โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์

ดัชนี พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์

อเธลวูล์ฟ เป็นโอรสของเอ็กเบิร์ตและเป็นกษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ พระองค์ได้บัลลังก์แห่งเวสเซ็กซ์มาจากการสวรรคตของพระราชบิดาในปี..839 รัชสมัยของพระองค์เป็นยุคของการรุกรานและการขับไล่พวกไวกิ้งซึ่งเป็นเรื่องปกติของผู้ปกครองของอังกฤษทุกคนในเวลานั้น แต่การทำสงครามไม่ใช่ชื่อเสียงที่โดดเด่นที่สุดของพระองค์ เอเธลวูล์ฟเป็นที่จดจำอย่างเลือนรางในฐานะบุคคลที่ศรัทธาในศาสนาอย่างแรงกล้าที่ใส่ใจในการสถาปนาและรักษาศาสนจักร พระองค์ยังเป็นคนที่มั่งคั่งและมีทรัพยากรขนาดใหญ่โตกว้างขวางอยู่ในมือ นอกเหนือจากทรัพยากรเหล่านี้ พระองค์ยังหยิบยื่นสิ่งต้องการให้แก่โรมและสถาบันศาสนาอย่างเอื้อเฟื้อ.

20 ความสัมพันธ์: บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันบาร์กเชอร์ชาร์เลอมาญชาวแฟรงก์ชาวแซกซันชาวไวกิงพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชกลุ่มชนเจอร์แมนิกยอร์กเชอร์ราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์ออสเบอร์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จูดิธแห่งฟลานเดอส์แม่น้ำเทมส์เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์เคนต์เซอร์รีย์

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

บาร์กเชอร์

ร์กเชอร์ (Berkshire) บางทีก็เรียกว่า “ราชมณฑลบาร์กเชอร์” เพราะเป็นที่ตั้งของ พระราชวังวินด์เซอร์ การเรียกนี้ทำกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และเป็นที่ยอมรับโดยสมเด็จพระราชินีในปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และบาร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนเจอร์แมนิก

การประชุมของสภาทิง (Thing) ของชนเจอร์แมนิก วาดจากภาพแกะนูนบนคอลัมน์มาร์คัส ออเรลิอัส (Marcus Aurelius) (ค.ศ. 193) กลุ่มชนเจอร์แมนิก (Germanic peoples) เป็นกลุ่มชนในประวัติศาสตร์ที่เดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนเหนือของยุโรปที่พูดภาษากลุ่มเจอร์แมนิกในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียนซึ่งแยกมาจากกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกดั้งเดิมในช่วงสมัยก่อนยุคเหล็กก่อนโรมัน ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มชนนี้กลายมาเป็นต้นตระกูลของชาติพันธุ์ต่าง ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ ชาวสวีเดน, ชาวเดนมาร์ก, ชาวนอร์เวย์, ชาวอังกฤษ, ชาวไอซ์แลนด์, ชาวแฟโร, ชาวเยอรมัน, ชาวออสเตรีย, ชาวดัตช์, ชาวฟรีเซียน, ชาวเฟลมิช, ชาวแอฟริกาเนอร์ และรวมภาษาสกอตด้วย ชนเจอร์แมนิกย้ายถิ่นฐานไปทั่วยุโรปในปลายยุคโบราณตอนปลายระหว่างปี..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และกลุ่มชนเจอร์แมนิก · ดูเพิ่มเติม »

ยอร์กเชอร์

อร์กเชอร์ (Yorkshire) เป็นเทศมณฑลในประวัติศาสตร์อังกฤษที่ตั้งอยู่ทางเหนือของอังกฤษและเป็นเทศมณฑลที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษ เพราะความที่มีขนาดใหญ่ยอร์กเชอร์ก็ต้องผ่านการปฏิรูปหลายครั้ง แต่โดยทั่วไปแล้วก็เป็นอาณาบริเวณที่มีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และยอร์กเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออสเบอร์

Warning: Page using Template:Infobox royalty with unknown parameter "reign type" (this message is shown only in preview).

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และออสเบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์

อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ (ภาษาอังกฤษ: Oxfordshire) หรือมีชื่อย่อว่า “Oxon” ที่มาจากภาษาละติน “Oxonia” เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ที่มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 635,600 คน มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์มีเขตแดนติดกับมณฑลต่างได้แก่ นอร์ทแธมป์ตันเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, บาร์คเชอร์, วิลท์เชอร์, กลอสเตอร์เชอร์ และวอริคเชอร์ มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: อ๊อกซฟอร์ด, เชอร์เวลล์, เวลแห่งไวท์ฮอร์ส, เซาท์อ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และ เวสต์อ๊อกซฟอร์ดเชอร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน (Charles the Bald) (13 มิถุนายน ค.ศ. 823 - 6 ตุลาคม ค.ศ. 877) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์คาโรแล็งเชียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 875 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 877 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ จูดิธแห่งบาวาเรีย พระอัครมเหสีองค์ที่สอง.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จูดิธแห่งฟลานเดอส์

ูดิธแห่งฟลานเดอส์ ฺ(หรือจูดิธแห่งฝรั่งเศส) ภาษาอังกฤษ Judith of Flanders (หรือ Judith of France) เป็นราชินีจากการแต่งงานแห่งเวสเซ็กซ์และเคานเทสจากการแต่งงานแห่งฟลานเดอส์ เธอเป็นลูกสาวตนโตของกษัตริย์ของแฟรงค์ตะวันตกและต่อมาเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์ ชาร์ลผู้หัวล้าน กับภรรยา เอร์เม็นทรูดแห่งออร์เลอ็ง จากการแต่งงานกับกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์สองคน เอเธลวูล์ฟและเอเธลบาลด์ ทำให้เธอเป็นราชินีสองครั้ง การแต่งงานสองครั้งแรกไม่มีลูก แต่จากการแต่งงานครั้งที่สามกับบาลด์วิน ทำให้เธอกลายเป็นเคานเทสอันดับหนึ่งแห่งฟลานเดอส์ และบรรพบุรุษของเคานท์แห่งฟลานเดอส์คนต่อๆมา ลูกชายคนหนึ่งของเธอกับบาลด์วินแต่งงานกับเอลฟ์ธริธ ลูกสาวของน้องชายของเอเธลบาลด์ อัลเฟรดมหาราช เธอยังเป็นบรรพบุรุษของมาทิลด้าแห่งฟลานเดอส์ คู่แต่งงานของวิลเลี่ยมผู้พิชิต และพระมหากษัตริย์คนต่อๆมาของอังกฤษ.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และจูดิธแห่งฟลานเดอส์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

อ็กเบิร์ต (ค.ศ.802-839) กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเป็นกษัตริย์แซ็กซันพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมด พระองค์เป็นโอรสของขุนนางชาวเคนต์แต่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเซอร์ดิค (ครองราชย์ปีค.ศ.519-34) ผู้ก่อตั้งตระกูลเวสเซ็กซ์ อาณาจักรของชาวแซ็กซันตะวันตกทางตอนใต้ของอังกฤษ ช่วงปลายศตวรรษที่ 8 เมื่อพระเจ้าออฟฟ่าแห่งเมอร์เซีย (ครองราชย์ปีค.ศ.757-796) ปกครองอังกฤษส่วนใหญ่ เอ็กเบิร์ตถูกขับไล่ออกนอกประเทศไปอยู่ที่ราชสำนักของชาร์เลอมาญ เอ็กเบิร์ตกอบกู้อาณาจักรกลับคืนมาได้ในปี..802 พระองค์พิชิตอาณาจักรเพื่อนบ้าน เคนต์, คอร์นวอลล์ และเมอร์เซีย และในปี..830 พระองค์ยังเป็นที่ยอมรับในฐานะกษัตริย์ของอีสต์แองเกลีย, ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนอร์ธัมเบรีย และได้รับการถวายตำแหน่งเป็นเบร็ตวัลด้า (ภาษาแองโกลแซ็กซัน แปลว่าผู้ปกครองของชาวบริเตน) ในช่วงหลายปีต่อมาเอ็กเบิร์ตเป็นผู้นำในการเดินทางไปต่อต้านพวกเวลส์และพวกไวกิ้ง ปีก่อนที่พระองค์จะสวรรคต ทรงปราบกองกำลังร่วมระหว่างพวกเดนท์กับพวกคอร์นวอลล์ที่ฮิงสตันดาวน์ในคอร์นวอลล์ พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยเอเธลวูล์ฟ พระราชบิดาของอัลเฟร.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และเอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: พระเจ้าเอเธล์วูลฟ์แห่งเวสเซ็กซ์และเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »