โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเรวตพุทธเจ้า

ดัชนี พระเรวตพุทธเจ้า

ระเรวตพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง หลังจากศาสนาของพระสุมนะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเรวตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาซึ่งเป็นสารมัณฑกัปเดียวกัน.

15 ความสัมพันธ์: บรรพชาพระพุทธเจ้าพระสุมนพุทธเจ้าพระโสภิตพุทธเจ้าพระโคตมพุทธเจ้าพราหมณ์กัปกิเลสม้ารัตนตรัยรายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีตอสงไขยปรินิพพานโยชน์10000000

บรรพชา

งฆ์ บรรพชา (อ่านว่า บันพะชา, บับพะชา) (ปพฺพชฺช; ปฺรวฺรชฺย) แปลว่า การบวช (แปลว่า เว้นความชั่วทุกอย่าง) หมายถึง การบวชทั่วไป, การบวชอันเป็นบุรพประโยคแห่งอุปสมบท, การบวชเป็นสามเณร (เดิมทีเดียว คำว่า บรรพชา หมายความว่า บวชเป็นภิกษุ เช่น เสด็จออกบรรพชาอัครสาวกบรรพชา เป็นต้น ในสมัยต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ คำว่า บรรพชา หมายถึง บวชเป็นสามเณร ถ้าบวชเป็นภิกษุ ใช้คำว่า อุปสมบท โดยเฉพาะเมื่อใช้คอบกันว่า บรรพชาอุปสมบท).

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและบรรพชา · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระสุมนพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระมังคละพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระสุมนะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในอันตรกัปถัดมาในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและพระสุมนพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโสภิตพุทธเจ้า

หลังจากศาสนาของพระเรวตะพุทธเจ้าล่วงไป จึงได้ถึงสมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโสภิตะพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายในสารมัณฑกัปเดียวกัน.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและพระโสภิตพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กัป

กัป หรือ กัลป์ (กปฺป; कल्प กลฺป) หมายถึง ช่วงระยะเวลาอันยาวนานของโลก จนไม่สามารถกำหนดเป็นวัน เดือน หรือปีได้ พบในหลายศาสนา เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาฮินดู ลัทธิอนุตตรธรรม.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและกัป · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและม้า · ดูเพิ่มเติม »

รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและรัตนตรัย · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต

ระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่ พระพุทธเจ้าตรัสว่าเรื่องพุทธวิสัยเป็นอจินไตย คือเป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ในพุทธวงศ์ หมวดพุทธปกิณณกกัณฑ์ซึ่งว่าด้วยเรื่องเบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระพุทธเจ้าไว้ 28 พระองค์ โดยเป็นพระพุทธเจ้าก่อนพุทธวงศ์ 3 พระองค์ และในพุทธวงศ์ 25 พระองค์ รวมเป็น 28 พระองค์ดังนี้.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและรายพระนามพระพุทธเจ้าในอดีต · ดูเพิ่มเติม »

อสงไขย

อสงไขย (असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020) หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว) บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^ ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและอสงไขย · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

โยชน์

น์ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตรโดย พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ดังนั้นความยาว 1 โยชน์จึงมีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร 1 โยชน์ มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและโยชน์ · ดูเพิ่มเติม »

10000000

10000000 (สิบล้าน) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 9999999 (เก้าล้านเก้าแสนเก้าหมื่นเก้าพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้า) และอยู่ก่อนหน้า 10000001 (สิบล้านเอ็ด).

ใหม่!!: พระเรวตพุทธเจ้าและ10000000 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระเรวตะพุทธเจ้า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »