เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์

ดัชนี พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์

อเธลบาลด์ กษัตริย์ของชาวเวสเซ็กซ์ ทรงเป็นโอรสองค์ที่สองจากห้าพระองค์ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟกับออสเบอร์ที่เป็นลูกสาวของข้าราชบริพารคนหนึ่งของพระองค์และตัวพระนางเองสืบเชื้อสายมาจากสายราชวงศ์ของเวสเซ็กซ์ ขณะที่พระราชบิดาของพระองค์ เอเธลวูล์ฟ เสด็จไปจาริกแสวงบุญที่โรมในปี..855 เอเธลบาล์ดวางแผนกับบิชอปแห่งเชอร์บอร์นและผู้นำท้องถิ่นของซัมเมอร์เซ็ตต่อต้านพระองค์ รายละเอียดของแผนการไม่เป็นที่รู้ แต่เมื่อกลับมาจากโรม เอเธลวูล์ฟพบว่าพระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดเหลือแค่กษัตริย์ย่อยแห่งเคนต์ ขณะที่เอเธลบาลด์ควบคุมเวสเซ็กซ์ เอเธลวูล์ฟสวรรคตในปี..858 และอำนาจควบคุมเต็มรูปแบบถูกส่งต่อให้เอเธลบาลด์ที่อภิเษกสมรสกับพระมเหสีของพระราชบิดา จูดิธ ทว่าภายใต้แรงกดดันจากศาสนจักรการอภิเษกสมรสถูกประกาศเป็นโมฆะในปีต่อมา พระองค์สวรรคตในปี..860 ส่งต่อบัลลังก์ให้พระอนุชา เอเธลเบิร์ท.

สารบัญ

  1. 14 ความสัมพันธ์: ชาวแฟรงก์พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชมาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ออสเบอร์จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จูดิธแห่งฟลานเดอส์ดอร์เซตซัมเมอร์เซตโลทาริงเกียโอแซร์เคนต์

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวแฟรงก์

พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

ระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ (William I of England) หรือพระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต (William the Conqueror) หรือพระเจ้าวิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี (William II of Normandy) หรือบ้างเรียก พระเจ้าวิลเลียมลูกนอกสมรส (William the Bastard) พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 ประสูติเมื่อประมาณปี ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

มาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีมาทิลดา แห่งฟลานเดอร์ (Matilda of Flanders) ประสูติเมื่อราว ค.ศ. 1028 และสิ้นพระชนม์ใน ค.ศ. 1083 เป็นพระชายาใน สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ อภิเษกสมรสในปี ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และมาทิลดาแห่งแฟลนเดิร์ส สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และราชวงศ์เวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ออสเบอร์

Warning: Page using Template:Infobox royalty with unknown parameter "reign type" (this message is shown only in preview).

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และออสเบอร์

จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน (Charles the Bald) (13 มิถุนายน ค.ศ. 823 - 6 ตุลาคม ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จูดิธแห่งฟลานเดอส์

ูดิธแห่งฟลานเดอส์ ฺ(หรือจูดิธแห่งฝรั่งเศส) ภาษาอังกฤษ Judith of Flanders (หรือ Judith of France) เป็นราชินีจากการแต่งงานแห่งเวสเซ็กซ์และเคานเทสจากการแต่งงานแห่งฟลานเดอส์ เธอเป็นลูกสาวตนโตของกษัตริย์ของแฟรงค์ตะวันตกและต่อมาเป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์ ชาร์ลผู้หัวล้าน กับภรรยา เอร์เม็นทรูดแห่งออร์เลอ็ง จากการแต่งงานกับกษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์สองคน เอเธลวูล์ฟและเอเธลบาลด์ ทำให้เธอเป็นราชินีสองครั้ง การแต่งงานสองครั้งแรกไม่มีลูก แต่จากการแต่งงานครั้งที่สามกับบาลด์วิน ทำให้เธอกลายเป็นเคานเทสอันดับหนึ่งแห่งฟลานเดอส์ และบรรพบุรุษของเคานท์แห่งฟลานเดอส์คนต่อๆมา ลูกชายคนหนึ่งของเธอกับบาลด์วินแต่งงานกับเอลฟ์ธริธ ลูกสาวของน้องชายของเอเธลบาลด์ อัลเฟรดมหาราช เธอยังเป็นบรรพบุรุษของมาทิลด้าแห่งฟลานเดอส์ คู่แต่งงานของวิลเลี่ยมผู้พิชิต และพระมหากษัตริย์คนต่อๆมาของอังกฤษ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และจูดิธแห่งฟลานเดอส์

ดอร์เซต

อร์เซ็ท (Dorset) เป็นเทศมณฑลในประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร ที่มีฐานะเป็นเทศมณฑลพิธีที่ไม่ใช่มหานคร ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตนติดกับเดวอนทางด้านตะวันตก ซัมเมอร์เซตทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ วิลต์เชอร์ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแฮมป์เชอร์ทางตะวันออก ดอร์เซ็ทแบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: เวย์มัธและพอร์ทแลนด์, เวสต์ดอร์เซ็ท, นอร์ธดอร์เซ็ท, เพอร์เบ็ค, อีสต์ดอร์เซ็ท, ไครสต์เชิร์ช, บอร์นมัธ, และพูลโดยมีดอร์เชสเตอร์เป็นเมืองหลวงของมณฑล ดอร์เซ็ทมีเนื้อที่ 2653 ตารางกิโลเมตร และมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 708,100 คน (ค.ศ.) ถัวเฉลี่ย 265 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร ดินแดนส่วนใหญ่เป็นชนบทประชากรส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมทะเล ชื่อเสียงของดอร์เซ็ทอยู่ที่ฝั่งทะเลเจอราสสิคซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกที่ประกอบด้วยลัลเวิร์ธโคฟว์ (Lulworth Cove), ไอล์ออฟพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland), หาดเชสซิล (Chesil Beach) และเดอร์เดิลดอร์ (Durdle Door) และเมืองชายทะเลบอร์นมัธ, พูล, เวย์มัธ, สวอนเนจ และไลม์รีจิส นอกจากนั้นดอร์เซ็ทก็ใช้เป็นฉากในนวนิยายหลายเรื่องโดยนักประพันธ์คนสำคัญของอังกฤษทอมัส ฮาร์ดี (Thomas Hardy) ผู้เกิดที่เมืองดอร์เชสเตอร์ ดอร์เซ็ทเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่โบราณที่จะเห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีเช่น ป้อมเนิน (ไม่ใช่เนินป้อม hill fort) ที่เมดเด็นคาสเซิล และฮอดฮิลล.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และดอร์เซต

ซัมเมอร์เซต

ซัมเมอร์เซต (ภาษาอังกฤษ: Somerset) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร มณฑลภูมิศาสตร์ซัมเมอร์เซตมีเขตแดนติดกับบริสตอล และมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ทางเหนือ, มณฑลวิลท์เชอร์ ทางตะวันออก, มณฑลดอร์เซตทางตะวันออกเฉียงใต้, และมณฑลเดวอนทางตะวันตกเฉียงใต้ ด้านเหนือและตะวันตกบางส่วนติดกับฝั่งทะเลของช่องแคบบริสตอลและปากน้ำ (estuary) ของแม่น้ำเซเวิร์น ตามธรรมเนียมทางเหนือของมณฑลเป็นแม่น้ำเอวอนแต่เขตการปกครองเลื่อนไปทางใต้เมื่อนครบริสตอลและอดีตมณฑลเอวอนและต่อมารัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวขยายเขตการปกครองทางเหนือของมณฑล ซัมเมอร์เซตเป็นมณฑลชนบทที่มีภูมิประเทศเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ เช่นเม็นดิพฮิลล์ส, ควานต็อคฮิลล์ส และอุทยานแห่งชาติเอ็กซ์มัวร์ และดินแดนที่กว้างไกลที่รวมทั้งซัมเมอร์เซตเลเวลส์ ซัมเมอร์เซตมีหลักฐานว่ามีผู้มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคหินใหม่และต่อมาในสมัยโรมัน และแซ็กซอน ต่อมาซัมเมอร์เซตก็มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งการรวบรวมอำนาจของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช, สงครามกลางเมืองอังกฤษ และการปฏิวัติมอนม็อธ (Monmouth Rebellion) การเกษตรกรรมเป็นธุรกิจหลักของมณฑลที่รวมทั้งการเลี้ยงแกะและวัว ที่ใช้ในการทำขนแกะและเนยแข็ง นอกจากนั้นก็มีการตัดวิลโลว์สำหรับสานตะกร้า การทำสวนแอปเปิลครั้งหนึ่งเคยทำกันเป็นอุตสาหกรรมแต่ในปัจจุบันซัมเมอร์เซตก็ยังมีชื่อเสียงในการทำไซเดอร์ (cider) สถิติผู้ว่างงานโดยถัวเฉลี่ยน้อยกว่าระดับชาติ การรับจ้างที่สูงที่สุดอยู่ในการค้าขาย, การผลิต, การท่องเที่ยว, และการสุขภาพและการสังคมสงเคราะห์ การขยายตัวของจำนวนประชากรโดยถัวเฉลี่ยสูงกว่าระดับชาติ ซัมเมอร์เซตแบ่งการปกครองเป็นเจ็ดแขวง: เซาท์ซัมเมอร์เซต, ทอนทันดีน, เวสต์ซัมเมอร์เซต, เซจมัวร์, เม็นดิพ, บาธและนอร์ธอีสต์ซัมเมอร์เซต, นอร์ธซัมเมอร์เซต โดยมีทอนทันเป็นเมืองหลวงของมณฑล ซัมเมอร์เซตมีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 905,700 คน ในเนื้อที่ 4,171 ตารางกิโลเมตร.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และซัมเมอร์เซต

โลทาริงเกีย

ลทาริงเกีย (Lotharingia) เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปที่ประกอบด้วยกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ, ทางตะวันตกของไรน์แลนด์, ดินแดนที่ในปัจจุบันอยู่ระหว่างพรมแดนระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี, และดินแดนทางตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ โลทาริงเกียเกิดจากการแบ่งออกเป็นสามส่วนในปี ค.ศ.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และโลทาริงเกีย

โอแซร์

อแซร์ (Auxerre) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดอียอนในแคว้นบูร์กอญ ประเทศฝรั่งเศส เมืองโอแซร์ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของฝรั่งเศสระหว่างกรุงปารีสกับเมืองดีฌง โอแซร์เป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและอุตสาหกรรมที่รวมทั้งการผลิตอาหาร การทำงานไม้ และแบตเตอรี นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการผลิตเหล้าองุ่นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้งชาบลี สถานที่ที่น่าสนใจของโอแซร์ก็ได้แก่ตัวเมืองเก่าและมหาวิหารแซ็งเตเตียนแห่งโอแซร์ที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่มีหน้าต่างประดับกระจกสีที่มีชื่อเสียง.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และโอแซร์

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ดู พระเจ้าเอเธล์บาลด์แห่งเวสเซ็กซ์และเคนต์