โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาษาปาลา

ดัชนี ภาษาปาลา

ภาษาปาลา เป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนที่ตายแล้ว พบในจารึกอักษรรูปลิ่ม ชื่อในภาษาฮิตไตน์ของภาษานี้คือ palaumnili, หมายถึง "ของประชาชนแห่งปาลา" คาดว่าดินแดนปาลาอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของบริเวณที่ชาวฮิตไตน์อาศัยอยู่ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี บริเวณดังกล่าวถูกยึดครองโดยชาวกัสกัส เมื่อ 957 ปีก่อนพุทธศักราช ทำให้ภาษาปาลากลายเป็นภาษาตาย เอกสารของชาวฮิตไตน์อ้างถึงข้อความภาษาปาลาในการกล่าวถึงเทพเจ้าซาปาร์วาทั้งหมด 21 ข้อความ เทพเจ้าซาปาร์วาเป็นเทพที่ชาวปาลานับถือในฐานะเทพเจ้าแห่งท้องฟ้า โดยเรียกในภาษาของตนว่าเทพทิยัซ ส่วนในภาษาลูเวียเรียกเทพทิวัซ ในการเปรียบเทียบระหว่างภาษาอินโด-ยุโรเปียนโบราณ ภาษาฮิตไตน์โบราณมีการใช้ปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของเอกพจน์ -as ในช่วง 1057 ปีก่อนพุทธศักราช (เทียบได้กับ *-os ในภาษาอินโดขยุโรเปียนดั้งเดิม) ในขณะที่จารึกอักษรรูปลิ่มภาษาลูเวียใช้ปัจจัยคุณศัพท์ -ssa ส่วนภาษาปาลาใช้ปัจจัยแสดงความเป็นเจ้าของ -as และปัจจัยคุณศัพท์ -asa ภาษาปาลามีการแบ่งเพศแบบเดียวกับภาษาฮิตไตน์คือแบ่งเป็นนามมีชีวิตและไม่มีชีวิต รูปแบบการใช้สรรพนามก็เป็นแบบเดียวกัน ปาลา.

4 ความสัมพันธ์: ภาษาลูเวียภาษาฮิตไทต์อักษรรูปลิ่มประเทศตุรกี

ภาษาลูเวีย

การแพร่กระจายของภาษาลูเวีย ภาษาลูเวีย เป็นภาษาที่ตายแล้วในกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน สาขาอนาโตเลีย ใกล้เคียงกับภาษาฮิตไตน์ ใช้พูดในฮาซาร์วาที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของชาวฮิตไตน์ ภาษาลูเวียอาจจะเป็นลูกหลานโดยตรงหรือเป็นภาษาใกล้เคียงของภาษาไลเซีย ภาษาลูเวียมีการใช้อย่างแพร่หลายในช่วง 637 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดิฮิตไตน์เริ่มเสื่อมลง ภาษาลูเวียเป็นภาษาราชการในรัฐฮิตไตน์ใหม่ในซีเรียและอาณาจักรตาบัลในอนาโตเลียกลาง ภาษานี้มีระบบการเขียนสองระบบคือเขียนด้วยอักษรภาพแบบไฮโรกลิฟและ อักษรรูปลิ่ม ลูเวีย (ภาษาลูเวีย).

ใหม่!!: ภาษาปาลาและภาษาลูเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮิตไทต์

ษาฮิตไทต์ (Hittite language) จัดเป็นภาษาที่สำคัญที่สุดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนหรืออินเดีย-ยุโรป ในอานาโตเลีย อยู่ในกลุ่มย่อยภาษาอินโด-ฮิตไทต์ จัดเป็นภาษาที่ตายแล้ว มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาลูเวีย ภาษาลิเดีย ภาษาไลเซีย และภาษาปาลา เคยใช้พูดโดยชาวฮิตไทต์ กลุ่มชนที่สร้างจักรวรรดิฮิตไทต์มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองฮัตตูซาสในอานาโตเลียภาคกลางตอนเหนือ (ตุรกีปัจจุบัน) ภาษานี้ใช้พูดในช่วง 1,057 – 557 ปีก่อนพุทธศักราช มีหลักฐานแสดงว่าภาษาฮิตไทต์และภาษาที่เกี่ยวข้องได้ใช้พูดต่อมาอีก 200 -300 ปีหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิฮิตไทต์ ภาษาฮิตไทต์จัดเป็นภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนรุ่นแรกๆ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่จัดให้เป็นภาษาที่สืบทอดมาจากภาษาอินโด-ยุโรเปียนดั้งเดิมและเป็นพี่น้องกับภาษาตระกูลอินโด-ยุโรเปียนในสมัยโบราณ.

ใหม่!!: ภาษาปาลาและภาษาฮิตไทต์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: ภาษาปาลาและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: ภาษาปาลาและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ภาษาปาลาอิก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »