โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ

ดัชนี พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ

ัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ (Museo Guggenheim Bilbao; Guggenheim Bilbao Museoa) เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์งานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนร์บีออน (Nervion) (แม่น้ำซึ่งไหลผ่านเมืองบิลบาโอสู่ทะเลกันตาเบรียในมหาสมุทรแอตแลนติก) ณ เมืองบิลบาโอ แคว้นบาสก์ ประเทศสเปน อาคารได้รับการออกแบบโดยแฟรงก์ เกห์รี สถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์สัญชาติแคนาดา-อเมริกา เปิดตัวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม..

14 ความสัมพันธ์: บิลบาโอพิพิธภัณฑสถานพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์มหาสมุทรแอตแลนติกรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปนรางวัลพริตซ์เกอร์วัฒนธรรมประชานิยมสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปนคตินิยมเปลี่ยนแนวประเทศสเปนนครนิวยอร์กแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์แฟรงก์ เกห์รีแคว้นประเทศบาสก์

บิลบาโอ

ตลาดลาริเบรา (La Ribera) ในเขตเมืองเก่า บิลบาโอ (Bilbao) บางครั้งเรียกว่า บิลโบ (Bilbo) ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศสเปน เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในแคว้นประเทศบาสก์และเป็นเมืองหลักของจังหวัดบิซกายา ตั้งขึ้นในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1300 (พ.ศ. 1843) โดยดอนดิเอโก โลเปซ เด อาโรที่ 5 (Don Diego Lopez de Haro V) ลอร์ดแห่งบิซกายา เมืองบิลบาโอเป็นบริเวณที่มีความคล่องตัวทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมากที่สุดของมหานครบิลบาโอซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชากรจำนวนเกือบครึ่งของแคว้นประเทศบาสก์อาศัยอยู่ เฉพาะตัวเมืองมีประชากร 351,629 คน (ค.ศ. 2012) ส่วนในเขตมหานครบิลบาโอและปริมณฑลมีจำนวนประชากรประมาณ 950,000 คน โดยอาศัยอยู่หนาแน่นตลอดความยาวของแม่น้ำเนร์บิออน (Nervión) สองฝั่งของแม่น้ำสายนี้ยังเป็นที่ตั้งของโรงงานและธุรกิจจำนวนมาก ซึ่งได้นำความเจริญมั่งคั่งมาสู่พื้นที่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและบิลบาโอ · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์

ัณฑ์ โซโลมอน อาร.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและพิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน

รายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและรายพระนามพระมหากษัตริย์สเปน · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลพริตซ์เกอร์

รางวัลพริตซ์เกอร์ (Pritzker Prize) เป็นรางวัลประจำปีที่มูลนิธิไฮแอตต์ (Hyatt) มอบเป็นเกียรติแก่สถาปนิกที่ยังมีชีวิตในปัจจุบัน (ขณะพิจารณารางวัล) เริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยเจย์ พริตซ์เกอร์ (Jay Pritzker) เป็นการพิจารณาให้รางวัลแก่งานสถาปัตยกรรมดีเด่นที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยส่วนหนึ่งของเกณฑ์ในการพิจารณาให้รางวัลคือการสร้างนวัตกรรมที่ดีและมีคุณภาพ เสริมสร้างและบูรณาการการใช้เทคโนโลยีที่ดีในการก่อสร้าง สถาปนิกผู้ได้รับรางวัลจะได้รับเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ รางวัลนี้เปรียบเสมือนรางวัลโนเบลผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและรางวัลพริตซ์เกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วัฒนธรรมประชานิยม

วัฒนธรรมประชานิยม (popular culture หรือ pop culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่เป็นที่นิยมของผู้คนในสมัยนั้น เกิดจากการสื่อสารของบุคคล ความต้องการของวัฒนธรรมในจังหวะช่วงเวลานั้น ซึ่งเกิดขึ้นทุกวันและแสดงเป็นภาพลักษณ์ออกมา ซึ่งสามารถรวมได้ถึงทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การแต่งกาย สื่อมวลชน กีฬา หรือวรรณกรรม วัฒนธรรมประชานิยมมักมีลักษณะตรงข้ามกับวัฒนธรรมระดับสูง วัฒนธรรมประชานิยมคือทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นความคิด มุมมอง ทัศนคติ ภาพลักษณ์ การเลียนแบบ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นสิ่งที่ชื่นชอบของสังคมในท่ามกลางวัฒนธรรมกระแสหลัก ส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมสมัยนิยม เช่น เพลงป็อปหรือเพลงสมัยนิยมที่จะเน้นในลักษณะตามความชอบของคนในสมัยนั้น เพลงป็อปในญี่ปุ่นจะเรียกว่า เจ-ป็อป.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและวัฒนธรรมประชานิยม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน

มเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน หรือ พระเจ้าฆวน การ์โลสที่ 1 (Juan Carlos I; เสด็จพระราชสมภพ 5 มกราคม พ.ศ. 2481) เป็นพระมหากษัตริย์สเปน ตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ฟรันซิสโก ฟรังโก ผู้เผด็จการสเปน กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 เป็นประมุขแห่งรัฐองค์ถัดมาใน..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและสมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมเปลี่ยนแนว

ลักษณะสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว พิพิธภัณฑ์ Imperial War Museum North ออกแบบโดย Daniel Libeskind สะพาน คตินิยมเปลี่ยนแนว (deconstructivism) หรืออาจเรียกว่า การเปลี่ยนแนว (deconstruction) เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่พัฒนาจากสถาปัตยกรรมหลังสมัยใหม่ ที่เริ่มช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 โดยมีเอกลักษณ์จากรูปแบบการแตกกระจาย, ความสนใจในการเปลี่ยนแปลงพื้นผิวของโครงสร้างหรือเปลือก, รูปร่างที่ไม่ใช่เส้นตรง ที่ทำให้เกิดการทำให้บิดเบี้ยวและความไม่เป็นระเบียบขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม อย่างเช่นโครงสร้างและสิ่งห่อหุ้ม ภาพปรากฏของอาคารที่เห็นจะมีเอกลักษณ์ที่เร่งเร้าสิ่งที่คาดไม่ถึงและความยุ่งเหยิงที่ถูกควบคุม เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนไหวของนักนิยมเปลี่ยนแนว อย่างเช่นงานการแข่งขันการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ปาร์กเดอลาวีแล็ต (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในผลงานการเข้าแข่งขันของฌัก แดรีดา และปีเตอร์ ไอเซนมาน และผลงานชนะเลิศของเบอร์นาร์ด ชูมี, งานนิทรรศการสถาปัตยกรรมตามคติเปลี่ยนแนวที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ในปี ค.ศ. 1988 ที่นิวยอร์ก จัดขึ้นโดยฟิลิป จอห์นสันและมาร์ก วิกลีย์ และงานเปิดของเวกซ์เนอร์เซนเตอร์ฟอร์ดิอาตส์ ในโคลัมบัส ออกแบบโดยปีเตอร์ ไอเซนมาน และงานนิทรรศการเดอะนิวยอร์กเอกซิบิชัน ที่มีผลงานของแฟรงก์ เกห์รี, แดเนียล ลิเบส์ไคนด์, แร็ม โกลฮาส, ปีเตอร์ ไอเซนมาน, ซาฮ่า ฮาดิด, Coop Himmelb(l)au และบอร์นาร์ด ชูมี จุดเริ่มต้น มีสถาปนิกหลายท่านรู้จักรูปแบบคตินิยมเปลี่ยนแนว ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ ฌัก แดรีดา โดยไอเซนมานได้พัฒนาความสัมพันธ์กับแดรีดา ถึงกระนั้นรูปแบบการออกแบบทางสถาปัตยกรรมของเขาก็พัฒนามานานก่อนที่จะมาเป็นนักนิยมเปลี่ยนแนว ผู้มีงานคตินิยมเปลี่ยนแนวหลายคนมักได้รับอิทธิพลจากการทดลองจากกฎเกณฑ์ทั่วไปและการทำรูปทรงเรขาคณิตให้ไม่สมดุลของสถาปัตยกรรมคตินิยมโครงสร้าง (รัสเซีย) นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงในการเคลื่อนไหวสถาปัตยกรรมคตินิยมเปลี่ยนแนว อย่างนวยุคนิยม/คตินิยมหลังนวยุค, บาศกนิยม, ลัทธิจุลนิยม และศิลปะร่วมสมัย ความพยายามของสถาปัตยกรรมในคตินิยมเปลี่ยนแนว คือการพยายามนำสถาปัตยกรรมออกจากที่ผู้ออกแบบเรียกว่า กฎตายตัวของนวยุคนิยม อย่างเช่น "รูปทรงตามประโยชน์ใช้สอย", "สัจจะแห่งรูปทรง" และ "เนื้อแท้แห่งวัสดุ".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและคตินิยมเปลี่ยนแนว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสเปน

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและประเทศสเปน · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์

แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ แฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ (Frank Lloyd Wright) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2410 — 9 เมษายน พ.ศ. 2502) สถาปนิกคนสำคัญคนหนึ่งของโลกในศตวรรษที่ 20 แฟรงค์ ลอยด์ ไรต์ เกิดที่ เมืองริชแลนด์เซนเตอร์ ใน รัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา เข้าเรียนสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน และลาออกไปทำงานด้านสถาปัตยกรรมทั้งที่เรียนไม่จบ เขาอาศัยและตั้งสำนักงานอยู่ที่เมืองโอกพาร์ก บริเวณชานเมืองชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่สำคัญ เนื่องจากเป็นที่รวบรวมบ้านพักที่เขาออกแบบไว้กว่า 50 หลังรวมทั้งตัวสำนักงานและบ้านพักของเขาด้วย ผลงานการออกแบบในช่วงแรกของไรต์มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า "Prairie Houses" ไรต์มีผลงานทั้งหมด 362 ชิ้น และประมาณการว่ายังคงอยู่ในปัจจุบัน (ปี 2005) ประมาณ 300 ชิ้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและแฟรงก์ ลอยด์ ไรต์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์ เกห์รี

แฟรงก์ โอเวน เกห์รี (Frank Owen Gehry) (ชื่อแต่กำเนิดคือ Ephraim Owen Goldberg; เกิด:28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2472 -), Globe and Mail, July 28, 2010 เป็นสถาปนิกสัญชาติแคนาดา-อเมริกัน ปัจจุบันอาศัยในนครลอสแอนเจลิส จากผลงานออกแบบมากมายและแตกต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ทำให้ในเวลาต่อมาชื่อของของเขาก็ได้กลายเป็นที่สนใจในหมู่สถาปนิกระดับโลก เขาได้รับการสรรเสริญว่า "งานของเกห์รี เป็นงานที่มีสำคัญที่สุดในวงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัย" โดยเวิลด์อเมริกันเซอร์เวย์ (World Architecture Survey) ในปี 2010 รวมไปถึง "สถาปนิกที่มีความสำคัญที่สุดในยุคสมัยของพวกเรา" จาก วานิตีแฟร์ (Vanity Fair) เขาได้รับรางวัลพริตซ์เกอร์ ซ่งเป็นรางวัลสูงสุดในสายวิชาชีพสถาปนิกในปี 1989 และรางวัลอื่นๆอีกมาก รวมถึงได้ปริญญาเอกดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกหลายที่เช่น มหาวิทยาลัยเยล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน เป็นต้น ผลงานของ แฟรงก์ เกห์รี นั้นมีหลากหลายรวมถึงอาคารพักอาศัย พิพิธภัณฑ์ สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ผลงานที่มีชื่อของเขาได้แก่ พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอ ในเมืองบิลเบา ประเทศสเปน ซึ่งเป็นอาคารที่มีไทเทเนียมเป็นวัสดุหลัก วอลต์ดิสนีย์คอนเสิร์ตฮอลล์ที่ ลอสแอนเจลิส และแดนซิงเฮาส์ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก อาคารเรย์แอนด์มาเรียสตาตาเซนเตอร์ ในสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ในเมืองแคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ อาคาร8 สปรูซสตรีท ในแมนฮัตตัน นิวยอร์ก เป็นต้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและแฟรงก์ เกห์รี · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นประเทศบาสก์

ประเทศบาสก์ (Basque Country), ประเทศบัสโก (País Vasco) หรือ เอวส์กาดี (Euskadi) เป็นแคว้นปกครองตนเองแคว้นหนึ่งในภาคเหนือของราชอาณาจักรสเปน ประกอบด้วยจังหวัดกีปุซโกอา จังหวัดบิซกายา และจังหวัดอาลาบา ประเทศบาสก์หรือแคว้นประเทศบาสก์มีสถานะเป็น "ชาติ" (nationality) ภายในประเทศสเปนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสเปน พ.ศ. 2521 แคว้นปกครองตนเองแห่งนี้มีพื้นฐานอยู่บนธรรมนูญการปกครองตนเองแห่งประเทศบาสก์ ซึ่งเป็นกฎหมายมูลฐานที่กำหนดกรอบการพัฒนาของชาวบาสก์บนแผ่นดินสเปน อย่างไรก็ดี ดินแดนนาวาร์ซึ่งมีชาวบาสก์อาศัยอยู่เช่นกันก็ได้รับการจัดตั้งเป็นแคว้นปกครองตนเองแยกต่างหาก ปัจจุบันแคว้นประเทศบาสก์ไม่มีเมืองหลักอย่างเป็นทางการ แต่เมืองที่เป็นที่ตั้งของสภานิติบัญญัติบาสก์และสำนักประธานแคว้นปกครองตนเองคือบีโตเรีย-กัสเตย์ซซึ่งอยู่ในจังหวัดอาลาบา ขณะที่บีโตเรีย-กัสเตย์ซเป็นเขตเทศบาลที่ใหญ่ที่สุดในแง่เนื้อที่ (276.81 ตารางกิโลเมตรหรือ 106.88 ตารางไมล์) บิลบาโอซึ่งอยู่ในจังหวัดบิซกายาก็เป็นเขตเทศบาลที่ใหญ่ที่สุดในแง่ประชากร โดยมีประชากรจำนวน 345,141 คน ภายในเขตเมืองขยายที่มีประชากรอาศัยอยู่กว่า 900,000 คน ณ ปี..

ใหม่!!: พิพิธภัณฑ์กุกเกนไฮม์ บิลบาโอและแคว้นประเทศบาสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »