โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พูฒานีลกัณฐมนเทียร

ดัชนี พูฒานีลกัณฐมนเทียร

ทวรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ เทวรูปหลักประจำวัด พูฒานีลกัณฐมนเทียร (बूढानीलकण्ठ मन्दिर พูฒานีลกณฺฐ มนฺทิร) หรือ วัดพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ เป็นโบสถ์พราหมณ์ ที่ตั้งอยู่ในเขตกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล.

11 ความสัมพันธ์: พระพิฆเนศพระศิวะพระสุรัสวดีพระปารวตีพระนารายณ์กาฐมาณฑุหนุมานครุฑประเทศเนปาลโบสถ์พราหมณ์เทวรูป

พระพิฆเนศ

ระคเณศ (गणेश பிள்ளையார் Ganesha) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ ทรงเป็นเทพในศาสนาฮินดู ทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จ ทั้งยังทรงเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาการและการประพันธ์ ทรงเป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง).

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและพระพิฆเนศ · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระสุรัสวดี

ระสุรัสวตี เทวีอักษรศาสตร์(ตราสัญลักษณ์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระสุรัสวดี หรือ พระสรัสวดี (सरस्वती สรสฺวตี) เป็นเทพสตรีในศาสนาฮินดู ทรงอุปถัมภ์ความรู้, ศิลปะ, ดนตรี, ปัญญา และการเรียนรู้Kinsley, David (1988).

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและพระสุรัสวดี · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

พระนารายณ์

ระนารายณ์บรรมบนหลังพญาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทร และให้กำเนิดพระพรหม ดูบทความหลักที่ พระวิษณุ พระนารายณ์ (สันสกฤต: नारायण; Narayana; ความหมาย: ผู้ที่ได้เคลื่อนไหวอยู่ในน้ำ) เป็นเทพเจ้าสูงสุดหนึ่งในสามพระองค์ (ตรีมูรติ) ในความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยมากถือว่าเป็นองค์เดียวกันกับพระวิษณุ แต่ทว่าชาวไทยส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับพระนาม พระนารายณ์ มากกว่า เหตุที่มีพระนามแตกต่างกัน เนื่องจากมีบางคัมภีร์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเล่าว่า เดิมทีมีเทพเจ้าเพียงองค์เดียว คือ พระนารายณ์ ซึ่งเรียกว่าปรพรหม ซึ่งเป็นพระผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง เมื่อพระนารายณ์รำพึงถึงการสร้างโลก ก็ทรงคำนึงถึงการปกปักรักษา แต่พระปรพรหมนั้นเป็นอรูปกเทพ คือ ไม่มีตัวตน จึงไม่สามารถที่จะสร้างโลกได้ จึงแบ่งภาคแยกร่างออกมาเป็น พระวิษณุ ซึ่งทรงประทานพระนามให้ และเมื่อพระวิษณุบรรทมหลับในเกษียรสมุทร ก็ทรงสุบินถึงการสร้างทุกสรรพสิ่ง ซึ่งพระวิษณุเป็นเทพผู้สร้างโลก สิ่งมีชีวิต รวมถึงมนุษย์ และที่พระนาภีของพระองค์ก็บังเกิดมีดอกบัวหลวงผุดขึ้นมา และภายในดอกบัวนั้นก็มี พระพรหม ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติอยู่ภายใน ซึ่งพระวิษณุก็เป็นผู้ให้กำเนิดพระพรหมด้วย บางตำราก็กล่าวว่าเดิมมีพระนามว่า วิษณุ หรือ พิษณุ และได้เปลี่ยนเป็น นารายณ์ ในระยะหลัง โดยพระองค์มีสีพระวรกายเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยของโลก ในกฤตยุค ยุคแรกของโลก ยุคที่คุณธรรมความดีของมนุษย์มีเต็มเปี่ยม สีกายพระนารายณ์สีขาว ยุคที่สอง ไตรดายุค ธรรมะและคุณธรรมมนุษย์เหลือสามในสี่ สีกายพระนารายณ์เป็นสีแดง ยุคที่สาม ทวาปรยุค คุณธรรมมนุษย์เหลือครึ่งเดียว สีกายเป็นสีเหลือง ยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่สี่ กลียุค คุณธรรมของมนุษย์ลดลงเหลือหนึ่งในสี่ สีกายพระนารายณ์ เปลี่ยนเป็นสีนิลแก่หรือสีดำ.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและพระนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กาฐมาณฑุ

right กาฐมาณฑุ (काठमाडौं, Kathmandu) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนปาล และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดด้วย เป็นพื้นที่เมืองและชานเมืองที่มีประชากรประมาณ 3.2 ล้านคนในพื้นที่ 3 เมืองในหุบเขากาฐมาณฑุในเนปาลกลาง บนแม่น้ำพาคมตี (Bagmati) อีก 2 เมืองคือปาฏัน (Patan) และภักตปุระ (Bhaktapur) กาฐมาณฑุตั้งที่ 27°43' เหนือ 85°22' ตะวันออก (27.71667, 85.36667) เมืองนี้ยังได้รับการแข่งขันกีฬาภูมิภาคเอเชียใต้เป็นครั้งแรกอีกด้วย และเมืองนี้เป็นเมืองหลวงเมืองเดียวในโลกที่มีตำรวจจราจรเป็นตำรวจหญิง.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและกาฐมาณฑุ · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

ครุฑ

รุฑยุดนาคปูนปั้นปิดทอง ประดับรอบพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ครุฑ (गरुड) เป็นสัตว์กึ่งเทพในปกรณัมอินเดียและปรากฏในวรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง เช่น มหากาพย์ มหาภารตะ เล่าว่า ครุฑเป็นพี่น้องกับนาคและทะเลาะกันจนเป็นศัตรู นอกจากนี้ ยังมีคัมภีร์ปุราณะที่ชื่อว่า ครุฑปุราณะ เป็นเรื่องเล่าพญาครุฑ ตามคติไทยโบราณ เชื่อว่าครุฑเป็นพญาแห่งนกทั้งมวล และเป็นพาหนะของพระนารายณ์ ปกติอาศัยอยู่ที่วิมานฉิมพลี มีรูปเป็นครึ่งคนครึ่งนกอินทรี ได้รับพรให้เป็นอมตะ ไม่มีอาวุธใดทำลายลงได้ แม้กระทั่งสายฟ้าของพระอินทร์ก็ได้แต่เพียงทำให้ขนของครุฑหลุดร่วงลงมาเพียงเส้นหนึ่งเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ครุฑจึงมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "สุบรรณ" ซึ่งหมายถึง "ขนวิเศษ" ครุฑเป็นสัตว์ใหญ่ มีอานุภาพและพละกำลังมหาศาล แข็งแรง บินได้รวดเร็ว มีสติปัญญาเฉียบแหลม อ่อนน้อมถ่อมตน และมีสัมมาคารวะ ครุฑพอจะแบ่งได้ 5 ประเภทคือ.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและครุฑ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

โบสถ์พราหมณ์

ราหมณ์ หมายถึง เทวสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาฮินดู มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแลและประกอบพิธี.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและโบสถ์พราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวรูป

ทวรูปพระพรหม ที่พิพิธภัณฑ์กีเมต์ จากจังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา เทวรูป (Cult image) เป็นประติมากรรมลอยตัว สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของเทพเจ้า (ถ้าสร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งที่เคารพนับถือที่ไม่ใช่เทพเจ้าเรียกว่า "รูปเคารพ") เทวรูปนั้นได้มีการนำมาใช้เพื่อกิจกรรมหรือพิธีกรรมทางศาสนา และการสักการบูชาเคารพ มีการสักการบูชาที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การถวายข้าวตอกดอกไม้ การไหว้ หรือมีพิธีกระบวนแห่ต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: พูฒานีลกัณฐมนเทียรและเทวรูป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

เทวสถานพุธนิลกัณฑะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »