลอดแม่น้ำ การที่แม่น้ำโขงไหลผ่านหลายประเทศเช่นเดียวกับแม่น้ำดานูบในยุโรป ทำให้บางคนเรียกว่าแม่น้ำนานาชาติ และทำให้ได้รับการขนานนามว่า แม่น้ำดานูบตะวันออก นอกจากนี้ ในประเทศจีน แม่น้ำโขงยังเป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกับแม่น้ำแยงซีและแม่น้ำสาละวินในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน พื้นที่ดังกล่าวนับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง สัตว์น้ำขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญและพบได้เฉพาะในแม่น้ำโขงได้แก่ ปลาบึก.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและแม่น้ำโขง · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งสกลนคร

แอ่งสกลนคร เป็นการแบ่งโซนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามภูมิศาสตร์ โดยแอ่งสกลนครจะอยู่ในโซนอีสานตอนบน ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ทิศเหนือจะมีแม่น้ำโขงกันขอบเขต ทิศตะวันตกกั้นด้วยเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชี้ชัดว่าภายใน แอ่งสกลนครนี้ มีมนุษย์อาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานตามเนินดิน หมวดหมู่:ภาคอีสาน.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและแอ่งสกลนคร · ดูเพิ่มเติม »

แขวงสุวรรณเขต

หวันนะเขต เชื่อมโยงมาที่นี่ สำหรับความหมายอื่นของสุวรรณเขต ดูที่ สุวรรณเขต (แก้ความกำกวม) สุวรรณเขต หรือ สะหวันนะเขต (ສະຫວັນນະເຂດ สะกด สะหวันนะเขด) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของประเทศ ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน เป็นแขวงที่มีเนื้อที่ใหญ่อันดับที่ 2 รองจากแขวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและแขวงสุวรรณเขต · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนมุกดาหาร

รงเรียนมุกดาหาร (Mukdahan School)เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตั้งอยู่ที่ 211 ถนนพิทักษ์พนมเขต อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร และเป็นโรงเรียนประเภทโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่พิเศษ ปัจจุบันมีอายุ 69 ปี ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและโรงเรียนมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลตำบล

ทศบาลตำบล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดเล็ก โดยทั่วไปเทศบาลตำบลมีฐานะเดิมเป็นสุขาภิบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) การจัดตั้งเทศบาลตำบลกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นขึ้นเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 เทศบาลตำบลมีนายกเทศมนตรีคนหนึ่งทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12 คนที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรเขตเทศบาล เทศบาลตำบลมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความสะอาด สร้างและบำรุงถนนและท่าเรือ ดับเพลิงและกู้ภัย จัดการศึกษา ให้บริการสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และรักษาวัฒนธรรมอันดีในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ได้ตามสมควร เทศบาลตำบลโดยทั่วไปมีชื่อตามตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ แต่ก็มีหลายแห่ง (ส่วนใหญ่จะเป็นเทศบาลตำบลที่ได้รับการยกฐานะขึ้นมาจากสุขาภิบาล) ที่ไม่ได้ใช้ชื่อของตำบลหรืออำเภอที่ตั้งเทศบาลเป็นชื่อ เช่น เทศบาลตำบล กม.5 ที่ตั้งอยู่ในตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้ เทศบาลตำบลแห่งหนึ่ง ๆ อาจมีเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลอันเป็นที่ตั้งเทศบาลแห่งนั้นทั้งตำบล หรือครอบคลุมพื้นที่เพียงบางส่วนของตำบล ส่วนพื้นที่ตำบลเดียวกันซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาลนั้นจะอยู่ในความดูแลขององค์การบริหารส่วนตำบล (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่างสำหรับพื้นที่ชนบท) หรือบางครั้งเขตเทศบาลยังอาจครอบคลุมไปถึงพื้นที่บางส่วนหรือทั้งหมดของตำบลอื่นที่อยู่ข้างเคียงก็ได้ หากท้องถิ่นที่เป็นเทศบาลตำบลเจริญเติบโตขึ้นจนมีประชากรถึง 10,000 คน และมีรายได้พอควร อาจได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมือง (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดกลาง) ซึ่งจะมีอำนาจหน้าที่และความเป็นอิสระมากขึ้น และเขตเทศบาลก็อาจขยายออกไปตามชุมชนเมืองที่ขยายตัวโดยยุบองค์การบริหารส่วนตำบลข้างเคียงที่กลายสภาพจากชนบทเป็นเมืองเข้ามารวมด้วย แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนที่อยู่ในท้องที่นั้น ๆ ปัจจุบัน ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและเทศบาลตำบล · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมือง

ทศบาลเมือง เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลสำหรับเมืองขนาดกลาง จัดตั้งโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ท้องถิ่นที่จะได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมืองนั้น คือ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด เช่น เทศบาลเมืองเพชรบุรี (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเพชรบุรี) เทศบาลเมืองสระแก้ว (ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระแก้ว) หรือท้องถิ่นที่มีจำนวนราษฎรมากกว่า 10,000 คน และมีรายได้เพียงพอที่จะปฏิบัติหน้าที่ของเทศบาลเมืองตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ก็มีท้องถิ่นบางแห่งที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดและมีจำนวนประชากรไม่ถึง 10,000 คน แต่ก็มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง เนื่องจากได้รับการจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเทศบาลสมัยแรก ๆ ซึ่งวางเกณฑ์ต่างจากปัจจุบัน เช่น เทศบาลเมืองเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลเมืองหลายแห่งมีฐานะเดิมเป็นเทศบาลตำบล เช่น เทศบาลตำบลหัวหิน เทศบาลตำบลชะอำ ที่ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองหัวหินและเทศบาลเมืองชะอำตามลำดับ แต่ก็มีบางแห่งที่ได้รับการยกฐานะข้ามขั้นจากองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นมาโดยไม่เป็นเทศบาลตำบลมาก่อน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองปรกฟ้า, องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งตำเสา จังหวัดสงขลา ที่ได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ทั้งนี้ หากท้องถิ่นใดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองไปแล้วเป็นเวลา 1 ปี ตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนันในท้องถิ่นนั้น ๆ จะถูกยกเลิกไปด้วย นอกจากเทศบาลเมืองอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจะมีชื่อเรียกตามชื่อจังหวัดแล้ว (ยกเว้นตัวจังหวัดที่เป็นเทศบาลนครแล้วจำนวน 22 จังหวัด และตัวจังหวัดสุโขทัยซึ่งมีชื่อว่า เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) เทศบาลเมืองที่ตั้งอยู่ในตัวอำเภอโดยทั่วไปมักมีชื่อตามชื่ออำเภอหรือตำบลที่เทศบาลตั้งอยู่ เช่น เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก ครอบคลุมเขตตำบลเมืองสวรรคโลก อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย แต่ก็มีบางแห่งที่ไม่ใช้ชื่ออำเภอหรือตำบลเป็นชื่อ เช่น เขตเทศบาลเมืองลัดหลวง ครอบคลุมเขตตำบลบางพึ่ง ตำบลบางจาก และตำบลบางครุ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เทศบาลเมืองมีนายกเทศมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและมีสภาเทศบาลซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 18 คนที่ราษฎรในเขตเทศบาลเลือกตั้งมาทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรในเขตเทศบาล โดยเทศบาลเมืองมีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและความสะอาด สร้างและบำรุงถนนและท่าเรือ ดับเพลิงและกู้ภัย จัดการศึกษา ให้บริการสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และรักษาวัฒนธรรมอันดีในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอื่น ๆ ได้ตามสมควร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและเทศบาลเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองมุกดาหาร

ทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมุกดาหาร มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรืองทั้งตำบล และ บางส่วนของตำบลมุกดาหาร.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและเทศบาลเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จังหวัดมุกดาหารและ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มุกดาหารอำเภอมุกดาหารจ.มุกดาหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »