โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

ดัชนี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

้านหน้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงเรือพระราชพิธีสำคัญ 8 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรืออสุรวายุภักษ์ และเรือเอกไชยเหินหาว นอกจากเรือพระที่นั่งและเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ แล้ว ยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ด้วย เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่าง ๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี โดยมีสำนักพระราชวังและกองทัพเรือควบคุมดูแล เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และอยู่ในสภาพทรุดโทรมต่อมาอีกหลายปี ในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมศิลปากรบูรณะซ่อมแซมเรือพระที่นั่งและเรือเก่าที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ความงดงามทางศิลปกรรม ในปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้ขอขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ให้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอู่เรือหลวงขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี”.

19 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2490พ.ศ. 2517พิพิธภัณฑสถานกรมศิลปากรกระบวนพยุหยาตราชลมารคกองทัพเรือศิลปกรรมสำนักพระราชวังสงครามโลกครั้งที่สองคลองบางกอกน้อยประวัติศาสตร์เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9เรือกระบี่ปราบเมืองมารเรืออสุรวายุภักษ์เรือเอกไชยเหินหาวเขตบางกอกน้อย

พ.ศ. 2490

ทธศักราช 2490 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1947.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและพ.ศ. 2490 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2517

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและพ.ศ. 2517 · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถาน

ท้องฟ้าจำลอง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ พิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้แห่งแรกของโลก ตั้งอยู่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศส หอศิลป์อุฟฟีซี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในอิตาลี เกาะพิพิธภัณฑ์ ตั้งอยู่ที่เบอร์ลิน พิพิธภัณฑ์บริติช ตั้งอยู่ที่ลอนดอน พิพิธภัณฑ์อินเดีย ตั้งอยู่ที่โกลกาตา ประเทศอินเดีย เป็นพิพิธภัณฑเก่าและใหญ่ที่สุดในอินเดีย พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติฟินแลนด์ ตั้งอยู่ที่เฮลซิงกิ พิพิธภัณฑสถาน หรือ พิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารหรือสถาบัน ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเก็บรักษาวัตถุที่มนุษย์ทำขึ้น.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและพิพิธภัณฑสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กรมศิลปากร

กรมศิลปากร เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีภารกิจคุ้มครอง ป้องกัน อนุรักษ์ บำรุงรักษา ฟื้นฟู ส่งเสริม สร้างสรรค์ เผยแพร่ จัดการศึกษา ค้นคว้า วิจัย พัฒนา สืบทอดศิลปะและทรัพย์สินมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อธำรงคุณค่าและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมไทยและความมั่นคงของชาต.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและกรมศิลปากร · ดูเพิ่มเติม »

กระบวนพยุหยาตราชลมารค

กระบวนเรือ กระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือ กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา เรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏใน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือ ประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อ พ.ศ. 2330 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โดยยึดถือตามแบบแผนเดิมสมัยอยุธยา ประเภทของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือเล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือยังคงอยู่เฉพาะ การเห่เรือหลวง ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราชลมาร.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและกระบวนพยุหยาตราชลมารค · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือ

กองทัพเรือ หมายถึง กองกำลังทางทหารที่ปฏิบัติการทางน้ำ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศทั้งในลำน้ำและในท้องทะเลหลวง กิจการของกองทัพเรือนั้นได้รวมเอาทั้งกิจการนาวิกโยธินซึ่งเป็นทหารเรือฝ่ายบก และกิจการการป้องกันชายฝั่งด้วย ในประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา จะแยกกิจการเหล่านี้เป็นเหล่าทัพย่อยต่างหากเพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการองค์กร.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและกองทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปกรรม

ลปกรรม (อ่านว่า สิน-ละ-ปะ-กัม) มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ว่า สิ่งที่เป็นศิลปะ, สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นศิลปะ ศิลปกรรม มีความหมายตรงกับวลีภาษาอังกฤษว่า "work of art" และคำภาษาอังกฤษว่า "art".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและศิลปกรรม · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพระราชวัง

ำนักพระราชวัง (Bureau of the Royal Household; BRH) เป็นหน่วยงานของทางราชการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ในองค์ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บังคับบัญชาสำนักพระราชวัง และเลขาธิการพระราชวังเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและสำนักพระราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกน้อย

ลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก คลองบางกอกน้อยเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2077 - 2089) ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่าช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน คลองบางกอกน้อยเริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือของสถานีรถไฟธนบุรี ไหลขึ้นไปบรรจบคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) และคลองลัดบางกรวย ตรงข้ามวัดสุวรรณคีรี มีความกว้างมากถึง 40 เมตร และยาว 3.3 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติให้คลองบางกอกน้อยเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันช่วง คลองลัดบางกรวย (หมายเลข ๒ ในภาพ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคลองบางกอกน้อยไปด้วย รวมถึงคลองอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ ก็เรียกกันทั่วไปว่าคลองบางกอกน้อยเช่นกัน ปัจจุบัน คลองบางกอกน้อยใช้ในการคมนาคม สัญจร ทัศนาจร ท่องเที่ยว ใช้ขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำ ใช้ล้างภาชนะ ใช้ระบายน้ำ และยังเป็นเส้นทางชักพระของวัดนางชี ซึ่งมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยชักแห่ไปทางน้ำ ผ่านคลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แล้ววกลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ไหลผ่าน เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและคลองบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

รือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช

รือพระที่นั่งอนันตนาคราช เป็นเรือพระที่นั่งบัลลังก์ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ลำปัจจุบันมีการสร้างใหม่ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สำเร็จเมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2457 ลำเรือภายนอกทาสีเขียว ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 42.95 เมตร กว้าง 2.95 เมตร ลึก 0.76 เมตร กินน้ำลึก 0.31 เมตร ฝีพาย 54 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธงท้าย 1 คน พลสัญญาณ 1 คน คนเห่เรือ 1 คน โขนเรือเป็น "พญาอนันตนาคราช" หรือนาค 7 เศียร โดยปกติจะใช้เป็นเรือพระที่นั่งรอง หรือเรือเชิญผ้าพระกฐิน หรือประดิษฐานบุษบกสำหรับพระพุทธรูปสำคัญ นับเป็นเรือพระที่นั่งที่มีความงดงามอีกลำหนึ่ง อนึ่ง เคยมีการพิมพ์รูปเรือพระที่นั่งอนันตนาคราชด้านหลังธนบัตร 20 บาท โดยจัดพิมพ์และใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ปัจจุบันเลิกพิมพ์แล้ว.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์

รือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เป็นเรือพระที่นั่งรอง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ลักษณะเด่นคือมีโขนเรือเชิดเรียว ไม่ได้สร้างเป็นรูปสัตว์ในตำนาน แต่จำหลักและปิดทองเป็นรูปพญานาคจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า อเนกชาติภุชงค์ (อเนก หมายถึง จำนวนมาก, ชาติภุชงค์ หมายถึง พญานาค).

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9

รือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทเรือรูปสัตว์ หนึ่งในเรือพระราชพิธี ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาส พระราชพิธีกาญจนาภิเษก แห่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย กองทัพเรือ ร่วมกับ กรมศิลปากร ได้นำ โขนเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 3 และ รัชกาลที่ 4 มาเป็นต้นแบบ โดยกองทัพเรือ สร้างในส่วนที่เป็นโครงสร้างเรือ พาย และคัดฉาก ส่วนกรมศิลปากร ดำเนินการในงานที่เกี่ยวกับ ศิลปกรรมของเรือทั้งหม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

เรือกระบี่ปราบเมืองมาร

รือกระบี่ปราบเมืองมาร เป็นเรือพระราชพิธี ชนิดหนึ่งหน้ามีลักษณะเหมือนรูปโขน ลำเดิมเป็นเรือพื้นดำ ยาว 13 วา 2 ศอก 1 คืบ กว้าง 4 ศอก ลึก 1 ศอก กำลัง 5 ศอก 4 นิ้ว ลำเดิมถูกระเบิดเสียหาย กรมศิลปากรเก็บหัวเรือท้ายเรือไว้ ในพิพิธภัณฑ์เมื่อปี พ.ศ. 2591 ส่วนลำปัจจุบันสร้างใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2510 โดยใช้หัวเรือเดิมนำมาซ่อมแซม ช่างแกะสลักลวดลายทำงานประมาณ 12 เดือน ช่างรักทำงานประมาณ 4 เดือน ช่างเขียนทำงานประมาณ 6 เดือน ช่างปิดทองและประดับกระจกทำงานประมาณ 4 เดือน น้ำหนัก 5.62 ตัน ยาว 26.80 เมตร กว้าง 2.10 เมตร ลึก 0.51 เมตร กินน้ำลึก 0.25 เมตร ฝีพาย 36 นาย นายท้าย 2 นาย หัวเรือมีช่องสำ หรับติดตั้งปืนใหญ่ 1 กระบอก ขนาด 65 มม.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือกระบี่ปราบเมืองมาร · ดูเพิ่มเติม »

เรืออสุรวายุภักษ์

รืออสุรวายุภักษ์ เป็นเรือรูปสัตว์ในประเภทเรือเหล่าแสนยากร เป็นหนึ่งในเรือพระราชพิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค เรืออสุรวายุภักษ์ โขนเรือเป็นรูปครึ่งยักษ์ครึ่งนก มีส่วนบนเป็นยักษ์ ส่วนล่างเป็นนกองค์เป็นสีม่วง ลักษณะและขนาดของเรือใกล้เคียงกับเรืออสุรปักษี การแต่งกายของผู้ประจำเรือ นายลำนุ่งปูม สวมเสื้อเข้มขาบ โพกขลิบทอง ปัจจุบันเก็บรักษาที่โรงเรือท่าวาสุกรี.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรืออสุรวายุภักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เรือเอกไชยเหินหาว

รือเอกไชยเหินหาวเป็นเรือประเภทเรือเอกขัยในลำดับชั้นของเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตราชลมารค ซึ่งเกือบเทียบเท่าเรือพระที่นั่งกิ่ง ทำหน้าที่เป็นเรือคู่ชักใช้นำหน้าหรือชักลากเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ คู่กับเรือเอกไชยหลาวทองหรือสำหรับชักลากเรือพระที่นั่ง ในกรณีที่ฝีพายไม่เพียงพอ ปัจจุบันเก็บรักษาที่ พิพิธภัณฑสถานเรือพระราชพิธี คลองบางกอกน้อ.

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเรือเอกไชยเหินหาว · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ใหม่!!: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีและเขตบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »