โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มีเทนคลาเทรต

ดัชนี มีเทนคลาเทรต

มีเทนคลาเทรต(Methane Clathrate) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ มีเทนไฮเดรต (Methane Hydrate) เป็นสารที่ประกอบด้วยมีเทนในรูปผลึกโครงสร้างคล้ายน้ำแข็งแห้ง บางทีเราจะเรียกว่า น้ำแข็งไฟ ครั้งแรกถูกพบเกิดอยู่ภายนอกระบบสุริยะ ต่อมามีการค้นพบมีเทนคลาเทรต สะสมกับตะกอนที่อยู่ที่พื้นมหาสมุทรลึก มีเทนคลาเทรต พบทั้งในตะกอนทะเลลึกหรือพบทั้งเป็นหินโผล่ขนาดใหญ่ที่พื้นทะเล เกิดจากการสะสมตัวของแก๊สที่ขึ้นมาจากบริเวณแนวรอยเลื่อนมีพลัง และจะตกผลึกเมื่อสัมผัสกับกระแสน้ำเย็น นอกจากนี้ยังพบมีเทนคลาเทรตในบริเวณแกนน้ำแข็งของขั้วโลกใต้อีกด้วย เราได้ศึกษาอายุและสรุปได้ว่าเมื่อแปดแสนปีก่อนในชั้นบรรยากาศของโลกเต็มไปด้วยมีเทนคลาเทรต มีเทนคลาเทรตจะเสถียรที่อุณหภูมิประมาณ 0องศาเซลเซียสและมีความดันสูงมาก อย่างไรก็ตามบางครั้งก็พบเสถียรได้ถึง 18องศาเซลเซียส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของมีเทนในโครงผลึกน้ำนั้น โดยทั่วไปแล้วจะพบมีเทนคลาเทรตอยู่ 1 mole ในน้ำ 5.75 moles และปริมาณ 1ลิตรของมีเทนคลาเทรตจะมีปริมาณมีเทนในรูปแก๊สอยู่ถึง 168 ลิตร.

3 ความสัมพันธ์: ระบบสุริยะทะเลแคสเปียนแบคทีเรีย

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มีเทนคลาเทรตและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแคสเปียน

ทะเลแคสเปียน (Caspian Sea) เป็นทะเลปิดที่อยู่ระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปยุโรป มีเนื้อที่ผิวน้ำประมาณ 371,000 ตร.กม. และจุดลึกที่สุดลึกประมาณ 980 เมตร ทะเลแคสเปียนมีลักษณะร่วมของทั้งทะเลและทะเลสาบ บางครั้งจึงได้ชื่อว่าเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามน้ำในทะเลแคสเปียนกลับไม่ได้เป็นน้ำจืด มีปริมาณเกลือประมาณ 1.2% ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณเกลือในน้ำทะเลทั่วไป.

ใหม่!!: มีเทนคลาเทรตและทะเลแคสเปียน · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: มีเทนคลาเทรตและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มีเทนไฮเดรตน้ำแข็งติดไฟ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »