โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยเลสเตอร์

ดัชนี มหาวิทยาลัยเลสเตอร์

มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) เป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่เน้นวิจัยในเมืองเลสเตอร์ แคว้นเลสเตอร์เชอร์ สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2500 โดยยกฐานะจากวิทยาลัยอุดมศึกษาเลสเตอร์ เลสเตอร์เชอร์ และรัตแลนด์ซึ่งตั้งเมื่อ พ.ศ. 2464 มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงในฐานะผู้คิดค้นการพิมพ์ลายนิ้วมือพันธุกรรมจนนำไปสู่การค้นพบโครงพระบรมอัฐิของสมเด็จพระราชาธิบดีริชาร์ดที่ 3 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในที่ร.

18 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2464พ.ศ. 2500พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักรภาษาละตินภาษาอังกฤษภาษาไทยมหาวิทยาลัยลอนดอนมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ลัฟบะระสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรเลสเตอร์เลสเตอร์เชอร์เดวิด แอทเทนเบอเรอห์

พ.ศ. 2464

ทธศักราช 2464 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1921 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และพ.ศ. 2464 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าริชาร์ดที่ 3 (2 ตุลาคม ค.ศ. 1452 – 22 สิงหาคม ค.ศ. 1485) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร (George V of the United Kingdom) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ซึ่งทรงสถาปนาขึ้นจากราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาสายอังกฤษ ในฐานะที่ทรงเป็นประมุขสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพแห่งอังกฤษ พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดียและปฐมกษัตริย์เสรีรัฐไอร์แลนด์อีกด้วย พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติตั้งแต่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2461) จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2479 พระองค์ทรงปฏิบัติราชการในราชนาวีอังกฤษตั้งแต่พระชนมายุ 12 พรรษา แต่หลังจากการสิ้นพระชนม์อย่างไม่คาดฝันของเจ้าชายอัลเบิร์ต วิกเตอร์ ดยุกแห่งแคลเรนซ์และแอวันเดล พระเชษฐา ทำให้ทรงกลายเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์และอภิเษกสมรสกับพระคู่หมั้นของพระเชษฐาคือเจ้าหญิงแมรีแห่งเทก ถึงแม้ว่าทั้งสองพระองค์จะเสด็จประพาสจักรวรรดิอังกฤษเป็นบางโอกาส แต่พระเจ้าจอร์จที่ 5 โปรดที่จะประทับที่พระตำหนักพร้อมกับการสะสมดวงตราไปรษณียากร และทรงมีชีวิตที่ต่อมานักชีวประวัติเห็นว่าไม่น่าสนใจเนื่องจากความเป็นธรรมดาและเรียบง่าย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระราชบิดาเสด็จสวรรคตในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลอนดอน

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร ดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอน มีนักศึกษาในวิทยาเขต 135,090 คน และมากกว่า 40,000 ในโครงการ University of London External Programme มหาวิทยาลัยก่อตั้งใน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และมหาวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม

มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม (University of Nottingham) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มากในสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตั้งที่เมืองนอตทิงแฮม มณฑลนอตทิงแฮมเชอร์ นอกจากที่ตั้งในเมืองนอตทิงแฮมแล้ว มหาวิทยาลัยยังขยายการสอนไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศจีนอีกด้วย มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์

มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่มาก มีชื่อเสียงด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และแพทยศาสตร์ ตั้งที่เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร โดยการรวมกันระหว่างมหาวิทยาลัยวิกตอเรียแมนเชสเตอร์ และมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแมนเชสเตอร์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีนักศึกษาจำนวนมากที่สุดในสหราชอาณาจักรทั้งจำนวนรวมทุกระดับ ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา (ไม่นับมหาวิทยาลัยเปิด (Open University)) นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมอย่างมากในบรรดานักศึกษานอกสหภาพยุโรปอีกด้วย มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ และบูรพสถาบันทั้งสอง เป็นสถานที่ทำงานของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลจำนวนหลายท่าน อาทิ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด โจเซฟ จอห์น ทอมสัน นีลส์ บอร์ เจมส์ แชดวิก ฯลฯ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม

มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยขนาดใหญ่ ตั้งที่เมืองเบอร์มิงแฮม อันมีสถานะเป็นอำเภอในจังหวัดเวสต์มิดแลนด์ มหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอิฐแดง (Red Brick Universities) และเป็นมหาวิทยาลัยอิฐแดงแห่งแรก ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัฟบะระ

ลาว่าการเมืองลัฟบะระ ลัฟบะระ (Loughborough) เป็นเมืองในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ตอนกลางของอังกฤษ ในเลสเตอร์เชียร์เคาน์ตี เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยลัฟบะระ เมืองมีประชากร 57,600 คน (ค.ศ. 2004) เมืองมีโรงหล่อระฆังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของบริษัทจอห์นเทย์เลอร์แอนด์โค เมืองได้รับการกล่าวถึงครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และลัฟบะระ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เลสเตอร์

ลสเตอร์ (Leicester;; สะกดย่อ: LES-tɚ) เป็นนครและเมืองหลวงของมลฑลเลสเตอร์เชอร์ในภาคการปกครองมิดแลนด์สตะวันออกของอังกฤษ เลสเตอร์มีการปกครองระดับรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียว ที่ตั้งของเลสเตอร์อยู่บนฝั่งแม่น้ำซอร์และริมป่าสงวน และมีเนื้อที่ 73.32 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมะโนประชากร ในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และเลสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เลสเตอร์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลเลสเตอร์เชอร์ เลสเตอร์เชอร์ หรือ เลสเตอร์เชียร์ (Leicestershire, or,; ย่อ Leics) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักร ที่ไม่มีเขตแดนติดทะเล เลสเตอร์เชอร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางของอังกฤษ ชื่อของมณฑลมาจากชื่อเมืองเลสเตอร์ เลสเตอร์เชอร์มีเขตแดนติดกับดาร์บีเชอร์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ, น็อตติงแฮมเชอร์ทางเหนือ, รัทแลนด์ทางตะวันออก, วอริคเชอร์ทางตะวันตกเฉียงใต้, สตาฟฟอร์ดเชอร์ทางตะวันตก, ลิงคอล์นเชอร์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และ นอร์ทแธมตันเชอร์ทางตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และเลสเตอร์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด แอทเทนเบอเรอห์

ซอร์เดวิด เฟรเดอริค แอทเทนเบอเรอห์ (David Attenborough หรือ David Frederick Attenborough, OM, CH, CVO, CBE, FRS, FZS; เกิด: 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1926 - ปัจจุบัน) พิธีกรรายการโทรทัศน์และนักนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง แอทเทนเบอเรอห์เป็นพิธีกรรายการโทรทัศน์ทางด้านธรรมชาติวิทยามาเป็นเวลานานกว่า 60 ปี งานสำคัญคือการเขียนและการเสนอโปรแกรมชุด ““Life”” เก้าตอนร่วมกับแผนกธรรมชาติวิทยาของบีบีซี ซึ่งเป็นรายการสารคดีทางโทรทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลการสำรวจสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แอทเทนเบอเรอห์ มีความสนใจในชีววิทยาของสิ่งมีชีวิตมาตั้งแต่เด็ก รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และวิวัฒนาการ จึงได้สร้างภาพยตร์สารคดีของตัวเองขึ้นมาและได้ออกเผยแพร่หนึ่งชุด ซึ่งสารคดีชุดนั้นยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง ที่ในเวลาอีกหนึ่งปีต่อมากลายเป็นผู้ค้นพบรหัสทางพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในวงการวิทยาศาสตร์ แอทเทนเบอเรอห์ จบการศึกษาด้านธรรมชาติวิทยาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หลังจากจบการศึกษาแล้ว ได้เข้ารับราชการเป็นทหารเรือ ในกองทัพเรือ โดยประจำการที่ตอนเหนือของแคว้นเวลส์เป็นเวลานาน 2 ปี จากนั้นจึงเข้าทำงานที่สำนักพิมพ์หนังสือเด็ก จากนั้นในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเลสเตอร์และเดวิด แอทเทนเบอเรอห์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »