โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโล

ดัชนี พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโล

งก์แฟรีอาร์มาดิลโล หรือ แฟรีอาร์มาดิลโลเล็ก (Pink fairy armadillo, Lesser fairy armadillo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกอาร์มาดิลโลชนิดหนึ่ง นับเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Chalamyphorus จัดเป็นอาร์มาดิลโลที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก มีรูปร่างลักษณะประหลาด คือ มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ขณะที่ส่วนท้ายลำตัวมีแผ่นปิดอยู่เป็นแผงขนยาว ส่วนหางสั้น มีเกราะหุ้มตัวเฉพาะแค่ด้านหลัง ขณะที่ด้านข้างและด้านล่างลำตัวเป็นขนอ่อนนุ่มสีชมพู มีกรงเล็บหน้าที่แหลมคม โดยเฉพาะตีนหน้า พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลมีความยาวเพียง 4-6 นิ้วเท่านั้น อาศัยอยู่เฉพาะแถบตะวันตกของประเทศอาร์เจนตินา เช่น จังหวัดเมนโดซา เท่านั้น โดยอาศัยในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายเท่านั้น พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า "ปีชีเซียโก" (pichi ciego) เป็นสัตว์ที่ออกหากินเฉพาะในเวลากลางคืน โดยกินแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงซากสัตว์ขนาดใหญ่ด้วย เช่น ซากวัว ในบางครั้งจะขุดโพรงใต้ดินอยู่ใต้พื้นที่ซากสัตว์นั้นตาย เพื่อง่ายต่อการกินหนอนหรือแมลงที่มาตอมซาก พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลเป็นสัตว์ที่ไม่อาจจะพบเห็นตัวได้ง่าย และเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีข้อมูลน้อยมาก ชาวพื้นเมืองของอาร์เจนตินากล่าวว่า จะพบเห็นได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้นในแต่ละปี โดยเฉพาะเวลาหลังฝนตก ซึ่งพื้นที่ที่มันอยู่อาศัยนั้นมีปริมาณฝนตกต่อปีน้อยกว่า 200 มิลลิเมตรเสียด้วยซ้ำ พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลจะโผล่ออกมาจากโพรงหลังฝนตก เป็นเพราะน้ำท่วมโพรง และออกมาหาแมลงกินอีกประการหนึ่ง โดยปกติแล้ว พวกมันจะอาศัยและเดินทางในโพรงใต้ดินด้วยการขุดโพรงไปเรื่อย ๆ เหมือนตุ่นสีทองในทวีปแอฟริกา หรือตุ่นมาร์ซูเปียล ที่เป็นสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง ในทะเลทรายของออสเตรเลียตะวันตก.

11 ความสัมพันธ์: ภาษาถิ่นรัฐเมนโดซาสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องอาร์มาดิลโลทรงกระบอกประเทศอาร์เจนตินานิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)

ภาษาถิ่น

ษาถิ่น หรือ สำเนียง คือ ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น เช่น ในแต่ละภาคของประเทศไทยมีภาษาถิ่นประจำภาคนั้น ดังนี้ ภาคเหนือมีภาษาถิ่นพายัพเช่น ปิ๊กบ้าน ภาคอีสานมีภาษาถิ่นอีสานเช่น เมื่อบ้าน ภาคใต้มีภาษาถิ่นใต้เช่น หลบเริน (แผลงมาจาก "กลับเรือน") และภาคกลางมีภาษาไทยกลางเช่น กลับบ้าน เป็นต้น ทั้งนี้ ทุกภาษาถิ่นในประเทศไทยคงใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่สอดคล้องกัน แต่มักจะแตกต่างกันในเรื่องของวรรณยุกต์ ถ้อยคำ และสำเนียง เป็นต้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์ของภาษาถิ่นนั้น หากพื้นที่ของผู้ใช้ภาษานั้นกว้างก็จะมีภาษาถิ่นหลากหลาย และมีภาษาถิ่นย่อย ๆ ลงไปอีก ซึ่งภาษาถิ่นนั้นมักเป็นเรื่องของภาษาพูดหรือภาษาท่าทาง มากกว่า การกำหนดภาษาหลักหรือภาษาถิ่นนั้น นักภาษาศาสตร์จะพิจารณาคุณลักษณะในเชิงภาษาเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ภาษาไทย และภาษาลาวถือว่าต่างก็เป็นภาษาถิ่นของกันและกัน (อาจนับภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นภาษาหลักก็ได้ โดยไม่มีนัยสำคัญทางภาษาศาสตร์) แต่เนื่องจากภาษาถิ่นทั้งสองอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสองประเทศ โดยทั่วไปจึงถือว่าเป็นคนละภาษา;แนวคิดในการจำแนกภาษาถิ่นนั้น มักพิจารณาจาก.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและภาษาถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเมนโดซา

มนโดซา (Mendoza) เป็นรัฐในประเทศอาร์เจนตินา ตั้งอยู่ทางตะวันตก ตอนกลางของประเทศ ทางทิศเหนือติดกับรัฐซานฆวน ทางทิศใต้ติดกับรัฐลาปัมปาและรัฐเนวเกน ทางทิศตะวันตกติดกับรัฐซานลุยส์ และติดกับประเทศชิลีทางทิศตะวันตก เมืองหลวงของรัฐคือเมืองเมนโดซา รัฐมีพื้นที่ 148.827 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เป็นอันดับ 7 ถือเป็นร้อยละ 5.35 ของพื้นที่ประเทศ มีประชากร 1,741,610 คน (ค.ศ. 2010) เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 หรือร้อยละ 4.35 ของประชากรทั้งประเท.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและรัฐเมนโดซา · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ

หภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นด้วยเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2491 (1948) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่บริเวณทะเลสาบเจนีวาในเมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์กรประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

อันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง

ัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง หรือ สัตว์มีถุงหน้าท้อง (อันดับ: Marsupialia; Marsupial) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ได้อีกจำนวนหนึ่ง (ดูในตาราง) สัตว์ในอันดับนี้ มีความแตกต่างและหลากหลายในแง่ของรูปร่าง ลักษณะ และขนาดเป็นอย่างมาก แต่มีลักษณะเด่นที่มีความเหมือนกันประการหนึ่ง คือ จะออกลูกเป็นตัว โดยตัวเมียมีถุงหน้าท้อง ตัวอ่อนของสัตว์ในอันดับนี้เจริญเติบโตในมดลูกในช่วงระยะเวลาสั้น มีสะดือและสายรกด้วย แล้วจะคลานย้ายมาอยู่ในถุงหน้าท้องดูดกินนมจากแม่ ก่อนจะเจริญเติบโตในถุงหน้าท้องหรือกระเป๋าหน้าท้องนี้จนโต บางครั้งเมื่อยังโตไม่เต็มที่ จะเข้า-ออกระหว่างข้างออกกับกระเป๋าหน้าท้องเป็นปกติ ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ที่เป็นที่รู้จักดี ได้แก่ จิงโจ้, โคอาลา, โอพอสซัม, ชูการ์ไกลเดอร์, วอมแบต, แทสเมเนียนเดวิล เป็นต้น ซึ่งสัตว์ในอันดับนี้ล้วนแต่จะพบเฉพาะในทวีปออสเตรเลียและบางส่วนของนิวกินี และพบในบางส่วนของทวีปอเมริกา ทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ หลายชนิดก็สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น หมาป่าแทสมาเนีย (Thylacinus cynocephalus) หรือไดโปรโตดอน (Diprotodon spp.) เป็นต้น โดยคำว่า Marsupialia นั้นมาจากภาษาละติน แปลว่า "กระเป๋า หรือ ถุง".

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้อง · ดูเพิ่มเติม »

อาร์มาดิลโล

รงกระดูกอาร์มาดิลโลเก้าแถบ อาร์มาดิลโล (armadillo) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับ Cingulata ในอันดับใหญ่ ซีนาร์ทรา อาร์มาดิลโลมีลักษณะเด่น คือ มีส่วนหน้าและจมูกที่ยาว มีปากขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นรูเล็ก ๆ มีกรงเล็บที่แหลมคมทั้งตีนหน้าและตีนหลัง ใช้สำหรับขุดทำโพรงอยู่อาศัยและขุดหาอาหารกิน กินอาหารโดยการใช้ลิ้นที่ยื่นยาวและน้ำลายที่เหนียวตวัดกินแมลงจำพวกมด ปลวก และหนอนตามพื้นดิน และมีเกราะหุ้มอยู่ตามตัวเป็นแผ่น ๆ มีข้อต่อเชื่อมต่อกันเหมือนชุดเกราะ โดยเฉพาะที่หัวไหล่และด้านท้ายลำตัว ทำให้ดูเหมือนกับลิ่นซึ่งเป็นสัตว์ในอันดับ Pholidota มาก แต่ทั้งอาร์มาดิลโลและลิ่นเป็นสัตว์ที่อยู่ต่างอันดับกัน และอยู่ในอันดับใหญ่คนละอันดับกันด้วย โดยอาร์มาดิลโลมีความใกล้เคียงกับสลอทหรือตัวกินมดมากกว่า แต่ในอดีตทั้งอาร์มาดิลโลและลิ่นเคยถูกจัดอยู่ในอันดับเดียวกัน คือ Edentata ซึ่งแปลว่า "ไม่มีฟัน" แต่ความจริงแล้ว อาร์มาดิลโลมีฟัน เป็นฟันกรามที่มีขนาดเล็ก และไม่แข็งแรง บรรพบุรุษของอาร์มาดิลโลที่สูญพันธุ์ไปแล้วราว 10,000 ปีก่อน มีชื่อว่า "คลิปโตดอน" ที่มีขนาดตัวใหญ่เท่ากับรถยนต์คันเล็ก ๆ คันหนึ่ง คลิปโตดอนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ มีเกราะที่หุ้มตัวเป็นชิ้น ๆ รูปหกเหลี่ยม ไม่เหมือนกับอาร์มาดิลโลในปัจจุบัน ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีโครงกระดูกของคลิปโตดอนที่สมบูรณ์แบบจัดแสดงอยู่ เป็นตัวอย่างที่ชาลส์ ดาร์วิน ได้ส่งมาให้เมื่อครั้งเดินทางไปสำรวจที่ทวีปอเมริกาใต้ เมื่ออาร์มาดิลโลถูกคุกคามแล้วจะขดตัวเป็นวงกลมคล้ายลูกบอล โดยเก็บส่วนหน้าและขาทั้ง 4 ข้างไว้ เหมือนกับลิ่น โดยที่ชื่อ armadillo นั้นในภาษาสเปนออกเสียงว่า "อาร์มาดีโย" และมีความหมายว่า "ตัวหุ้มเกราะน้อย" ขณะที่ชาวแอซเท็ก จะเรียกว่า azotochtli หมายถึง "กระต่ายเต่า" แต่ชื่อในภาษาถิ่นของชาวลาตินอเมริกาในปัจจุบันจะเรียกว่า ปีชี (Pichi) This book used the term "azotochtli", but that word is wrong.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและอาร์มาดิลโล · ดูเพิ่มเติม »

ทรงกระบอก

รูปทรงกระบอก ในทางเรขาคณิต ทรงกระบอก (cylinder) เป็นกราฟสามมิติที่เกิดจากสมการ ทรงกระบอกที่มีรัศมี r และความสูง h จะสามารถหาปริมาตรของทรงกระบอกหาได้จากสูตร และพื้นที่ผิวของทรงกระบอกหาได้จากสูตร.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและทรงกระบอก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์เจนตินา

อาร์เจนตินา (อังกฤษและArgentina อารฺเฆนตีนา (สเปน)) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐอาร์เจนตินา (Argentine Republic; República Argentina) เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปอเมริกาใต้ (ลาตินอเมริกา) ตั้งอยู่ระหว่างเทือกเขาแอนดีสทางทิศตะวันตก และมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ มีพรมแดนจดประเทศปารากวัยและประเทศโบลิเวียทางภาคเหนือ จดประเทศอุรุกวัยและประเทศบราซิลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และจดประเทศชิลีทางภาคตะวันตกและภาคใต้ อาร์เจนตินาเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ รองจากบราซิล และมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและประเทศอาร์เจนตินา · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)

นิ้ว (inch; พหูพจน์: inches; ย่อว่า in หรือ ″ (ดับเบิลไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยเป็น ของฟุต หรือเท่ากับ 0.0254 เมตรพอดี นอกจากนี้การแบ่งหน่วยย่อยมักใช้เศษส่วนอย่างต่ำกำกับเช่น ″ จะไม่เขียนเป็น 2.375″ หรือ ″.

ใหม่!!: พิงก์แฟรีอาร์มาดิลโลและนิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ChlamyphorusChlamyphorus truncatusLesser fairy armadilloPink fairy armadilloพิงค์แฟร์รี่อาร์มาดิลโล่แฟร์รี่อาร์มาดิลโล่เล็ก

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »