โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิส

ดัชนี พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิส

ัณฑ์แห่งชาติสวิส (Swiss National Museum) เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป ตั้งอยู่ในข้างสถานีกลางซือริช ในนครซือริช อาคารพิพิธภัณฑ์สร้างขึ้นในปี..

6 ความสัมพันธ์: ศิลปะกอทิกสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศสสถานีกลางซือริชจิตรกรรมแผงทวีปยุโรปซือริช

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ. 1145) รูปปั้นประกอบสถาปัตยกรรมนี้เป็นประติมากรรมศิลปะกอทิกตอนต้น ซึ่งแสดงวิวัฒนาการในรูปแบบเป็นแบบอย่างแก่ประติมากรรุ่นต่อมา ศิลปะกอทิกเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"กอธิค" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนปลายของอิตาลี เรียกรูปแบบของศิลปะ ที่เกิดในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวข้างต้น ที่เป็นผลงานของพวกกอท แฟรงก์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซัน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ ประการสำคัญ เป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมันและถึงพร้อมด้านศิลปวิทยาการ ดังนั้นถ้อยสำเนียงหรือนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะกอทิก" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยันมากกว่าการชื่นชม เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฎเกณท์ชัดเจน ซึ่งในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น จนนักวิจารณ์บางคนในยุคเรอเนซองส์ใช้คำกล่าวหาศิลปะกอธิคค่อนข้างรุนแรงว่าเป็นศิลปะที่ "ไร้รสนิยม" และ"วิตถาร" อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลีแล้ว มักจะเรียกศิลปกรรมกอธิคอย่างยอมรับมากกว่าจะดูแคลน โดยพวกเขาจะเรียกศิลปะกลุ่มนี้เป็นภาษาละตินว่า Opus Modernum หรืองานสมัยใหม่ ศิลปกรรมกอทิกเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมกอธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและศิลปะกอทิก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) หมายถึงการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและศิลปะ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มต้นขึ้นในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสตามปกติแล้วถือว่าเริ่มขึ้น ตั้งแต่การรุกรานของฝรั่งเศสเข้าไปในอิตาลีในปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สถานีกลางซือริช

นีกลางซือริช (Zürich Hauptbahnhof) เป็นสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่ในนครซือริชซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สถานีรถไฟแห่งนี้เป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมทางรางซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟสายอื่นๆไปทั่วประเทศและประเทศเพื่อนบ้านในทวีปยุโรปอาทิ เยอรมนี, อิตาลี, ออสเตรีย และ ฝรั่งเศส สถานีรถไฟซือริชแห่งแรก สร้างขึ้นโดยกุสตาฟ อัลแบร์ต เว็กมันน์ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณนอกเมืองทางตะวันตกเฉียงเหนือ รถไฟจะสามารถเข้า-ออกได้จากทิศตะวันตก สถานีแห่งแรกนี้ตั้งอยู่คนละที่กับสถานีในปัจจุบัน สถานีรถไฟซือริชแห่งใหม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานีต้นทางสำหรับรถไฟสวิตสายเหนือ ซึ่งเชื่อมระหว่างนครซือริชกับแคว้นบาเดิน โดยเปิดใช้งานในวันที่ 9 สิงหาคม..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและสถานีกลางซือริช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมแผง

"ฉากแท่นบูชาเกนต์" โดยยัน ฟัน ไอก์ และพี่ชาย, ค.ศ. 1432. ฉากแท่นบูชา (altarpiece) บนแผ่นไม้ เขียนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จิตรกรรมแผง (panel painting) คือการเขียนภาพบนแผ่นไม้ อาจจะเป็นแผ่นเดียวหรือหลายแผ่นเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียว ซึ่งแตกต่างกับบานพับภาพที่จะแยกจากกัน (บานพับภาพ มักรวมเรียกเป็นส่วนหนึ่งของจิตรกรรมแผง) แผ่นไม้ใช้เป็นพื้นสำหรับวาดภาพจนกระทั่งถูกแทนที่ด้วยผ้าใบในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นอกเหนือไปจากการวาดบนผนัง หรือบนหนังสัตว์ ซี่งวัสดุชนิดหลังนี้นิยมใช้ในการวาดหนังสือวิจิตร หรือเขียนภาพสำหรับใส่กรอ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและจิตรกรรมแผง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ซือริช

ซือริช (Zürich) หรือ ซูริก (Zurich) เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์และเป็นเมืองหลวงของรัฐซือริช ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนเหนือของประเทศ บริเวณจุดเหนือสุดของทะเลสาบซือริช (Lake Zurich) มีประชากรในเขตตัวเมืองทั้งหมด 400,028 คน และประชากรบริเวณรอบตัวเมืองรวมทั้งสิ้น 1.4 ล้านคน ซือริชเป็นศูนย์กลางของระบบการขนส่งมวลชนของประเทศ อาทิ ระบบขนส่งรถไฟ เส้นทางการคมนาคม การจราจรทางอากาศ โดยเป็นที่ตั้งของสนามบินและสถานีรถไฟที่ใหญ่ที่สุดและการจราจรหนาแน่นที่สุดในประเทศ ซือริชได้ถูกก่อตั้งมานานกว่า 2,000 ปี โดยชาวโรมันช่วง 150 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งขณะนั้นซือริชมีชื่อเรียกว่า Turicum อย่างไรก็ตามร่องรอยการเข้าอยู่อาศัยในซือริชได้ถูกค้นพบว่ายาวนานถึง 6,400 ปีแล้ว ในช่วงยุคกลาง ซือริชได้รับเอกราชเมื่อปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสวิสและซือริช · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »