สารบัญ
20 ความสัมพันธ์: ชนชั้นกระฎุมพีชนชั้นทางสังคมชนชั้นเจ้าชนกรรมาชีพพระมหากษัตริย์พระคาร์ดินัลการจัดช่วงชั้นทางสังคมการ์ตูนรัฐโอไฮโอสหรัฐสังคมนิยมจักรวรรดิรัสเซียธงแดงทุนนิยมคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์คลีฟแลนด์ซาร์โรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์เคลอจี
- ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
- พีระมิด
ชนชั้นกระฎุมพี
กระฎุมพี (/กฺระดุมพี/) เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่มชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิช ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวกอภิชน) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,, มติชน, 1 กันยายน..
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและชนชั้นกระฎุมพี
ชนชั้นทางสังคม
นชั้นทางสังคม หรือเรียกเพียง ชนชั้น เป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมืองซึ่งมีศูนย์กลางที่แบบจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมซึ่งบุคคลถูกจัดอยู่ในกลุ่มหมวดหมู่สังคมลำดับชั้น ชนชั้นสามัญที่สุด คือ ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง และชนชั้นล่าง ชนชั้นเป็นวัตถุสำคัญแห่งการวิเคราะห์สำหรับนักสังคมวิทยา นักรัฐศาสตร์ นักมานุษยวิทยาและนักประวัติศาสตร์สังคม อย่างไรก็ดี ไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า "ชนชั้น" คืออะไร และคำนี้มีหลายความหมายบริบท ในสำนวนพูดทั่วไป คำว่า "ชนชั้นทางสังคม" โดยทั่วไปพ้องกับ "ชนชั้นทางสังคม-เศรษฐกิจ" ซึ่งนิยามว่าเป็น "บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจหรือการศึกษาเท่ากัน" เช่น ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นวิชาชีพอุบัติใหม่ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำว่า "ชนชั้น" เริ่มเป็นวิธีหลักในการจัดระเบียบสังคมเป็นการแบ่งลำดับชั้นแทนการจำแนกประเภทอย่างฐานันดร ยศและลำดับ ซึ่งสัมพันธ์กับการให้ความสำคัญกับคุณลักษณะที่ตกทอดมาลดลงโดยทั่วไป และให้ความสำคัญกับความมั่งคั่งและรายได้เพิ่มขึ้นเป็นตัวชี้วัดฐานะในลำดับชั้นทางสังคม.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและชนชั้นทางสังคม
ชนชั้นเจ้า
ักรพรรดิเลโอโปลด์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้า เป็นชนชั้นที่สูงที่สุดในชนชั้นทางสังคม จัดอยู่ในชนชั้นปกครอง ประกอบด้วยญาติวงศ์ของเจ้าแผ่นดิน ซึ่งอาจปกครองแคว้น, อาณาจักร, หรือจักรวรรดิ เจ้าอาจมีฐานันดรเป็น จักรพรรดิ, จักรพรรดินี, พระเจ้า, พระนางเจ้า, เจ้าชาย หรือ เจ้าหญิง ในบางจักรวรรดิเช่นออสเตรียและรัสเซียอาจมีฐานันดรนำหน้าเป็น อาร์ชดยุก หรือ อาร์ชดัชเชส โดยไม่ถือว่าเป็นขุนนาง บุคคลที่เกิดมาเป็นเจ้ามักคงสถานะความเป็นเจ้าไปจนสิ้นชีพ สถานะเจ้าจะส่งต่อไปยังทายาทผ่านทางบิดาเป็นหลัก สามัญชนอาจขึ้นเป็นเจ้าได้ผ่านการอภิเษกสมรส เจ้าอาจตำรงตำแหน่งเป็นขุนนางด้วย อาทิเจ้าที่มีตำแหน่งเป็นดยุกต่างๆ ในประวัติศาสตร์แม้ว่าชนชั้นนี้จะมีอำนาจมากที่สุดแต่ก็จำเป็นต้องพึ่งพาการสนับสนุนจากชนชั้นขุนนางอย่างมาก ชนชั้นเจ้ามอบสิทธิตลอดจนรับประกันสิทธิต่างๆแก่ขุนนางเพื่อแลกกับความจงรักภักดี จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 ระบอบเจ้าในหลายๆประเทศของยุโรปเริ่มอ่อนแอจากการเผชิญกับกระแสสังคมนิยมและความทุกข์ยากจากภัยสงคราม ในขณะที่ระบอบเจ้าในเอเชียและแอฟริกาก็เผชิญกับภัยลัทธิล่าอาณานิคม ทั้งสองสาเหตุนี้เป็นเหตุให้ราชวงศ์มากกว่าร้อยแห่งถูกล้มล้างในช่วงศตวรรษที่ 20 ในยุคสมัยใหม่ บางประเทศยังคงไว้ซึ่งราชวงศ์แต่ไม่ให้อำนาจบริหาร ในปี 2013 ทั้งโลกมีราชวงศ์ที่นั่งบัลลังก์อยู่ทั้งสิ้น 26 ราชวงศ์ซึ่งปกครองอยู่ใน 43 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็น 7 ประเทศที่ยังคงปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิร.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและชนชั้นเจ้า
ชนกรรมาชีพ
นกรรมาชีพ (proletariat) เป็นคำใช้อธิบายชนชั้นลูกจ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนงานอุตสาหกรรม) ในสังคมทุนนิยมซึ่งครอบครองมูลค่าทางวัตถุ (material value) ที่สำคัญอย่างเดียว คือ พลังแรงงาน (labour-power) หรือความสามารถในการทำงาน สมาชิกของชนชั้นนี้เรียก ชนกรรมาชี.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและชนกรรมาชีพ
พระมหากษัตริย์
กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและพระมหากษัตริย์
พระคาร์ดินัล
ตราประจำสมณศักดิ์พระคาร์ดินัล คาร์ดินัล (Cardinal) เป็นสมณศักดิ์ชั้นสูง รองจากพระสันตะปาปา ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพระสันตะปาปา ในการปกครองคริสตจักรโรมันคาทอลิก ตำแหน่งนี้อาจเทียบเท่ากับสมเด็จพระราชาคณะในศาสนาพุทธ หรือสมาชิกวุฒิสภาในทางโลก ในสมัยก่อนตำแหน่งคาร์ดินัลมักเป็นฆราวาส แต่นับตั้งแต่ตราประมวลกฎหมายพระศาสนจักรฉบับล่าสุด (ค.ศ.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและพระคาร์ดินัล
การจัดช่วงชั้นทางสังคม
การจัดช่วงชั้นทางสังคม (social stratification) คือการแบ่งสถานะหรือชนชั้นทางสังคมโดยแบ่งจากพิ้นฐานทางเศรษฐกิจ ความมั่งคั่ง การเมือง ชนชาติ และนิยามอื่น ๆ ที่กำหนดโดยสังคมนั้น ๆ เป็นต้น สี่ปัจจัยหลักของการจัดช่วงชั้นในสังคม 1.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและการจัดช่วงชั้นทางสังคม
การ์ตูน
ตัวอย่างการ์ตูน ตัวอย่างแอนิเมชัน การ์ตูน (cartoon) คือทัศนศิลป์สองมิติรูปแบบหนึ่ง ซึ่งความหมายที่เฉพาะเจาะจงแปรเปลี่ยนไปตามเวลา ความหมายในสมัยใหม่โดยทั่วไปหมายถึง การวาดเส้นหรือจิตรกรรมแบบกึ่งสัจนิยมหรืออสัจนิยม (กึ่งเหมือนจริงหรือไม่เหมือนจริง) เพื่อการเสียดสี การล้อเลียน ความขบขัน หรือการแสดงออกซึ่งกระบวนแบบเชิงศิลปะ ศิลปินผู้วาดการ์ตูนเรียกว่านักเขียนการ์ตูน (cartoonist) ในยุคอดีต การ์ตูนหมายถึงภาพร่างหรือภาพวาดที่ใช้การเรียนการศึกษาแทนการใช้ภาพจริง ในปัจจุบันการ์ตูนมักจะหมายถึงแอนิเมชัน ซึ่งเป็นเทคนิคในการสร้างการ์ตูนในยุคปัจจุบัน ที่มีการฉายทางโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์ ในความหมายอื่น การ์ตูนใช้แทนรายการสำหรับเด็กที่มีการใช้สัตว์หรือสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นเคลื่อนไหวในลักษณะเหมือนมนุษย์ การ์ตูนปัจจุบันจะพบได้จากหนังสือ, หนังสือพิมพ์ (ซึ่งมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับข่าว การเมือง บันเทิง), โปสเตอร์, ภาพยนตร์ เป็นต้น นายแพทย์ ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เคยกล่าวถึงการ์ตูนว่า "หน้าที่หนึ่งของการ์ตูน คือกระตุกความคิดของเยาวชน ไม่ต้องสอน".
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและการ์ตูน
รัฐโอไฮโอ
ป้ายต้อนรับ รัฐโอไฮโอ (Ohio) รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 17 ในปี พ.ศ. 2346 อักษรย่อของที่ทำการไปรษณีย์สหรัฐคือ OH และเป็นรัฐที่มีป่าไม้มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา รองจากรัฐอะแลสก.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและรัฐโอไฮโอ
สหรัฐ
หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).
สังคมนิยม
ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและสังคมนิยม
จักรวรรดิรัสเซีย
ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและจักรวรรดิรัสเซีย
ธงแดง
งพื้นสีแดงเกลี้ยงมักใช้ในการรณรงค์ต่างๆ ของลัทธิสังคมนิยม ลัทธิคอมมิวนิสต์ และกลุ่มการเมืองฝ่ายซ้ายต่างๆ ทั้งมีการใช้เป็นธงชาติชั่วคราว ในหลายประเทศที่มีการปฏิวัติแบบสังคมนิยม (socialist revolution) ธงแดง (Red flag) มักมีความหมายถึงธงต่างๆ ที่เป็นสีแดงโดยทั่วไป อาจใช้เป็นสัญลักษณ์เตือนภัย การประกาศกฎอัยการศึก หรือการต่อต้านท้าทาย หรือแม้แต่การใช้เป็นสีธงชาติต่างๆ ในยุคเริ่มแรกของหลายประเทศ เพราะเป็นสีที่สามารถสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุด แต่ในทางประวัติศาสตร์แล้ว คำนี้เป็นสัญลักษณ์สากลอย่างหนึ่งที่ใช้หมายถึงแนวคิดหรือลัทธิการเมืองฝ่ายซ้ายเป็นหลัก ในพจนานุกรม Oxford English Dictionary ระบุถึงการใช้ "ธงแดง" ("red flag") เท่าที่มีการอ้างถึงครั้งแรกสุดว่า คำนี้เริ่มปรากฏในปี ค.ศ.
ทุนนิยม
"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและทุนนิยม
คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์
ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์
คลีฟแลนด์
ลีฟแลนด์ (Cleveland) เป็นเมืองหนึ่งในรัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในเขตคูยาโฮกาเคาน์ตี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐโอไฮโอและริมชายฝั่งทางใต้ของทะเลสาบอิรี ก่อตั้งขึ้นในปี..
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและคลีฟแลนด์
ซาร์
ักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงเป็นซาร์องค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย ซาร์ (царь) เป็นชื่อเรียกตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของชาติพันธุ์สลาฟ ซึ่งรวมถึงพระเจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซีย คำว่าซาร์มาจากภาษาละตินว่า คาเอซาร์ (Caesar) ซึ่งเป็นผู้ปกครองแผ่นดินโรมัน ซาร์อาจมีอิสริยยศเป็นกษัตริย์หรือจักรพรรดิก็ได้.
โรมันคาทอลิก
ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและโรมันคาทอลิก
โปรเตสแตนต์
นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและโปรเตสแตนต์
เคลอจี
ลอจี เคลอจี (clergy อ่านว่า เคลอ-จี) คือ ผู้ได้รับศีลบวช ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่านักบวช รูปเอกพจน์เรียกว่าเคลริก (cleric) ศาสนาคริสต์เริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงศาสนบุคคลที่ได้รับศีลบวช ได้แก่ ดีกัน บาทหลวง และบิชอป ในปัจจุบันหมายถึง บุคคลในศาสนาใด ๆ ที่ผ่านพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับใช้ศาสน.
ดู พีระมิดระบบทุนนิยมและเคลอจี
ดูเพิ่มเติม
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
- คนรวยรวยขึ้นและคนจนจนลง
- พีระมิดระบบทุนนิยม
- โศกนาฏกรรมของสาธารณสมบัติ
พีระมิด
- พีระมิด
- พีระมิด (เรขาคณิต)
- พีระมิดระบบทุนนิยม