โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวัสตุ

ดัชนี มหาวัสตุ

มหาวัสตุอวทาน หรือ มหาวัสตุ (มหาวสฺตุ หมายถึง เหตุการณ์ครั้งสำคัญ หรือ เรื่องที่ยิ่งใหญ่) เป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญสูงสุดคัมภีร์หนึ่งในพุทธศาสนาภาษาสันสกฤต มีข้อความระบุในนิทานคาถาว่า มหาวัสตุเป็นพระวินัยปิฎกของนิกายโลโกตตรวาท (นิกายย่อยของสำนักมหาสังฆิกะ ซึ่งรุ่งเรืองในมัธยมประเทศของอินเดีย) แต่โดยสัดส่วนแล้ว มีเนื้อหาของคัมภีร์มีความเกี่ยวข้องกับพระวินัยที่เป็นเรื่องสิกขาบทของพระสงฆ์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นงานประพันธ์ประเภทชาดกและอวทาน และยังสอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยา ศีลธรรม และการเมืองการปกครอง เป็นต้น.

15 ความสัมพันธ์: ชาดกพระวินัยปิฎกภาษาบาลีภาษาสันสกฤตภาษาสันสกฤตผสมมหาวรรคมหาสังฆิกะศาสนาพุทธสรวาสติวาทสำเนียง เลื่อมใสทีปังกรคัมภีร์ประเทศอินเดียประเทศเนปาลโลโกตตรวาท

ชาดก

ก (-saजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก.

ใหม่!!: มหาวัสตุและชาดก · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: มหาวัสตุและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: มหาวัสตุและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: มหาวัสตุและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤตผสม

ภาษาสันสกฤตผสม (Hybrid Sanskrit) หรือ ภาษาสันสกฤตผสมในพุทธศาสนา (Buddhist Hybrid Sanskrit; BHS) เป็นภาษาที่พบในคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน มีลักษณะของภาษาสันสกฤตในรุ่นหลัง มีลำดับชั้นทางภาษาศาสตร์ถัดจากภาษาสันสกฤตแบบแผน จัดเป็นภาษาอินดิกยุคกลาง (Middle Indic language) คัมภีร์ที่แต่งด้วยภาษาสันสกฤตแบบผสมนี้ ได้แก่ ปรัชญาปารมิตา, และมหาวัสตุอวทาน หมวดหมู่:ภาษาสันสกฤต.

ใหม่!!: มหาวัสตุและภาษาสันสกฤตผสม · ดูเพิ่มเติม »

มหาวรรค

ัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: มหาวัสตุและมหาวรรค · ดูเพิ่มเติม »

มหาสังฆิกะ

มหาสังฆิกะ (महासांघिक mahāsāṃghika) เป็นนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนาที่แยกออกมาจากคณะสงฆ์ดั้งเดิมหรือฝ่ายเถรวาทเมื่อครั้งสังคายนาครั้งที่ 2 โดยแยกตัวออกไปทำสังคายนาต่างหาก ในระยะแรกนิกายนี้ไม่ได้รุ่งเรืองมาก เนื่องจากมีความขัดแย้งกับฝ่ายเถรวาทอย่างรุนแรง ต่อมาจึงมีอิทธิพลที่เมืองปาฏลีบุตร เวสาลี แคว้นมคธ ไปจนถึงอินเดียใต้ มีนิกายที่แยกออกไป 5 นิกาย คือ นิกายโคกุลิกวาท นิกายเอกัพโยหาริกวาท นิกายปัญญตติกวาท นิกายพหุสสุติกวาท และนิกายเจติยวาท และถือเป็นต้นกำเนิดของมหายานในปัจจุบัน.

ใหม่!!: มหาวัสตุและมหาสังฆิกะ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: มหาวัสตุและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สรวาสติวาท

แนวปฏิบัติของศาสนาพุทธแบบทิเบต โดยธรรมเนียมแล้วยึดถือตามวินัยของนิกายสรวาสติวาท นิกายสรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายหินยาน คัมภีร์ทีปวงศ์ระบุว่านิกายนี้แยกมาจากนิกายมหีศาสกะ ส่วนหลักฐานฝ่ายสันสกฤตกล่าวว่าแยกมาจากนิกายเถรวาทโดยตรง นิกายนี้แพร่หลายไปทั่วอินเดียภาคกลางและอินเดียภาคเหนือ รวมทั้งแพร่หลายไปสู่เอเชียกลางและจีนด้วย หลักธรรมของนิกายนี้เขียนด้วยภาษาสันสกฤต นิกายนี้ในญี่ปุ่นเรียกว่านิกายกุชา ผู้ให้กำเนิดนิกายนี้คือ พระอุปคุตอรหันตเจ้า ผู้ทำการปราบพยามารที่มารบกวนพิธีฉลองเจดีย์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลักธรรมโดยทั่วไปใกล้เคียงกับเถรวาท แต่ต่างกันที่ว่านิกายนี้ถือว่า ขันธ์ห้าเป็นของมีอยู่จริง(อัตตา) พระอรหันต์เสื่อมได้ สิ่งทั้งหลายมีอยู่และเป็นอยู่ในลักษณะสืบต่อ ความจริงมีสองระดับคือสมมติสัจจะ เป็นความจริงโดยสมมติ เป็นความจริงของชาวโลก จัดเป็นสังขตธรรม เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยอาศัยปัจจัย ความจริงอีกระดับหนึ่งคือปรมัตถสัจจะ เป็นสิ่งสมบูรณ์ในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น เรียกว่าอสังขตธรรม ได้แก่ พระนิพพาน นิกายนี้ถือตามอภิธรรมมหาวิภาษาที่เป็นอรรถกถาของอภิธรรมชญานปริสถานเป็นหลัก คัมภีร์ของนิกายนี้มีผู้แปลเป็นภาษาจีนและภาษาทิเบตไว้มาก พระภิกษุในทิเบตปัจจุบันถือวินัยของนิกายนี้.

ใหม่!!: มหาวัสตุและสรวาสติวาท · ดูเพิ่มเติม »

สำเนียง เลื่อมใส

Samniang Leurmsai สำเนียง เลื่อมใส รองศาสตราจารย์ ดร.

ใหม่!!: มหาวัสตุและสำเนียง เลื่อมใส · ดูเพิ่มเติม »

ทีปังกร

ทีปังกร อาจหมายถึง.

ใหม่!!: มหาวัสตุและทีปังกร · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์

ัมภีร์ (religious text; holy writ; holy books; scripture; scriptures) หมายถึง ตำราที่ยกย่องหรือนับถือว่าสำคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์ เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาวัสตุและคัมภีร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: มหาวัสตุและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: มหาวัสตุและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

โลโกตตรวาท

ลโกตตรวาท หรือ โลโกตตระ เป็นหนึ่งใน 20 นิกายในศาสนาพุทธยุคแรก เป็นนิกายฝ่ายอาจริยวาทที่แตกแขนงมาจากสำนักมหาสังฆิกะ นิกายโลโกตตรวาทเป็นนิกายที่มีกล่าวถึงเฉพาะหลักฐานทางฝ่ายภาษาสันสกฤตเท่านั้น ไม่มีกล่าวถึงในหลักฐานของฝ่ายบาลี เคยเจริญรุ่งเรืองอยู่ในมัธยมประเทศของประเทศอินเดีย นิกายโลโกตตรวาทเน้นหลักธรรมที่ว่า โลกียธรรมเท่านั้นที่ไร้แก่นสาร ส่วนโลกุตรธรรมเป็นของจริง กล่าวคือ ไม่มีสิ่งใดแท้จริงในโลกนี้ เว้นแต่ความว่าง (สุญญตา) สองอย่าง คือ ศูนฺยตาของบุคคล และศูนฺยตาของสรรพสิ่ง พระพุทธเจ้าคือผู้อยู่เหนือโลก (โลโกตตร: โลก + อุตฺตร) ชีวิตในชาติต่างๆ ของพระองค์ รวมทั้งการปรากฏให้เห็นทางกายภาพเป็นเพียงภาพเท่านั้น พระองค์มิใช่มนุษย์ธรรมดา ผู้ถือนิกายโลโกตตระ เรียกว่า โลโกตตรวาทิน คัมภีร์สำคัญที่หลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ของนิกายโลโกตตรวาท คือ คัมภีร์มหาวัสตุอวทาน ที่แต่งขึ้นด้วยภาษาสันสกฤตผสม.

ใหม่!!: มหาวัสตุและโลโกตตรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวัสตุอวทาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »