เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ภาษาอีบาไฮ

ดัชนี ภาษาอีบาไฮ

ภาษาอีบาไฮ (Ibajaynon) เป็นกลุ่มภาษาวิซายัน มีผู้พูดราว 39,643 คน ใน 36 หมู่บ้าน ในบริเวณแผ่นดินใหญ่ของเมืองอีบาไฮ จังหวัดอักลัน มีรากศัพท์ใกล้เคียงกับภาษาอักลันร้อยละ 93% มีทั้งการจัดจำแนกให้เป็นภาษาพี่น้องที่ใกล้ชิดมากหรือเป็นภาษาถิ่นของภาษาอกลานอน จุดแตกต่างที่สำคัญคือภาษาอีบาไฮมีคำที่เป็นรูปแบบสั้นของคำในภาษาอักลัน อีบาไฮ.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลางกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซียกลุ่มภาษาวิซายันภาษาอักลันอักษรละตินอักษรไบบายินจังหวัดอักลัน

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง

กลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดในฟิลิปปินส์ กระจายทั่วไปในเกาะลูซอนตอนใต้ หมู่เกาะวิซายัส เกาะมินดาเนา และหมู่เกาะซูลู ตัวอย่างภาษาในกลุ่มนี้ได้แก่ ภาษาตากาล็อก ภาษาเซบัวโน ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาบิโกล ภาษาวาไร-วาไร ภาษากินาไรอา ภาษาเตาซุก และอื่ นๆ หมวดหมู่:ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน.

ดู ภาษาอีบาไฮและกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย เป็นกลุ่มย่อยของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดทั้งหมดราว 351 ล้านคน แพร่กระจายในบริเวณหมู่เกาะตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะแปซิฟิก และมีจำนวนเล็กน้อยในผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย ภาษามาลากาซีเป็นภาษาในกลุ่มนี้ที่อยู่ห่างไกลที่สุดใช้พูดบนเกาะมาดากัสการ์ในมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะเฉพาะของกลุ่มภาษานี้คือมีแนวโน้มใช้การซ้ำคำทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อแสดงรูปพหูพจน์ การออกเสียงเป็นแบบง่ายๆ ไม่ค่อยพบกลุ่มของพยัญชนะ เช่น str หรือ mpt ในภาษาอังกฤษ มีเสียงสระใช้น้อย ส่วนมากมีห้าเสียง.

ดู ภาษาอีบาไฮและกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย

กลุ่มภาษาวิซายัน

กลุ่มภาษาวิซายัน เป็นกลุ่มของภาษาในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาฟิลิปปินส์กลาง กลุ่มภาษานี้ส่วนใหญ่ใช้พูดในบริเวณวิซายา แต่ก็มีผู้ใช้ในบริเวณบิกอล (โดยเฉพาะซอร์ซอกอนและมัสบาเต) หมู่เกาะทางใต้ของลูซอน ทางเหนือและทางตะวันตกของมินดาเนา และในจังหวัดซูลูที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมินดาเนา ผู้อยู่ในเมโทรมะนิลาบางส่วนพูดภาษาในกลุ่มนี้ด้วย สมาชิกของภาษาในกลุ่มนี้มีมากกว่า 30 ภาษา ภาษาทีมีผู้พูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดคือภาษาเซบัวโนมี 20 ล้านคน ในบริเวณวิซายากลาง ทางตะวันตกและทางเหนือของมินดาเนา อีก 2 ภาษาในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาษาฮิลิไกนอน มีผู้พูด 7 ล้านคนในวิซายาตะวันตก และภาษาวาไร-วาไร มีผู้พูด 3 ล้านคนในวิซายาตะวันออก.

ดู ภาษาอีบาไฮและกลุ่มภาษาวิซายัน

ภาษาอักลัน

ษาอักลัน (ฟิลิปีโนและAklanon, Akeanon) เป็นภาษากลุ่มวิซายันมีความคล้ายคลึงภาษาฮีลีไกโนนในด้านรากศัพท์ราวร้อยละ 65–68.

ดู ภาษาอีบาไฮและภาษาอักลัน

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ดู ภาษาอีบาไฮและอักษรละติน

อักษรไบบายิน

อักษรไบบายิน (Baybayin alphabet) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาตากาล็อกและภาษาอีโลกาโน ได้ต้นแบบมาจากอักษรกวิ คาดว่าเริ่มใช้เมื่อราว..

ดู ภาษาอีบาไฮและอักษรไบบายิน

จังหวัดอักลัน

ังหวัดอักลัน (Akean) (เสียงอ่านภาษาอักลัน) (อักลัน: Probinsiya it Aklan; ฮีลีไกโนน: Kapuoran sang Aklan; Lalawigan ng Aklan) เป็นจังหวัดในเขตคันลูรังคาบีซายาอัน ประเทศฟิลิปปินส์ เมืองหลักคือคาลีโบ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะปาไนย์ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอันตีเค‎ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจังหวัดคาปิซทางทิศตะวันออก จังหวัดอักลันติดกับทะเลซีบูยันและจังหวัดโรมโบลนทางทิศเหนือ.

ดู ภาษาอีบาไฮและจังหวัดอักลัน

หรือที่รู้จักกันในชื่อ ภาษาอีบายยานอน