โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟองลูป I

ดัชนี ฟองลูป I

นตนาการที่แสดงถึงฟองท้องถิ่น (ขาว) เมฆโมเลกุลใกล้เคียง (สีม่วงแดง) และฟองลูป I (สีน้ำเงินอมเขียว) ฟองลูป I (Loop I Bubble) เป็นโพรงในสสารระหว่างดาว จากมุมมองของดวงอาทิตย์ ฟองนี้มีตำแหน่งอยู่ในระหว่างใจกลางทางช้างเผือก มีหลุมที่เห็นได้ชัดเจนอยู่สองโพรงที่เชื่อมต่อกับฟองท้องถิ่นและฟองลูป I อยู่ ฟองลูป I เกิดขึ้นจากลมดาวฤกษ์และซุเปอร์โนวาในกลุ่มเคลื่อนที่แมงป่อง-คนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 500 ปีแสง ข้างในฟองลูป I มีดาวแอนทาเรส (แอลฟาแมงป่อง) ฟองลูป I อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 100 พาร์เซ็กหรือประมาณ 330 ปีแสง.

10 ความสัมพันธ์: ฟองยักษ์ฟองลูป Iฟองท้องถิ่นพาร์เซกกลุ่มดาวแมงป่องมวลสารระหว่างดาวดวงอาทิตย์ปีแสงแอลฟาเมฆโมเลกุล

ฟองยักษ์

ฟองยักษ์ (Superbubble) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ที่บ่งบอกถึงโพรงขนาดร้อยๆ ปีแสงที่เต็มไปด้วยก๊าซอุณหภูมิถึง 106 เคลวิน ที่ถูกพัดพาเข้ามาในมวลสารระหว่างดาวโดยซุเปอร์โนวาหลายแห่งและลมดาวฤกษ์ ระบบสุริยะตั้งอยู่ ณ ใกล้ใจกลางของฟองยักษ์แห่งหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อของฟองท้องถิ่น ซึ่งถูกตรวจพบอาณาเขตโดยการสูญหายของฝุ่นคอสมิกอย่างเฉียบพลันของดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปกว่า 100 ปีแสง.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและฟองยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟองลูป I

นตนาการที่แสดงถึงฟองท้องถิ่น (ขาว) เมฆโมเลกุลใกล้เคียง (สีม่วงแดง) และฟองลูป I (สีน้ำเงินอมเขียว) ฟองลูป I (Loop I Bubble) เป็นโพรงในสสารระหว่างดาว จากมุมมองของดวงอาทิตย์ ฟองนี้มีตำแหน่งอยู่ในระหว่างใจกลางทางช้างเผือก มีหลุมที่เห็นได้ชัดเจนอยู่สองโพรงที่เชื่อมต่อกับฟองท้องถิ่นและฟองลูป I อยู่ ฟองลูป I เกิดขึ้นจากลมดาวฤกษ์และซุเปอร์โนวาในกลุ่มเคลื่อนที่แมงป่อง-คนครึ่งม้า ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 500 ปีแสง ข้างในฟองลูป I มีดาวแอนทาเรส (แอลฟาแมงป่อง) ฟองลูป I อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 100 พาร์เซ็กหรือประมาณ 330 ปีแสง.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและฟองลูป I · ดูเพิ่มเติม »

ฟองท้องถิ่น

วมูร์ซิม ดวงอาทิตย์ และ ดาวแอนทาเรส) ฟองท้องถิ่น (Local Bubble) คือห้วงอวกาศที่ค่อนข้างโปร่งรูปร่างคล้ายนาฬิกาทรายอยู่ในสสารระหว่างดาว กินเนื้อที่กว้างประมาณ 300 ปีแสง และมีความหนาแน่นของไฮโดรเจนไม่มีสี 0.05 อะตอม/ซม.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและฟองท้องถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

พาร์เซก

ร์เซก (Parsec; มาจาก parallax of one arcsecond ตัวย่อ: pc) เป็นหน่วยวัดระยะทางทางดาราศาสตร์ เท่ากับความสูงของสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีเส้นฐานยาว 1 หน่วยดาราศาสตร์และมีมุมยอด 1 พิลิปดา มีค่าประมาณ 3.2616 ปีแสง (3.26 ปีแสง)หรือ 206,265 หน่วยดาราศาสตร์ มักใช้วัดระยะทางภายในดาราจักร การวัดระยะจากโลกถึงดาวฤกษ์คือการวัดแพรแลกซ์ของดาวฤกษ์ แพรัลแลกซ์ คือ ปรากฏการณ์ที่ผู้สังเกตมองจาก 2 จุด แล้วเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปเมื่อเทียบกับวัตถุอ้างอิง ทดลองได้โดยใช้มือถือวัตถุยื่นไปข้างหน้า แล้วสังเกตวัตถุดังกล่าวด้วยตาซ้าย และขวาจะสังเกตเห็นตำแหน่งของวัตถุเปลี่ยนไปหรือไม่ หมวดหมู่:หน่วยความยาว หมวดหมู่:มาตรดาราศาสตร์.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและพาร์เซก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมงป่อง

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ 8 อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง กลุ่มดาวแมงป่องเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวบนฟ้าที่มีลักษณะเด่นที่สุด สังเกตง่าย และถึงแม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรมกัน หลายชาติก็เรียกลักษณะของกลุ่มดาวนี้ตรงกันว่ามีรูปร่างคล้ายกับแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมงป่อง.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและกลุ่มดาวแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

มวลสารระหว่างดาว

การกระจายตัวของประจุไฮโดรเจน ซึ่งนักดาราศาสตร์เรียกว่า เอชทู ในช่องว่างระหว่างดาราจักร ที่สังเกตการณ์จากซีกโลกด้านเหนือผ่าน Wisconsin Hα Mapper มวลสารระหว่างดาว (interstellar medium; ISM) ในทางดาราศาสตร์หมายถึงกลุ่มแก๊สและฝุ่นที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ว่างระหว่างดวงดาว เป็นสสารที่ดำรงอยู่ระหว่างดาวฤกษ์ต่างๆ ในดาราจักร เติมเติมช่องว่างระหว่างดวงดาวและผสานต่อเนื่องกับช่องว่างระหว่างดาราจักรที่อยู่โดยรอบ การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานของสสารมีปริมาณเท่ากันกับสนามการแผ่รังสีระหว่างดวงดาว มวลสารระหว่างดาวประกอบด้วยองค์ประกอบอันเจือจางอย่างมากของไอออน อะตอม โมเลกุล ฝุ่นขนาดใหญ่ รังสีคอสมิก และสนามแม่เหล็กของดาราจักร โดยที่ 99% ของมวลของสสารเป็นแก๊ส และอีก 1% เป็นฝุ่น มีความหนาแน่นเฉลี่ยในดาราจักรทางช้างเผือก ระหว่างไม่กี่พันจนถึงหลักร้อยล้านหน่วยอนุภาคต่อลูกบาศก์เมตร ประมาณ 90% ของแก๊สเป็นไฮโดรเจน ส่วนอีกประมาณ 10% เป็นฮีเลียม เมื่อพิจารณาตามจำนวนของนิวเคลียส โดยมีสสารมวลหนักผสมอยู่บ้างเล็กน้อย มวลสารระหว่างดาวมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ เนื่องจากมันอยู่ในระหว่างกลางของเหล่าดวงดาวในดาราจักร ดาวฤกษ์ใหม่จะเกิดขึ้นจากย่านที่หนาแน่นที่สุดของสสารนี้กับเมฆโมเลกุล โดยได้รับสสารและพลังงานมาจากเนบิวลาดาวเคราะห์ ลมระหว่างดาว และซูเปอร์โนวา ความสัมพันธ์ระหว่างดาวฤกษ์กับมวลสารระหว่างดาวช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถคำนวณอัตราการสูญเสียแก๊สของดาราจักร และสามารถคาดการณ์ช่วงเวลาการก่อตัวของดาวฤกษ์กัมมันต์ได้.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและมวลสารระหว่างดาว · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

แอลฟา

แอลฟา (alpha) หรือ อัลฟา (άλφα, ตัวใหญ่ Α, ตัวเล็ก α) เป็นอักษรกรีกตัวที่ 1 และมีค่าของเลขกรีกเท่ากับ 1.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและแอลฟา · ดูเพิ่มเติม »

เมฆโมเลกุล

กลุ่มเมฆในเนบิวลากระดูกงูเรือซึ่งถูกแสงดาวเป็นเวลาหลายล้านปีจนมีอุณหภูมิสูงมากและแตกตัวออกจากเนบิวลา ใกล้ ๆ กันจะเห็นดาวฤกษ์สว่างอยู่ ภาพของเมฆกลายเป็นสีแดงเพราะกระบวนการขจัดแสงน้ำเงินเพื่อลดความฟุ้งของฝุ่นในภาพ ภาพนี้ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในปี พ.ศ. 2542 เมฆโมเลกุล (Molecular Cloud) คือเมฆระหว่างดวงดาวชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นมากและมีขนาดใหญ่พอจะทำให้เกิดการก่อตัวของโมเลกุลได้ โดยมากจะเป็นโมเลกุลของไฮโดรเจน (H2) บางครั้งก็เรียกว่า "อนุบาลดาวฤกษ์" (Stellar nursery) ในกรณีที่มีการก่อตัวของดาวฤกษ์อยู่ภายใน การตรวจจับโมเลกุลไฮโดรเจนโดยการสังเกตการณ์อินฟราเรดหรือการสังเกตการณ์คลื่นวิทยุจะทำได้ยากมาก ดังนั้นการตรวจจับมักใช้การสำรวจความมีอยู่ของ H2 โดยอาศัย CO (คาร์บอนมอนอกไซด์) โดยถือว่าสัดส่วนระหว่างการสะท้อนแสงของ CO กับมวล H2 เป็นค่าคงที่ แม้ว่าหลักการของสมมุติฐานนี้จะยังเป็นที่สงสัยอยู่ในการสังเกตการณ์ดาราจักรแห่งอื่น.

ใหม่!!: ฟองลูป Iและเมฆโมเลกุล · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »