โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูเขาไฟเมานาเคอา

ดัชนี ภูเขาไฟเมานาเคอา

มานาเคอา เมื่อมองจาก โคฮาลา แผนที่ของเกาะฮาวาย กล้องโทรทรรศน์ Subaru, Keck I, II และกล้องอินฟราเรดของนาซา ภูเขาไฟเมานาเคอา (Mauna Kea) เป็นภูเขาไฟที่สงบแล้ว ตั้งอยู่ในรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา เป็นภูเขาหนึ่งในห้าลูกที่ประกอบกันเป็นเกาะฮาวาย โดยภูเขาอีกสี่ลูก คือ ภูเขาไฟโคฮาลา ภูเขาไฟฮูอาลาไล ภูเขาไฟเมานาโลอา ภูเขาไฟคีเลาเวอา เมานาเคอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 13,796 ฟุต หรือ 4,205 เมตร สูงที่สุดในเกาะฮาวาย โดยสูงกว่ายอดเขาเมานาโลอาประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) เมานาเคอามีความสูงวัดจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกอีกประมาณ 19,000 ฟุต (5,800 เมตร) เมื่อรวมกันแล้วเมานาเคอามีความสูงมากกว่า 33,000 ฟุต (10,000 เมตร) ซึ่งสูงที่สุดในโลก และสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมานาเคอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า ภูเขาสีขาว เนื่องจากมีหิมะปกคลุมยอดเขาตลอดทั้งปี บนยอดเขามีทัศนวิสัยที่ดี เหมาะสำหรับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ โดยมีกล้องดูดาวอยู่บนยอดเขาถึง 13 กล้องจากหลายประเทศ รวมทั้งหอดูดาวเคก 1 และ 2 (W.M.Keck Observatory) และกล้องวิทยุโทรทรรศน์หนึ่งในสิบกล้อง ที่ประกอบกันเป็น Very Long Baseline Array (VLBA) ของหอดูดาววิทยุแห่งชาติ (National Radio Astronomy Observatory - NRAO) สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เกิดแผ่นดินไหววัดความสั่นสะเทือนได้ 6.7 มาตราริกเตอร์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้องดูดาวจำนวนหนึ่งบนยอ.

16 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2549ภาษาฮาวายภูเขาไฟภูเขาไฟคีเลาเวอาภูเขาไฟเมานาโลอามหาสมุทรแปซิฟิกมาตราริกเตอร์ยอดเขาเอเวอเรสต์รัฐฮาวายสหรัฐหิมะดาราศาสตร์นาซาเกาะฮาวายVery Long Baseline Array15 ตุลาคม

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮาวาย

ษาฮาวาย (Hawaiian: Ōlelo Hawaii) เป็นภาษาในกลุ่มภาษาโพลินีเซียซึ่งได้ชื่อภาษามาจากเกาะฮาวาย เกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนตอนเหนือ ภาษาฮาวายและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของมลรัฐฮาวาย พระเจ้าคาเมฮาเมฮาที่ 3ได้สถาปนารัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฮาวายครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและภาษาฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและภูเขาไฟ · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟคีเลาเวอา

ูเขาไฟคีเลาเวอา เป็นภูเขาไฟรูปโล่และเป็นภูเขาไฟมีพลังในเกาะฮาวาย เป็นหนึ่งในภูเขาไฟ 5 ลูกที่ประกอบกันเป็นเกาะฮาวาย (อีก 4 ลูกมีเมานาโลอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไล) ตั้งอยู่แนวชานฝั่งทางตอนใต้ของเกาะมีอายุระหว่าง 300,000 ถึง 600,000 ปี ยอดของภูเขาไฟลูกนี้โผล่พ้นระดับน้ำทะเลเมื่อประมาณ 100,000 ปีก่อน คีเลาเวอาเป็นภูเขาไฟที่อายุน้อยที่สุดเป็นอันสองของจุดร้อนฮาวายและเป็นจุดปะทุของเทือกเขาใต้ทะเลฮาวาย–เอมเพอเรอะ ในอดีตภูเขาไฟลูกนี้ไม่มีความโดดเด่นด้านภูมิประเทศและกิจกรรมในอดีตต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นพร้อมกับภูเขาไฟเมานาโลอาทำให้คิดคีเลาเวอาอาจเป็นแอ่งภูเขาไฟขนาดเล็กของภูเขาไฟที่ใหญ่กว่า โครงสร้างของคีเลาเวอานั้นมีขนาดใหญ่แอ่งภูเขาไฟบนยอดของมันเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานและมีเขตเขาทรุด 2 แห่งที่ยังเคลื่อนไหวโดยที่หนึ่งแผ่ขยายเป็นระยะทาง 125 ก.ม.ทางตะวันออกส่วนอีกที่ 35 ก.ม.ทางตะวันตก ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เกิดจากรอยเลื่อนที่ยังคงมีพลังความลึกของเขาทรุดจะลึกลงเฉลี่ย 2 ถึง 20 มม.ต่อปี คีเลาเวอามีการปะทุขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต..

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและภูเขาไฟคีเลาเวอา · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาไฟเมานาโลอา

ูเขาไฟเมานาโลอา (Mauna Loa) เป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในฮาวาย สหรัฐอเมริกา จัดเป็นภูเขาไฟมีพลัง เกิดการระเบิดทุกๆ 3 ปีครึ่ง การระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2527 เมานาโลอาเป็นภาษาฮาวาย แปลว่า Long Mountain เป็นภูเขาไฟที่มีปริมาตรประมาณ 18,000 คิวบิกไมล์ (75,000 km³) เมื่อประกอบกับภูเขาไฟอีก 4 ลูกคือคีเลาเวอา เมานาเคอา โคฮาลา ฮูอาลาไลรวมเป็นเกาะฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอามีเนื่อที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติฮาวาย ภูเขาไฟเมานาโลอาจะระเบิดทุก ๆ 3 ปีครึ่ง ยอดเขาเมานาโลอามีความสูงวัดจากระดับน้ำทะเล 4,170 เมตร เป็นอันดับสองของเกาะฮาวายรองจากยอดเขาเมานาเคอาซึ่งสูงกว่าประมาณ 120 ฟุต (37 เมตร) แต่เมื่อวัดความสูงจากฐานส่วนที่จมอยู่ใต้ทะเลอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับที่สูงที่สุดในโลกคือจะสูงกว่า 9 กิโลมตรและสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและภูเขาไฟเมานาโลอา · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มาตราริกเตอร์

มาตราริกเตอร์ (Richter magnitude scale) หรือที่รู้จักกันว่า มาตราท้องถิ่น (local magnitude scale; ML) เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อบอกปริมาณของพลังงานแผ่นดินไหวที่ปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวครั้งหนึ่ง มันเป็นมาตราส่วนเชิงลอการิทึมฐานสิบ ซึ่งสามารถคำนวณได้จากลอการิทึมของแอมพลิจูดการสั่นของการกระจัดที่มีค่ามากที่สุดจากศูนย์บนเครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหวบางประเภท (Wood–Anderson torsion) ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าได้ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์จะมีแอพลิจูดการสั่นมากเป็น 10 เท่าของแผ่นดินไหวที่วัดค่าได้ 4.0 ตามมาตราริกเตอร์ ขีดจำกัดบนที่มีประสิทธิภาพของการวัดตามมาตราริกเตอร์นี้ควรต่ำกว่า 9 และต่ำกว่า 10 สำหรับมาตราโมเมนต์แมกนิจูด เมื่อตรวจวัดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ปัจจุบันมาตราริกเตอร์ถูกแทนที่ด้วยมาตราขนาดโมเมนต์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่จะให้ค่าที่โดยทั่วไปแล้วจะมีค่าใกล้เคียงกันสำหรับแผ่นดินไหวขนาดกลาง (3-7 แมกนิจูด) แต่ที่ไม่เหมือนกับมาตราริกเตอร์คือ มาตราโมเมนต์แมกนิจูดจะรายงานสมบัติพื้นฐานของแผ่นดินไหวจากข้อมูลเครื่องตรวจวัด แทนที่จะเป็นการรายงานข้อมูลเครื่องตรวจวัด ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ในแผ่นดินไหวทุกครั้ง และค่าที่ได้จะไม่สมบูรณ์ในแผ่นดินไหวความรุนแรงสูง เนื่องจากมาตราโมเมนต์แมกนิจูดมักจะให้ค่าที่ใกล้เคียงกันกับมาตราริกเตอร์ แมกนิจูดของแผ่นดินไหวที่ได้รับรายงานในสื่อมวลชนจึงมักจะรายงานโดยไม่ระบุว่าเป็นการวัดความรุนแรงตามมาตราใด พลังงานที่ปลดปล่อยออกมาของแผ่นดินไหว ซึ่งสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับพลังทำลายล้างของมัน สามารถวัดได้จาก 3/2 เท่าของแอมพลิจูดการสั่น ดังนั้น แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน 1 แมกนิจูดจึงมีค่าเท่ากับพหุคูณของ 31.6 (.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและมาตราริกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและยอดเขาเอเวอเรสต์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฮาวาย

รัฐฮาวาย (Hawaii,, ภาษาฮาวาย: Hawaii) เป็นรัฐในสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่ในหมู่เกาะฮาวายในมหาสมุทรแปซิฟิก ฮาวายได้รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับสุดท้ายคือลำดับที่ 50 ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) โดยฮาวายตั้งห่างจากชายฝั่งสหรัฐอเมริกาประมาณ 3,700 กม.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและรัฐฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

หิมะ

หิมะ เป็นรูปหนึ่งของการตกลงมาของน้ำจากบรรยากาศ อยู่ในรูปของผลึกน้ำแข็งจำนวนมากเรียก เกล็ดหิมะ จับตัวรวมกันเป็นก้อน ดังนั้นหิมะจึงมีเนื้อที่หยาบเป็นเกล็ด และมีโครงสร้างที่กลวงจึงมีความนุ่มเมื่อสัมผัส หิมะนั้นเกิดจากละอองน้ำเกิดการเกาะรวมตัวกันในชั้นบรรยากาศที่อุณหภูมิต่ำว่า 0 °C (32 °F) ทำให้เกิดการแข็งตัวเป็นผลึกน้ำแข็ง และตกลงมา นอกจากนี้หิมะยังสามารถผลิตได้จากเครื่องสร้างหิมะเทียม (snow cannon).

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและหิมะ · ดูเพิ่มเติม »

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ คำขวัญขององค์การนาซาคือ "เพื่อประโยชน์ของคนทุกคน" (For the benefit of all).

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและนาซา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะฮาวาย

ที่ตั้งของหมู่เกาะฮาวายในรัฐฮาวาย เกาะฮาวาย หรือเรียกว่า เกาะใหญ่ เป็นเกาะใหญ่สุดในหมู่เกาะฮาวาย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้สุด มีพื้นที่ 10,430 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าทุกเกาะในกลุ่มเกาะฮาวายรวมกัน และเป็นเกาะใหญ่สุดในสหรัฐอเมริกา เกาะนี้มีขอบเขตเทียบเท่าเคาน์ตีฮาวายในรัฐฮาวาย เกาะฮาวายรู้จักกันในชื่อ "เกาะใหญ่" เพื่อลดความสับสนระหว่างชื่อเกาะกับรัฐ หมวดหมู่:หมู่เกาะฮาวาย.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและเกาะฮาวาย · ดูเพิ่มเติม »

Very Long Baseline Array

ที่ตั้งของ VLBA Very Long Baseline Array หรือ VLBA เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยจานรับสัญญาณโทรทรรศน์วิทยุ จำนวน 10 จาน ตั้งอยู่ใน 10 เมืองของสหรัฐอเมริกา จานรับสัญญาณแต่ละจานมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เมตร หนัก 240 ตัน ควบคุมทางไกลจากศูนย์ควบคุม The Array Operations Center (AOC) ที่เมืองโซคอร์โร รัฐนิวเม็กซิโก (ที่เดียวกับศูนย์ควบคุม Very Large Array) VLBA เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 แล้วเสร็จเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 เริ่มปฏิบัติงานพร้อมกันทั้งสิบกล้องเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 ก่อสร้างด้วยงบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาที่ใหญ่ที่สุดในโลก เทียบเท่ากับกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8,611 กิโลเมตร จานรับสัญญาณของ VLBA ตั้งอยู่ที่ จานรับสัญญาณที่ St. Croix, U.S. Virgin Islands.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและVery Long Baseline Array · ดูเพิ่มเติม »

15 ตุลาคม

วันที่ 15 ตุลาคม เป็นวันที่ 288 ของปี (วันที่ 289 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 77 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ภูเขาไฟเมานาเคอาและ15 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mauna Keaภูเขาไฟเมานาคียอดเขาเมานาคี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »