โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาประติมากรรม

ดัชนี มหาประติมากรรม

มหาประติมากรรม (Monumental sculpture) เป็นคำที่มักจะใช้ในประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาและการวิพากษ์งานศิลปะ แต่ยังเป็นความหมายที่ยังไม่ลงตัว มหาประติมากรรมรวมแนวคิดสองอย่างๆ หนึ่งคือการใช้สอย และ อีกอย่างหนึ่งคือขนาด และอาจจะรวมแนวคิดที่สามที่เป็นแนวคิดเชิงอัตวิสัย มหาประติมากรรมจะใช้กับประติมากรรมทั้งหมดที่มีขนาดใหญ่ รูปคนที่มีขนาดครึ่งหนึ่งของคนจริงขึ้นไปก็ถือกันว่าเป็นมหาประติมากรรมตามทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ศิลป์ และศิลปะร่วมสมัยก็ใช้สำหรับขนาดทั้งหมดของงานประติมากรรม ฉะนั้นมหาประติมากรรมจึงต่างจากจุลประติมากรรม, งานโลหะขนาดเล็ก, งานแกะสลักงาช้าง, บานพับภาพสองหรืองานในทำนองเดียวกัน นอกจากนั้นมหาประติมากรรมเป็นคำที่ใช้สำหรับการสร้างหรือส่วนประกอบของอนุสาวรีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้รวมทั้งหัวเสา, งานแกะนูนที่ติดกับผนังของสิ่งก่อสร้างจึงรวมอยู่ในบริบทนี้ด้วย แม้ว่าอาจจะเป็นงานชิ้นที่ไม่ใหญ่นัก ประโยชน์การใช้สอยของอนุสาวรีย์ก็เพื่อเป็นการระบุที่หมายของที่ฝังศพ หรือสำหรับเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือเป็นสิ่งที่ใช้ในการแสดงอำนาจของประมุขของประชาคม ทั้งนี้ก็รวมทั้งอนุสรณ์สถานของศาสนสถาน แนวคิดที่สามอาจจะเจาะจงเฉพาะงานชิ้นใดชิ้นหนึ่ง คำอธิบายของคำว่า “Monumental” ใน “A Dictionary of Art and Artists” โดย ปีเตอร์ และ ลินดา เมอร์เรย์ให้คำจำกัดความไว้ว่า.

8 ความสัมพันธ์: บานพับภาพอัตวิสัยอนุสรณ์สถานจุลประติมากรรมประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาประติมากรรมโมไอเกาะอีสเตอร์

บานพับภาพ

แซนไทน์ คริสต์ศตวรรษที่ 10 บานพับภาพ (triptych หรือ polytych) คือจิตรกรรมที่วาดหรือแกะบนแผ่นไม้แบ่งเป็นบาน ๆ ซึ่งอาจจะเป็นสองบาน สามบาน หรือมากกว่านั้นก็ได้ ที่เชื่อมด้วยกันและพับได้.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและบานพับภาพ · ดูเพิ่มเติม »

อัตวิสัย

อัตวิสัย หรือ จิตวิสัย (subjectivity) หมายถึงมุมมองหรือความคิดเห็นของบุคคล โดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึก ความเชื่อ หรือความต้องการ อาจหมายถึงแนวความคิดส่วนบุคคลที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งตรงข้ามกับความรู้และความเชื่อที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง ในทางปรัชญา คำนี้มักมีความหมายตรงข้ามกับ ปรวิสัย อัตวิสัยเป็นทัศนะที่มีความเชื่อว่า การมีอยู่ หรือ ความจริงของสิ่งสิ่งหนึ่งอยู่กับตัวเราเองเป็นคนตัดสิน เช่น คุณได้กลิ่นน้ำหอมยี่ห้อนี้แล้วหอม แต่ในคนอื่นเมื่อได้กลิ่นแล้วเหม็นก็ได้.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

อนุสรณ์สถาน

อนุสรณ์สถาน อนุสรณ์สถานหรืออนุสาวรีย์ คือสถานที่ หรืออาคาร ซึ่งก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ ระลึกถึงเหตุการณ์ หรือคุณความดีของบุคคล ในอดีต อนุสรณ์สถาน มักจะก่อสร้าง เป็น อาคารซึ่งมักใช้เป็นอาคารอเนกประสงค์ เช่นอาจมี พิพิธภัณฑ์ ห้องประชุม ลานอเนกประสงค์ ห้องจัดนิทรรศการ ส่วนประกอบพิธี หรือบริเวณบรรจุอัฐิ เป็นต้น.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและอนุสรณ์สถาน · ดูเพิ่มเติม »

จุลประติมากรรม

ลประติมากรรมพหุรงค์ของนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์จากคริสต์ศตวรรษที่ 18 จุลประติมากรรม (Figurine) “Figurine” เป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า “Figure” ที่หมายถึงประติมากรรมขนาดเล็ก (Statuette) ในรูปของมนุษย์, เทพ หรือ สัตว์ จุลประติมากรรมจะเป็นได้ทั้งสัจศิลป์ หรือ สัญลักษณศิลป์ (icon) ขึ้นอยู่กับความชำนาญ/ความสามารถ หรือความตั้งใจของผู้สร้าง งานจุลประติมากรรมในสมัยแรกทำจากหินหรือดินเหนียว แต่เมื่อมาถึงสมัยต่อมาก็อาจจะเป็นเซอรามิค, โลหะ, แก้ว, ไม้ หรือ พลาสติกก็ได้ จุลรูปที่มีส่วนที่เคลื่อนไหวได้เช่นแขน หรือ ขามักจะเรียกว่าตุ๊กตา, หุ่นจัดท่า หรือ action figure; หรือ หุ่นยนต์ หรือ หุ่นกล (Automaton) ถ้าเคลื่อนไหวเองได้ จุลประติมากรรม หรือ จุลรูป บางครั้งก็ใช้ใน เกมกระดาน เช่น หมากรุกเป็นต้น.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและจุลประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา

วีนัสเดอมิโลที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา (Art history) ตามที่เข้าใจกันในประวัติศาสตร์หมายถึงสาขาวิชาทางด้านงานศิลปะที่เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และบริบทของลักษณะ (stylistic contexts) เช่น ประเภทของศิลปะ (genre), ลักษณะการออกแบบ (design), รูปทรง (format) และ การออกมาเป็นรูปร่าง (look) ซึ่งรวมทั้งศิลปะสาขาหลักที่ได้แก่จิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรม และรวมทั้งสาขาย่อยเช่นเซรามิค เฟอร์นิเจอร์ และศิลปะการตกแต่งอื่นๆ หลักของสาขาวิชานี้มาจากงานชิ้นสำคัญๆ ที่สร้างโดยศิลปินตะวันตก และกฎว่าด้วยศิลปะตะวันตกก็ยังเป็นแกนสำคัญในการเลือกสรรงานที่ได้รับการบรรยายในตำราประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยามาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 เมื่อมีการพยายามที่จะวางความหมายของสาขาวิชานี้ใหม่ให้กว้างขึ้น เพื่อรวมศิลปะที่ไม่ใช่ศิลปะตะวันตก, ศิลปะที่สร้างโดยศิลปินสตรี และศิลปะพื้นบ้านเข้าด้วย คำว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา” (หรือบางครั้งก็เรียกว่า “ประวัติศาสตร์ศิลป์”) ครอบคลุมวิธีการศึกษาจักษุศิลป์หลายวิธี ที่โดยทั่วไปหมายถึงงานศิลปะ และ งานสถาปัตยกรรม สาขาของการศึกษาต่างๆ บางครั้งก็คาบกันเช่นที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์เอิร์นสท กอมบริค ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า “สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลป์ก็คล้ายกับบริเวณกอลของจูเลียส ซีซาร์ที่แบ่งออกเป็นสามส่วน อาศัยอยู่โดยชนสามเผ่าพันธุ์ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน: (1) ผู้ที่เป็นคอศิลป์ (connoisseurs), (2) ผู้ที่เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และ (3) ผู้ที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์” ในฐานะที่เป็นศาสตร์สาขาหนึ่งประวัติศาสตร์ศิลป์ต่างจากการวิพากษ์ศิลปะที่จะเน้นการสร้างพื้นฐานของคุณค่าของศิลปะโดยการเปรียบเทียบกับงานชิ้นอื่นที่เปรียบเทียบกันได้ทางด้านลักษณะ หรือการหันหลังให้แก่ลักษณะ หรือขบวนการศิลปะทั้งหมดที่พิจารณา และต่างจาก “ทฤษฎีศิลป์” (art theory) หรือ “ปรัชญาศิลป์” (philosophy of art) ที่คำนึงถึงธรรมชาติพื้นฐานของศิลปะ สาขาย่อยสาขาหนึ่งของการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์คือวิชาสุนทรียศาสตร์ (aesthetics) ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสุนทรียปรัชญา (Sublime) และการระบุหัวใจของสิ่งที่ได้ชื่อว่าเป็นสิ่งที่มีความเป็นสุนทรีย์ แต่ตามทฤษฎีแล้วประวัติศาสตร์ศิลป์ไม่ใช่สิ่งที่กล่าวมาเพราะนักประวัติศาสตร์ศิลป์ใช้การวิจัยโดยวิธีประวัติศาสตร์ (historical method) ในการตอบคำถาม “ศิลปินสร้างงานขึ้นมาได้อย่างไร”, “ใครเป็นผู้อุปถัมภ์”, “ใครเป็นครู”, “ใครคือผู้ชมงาน”, “ใครเป็นผู้ได้รับอิทธิพลจากลักษณะงาน”, “ประวัติศาสตร์ตอนใดที่มีอิทธิพลต่องาน” และ “งานที่สร้างมีผลทางเหตุการณ์ทางศิลปะ การเมือง และ สังคมอย่างใด” แต่กระนั้นประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยาก็มิได้หมายความว่าเป็นการศึกษาที่เกี่ยวกับการติดตามประวัติของงานเท่านั้น อันที่จริงแล้วนักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะวางพื้นฐานมาตรการการศึกษาโดยการวิเคราะห์งานแต่ละชิ้น และพยายามตอบปัญหาต่างๆ เช่น “อะไรคือสิ่งสำคัญของลักษณะของสิ่งที่ศึกษา”, “ความหมายใดที่งานชิ้นนี้พยายามสื่อ”, “งานชิ้นนี้มีผลต่อการดูอย่างใด”, “ศิลปินบรรลุจุดประสงค์ที่ต้องการหรือไม่”, “งานที่ศึกษาประกอบด้วยสัญลักษณ์อะไรบ้าง” และ “งานที่ศึกษาเป็นงานที่ออกนอกประเด็นหรือไม่”.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์วิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและประติมากรรม · ดูเพิ่มเติม »

โมไอ

รูปปั้นโมไอจำนวน 15 ตัว ที่อาฮูโตงารีกี (Ahu Tongariki) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะ หันหลังให้ทะเล ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยนักโบราณคดีชื่อ เกลาดีโอ กริสตีโน (Claudio Cristino) โมไอ (ราปานูอี: mo‘ai; moái) คือ รูปปั้นหินซึ่งมีรูปร่างคล้ายมนุษย์และส่วนศีรษะมีขนาดใหญ่เด่นชัด โมไอถูกพบมากกว่า 600 ตัว กระจายอยู่ทั่วเกาะอีสเตอร์ อุทยานแห่งชาติราปานูอี ประเทศชิลี โมไอเกือบทั้งหมดที่พบนั้นถูกแกะสลักมาจากหินก้อนเดียว แต่บางตัวก็มีของประดับลักษณะคล้ายหมวกหรือมวยผมซึ่งเรียกว่า "ปูเกา" (pukao) เป็นชิ้นต่างหากอยู่บนศีรษะ โมไอเกือบทั้งหมดถูกแกะสลักมาจากเหมืองหินที่ปล่องภูเขาไฟราโนรารากู (Rano Raraku) ซึ่งเป็นที่ที่พบโมไออยู่กว่า 400 ตัว อยู่ในกระบวนการแกะสลักซึ่งใกล้เสร็จสมบูรณ์ จากการค้นพบรูปปั้นที่ยังแกะสลักอยู่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ นั้น ทำให้มีการสันนิษฐานว่าเหมืองหินได้ถูกทิ้งร้างไปอย่างกะทันหัน นอกจากนั้นในการค้นพบ โมไอเกือบทั้งหมดอยู่ในสภาพล้มนอน ซึ่งเชื่อว่าชาวพื้นเมืองบนเกาะเป็นผู้ทำให้มันล้ม ลักษณะที่เด่นชัดของโมไอ คือ ส่วนหัว แต่ก็มีโมไอหลายตัวซึ่งมีส่วนหัวไหล่, แขน และลำตัว ซึ่งเป็นโมไอที่พบหลังจากถูกฝังมานานนับปี ความหมายและวัตถุประสงค์ของการสร้างโมไอนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดและมีการสันนิษฐานกันไปต่าง ๆ นานา ข้อสันนิษฐานที่แพร่หลายมากที่สุดข้อหนึ่ง คือ รูปปั้นโมไอถูกแกะสลักโดยชาวโปลินีเซียซึ่งอาศัยอยู่บนเกาะนี้เมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว ข้อสันนิษฐานนี้เชื่อว่า พวกโปลินีเซียอาจสร้างโมไอขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ หรืออาจจะเป็นผู้ซึ่งมีความสำคัญ ณ สมัยนั้น หรืออาจจะเป็นสัญลักษณ์แสดงสถานะของครอบครัว เห็นได้ชัดว่าการสร้างโมไอ (ขนาดทั่วไปสูงประมาณ 3.5 เมตร หนัก 20 ตัน) นั้นต้องลงทุนลงแรงและใช้เวลาเป็นอย่างมาก หลังจากสร้างเสร็จแล้วยังต้องเคลื่อนย้ายรูปปั้นไปยังตำแหน่งที่ต้องการ การขนย้ายโมไอซึ่งหนักและใหญ่นั้นทำอย่างไรก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยชาวพื้นเมืองของเกาะนั้นมีความเชื่อว่า โมไอนั้นเดินได้เอง ในตำนานของเกาะนั้นกล่าวถึงหัวหน้าเผ่าซึ่งเสาะหาที่ตั้งบ้านใหม่ และเขาได้เลือกหมู่เกาะอีสเตอร์ หลังจากที่หัวหน้าเผ่าตายไป เกาะก็ได้ถูกแบ่งให้เหล่าลูกชายของเขาเพื่อให้เป็นหัวหน้าเผ่าใหม่ เมื่อหัวหน้าเผ่าคนใดตายไปก็มีการนำโมไอไปตั้งไว้ ณ สุสาน ชาวเกาะทั้งหลายเชื่อว่ารูปปั้นโมไอจะรักษาจิตวิญญาณของหัวหน้าเผ่าเหล่านั้นไว้ เพื่อให้นำสิ่งดี ๆ มาสู่เกาะ เช่น ฝนตก พืชพรรณสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ตำนานนี้อาจมีการบิดเบือนไปจากความจริงเนื่องจากได้มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและโมไอ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะอีสเตอร์

กาะอีสเตอร์ (Easter Island); เกาะราปานูอี (ราปานูอี: Rapa Nui) หรือ เกาะปัสกวา (Isla de Pascua) ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ในการปกครองของประเทศชิลี ตัวเกาะห่างจากฝั่งประเทศชิลีไปทางทิศตะวันตกกว่า 3,600 กิโลเมตร เกาะที่ใกล้เกาะอีสเตอร์มากที่สุดอยู่ห่างฝั่งจากถึง 2,000 กิโลเมตร จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อันโดดเดี่ยวแห่งหนึ่งของโลก ลักษณะของเกาะมีขนาดเล็ก มีพื้นที่เพียง 160 ตารางกิโลเมตร มีความยาว 25 กิโลเมตร เกาะอีสเตอร.

ใหม่!!: มหาประติมากรรมและเกาะอีสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Monumental sculpture

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »