โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

ดัชนี ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น

ูมิอากาศแบบร้อนชื้น เป็นลักษณะภูมิอากาศที่พบในเขตร้อน และมีเพียงบางแห่งที่อยู่นอกเขตร้อน แต่มีลักษณะภูมิอากาศแบบนี้ ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนนั้น ภูมิอากาศแบบนี้เป็นภูมิอากาศซึ่งไม่แห้งแล้ง มีความชื้นสูง โดยตลอดสิบสองเดือนมีอุณหภูมิเฉลี่ยอย่างต่ำ อุณหภูมิในแต่ละเดือนขึ้นอยู่กับปริมาณหยาดน้ำฟ้า และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเท่าไรนัก ต่างกับพื้นที่ซึ่งอยู่นอกเขตร้อนซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างมากในแต่ละฤดู.

8 ความสัมพันธ์: การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนภูมิอากาศภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นหยาดน้ำฟ้าความชื้นเขตร้อน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน (Köppen climate classification) เป็นหนึ่งในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศที่ใช้กันกว้างขวางที่สุด วลาดิเมียร์ เคิปเปนเป็นผู้เผยแพร่ระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2427 และการแก้ไขเล็กน้อยโดยเคิปเปนเองตามมาในปี พ.ศ. 2461 และ พ.ศ. 2479 ภายหลังนักกาลวิทยาชาวเยอรมนีนามว่ารูดอล์ฟ ไกเกอร์ ร่วมมือกับเคิปเปนเปลี่ยนแปลงระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศนี้ บางครั้งจึงสามารถเรียกได้ว่าการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนและไกเกอร์ (Köppen–Geiger climate classification system).

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศ

การแบ่งประเภทของภูมิอากาศทั่วโลก ภูมิอากาศ (climate) เป็นการวัดอย่างหนึ่งของรูปแบบค่าเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ หยาดน้ำฟ้า(ฝน ลูกเห็บ หิมะ) ปริมาณอนุภาคในบรรยากาศ และตัวแปรทางอุตุนิยมวิทยาอื่นในภูมิภาคหนึ่งๆในช่วงระยะเวลานาน ภูมิอากาศแตกต่างจากลมฟ้าอากาศ (weather) ที่นำเสนอสภาพขององค์ประกอบเหล่านี้และการแปรผันในเวลาสั้นๆในพื้นที่ที่กำหนด ภูมิอากาศของภูมิภาคหนึ่งเกิดจาก "ระบบภูมิอากาศ" ซึ่งประกอบด้วยห้าองค์ประกอบ ได้แก่ บรรยากาศ (atmosphere) อุทกบรรยากาศ (hydrosphere) เยือกแข็ง (cryosphere) เปลือกโลก (lithosphere) และ ชีวมณฑล (biosphere).

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและภูมิอากาศ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน

ูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ในการแบ่งเขตภูมิอากาศ ภูมิอากาศลักษณะนี้ค่อนข้างพบได้น้อยบนโลก และได้รับการจัดแบ่งแทนด้วยตัวอักษร "Am" ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากกว่า 18 °C ในทุก ๆ เดือน และมีฤดูฝนและฤดูแล้งเหมือนภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เดือนที่แห้งแล้งที่สุดในภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนนั้นมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร ภูมิอากาศแบบนี้นั้นดูเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในแต่ละช่วงของปีน้อยกว่าภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา ภูมิอากาศลักษณะนี้มีฤดูที่แล้งที่สุดอยู้ในช่วงวันเหมายันหรือหลังจากนั้น.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา

ูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา หรือ ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน เป็นประเภทของภูมิอากาศซึ่งได้รับการแบ่งประเภทตามระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปนให้แทนด้วยตัวอักษร "Aw" และ "As" ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนามีอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนมากกว่า 18°C ในทุก ๆ เดือนของปี และสามารถกล่าวได้ว่ามีฤดูแล้ง โดยฤดูที่แล้งที่สุดมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร โดยภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนานี้มีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน และมีฤดูแล้งที่มากกว่าอย่างเห็นได้ชั.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น

ูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร เป็นภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมักพบบริเวณแถบบเส้นศูนย์สูตร ประเทศที่มีภูมิอากาศแบบนี้มักจะมีป่าดิบชื้น ในระบบการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน เขตภูมิอากาศนี้แทนด้วยอักษร Af.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น · ดูเพิ่มเติม »

หยาดน้ำฟ้า

ในทางอุตุนิยมวิทยา หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นปรากฏการณ์ของน้ำในอากาศ (hydrometeor) ประเภทหนึ่ง ซึ่งหมายความถึงผลิตภัณฑ์ใด ๆ อันเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำในบรรยากาศและตกลงมาด้วยอิทธิพลของแรงโน้มถ่วง รูปแบบหลักของหยาดน้ำฟ้าประกอบด้วยฝนละออง (drizzle), ฝน, ฝนน้ำแข็ง (sleet), หิมะ, ลูกปรายหิมะ (graupel) และลูกเห็บ หยาดน้ำฟ้าเกิดขึ้นเมื่อบรรยากาศเหนือพื้นดินบริเวณหนึ่งอิ่มตัวด้วยไอน้ำ จากนั้นน้ำเกิดการควบแน่นและตกลงมา หมอกและหมอกน้ำค้างจึงไม่จัดเป็นหยาดน้ำฟ้า มีอยู่สองกระบวนการที่อากาศอิ่มตัวได้ คือ อากาศได้รับความเย็นหรือเพิ่มไอน้ำเข้าไปในอากาศ ซึ่งสองกระบวนการนี้อาจเกิดร่วมกันได้ โดยทั่วไป หยาดน้ำฟ้าจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน แต่ยกเว้นน้ำโปรยฐานเมฆ (virga) ซึ่งระเหยไปหมดก่อนตกถึงพื้น หยาดน้ำฟ้าก่อตัวขึ้นเป็นหยาดเล็กที่รวมกันโดยชนกับหยดฝนหรือผลึกน้ำแข็งอื่นภายในเมฆ หยดฝนที่ตกลงมามีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่รูปทรงคล้ายแพนเค้กกลมแป้นสำหรับหยดขนาดใหญ่ ถึงทรงกลมเล็กสำหรับหยดขนาดเล็ก เกล็ดหิมะ (snowflake) มีหลายรูปทรงและแบบ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศที่เกล็ดหิมะเคลื่อนผ่านก่อนตกสู่พื้น หิมะและลูกปรายหิมะจะเกิดเฉพาะเมื่ออุณหภูมิใกล้ผิวดินใกล้หรือต่ำกว่าจุดเยือกแข็งของน้ำ ส่วนลูกเห็บสามารถเกิดขึ้นในเขตอุณหภูมิอบอุ่นได้จากกระบวนการก่อตัว โดยรวมหยาดน้ำฟ้าเกิดจากความชื้นเหนือแนวปะทะ (weather front) เป็นหลัก หากมีความชื้นเพียงพอและมีการเคลื่อนที่ขึ้น หยาดน้ำฟ้าจะตกจากมวลอากาศร้อนขึ้นทางแนวดิ่ง (convective cloud) เช่น คิวมูโลนิมบัส และสามารถก่อตัวเป็นบริเวณแถบฝนแคบ ๆ ได้.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและหยาดน้ำฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

ความชื้น

ความชื้น (humidity) เป็นคำใช้เรียกปริมาณไอน้ำในอากาศ อย่างเป็นทางการ อากาศชื้นเป็นสารผสมระหว่างไอน้ำกับองค์ประกอบอื่นของอากาศ โดยความชื้นนิยามในแง่ของปริมาณน้ำในสารผสมนี้ เรียกว่า ความชื้นสัมบูรณ์ ในการใช้ประจำวัน คำว่า "ความชื้น" มักหมายถึง ความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า โดยแสดงเป็นร้อยละในการพยากรณ์อากาศและในเครื่องวัดความชื้นอากาศครัวเรือน ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นการวัดความชื้นสัมบูรณ์ปัจจุบันเทียบกับค่าสูงสุด ความชื้นจำเพาะ (specific humidity) เป็นอัตราส่วนของปริมาณไอน้ำในสารผสมกับปริมาณอากาศทั้งหมด (อิงมวล) ปริมาณไอน้ำในสารผสมสามารถวัดได้โดยมวลต่อปริมาตรหรือเป็นความดันย่อย (partial pressure) ขึ้นอยู่กับการใช้ ในทางอุตุนิยมวิทยา ความชื้นบ่งชี้ความน่าจะเกิดหยาดน้ำฟ้า น้ำค้างหรือหมอก ความชื้นสัมพัทธ์ที่สูงลดประสิทธิภาพการหลั่งเหงื่อเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย เพราะไปลดอัตราการระเหยความชื้นจากผิวหนัง ปรากฏการณ์นี้คำนวณในรูปตารางดัชนีความร้อน ซึ่งใช้ระหว่างสภาพอากาศฤดูร้อน นอกจากความชื้นในอากาศแล้ว ความชื้น (moisture) ยังหมายถึง การมีของเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำ ตัวอย่างเช่น น้ำปริมาณน้อยอาจพบได้ในอากาศ ในอาหารและในผลิตภัณฑ์ทั้งหลาย หมวดหมู่:ภูมิอากาศ หมวดหมู่:ปริมาณทางกายภาพ หมวดหมู่:อุณหพลศาสตร์.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและความชื้น · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »