โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู

ดัชนี ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌู

ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชู (François, Duke of Anjou หรือ Hercule François, Duke of Anjou และ Counts and dukes of Alençon) (18 มีนาคม ค.ศ. 1555 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1584) ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชูมีชื่อเต็มว่า "แอร์คูล ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชู และเคานท์และดยุกแห่งอลองซง" เป็นพระราชโอรสองค์เล็กในพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ฟรองซัวส์ ดยุกแห่งอองชูเป็นเด็กที่น่ารักแต่น่าเสียดายที่มีแผลเป็นจากฝีดาษเมื่ออายุได้ 8 ปี และกระดูกสันหลังที่ไม่ไคร่ปกติที่ไม่เหมาะสมกับชื่อ "แอร์คูล" ที่ทำให้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฟรองซัวส์" เพื่อเป็นเกียรติแก่พระเชษฐาพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1560 ในปี ค.ศ. 1574 เมื่อพระเชษฐาองค์ต่อมาพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศสเสด็จสวรรคตและพระเชษฐาพระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสขึ้นครองราชย์ ฟรองซัวส์ก็กลายเป็นทายาทแห่งราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1576 ฟรองซัวส์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ดยุกแห่งอองชู, ตูแรน และแบร์รี ในปี ค.ศ. 1576 ฟรองซัวส์ทำการเจรจากต่อรองข้อตกลงในพระราชกฤษฎีกาบิวลี (Edict of Beaulieu)ระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1579 ก็ได้รับเชิญให้เป็นประมุขสืบสาย (hereditary sovereign) ของสหจังหวัดแห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน..

24 ความสัมพันธ์: บรูชพ.ศ. 2098พ.ศ. 2103พ.ศ. 2117พ.ศ. 2119พ.ศ. 2122พ.ศ. 2127พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปนมาร์เกอริตแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศสวิลเลียม เซซิล บารอนเบิร์กลีย์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสาธารณรัฐดัตช์สงครามศาสนาของฝรั่งเศสดยุกแห่งแบร์รีแอนต์เวิร์ปแคทเธอรีน เดอ เมดีชีเกนต์18 มีนาคม19 มิถุนายน

บรูช

รูช (Bruges) หรือ บรึคเคอ (Brugge) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟลานเดอร์ตะวันตกในบริเวณเฟลมมิชในประเทศเบลเยียม ตัวเมืองตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ศูนย์ประวัติศาสตร์ของเมืองได้รับเลือกให้เป็นเมืองในมรดกโลกของยูเนสโก ตัวเมืองรูปไข่มีเนื้อที่ประมาณ 430 เฮกตาร์ เนื้อที่ทั้งหมดของตัวเมืองมีประมาณกว่า 13,840 เฮกตาร์รวมทั้งอีก 1,075 เฮกตาร์ริมฝั่งทะเลที่เซบรึคเคอ (Zeebrugge) บรูชมีประชากรทั้งสิ้น 117,073 คน (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและบรูช · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2098

ทธศักราช 2098 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2098 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2103

ทธศักราช 2103 ใกล้เคียงกั..

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2103 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2117

ทธศักราช 2117 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2117 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2119

ทธศักราช 2119 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2119 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2122

ทธศักราช 2122 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2122 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2127

ทธศักราช 2127 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพ.ศ. 2127 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (Charles IX of France) (27 มิถุนายน ค.ศ. 1550 - 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1574) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1560 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 พระเจ้าชาร์ลที่ 9 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 1550 ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แม็ง-ออง-เลย์ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในพระเจ้าอองรีที่ 2 และ แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ทรงเสกสมรสกับเอลิซาเบธแห่งออสเตรีย และมีพระราชธิดาพระองค์เดียวกับเอลิซาเบธมารี เอลิซาเบธแห่งวาลัวส์ พระเจ้าชาร์ลทระเป็นพระอนุชาของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 และเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าอองรีที่ 3 และมาร์เกอรีตแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่ง.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าชาร์ลที่ 9 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Francis II of France) (19 มกราคม ค.ศ. 1544 - 5 ธันวาคม ค.ศ. 1560) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1559 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 1560 พระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1544 ที่วังฟองแตนโบลในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในพระเจ้าอองรีที่ 2 และ แคทเธอรีน เดอ เม.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าฟร็องซัวที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Henry II of France) (31 มีนาคม ค.ศ. 1519- 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1559) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัว.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าอองรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (Henry III of France) (19 กันยายน ค.ศ. 1551 - 2 สิงหาคม ค.ศ. 1589) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์วาลัวส์ ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1589 พระเจ้าอองรีที่ 3 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 1551 ที่พระราชวังฟงแตนโบลในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าอองรีที่ 2 และ แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ ทรงได้รับพระนามเมื่อเสด็จพระราชสมภพว่า “Alexandre-Édouard de Valois-Angoulême” ก่อนที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงได้รับเลือกให้เป็นพระมหากษัตริย์แห่งเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนียระหว่างปี ค.ศ. 1573 ถึงปี ค.ศ. 1574 โดยมีข้อแม้ว่าต้องทรงลงพระนามใน “Pacta conventa” ที่สัญญาว่าจะทรงมีความผ่อนผันต่อผู้นับถือศาสนาต่างๆ ในเครือจักรภพ พระเจ้าอองรีเป็นพระอนุชาของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และเป็นพระเชษฐาของมาร์เกอรีตแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส พระเจ้าอองรีทรงเสกสมรสกับหลุยส์แห่งลอร์แรน-โวเดมองท์เมื่อวันที่ 14 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าอ็องรีที่ 3 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส หรือ พระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งนาวาร์ (Henri de Bourbon; 13 ธันวาคม ค.ศ. 1553 - 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1610) ทรงเป็นที่รู้จักในชื่อเรียกขานทั่วไปว่า พระเจ้าอ็องรีผู้ทรงธรรม ดำรงพระราชอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งนาวาร์ (ค.ศ. 1572 - ค.ศ. 1610) และพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์บูร์บงพระองค์แรก (ค.ศ. 1589 - ค.ศ. 1610) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2096 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์นาวาร์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์ หมวดหมู่:เสียชีวิตจากอาวุธมีคม หมวดหมู่:ราชวงศ์บูร์บง หมวดหมู่:ไนท์ออฟเดอะการ์เตอร์.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน

ระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน (Felipe II de España; พ.ศ. 2070-พ.ศ. 2141) ทรงสืบเชื้อสายมาจาก ราชวงศ์ฮับสบูร์กแห่งออสเตรีย ทรงดำรงฐานะเป็นทั้งกษัตริย์แห่งสเปนและโปรตุเกส โดยทรงเป็นกษัตริย์แห่งโปรตุเกสในพระนาม พระเจ้าฟีลีเปที่ 1 (Filipe I) รัชสมัยของพระองค์เป็นช่วงเวลาที่สเปนสามารถดำรงฐานะความเป็นชาติมหาอำนาจที่ทรงอิทธิพลทางทะเลมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายขยายอำนาจของสเปนในรัชสมัยของพระอง.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เกอริตแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส

มาร์เกอรีตแห่งวาลัวส์ สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส (ภาษาอังกฤษ: Marguerite de Valois) (14 พฤษภาคม ค.ศ. 1553 - 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1615) มาร์เกอรีตประสูติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1553 ที่พระราชวังแซงต์-แชร์แมง-ออง-เลย์ ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระธิดาของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ เป็นพระราชินีในพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างปี ค.ศ. 1589 ถึงปี ค.ศ. 1599 มาร์เกอรีตแห่งวาลัวส์สิ้นพระชนม์เมื่อ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1615 ที่ปารีส พระศพตั้งอยู่ที่ชาเปลของราชวงศ์วาลัว.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและมาร์เกอริตแห่งวาลัว สมเด็จพระราชินีแห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม เซซิล บารอนเบิร์กลีย์

วิลเลียม เซซิล บารอนเบิร์กลีย์ (William Cecil, Baron Burghley; 13 กันยายน ค.ศ. 1520 - 4 สิงหาคม ค.ศ. 1598) วิลเลียม เซซิลรัฐบุรุษชาวอังกฤษเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษจนเกือบตลอดรัชสมัยของพระองค์ เป็นมุขมนตรีแห่งราชอาณาจักรสองสมัย (ค.ศ. 1550–ค.ศ. 1553 และ ค.ศ. 1558–ค.ศ. 1572) และ มุขมนตรีกรมพระคลัง ตั้งแต..

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและวิลเลียม เซซิล บารอนเบิร์กลีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐดัตช์

รณรัฐดัตช์ (อังกฤษ: ชื่อเต็ม Republiek der Zeven Verenigde Nederlanden หรือ De Nederlandse Republiek และ De Verenigde Provincien) เป็นการรวมหนึ่งในส่วนรัฐทั้ง 7 ของเนเธอร์แลนด์ของสเปน โดยเป็นกบฏโปรแตสแตนท์ในกลุ่มขุนนาง ผู้ปกครองคนแรกคือ วิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ และทำให้เกิดสงคราม 80 ปีจนสงบศึกในปี ค.ศ. 1648.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและสาธารณรัฐดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามศาสนาของฝรั่งเศส

หตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิว สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (French Wars of Religion) เป็นสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1562 ถึง ค.ศ. 1598 ระหว่างฝ่ายคาทอลิก นำโดยตระกูลกีส (Guise) กับกลุ่มอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส นำโดยตระกูลบูร์บง ผลคือฝรั่งเศสเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์วาลัวส์ เป็นราชวงศ์บูร์บง และเสรีภาพทางศาสนาของผู้นับถือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสตามพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ดยุกแห่งแบร์รี

กแห่งแบร์รี (duc de Berry, Duke of Berry) เป็นบรรดาศักดิ์ขุนนางของฝรั่งเศสที่มอบให้แก่พระราชวงศ์ชั้นรอง แบร์รีที่เป็นที่ตั้งของดัชชีในปัจจุบันประกอบด้วยจังหวัดแชร์, แองดร์ และ บางส่วนของเวียนน์ การก่อตั้งครั้งแรกเป็นการก่อตั้งสำหรับจอห์นผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามของพระเจ้าจอห์นที่ 2 แห่งฝรั่งเศสในปี..

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและดยุกแห่งแบร์รี · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

แคทเธอรีน เดอ เมดีชี

ระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส พระราชสวามี แคทเธอรีน เดอ เมดิชิ (ภาษาอังกฤษ: Catherine de' Medici) (13 เมษายน ค.ศ. 1519 – 5 มกราคม ค.ศ. 1589) เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ชื่อเมื่อแรกเกิดในภาษาอิตาลีคือ “คาเทอรีนา มารีอา โรโมลา ดี ลอเร็นโซ เดอ เมดิชิ” (Caterina Maria Romola di Lorenzo de' Medici) พระบิดาและมารดาของแคทเธอรีนคือลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ ดยุกแห่งเออร์บิโนและมาเดเลน เดอ ลา ทัวร์ โดแวญ เคาเทสแห่งบูลอยน (Madeleine de la Tour d'Auvergne, Countess of Boulogne) ทั้งสองคนเสียชีวิตไปไม่นานหลังจากที่แคทเธอรีนประสูติ พระนามมาเปลี่ยนมาสะกดแบบฝรั่งเศสต่อมาเป็น “Catherine de Médicis” แคทเธอรีนเป็นพระอัครมเหสีในพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศสระหว่างปี ค.ศ. 1547 ถึงปี ค.ศ. 1559 เมื่อมีพระชนม์ได้ 14 พรรษาในปี ค.ศ. 1533 แคทเธอรีนก็ทรงเสกสมรสกับอองรีดยุกแห่งออร์เลอองผู้เป็นพระราชโอรสองค์ที่สองของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส กับพระราชินีโคลด เมื่อเจ้าชายรัชทายาท ฟรองซัวส์ หรือ “โดแฟ็ง” (Dauphin) พระเชษฐาของอองรีสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1536 อองรีก็ได้ขึ้นเป็นโดแฟงแทน แคทเธอรีนจึงทรงมีตำแหน่งเป็น “โดฟีน” (Dauphine) ต่อมาเมื่อพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 เสด็จสวรรคต อองรีก็ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าอองรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1547 ระหว่างการครองราชพระเจ้าอองรีก็มิได้ให้ความสำคัญต่อพระราชินีแคทเธอรีนเท่าใดนัก แต่ทรงกลับไปปรนเปรอพระสนมคนโปรด ไดแอน เดอ ปอยเตียร์ (Diane de Poitiers) แทน เมื่อพระเจ้าอองรีเสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1559 พระราชินีแคทเธอรีนจึงทรงเริ่มมีบทบาททางการเมืองโดยการเป็นพระชนนีของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสผู้มีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเมื่อขึ้นครองราชย์และไม่ทรงแข็งแรงเท่าใดนัก พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงปกครองฝรั่งเศสได้เพียงปีเดียวก็เสด็จสวรรคต พระราชินีแคทเธอรีนก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้มีอำนาจเต็มที่ในพระโอรสองค์รอง พระเจ้าชาร์ลที่ 9 ผู้มีพระชนมายุได้เพียง 10 พรรษา หลังจากพระเจ้าชาลส์เสด็จสวรรคตพระราชินีนาถแคทเธอรีนก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการปกครองมากขึ้นเมื่อพระราชโอรสองค์ที่สามขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าอองรีที่ 3 พระเจ้าอองรีทรงปรึกษาราชการแผ่นดินต่างๆ กับพระราชชนนีจนระยะสุดท้ายก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระโอรสผู้อ่อนแอทั้งสามพระองค์ของแคทเธอรีนทรงปกครองฝรั่งเศสในขณะที่บ้านเมืองระส่ำระสายจากการก่อความไม่สงบต่างที่เกิดขึ้นจากสงครามกลางเมืองและสงครามศาสนา ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นมิได้อยู่ในความควบคุมของระบบพระมหากษัตริย์และเป็นปัญหาที่ใหญ่แม้แต่สำหรับพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เมื่อแรกเริ่มแคทเธอรีนก็พยายามประนีประนอมกับฝ่ายอูเกอโนท์ (Huguenots) หรือชาวฝรั่งเศสที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์เมื่อมีการจลาจลเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงปัญหาความขัดแย้งทางปรัชญาทางคริสต์ศาสนวิทยาและสาเหตุของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้พระองค์ไม่มีพระอุตสาหะพอที่จะพยายามแก้ไขสถานการณ์ได้อย่างสันติ และทรงใช้ไม้แข็งในการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ พระองค์จึงทรงถูกประณามในเหตุการณ์ร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว ในปี ค.ศ. 1572 ซึ่งเป็นผลให้อูเกอโนท์ถูกสังหารอย่างทารุณทั้งในปารีสและทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานกันว่าในปารีสเองมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2,000 คนและอีกประมาณ 5,000-10,000 คนในบริเวณอื่นทั่วฝรั่งเศส หลังจากนั้นก็มีเรื่องสยดสยองต่างๆ จากเหตุการณ์ในเอกสารที่แจกจ่ายกันในสมัยนั้นซึ่งเป็นต้นกำเนิด “ตำนานมืด” (The Black Legend) ของ “พระราชินีผู้ชั่วร้าย” จากปากเสียงของผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงถูกประณามว่าเป็น “Machiavellian Renaissance prince” ผู้ป้อนความกระหายอำนาจด้วยการอาชญากรรม, การวางยาพิษ และบางทีก็ถึงกับใช้อำนาจเวทมนตร์ “อากริพพา โดบินย์” (Agrippa d'Aubigné) กวีอูเกอโนท์ถึงกับขนานพระนามพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “เชี้อโรคจากฟลอเรนซ์” (Florentine plague) ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์จูลส์ มิเชลเลท์ (Jules Michelet) บรรยายพระราชินีนาถแคทเธอรีนว่าเป็น “หนอนที่หลุดออกมาจากหลุมศพของอิตาลี” นักประวัติศาสตร์ปัจจุบันให้เหตุผลสนับสนุนการใช้อำนาจอันเกินควรของพระราชินีนาถแคทเธอรีน แต่อาร์ เจ เนคช (R. J. Knecht) กล่าวว่าความทารุณของพระราชินีนาถแคทเธอรีนจะเห็นได้จากจดหมายที่ทรงเขียน นิโคลา ซัทเธอร์แลนด์ (Nicola Sutherland) กล่าวเตือนถึงความเกินเลยในการบรรยายอำนาจของพระองค์ว่าแทนที่จะเป็นภาพพจน์ที่ทรงปกครองอย่างมั่นคง พระราชินีนาถแคทเธอรีนทรงต้องต่อสู้กับความไม่สงบต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างแทบไม่มีทางชนะ นโยบายการปกครองของพระองค์จึงเป็นนโยบายของความอยู่รอดของราชวงศ์วาลัวส์ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดใด จึงอาจจะกล่าวได้ว่าถ้าไม่มีพระราชินีนาถแคทเธอรีนพระโอรสทั้งสามพระองค์ก็คงไม่ทรงสามารถปกครองฝรั่งเศสด้วยพระองค์เองได้ ระยะการปกครองระหว่างพระโอรสทั้งสามเรียกว่า “สมัยแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ” (The Age of Catherine de' Medici).

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและแคทเธอรีน เดอ เมดีชี · ดูเพิ่มเติม »

เกนต์

มืองเกนต์ เกนต์ (Ghent เดิม Gaunt), เคนต์ (Gent) หรือ ก็อง (Gand) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดฟลานเดอร์ตะวันออกในบริเวณเฟลมมิชของประเทศเบลเยียม เดิมตัวเมืองเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานที่ปากแม่น้ำสเกลต์และแม่น้ำลูส ในยุคกลางเกนต์เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดในตอนเหนือของยุโรป ในปัจจุบันเป็นเมืองท่าและเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกนต์ เกนต์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสองของประเทศเบลเยียมโดยจำนวนประชากร บริเวณตัวเมืองและปริมณฑลมีเนื้อที่ 1,205 ตารางกิโลเมตรและมีประชากรทั้งหมด 594,582 คน (1 มกราคม 2008) Definitions of metropolitan areas in Belgium.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและเกนต์ · ดูเพิ่มเติม »

18 มีนาคม

วันที่ 18 มีนาคม เป็นวันที่ 77 ของปี (วันที่ 78 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 288 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและ18 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

19 มิถุนายน

วันที่ 19 มิถุนายน เป็นวันที่ 170 ของปี (วันที่ 171 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 195 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ฟร็องซัว ดยุกแห่งอ็องฌูและ19 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Francis, Duke of AnjouFrancois, Duke of AnjouFrançois, Duc d'AnjouFrançois, Duke of Anjouฟรองซัวส์ ดยุคแห่งอองชู

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »