โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

ดัชนี ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ

วะละเลยกึ่งปริภูมิ หรือ ภาวะละเลยข้างเดียว (Hemispatial neglect หรือ hemiagnosia หรือ hemineglect หรือ unilateral neglect หรือ spatial neglect หรือ unilateral visual inattentionUnsworth, C. A. (2007). Cognitive and Perceptual Dysfunction. In T. J. Schmitz & S. B. O’Sullivan (Eds.), Physical Rehabilitation (pp. 1149-1185). Philadelphia, F.A: Davis Company. หรือ hemi-inattention หรือ neglect syndrome) เป็นภาวะทางประสาทจิตวิทยาที่เมื่อมีความเสียหายต่อซีกสมองด้านหนึ่ง ความบกพร่องในการใส่ใจ (attention) และการรู้สึกตัว (awareness) ในปริภูมิด้านหนึ่งของกายก็เกิดขึ้น ภาวะนี้กำหนดโดยความไม่สามารถที่จะประมวลผลและรับรู้ตัวกระตุ้นทางด้านหนึ่งของกายหรือสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ได้มีเหตุมาจากความบกพร่องทางความรู้สึก ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิโดยมากมีผลในกายด้านตรงข้ามกับซีกสมองที่เกิดความเสียหาย (คือมีรอยโรค) แต่ว่า กรณีที่มีผลในด้านเดียวกันกับรอยโรคในสมองก็มีอยู่เหมือนกัน.

27 ความสัมพันธ์: Allochiriaกลีบหน้ากลีบขมับกลีบข้างการรับรู้อากัปกิริยาภาวะเสียการระลึกรู้ภาวะเสียสำนึกความพิการรอยโรคลานสายตาศีรษะสภาวะเห็นทั้งบอดสมองอัมพฤกษ์ครึ่งซีกอาการหลงผิดเฉพาะเรื่องจอตาความใส่ใจคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังตัวกระตุ้นซีกสมองประชานปริภูมิปริซึมโรคหลอดเลือดสมองเดอะแมนฮูมิสทุกฮิสไวฟ์ฟอร์เอแฮตแอนด์อัธเธอร์คลินิเคิลเทลส์เปลือกสมองเปลือกสมองส่วนการเห็นSomatoparaphrenia

Allochiria

Allochiria (จากภาษากรีกโดยแปลว่า อีกมือหนึ่ง, อีกข้างหนึ่ง) เป็นความผิดปกติของระบบประสาท ที่คนไข้ตอบสนองต่อสิ่งเร้าซึ่งปรากฏที่ร่างกายด้านหนึ่ง เหมือนกับอยู่ในด้านตรงกันข้าม ปกติเป็นการย้ายข้างแบบอสมมาตรของสิ่งเร้าจากด้านหนึ่งของร่างกาย (หรือแม้รอบ ๆ ตัวจากด้านนั้นทั้งหมด) ไปในด้านตรงกันข้าม ดังนั้น สัมผัสที่ข้างซ้ายของร่างกาย จะปรากฏเหมือนกับปรากฏที่ข้างขวา ซึ่งเรียกว่า somatosensory allochiria ถ้าเป็นการได้ยินหรือการเห็นที่เสียหาย เสียง (เช่นเสียงพูด) จะปรากฏต่อคนไข้ว่าได้ยินจากด้านตรงข้ามที่เกิดจริง ๆ และสิ่งที่เห็นก็เช่นเดียวกัน บ่อยครั้ง คนไข้อาจแสดงอาการของ allochiria เมื่อลอกวาดภาพ เป็นอาการที่บ่อยครั้งเกิดพร้อมกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (unilateral neglect) ซึ่งมีเหตุร่วมกัน คือความเสียหายต่อสมองกลีบข้างด้านขวา allochiria บ่อยครั้งจะสับสนกับ alloesthesia ซึ่งความจริงเป็น "allochiria เทียม" "allochiria แบบแท้" เป็นอาการของ dyschiria บวกกับภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ ส่วน dyschiria ก็คือความผิดปกติในการกำหนดตำแหน่งความรู้สึก เนื่องจากอาการ dissociation ระดับต่าง ๆ เป็นความพิการที่ไม่สามารถบอกว่า กำลังสัมผัสด้านไหนของร่างกายจริง.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและAllochiria · ดูเพิ่มเติม »

กลีบหน้า

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เป็นบริเวณของสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ตั้งอยู่ทางด้านหน้าของซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemisphere) แต่ละข้าง และอยู่ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง (parietal lobe) ส่วนสมองกลีบขมับ (temporal lobe) ตั้งอยู่ล่างและหลังต่อสมองกลีบหน้.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและกลีบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กลีบขมับ

มองกลีบขมับ (Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและกลีบขมับ · ดูเพิ่มเติม »

กลีบข้าง

มองกลีบข้าง (parietal lobe หรือ parietal cortex, lobus parietalis) ในประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นกลีบสมองหนึ่ง อยู่เหนือสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) และหลังสมองกลีบหน้า (frontal lobe) สมองกลีบข้างผสมผสานสัญญาณรับความรู้สึกจากหน่วยรับความรู้สึกทั้งหลาย มีหน้าที่เฉพาะในการประมวลความรู้สึกเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial sense) และการนำทาง (navigation) ตัวอย่างเช่น สมองกลีบข้างประกอบด้วยคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory cortex) และทางสัญญาณด้านล่าง (dorsal stream) ของระบบการเห็น ซึ่งทำให้คอร์เทกซ์กลีบข้างสามารถสร้างแผนที่ของวัตถุที่เห็น โดยที่วัตถุมีตำแหน่งสัมพันธ์กับร่างกาย (เช่นเห็นว่าอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของกาย) มีเขตหลายเขตของสมองกลีบข้างที่มีความสำคัญในการประมวลผลทางภาษา และด้านหลังต่อจากร่องกลาง (central sulcus) ก็คือรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral gyrus) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้ความรู้สึกทางกาย คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีแผนที่เป็นรูปมนุษย์ที่บิดเบือน ที่เรียกว่า cortical homunculus (homunculus มาจากภาษาละตินที่แปลว่า "คนตัวเล็ก ๆ") โดยที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมีขนาดเท่ากับเขตที่คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีพื้นที่ให้สำหรับส่วนนั้นของร่างกายSchacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009).

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและกลีบข้าง · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้อากัปกิริยา

ซีรีบรัมเป็นส่วนในสมองที่มีหน้าที่ประสานงานเกี่ยวข้องกับการรับรู้อากัปกิริยา การรับรู้อากัปกิริยา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ proprioception ว่า "การรับรู้อากัปกิริยา" และของ proprioceptor ว่า "ปลายประสาทรับรู้อากัปกิริยา" หรือการรู้ตำแหน่งข้อและการเคลื่อนไหว (proprioception มาจากคำว่า "proprius" ซึ่งแปลว่า "ของตน" หรือ "แต่ละบุคคล" และคำว่า "perception" ซึ่งแปลว่า "การรับรู้") เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับตำแหน่ง (limb position sense) และเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย (kinesthesia หรือ motion sense) ที่ไม่สืบเนื่องกับการมองเห็นให้สังเกตให้ดีว่า คำว่า "proprioception" นั้น เป็นคำที่ชาลส์ สก็อตต์ เชอร์ริงตัน ได้บัญญัติขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและการรับรู้อากัปกิริยา · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียการระลึกรู้

รูปแสดงทางสัญญาณด้านหลัง (สีเขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (สีม่วง) ทางสัญญาณทั้งสองนั้นเริ่มต้นมาจากที่เดียวกันในคอร์เทกซ์สายตา ภาวะเสียการระลึกรู้เกิดจากความเสียหายของทางสัญญาณด้านล่าง ภาวะเสียการระลึกรู้ หรือ ภาวะไม่รู้ (Agnosia มาจากภาษากรีกโบราณว่า ἀγνωσία ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ หรือ ความปราศจากความรู้, คำว่า gnosis ที่ไม่มี a ข้างหน้า แปลว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่องลี้ลับเช่นจิตวิญญาณเป็นต้น) เป็นการสูญเสียความสามารถในการรู้จำวัตถุ บุคคล เสียง รูปร่าง หรือกลิ่น ในขณะที่การรับรู้ทางประสาทเฉพาะอย่างๆ ไม่มีความเสียหาย และไม่มีการสูญเสียความทรงจำเป็นสำคัญ เป็นภาวะที่ปกติมีความเกี่ยวข้องกับความบาดเจ็บทางสมองที่เกิดขึ้น หรือโรคทางประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากเกิดความเสียหายใน เขตบร็อดแมนน์ 37 คือช่วงต่อระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับ (occipitotemporal area) ซึ่งเป็นส่วนของทางสัญญาณด้านล่างของระบบการเห็น ภาวะไม่รู้จะมีผลกับการรับรู้ทางประสาทอย่างเดียวเท่านั้น เช่นการเห็นหรือการได้ยิน.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและภาวะเสียการระลึกรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเสียสำนึกความพิการ

วะเสียสำนึกความพิการ (Anosognosia) เป็นภาวะที่ผู้ป่วยมีความพิการหรือบกพร่องแต่ไม่รับรู้หรือปฏิเสธความบกพร่องของตนเอง ภาวะนี้พบได้แม้กระทั่งในผู้พิการสายตาหรืออัมพาต ผู้ที่ตั้งชื่อโรคนี้เป็นคนแรกคือนักประสาทวิทยาชื่อ โจเซฟ บาบินสกี (Joseph Babinski) ในปี..

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและภาวะเสียสำนึกความพิการ · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ลานสายตา

ำว่า ลานสายตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (visual field) มักใช้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า ขอบเขตภาพ (field of view) แม้ว่าบททั้งสองจริง ๆ มีความหมายไม่เหมือนกัน คือ ลานสายตามีความหมายว่า "ความรู้สึกทางตาเป็นแถวตามลำดับพื้นที่ที่สามารถสังเกตการณ์ได้ในการทดลองทางจิตวิทยาด้วยการพินิจภายใน (โดยบุคคลนั้น)" ในขณะที่คำว่า ขอบเขตภาพ "หมายถึงวัตถุทางกายภาพและต้นกำเนิดแสงในโลกภายนอกที่เข้ามากระทบกับจอตา" กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งก็คือ ขอบเขตภาพก็คือสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดของแสงที่มากระทบกับจอตา ซึ่งเป็นข้อมูลเข้าของระบบสายตาในสมอง เป็นระบบที่แปลผลเป็นลานสายตาเป็นข้อมูลออก ลานสายตานั้นมีด้านซ้ายขวาบนล่างที่ไม่สมดุลกัน ระดับความชัดก็ไม่เสมอกัน คือมีการเห็นได้ชัดที่สุดที่กลางลานสายตา บทนี้มักใช้บ่อย ๆ ในการวัดสายตา (optometry) และในจักษุวิทยา ที่มีการตรวจลานสายตาเพื่อกำหนดว่า มีความเสียหายจากโรคที่เป็นเหตุแก่ดวงมืดในลานเห็น (scotoma) หรือจากการสูญเสียการเห็น หรือจากการลดระดับความไวในการเห็น หรือไม.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและลานสายตา · ดูเพิ่มเติม »

ศีรษะ

ีรษะของมนุษย์ภาคตัดตามแนวขวาง (Sagittal plane) ในทางกายวิภาคศาสตร์ ศีรษะ (caput, มักสะกดผิดเป็น "ศรีษะ") หรือ หัวของสัตว์ ถือว่าเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากแกนกลางของร่างกาย ในมนุษย์มีส่วนประกอบที่ทำให้เป็นศีรษะเช่น กะโหลกศีรษะ ใบหน้า สมอง เส้นประสาทสมอง เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ฟัน อวัยวะรับความรู้สึกพิเศษ และโครงสร้างอื่นๆ เช่นหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง และไขมัน สัตว์ชั้นต่ำหลายชนิดมีศีรษะมากกว่า 1 ศีรษะ สัตว์หลายชนิดไม่ถือว่ามีส่วนศีรษะ แต่สัตว์ที่มีรูปแบบสมมาตร 2 ด้าน (bilaterally symmetric forms) จะต้องมีศีรษ.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะเห็นทั้งบอด

วะเห็นทั้งบอด หรือ การเห็นทั้งบอด หรือ เห็นทั้งบอด หรือ บลายน์ดไซต์ (blindsight) เป็นความสามารถในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นทางตา ของผู้ที่มีความบอดเหตุสมอง (cortical blindness) ที่เนื่องมาจากรอยโรคในคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ทั้ง ๆ ที่ผู้นั้นไม่สามารถจะเห็นตัวกระตุ้นนั้น งานวิจัยของสภาวะเห็นทั้งบอดโดยมาก ได้ทำกับคนไข้ที่มีภาวะบอดของลานสายตาเพียงข้างเดียว หลังจากที่คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมของคนไข้ถูกทำลายแล้วเพราะโรคหรือเหตุอย่างอื่น คือ นักวิจัยจะให้คนไข้ตรวจจับ หาตำแหน่ง และแยกแยะตัวกระตุ้นทางตาที่แสดงให้กับลานสายตาข้างที่คนไข้มองไม่เห็น โดยบอกให้คนไข้เดา และแม้ว่าคนไข้จะมองไม่เห็นตัวกระตุ้นนั้นจริง ๆ งานวิจัยกลับแสดงถึงความแม่นยำของการเดาในระดับหนึ่งที่น่าประหลาดใจ ความสามารถในการเดาด้วยความแม่นยำที่สูงกว่าความบังเอิญ ถึงลักษณะบางอย่างของตัวกระตุ้นทางตา เช่นตำแหน่ง หรือว่าชนิดของความเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการรับรู้ในตัวกระตุ้นโดยประการทั้งปวง เรียกว่า สภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 1 ส่วนสภาวะเห็นทั้งบอดแบบ 2 เป็นแบบที่คนไข้อ้างว่า รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่เปลี่ยนไปในลานสายตาข้างที่มองไม่เห็น ตัวอย่างเช่น การเคลื่อนไหว แต่ว่าไม่ใช่โดยการมองเห็นสิ่งเร้าทางตา สภาวะเห็นทั้งบอดท้าทายความเชื่อที่แพร่หลายว่า สิ่งเร้าต้องปรากฏต่อการรับรู้ จึงจะสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้ ปรากฏการณ์นี้แสดงว่า พฤติกรรมของเราสามารถเปลี่ยนไปเพราะข้อมูลการรับรู้ ที่ "เรา" ไม่ได้รับรู้ด้วยเลย สภาวะนี้สามารถพิจารณาว่าเป็นสภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะเสียสำนึกความพิการที่รู้จักกันว่า Anton-Babinski syndrome ที่คนไข้เสียการเห็นอย่างบริบูรณ์ แต่กลับการกุเหตุความจำเสื่อม (confabulation) ว่าเห็น.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและสภาวะเห็นทั้งบอด · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

อัมพฤกษ์ครึ่งซีก

อัมพฤษกษ์ครึ่งซีก (hemiparesis) คือภาวะที่มีการอ่อนแรงของร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง เป็นภาวะที่คล้ายคลึงกับอัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia) แต่ไม่รุนแรงเท่า ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งซีกจะพอขยับแขนขาข้างที่อ่อนแรงได้บ้าง เพียงแต่จะไม่มีกำลังมากเท่าปกติ โรคที่เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ครึ่งซึกมีอยู่หลายอย่าง ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับสมองและไขสันหลัง โรคหรือภาวะซึ่งมีอาการอัมพฤกษ์ครึ่งซึกเป็นอาการหลักหรือเกี่ยวข้องเช่น ไมเกรน การบาดเจ็บที่ศีรษะ กล้ามเนื้อฝ่อ โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกสมอง และอัมพาตสมองใหญ่ เป็นต้น at.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและอัมพฤกษ์ครึ่งซีก · ดูเพิ่มเติม »

อาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง

อาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ delusion ว่า "อาการหลงผิด" และของ thematic ว่า "ตามท้องเรื่อง" หรือ "เฉพาะเรื่อง" หรือ "ใจความหลัก" (monothematic delusion) เป็นอาการหลงผิดในเรื่อง ๆ หนึ่ง เปรียบเทียบกับอาการหลงผิดหลายเรื่อง (multi-thematic, polythematic) ซึ่งเป็นอาการทั่วไปในโรคจิตเภท อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นพร้อมกับโรคจิตเภทหรือภาวะสมองเสื่อม (dementia) หรือสามารถเกิดขึ้นโดยไม่ปรากฏอาการทางจิตอื่น ๆ ถ้าพบอาการนี้ในกรณีที่ไม่เกี่ยวกับโรคจิต ก็มักจะเป็นผลของความผิดปกติทางกายรวมทั้งการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือความผิดปกติทางประสาท ผู้ที่มีอาการเหล่านี้จากสาเหตุความผิดปกติทางกาย มักจะไม่ปรากฏความบกพร่องทางปัญญาและมักจะไม่มีอาการอื่น ๆ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีบางคนที่รู้อีกด้วยว่า ความเชื่อของตัวเองเป็นเรื่องแปลกประหลาด แต่คนอื่นก็ยังไม่สามารถโน้มน้าวให้แก้ความเชื่อผิด ๆ นั้นได้.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและอาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

ความใส่ใจ

วามใส่ใจกับการเล่นเกม ความใส่ใจ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (Attention) เป็นกระบวนการทางปัญญา (cognitive process) ที่เลือกที่จะเข้าไปใส่ใจหรือมีสมาธิในอะไรอย่างหนึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยที่ไม่สนใจในสิ่งอื่น มีการกล่าวถึงความใส่ใจว่า เป็นการจัดสรรทรัพยากรที่ใช้ในการแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัส ความใส่ใจเป็นประเด็นงานวิจัยที่มีการศึกษามากที่สุดประเด็นหนึ่งในสาขาจิตวิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์วิทยาการปัญญา (cognitive neuroscience) และยังเป็นประเด็นการศึกษาที่สำคัญในสาขาการศึกษา จิตวิทยา และประสาทวิทยาศาสตร์ ประเด็นงานวิจัยที่ยังเป็นไปอย่าต่อเนื่องในปัจจุบันรวมทั้ง การหาแหล่งกำเนิดของสัญญาณในสมองที่มีผลเป็นเป็นความใส่ใจ ผลของสัญญาณต่อการเลือกตัวกระตุ้น (neuronal tuning) ของเซลล์ประสาทรับความรู้สึก และความสัมพันธ์ของความใส่ใจกับกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่นหน่วยความจำใช้งาน (working memoryหน่วยความจำใช้งาน (working memory) คือระบบความจำที่รองรับข้อมูลชั่วคราวซึ่งสมองใช้ในการประมวลผล เช่น จะจำเบอร์โทรศัพท์อย่างชั่วคราวได้ก็จะต้องใช้ระบบนี้) และ vigilance นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีประเด็นงานวิจัยใหม่ ๆ ที่ตรวจสอบผลของการบาดเจ็บในกะโหลกศีรษะต่อความใส่ใจ คำว่า ความใส่ใจนั้น อาจจะมีความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่เชื้อชาติวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างความใส่ใจกับความรู้สึกตัว (พิชาน) เป็นเรื่องที่ซับซ้อนจนกระทั่งว่า มีการศึกษาทางด้านปรัชญามาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนมาถึงในปัจจุบัน แต่ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เริ่มขึ้นตั้งแต่โบราณ แต่ก็ยังมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นต่าง ๆ ในปัจจุบันอย่างสำคัญเริ่มตั้งแต่ในด้านสุขภาพจิต จนกระทั่งถึงงานวิจัยและพัฒนาปัญญาประดิษ.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและความใส่ใจ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง

อร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (posterior parietal cortex ตัวย่อ PPC, Cortex parietalis posterior) เป็นส่วนของสมองกลีบข้างหลังคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) คือ ก่อนที่การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้น ระบบประสาทต้องรู้ตำแหน่งเดิมของส่วนของร่างกายที่จะต้องเคลื่อนไหว และตำแหน่งต่าง ๆ ของวัตถุภายนอกที่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีปฏิกิริยาร่วมด้วย คอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลังรับข้อมูลจากระบบรับความรู้สึก 3 ระบบ ที่มีบทบาทในการกำหนดตำแหน่งของร่างกายและของวัตถุภายนอกในปริภูมิ ซึ่งก็คือ ระบบการมองเห็น ระบบการได้ยิน และระบบรับความรู้สึกทางกาย ต่อจากนั้น คอร์เทกซ์จึงส่งข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการ (motor cortex) ในสมองกลีบหน้า ไปยัง dorsolateral prefrontal cortex, ไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอร์เทกซ์สั่งการทุติยภูมิ (secondary motor cortex) และ ไปยัง frontal eye field งานวิจัยที่ใช้ fMRI ในลิง และงานวิจัยที่ใช้การกระตุ้นสมองผ่านกะโหลกด้วยแม่เหล็ก (Transcranial magnetic stimulation) ในมนุษย์ ชี้ว่า คอร์เทกซ์นี้มีส่วนประกอบเป็นเขตเล็ก ๆ ที่แต่ละเขตมีหน้าที่เฉพาะในการนำทางการเคลื่อนไหวตา ศีรษะ แขน หรือมือ ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้มีผลเป็นความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว-การรับรู้ (sensorimotor) รวมทั้งการรับรู้และความทรงจำที่เกี่ยวกับวัตถุต่าง ๆ ในปริภูมิ การยื่นมือออกไปเพื่อจับวัตถุ การเคลื่อนไหวตา และการใส่ใจ ผลที่เด่นที่สุดของความเสียหายต่อคอร์เทกซ์นี้ก็คือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ (apraxia) และภาวะละเลยกึ่งปริภูมิ (hemispatial neglect) บางแหล่งกล่าวว่าคอร์เทกซ์นี้เป็นส่วนของเขตบร็อดแมนน์ 5 และ 7 บางแหล่งกล่าวว่าอยู่ในเขตบร็อดแมนน์ 7 เท่านั้น มีหลักฐานว่า คอร์เทกซ์นี้ยังมีบทบาทในการรับรู้ความเจ็บปวดอีกด้วย งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับ "เจตจำนงเสรี" (free will) เกิดขึ้นจากเขตนี้โดยส่วนหนึ่ง งานวิจัยหนึ่งพบว่า เมื่อให้ทำการศิลป์ นักศิลป์สมัครเล่นมีการไหลเวียนของเลือดในระดับสูงขึ้นใน PPC ซีกขวา โดยเปรียบเทียบกับของนักศิลป์มืออาชีพ งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ปริภูมิ

ปริภูมิ (space) คือส่วนที่ไร้ขอบเขต เป็นปริมาณสามมิติในวัตถุและเหตุการณ์ และมีตำแหน่งสัมพัทธ์และทิศทาง ปริภูมิในทางฟิสิกส์มักจะถูกพิจารณาในรูปแบบของสามมิติเชิงเส้น และนักฟิสิกส์ในปัจจุบันก็มักจะพิจารณาพร้อมกับเวลาในฐานะส่วนหนึ่งของสี่มิติต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า ปริภูมิ-เวลา ปริภูมิในเชิงคณิตศาสตร์ที่มีจำนวนมิติและโครงสร้างที่ต่างกันสามารถตรวจสอบได้ แนวคิดของปริภูมิถูกพิจารณาว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญเพื่อการทำความเข้าใจในจักรวาล ถึงแม้ว่าปริภูมิจะเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักปรัชญาถึงความมีตัวตนของปริภูมิ ความสัมพันธ์ของการมีตัวตนหรือความเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความ.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและปริภูมิ · ดูเพิ่มเติม »

ปริซึม

ปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ ปริซึม (prism) คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย ปริซึมมุมฉาก (right prism) หมายความว่าเป็นปริซึมที่มีจุดมุมของรูปหลายเหลี่ยมบนฐานทั้งสองอยู่ตรงกันตามแนวดิ่ง ทำให้หน้าด้านข้างตั้งฉากกับฐานพอดีและเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกด้าน ส่วน ปริซึม n เหลี่ยมปกติ (n-prism) หมายถึงปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (ทุกด้านยาวเท่ากัน) และเมื่อปริซึมอันหนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้งปริซึมมุมฉาก ปริซึม n เหลี่ยมปรกติ และขอบทุกด้านยาวเท่ากันหมด จะถือว่าปริซึมอันนั้นเป็นทรงหลายหน้ากึ่งปรกติ (semiregular polyhedron) ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานก็ถือเป็นปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากก็เทียบเท่ากับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็คือทรงลูกบาศก์นั่นเอง ปริมาตรของปริซึมสามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการหาพื้นที่ผิวของฐานมาหนึ่งด้าน คูณด้วยความสูงของปริซึม.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและปริซึม · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เดอะแมนฮูมิสทุกฮิสไวฟ์ฟอร์เอแฮตแอนด์อัธเธอร์คลินิเคิลเทลส์

อะแมนฮูมิสทุกฮิสไวฟ์ฟอร์เอแฮตแอนด์อัธเธอร์คลินิเคิลเทลส์ (The Man Who Mistook His Wife for a Hat, ท. ชายผู้สำคัญผิดว่าภรรยาตนเป็นหมวกและนิทานคลินิกอื่น") เป็นหนังสือที่พิมพ์ในปี..

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและเดอะแมนฮูมิสทุกฮิสไวฟ์ฟอร์เอแฮตแอนด์อัธเธอร์คลินิเคิลเทลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมองส่วนการเห็น

ทางสัญญาณด้านหลัง (เขียว) และทางสัญญาณด้านล่าง (ม่วง) เป็นทางสัญญาณเริ่มมาจากเปลือกสมองส่วนการเห็นปฐมภูมิ เปลือกสมองส่วนการเห็น (visual cortex, cortex visualis) ในสมองเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกสมอง ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลสายตา อยู่ในสมองกลีบท้ายทอยด้านหลังของสมอง คำว่า เปลือกสมองส่วนการเห็น หมายถึงคอร์เทกซ์ต่าง ๆ ในสมองรวมทั้ง.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและเปลือกสมองส่วนการเห็น · ดูเพิ่มเติม »

Somatoparaphrenia

Somatoparaphrenia เป็นอาการหลงผิดเฉพาะเรื่อง (monothematic delusion) ชนิดหนึ่งที่คนไข้ปฏิเสธว่าเป็นเจ้าของแขนขาหรือร่างกายทั้งซีก ถึงแม้ว่าจะให้หลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า แขนขาเป็นของคนไข้และสืบเนื่องอยู่กับร่างกาย คนไข้กลับกุเรื่องราวขึ้นว่า เป็นแขนขาของใครจริง ๆ และถึงเรื่องราวที่แขนขานั้นมาติดอยู่กับกายตนได้อย่างไรFeinberg, T., Venneri, A., Simone, A.M., et al.

ใหม่!!: ภาวะละเลยกึ่งปริภูมิและSomatoparaphrenia · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Allocentric neglectEgocentric neglectHemi-inattentionHemiagnosiaHemineglectHemispatial neglectNeglect syndromeRepresentational neglectSpatial neglectUnilateral neglectUnilateral visual inattentionVisual neglectกลุ่มอาการละเลยภาวะละเลยทางการเห็นภาวะละเลยทางตาภาวะละเลยข้างเดียว

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »