โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา

ดัชนี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา หรือสะกดว่า บรรจบเบญจมา (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 — 13 กันยายน พ.ศ. 2435) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาแพ (สกุลเดิม: ธรรมสโรช) เหตุที่ได้พระนามว่า "บัญจบเบญจมา" นั้น เนื่องจากเจ้าจอมมารดาแพ พระมารดาได้ถึงอสัญกรรมหลังประสูติการพระองค์ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปัทมราช ความว่า "วันอังคารขึ้นสามค่ำเดือนสิบสองนางแพมารดายิ่งเยาวลักษณ์ แลภักตรพิมลพรรณ แลเกษมสันต์โสภาคย์ แลมนุษยนาคมานพนั้นคลอดบุตรเป็นหญิงออกแล้วครรภมล (รก) ไม่ออกตั้งแต่เวลาห้าทุ่ม หกบาทไป หมอแก้ไขหลายหมอก็ไม่ออก ครั้นเวลาเจ็ดทุ่มก็ตั้งหอบตาตั้ง ครั้นเวลาสามยามหมอบรัดเลอเมริกาเข้าชักครรภมลออกได้ แต่เมื่อนั้นอาการหนักชีพจรอ่อนเสียแล้วแก้ไม่ฟื้น ครั้นเวลาสามยามสี่บาทก็ขาดใจตาย ได้เอาศพไปฝังไว้วัดสมอราย แต่บุตรนั้นดีอยู่" ด้วยเหตุนี้พระราชบิดาจึงพระราชทานพระนามให้ว่า "บัญจบเบญจมา" ซึ่งแปลว่าสิ้นสุดพระองค์ที่ห้า และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดาทรงอภิบาลเป็นสิทธิ์ขาด ตั้งแต่วันประสูติ ณ พระตำหนักของท่าน เช่นเดียวกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเชษฐา ด้วยมารดาของทั้งสองเป็นญาติกับเจ้าจอมมารดาอึ่ง พระมารดาพระองค์เจ้าบุตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมา ทรงพระกรรษะตกพระโลหิต (ไอเป็นเลือด) เรื้อรังมานาน ไม่ทราบพระโรคแน่ชัด แพทย์แผนตะวันตกสันนิษฐานว่าประชวรพระโรคในปอด ส่วนแพทย์แผนไทยว่าเป็นโทษพระเสมหะและพระโลหิตอุลบทำพิษ บ้างก็ว่าเป็นวัณโรคภายในบ้าง หริศโรคบ้าง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 13 กันยายน..

14 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณราชวงศ์จักรีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารีสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา (17 มิถุนายน พ.ศ. 2371 — 1 ธันวาคม พ.ศ. 2450) พระราชธิดาลำดับสุดท้ายในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรี กรมหลวงวรเสรฐสุดา · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณ

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณ (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2408 - 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2446) ประสูติวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม..

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์".

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

มเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ได้รับมหาสมณุตตมาภิเษกเมื่อปี พ.ศ. 2453 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงพระอิสริยยศ 11 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. 2464 พระชันษา 61 ปี.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี

มเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี มีพระนามเดิมว่า สั้น หรือ มาก (ประสูติ: ราว พ.ศ. 2254 — สิ้นพระชนม์: พ.ศ. 2344) เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ถือเป็นพระสัสสุ (แม่ยาย) ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาร.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

มเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี (พระยศเดิม:สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าบุญรอด; พระราชสมภพ: 21 กันยายน พ.ศ. 2310 — สวรรคต: 18 ตุลาคม พ.ศ. 2379) หรือคนทั้งหลาย เรียกว่า สมเด็จพระพันวษา เป็นพระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พระเชษฐภคินีพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) กับเจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสวามี พระองค์เสด็จออกไปประทับ ณ พระราชวังเดิม พร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฑามณี พระราชโอรสพระองค์เล็ก พระองค์สวรรคตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระบรมอัฐิเป็น กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาต.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี

มเด็จพระอมรินทราบรมราชินี (9 มีนาคม พ.ศ. 2280 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2369) หรือ สมเด็จกรมพระอมรินทรามาตย์ พระนามเดิม นาค เป็นสมเด็จพระราชินีพระองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะเป็นสมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2280 ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ณ บ้านบางช้าง ตำบลอัมพวา อำเภอเมืองสมุทรสงคราม พระชนกชื่อ "ทอง" (พระชนกทอง ณ บางช้าง) พระชนนีชื่อ "สั้น" (สมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์มหานาคนารี) เป็นคหบดีเชื้อสายมอญ.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก

มเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระนามเดิม ทองดี เป็นสมเด็จพระบรมอรรคราชบรรพบุรุษแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เนื่องด้วยทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติที่บ้านสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ทรงเป็นบุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ปลัดทูลฉลองกรมมหาดไทย (บ้างก็ว่า กรมนา) ในรัชกาลสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เสนาบดีพระคลังในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นออกพระวิสุทธสุนทร และได้เดินทางไปถวายพระราชสาส์นของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยังราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2228 สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ทรงรับราชการในกรมมหาดไทย รับบรรดาศักดิ์เป็นที่ หลวงพินิจอักษร และ พระอักษรสุนทรศาสตร์ ในตำแหน่งเสมียนตรากรมมหาดไทย มีหน้าที่ร่างพระราชสาส์นโต้ตอบกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ และเก็บรักษาพระราชลัญจกร สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เสกสมรสกับสองพี่น้องบุตรีของคหบดีชาวจีน คนพี่ชื่อว่า ดาวเรือง (หรือ หยก) ส่วนคนน้อง ไม่ทราบนาม ตั้งบ้านเรือนอยู่ภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีน.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์

มเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ (พ.ศ. 2277 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2342) หรือพระนามเดิมว่า แก้ว พระธิดาลำดับที่สองในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก ประสูติจากพระอัครชายาหยก ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ เป็นพระพี่นางพระองค์รองในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ทรงสถาปนาท่านขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ มีพระโอรส-ธิดา กับ เจ้าขรัวเงิน แซ่ตัน คหบดีชาวจีนที่สืบเชื้อสายมาจากขุนนางจีนในกรุงปักกิ่ง 6 พระองค์ คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าแก้ว กรมพระศรีสุดารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี)

้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี) ต้นสกุลธรรมสโรช นามเดิมว่า ทองดี เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยชั้นเดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาพิพัฒโกษาและได้รับประราชทานโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาธรรมากร เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังคนที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ (ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวัง มีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกร ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นกระทรวงวังแล้ว เสนาบดีกระทรวงวัง จึงมีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิดี (หนังสือประวัติสำนักพระราชวัง พิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพระราชวัง กรกฎาคม ๒๕๔๓) ซึ่งปัจจุบันหลายคนสับสนเกี่ยวชื่อบรรศักดิ์นี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี ธรรมสโรช) ผู้นี้ปรากฏตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษสืบๆกันมาว่า เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา ที่เรียกกันว่า เจ้าคุณประตูจีน ครั้งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาอภัยราชาผู้นี้ตามความในราชพงศาวดาร เดิมเป็นเจ้าพระยาสุภาวดี บ้านอยู่ประตูจีน แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ตำแหน่งสมุห พระกลาโหม ในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที๓ พระเจ้าบรมโกฎฐ์ (จ.ศ.๑๑๑๗) พร้อมกันกับพระยาธรรมไตรโลก บ้านคลองแกลบ ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนาธิบดีศรีสมุห พระกลาโหม (เจ้าพระยากลาโหม คลองแกลบ) เจ้าพระยาอภัยราชา (เจ้าคุณประตูจีน) มีบุตรชายคนโตคือพระสำราญองค์(ต้นสกุลสโรบล) เป็นข้าราชการในสมัยรัชกาลที่๑ พระสำราญองค์มี่บุตรคือพระยาศรีสุริยะพาหะ(สระ) ข้าราชการในรัชกาลที่๒ พระยาศรีพาหะ มีบุตรคือพระยามณเฆียรบาล(บัว) เป็นพระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านผู้นี้เป็นคุณตาของคุณจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ผู้เป็นคุณจอมมารดาของพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส นามสกุล ธรรมสโรช นี้ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๖ พระราชทานแก่ นายพลตรีพระวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมโรช) แต่ครั้งยังเป็นนายพันตรี หลวงศักดาพลรักษ์ ผู้รั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลาง ว่า “ธรรมสโรช” (Dharmasaroja) ซึ่งท่านผู้นี้เป็นบุตรของหลวงเทวะวงศวโรปการ(เสน)อันเป็นบุตรของจมื่นสรสิทธิราช(จุ้ย)กับท่านไม้จีนบุตรของท่านคล้าย(ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒) ทางมารดาของพระยาวิบุลอายุรเวทคือท่านศิลาเป็นบุตรีของท่านทันและเป็นหลานตา ของพระยาอุทัยธรรม (นุด) ผู้เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมารหรือพระนเรนทรราชา(ต้นสกุลรุ่งไพโรจน์) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่๑๘ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเป็นพระราชโอรสองค์ที่๓ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม)ซึ่งเป็นพระราชธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๙ เป็นลำดับที่๑๔๙๗ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗) ในเวลาก่อนหน้าที่พระยาวิบุลอายุรเวทจะได้รับนามสกุลพระราชทานก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่๖ ว่าสกุล “รัตนทัศนีย” (Ratnadasniya) คือพระยามหิมานุภาพ (เป๋า รัตนทัศนีย์) กรมพระตำรวจในซ้าย บิดาคือพระยาณรงค์วิไชย (ทัศ) ผู้เป็นต้นสกุลรัตนทัศนีย ปู่คือพระยาเพชรพิไชย (เอี่ยม ธรรมสโรช) ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านคล้ายและพระยาราชงคราม (อินทร์)และท่านพลับ(หญิง) (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๑ เป็นลำดัที่๗๓๕ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๕๖) ในเวลาใกล้เคียงกันกับที่พระยาวิบุลอายุรเวทได้รับพระราชทานนามสกุล ก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่๖ ว่าสกุล “อินทรวิมล” (Indravimala) คือ นายร้อยโท นายศุขแพทย์ ผู้บังคับหมวดพยาบาล โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม บิดาชื่อนายเผื่อน ปู่คือพระยาราชสงคราม(อินทร์) ผู้เป็นต้นตระกูล อินทรวิมล ซึ่งแยกออกไปจากสกุลธรรมสโรช (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่๑๙ เป็นลำดัที่ ๑๕๓๘ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๕๗) มหาสาขาที่๒ พระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) ภรรยาคือท่านท้าวทรงกันดาลสี คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (ทองดี) · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4

้าจอมมารดาแพ ธรรมสโรช ธิดาพระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) และท้าวทรงกันดาร (สี) เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโอรสและพระราชธิดา รวมกัน 5 พระองค์คือ.

ใหม่!!: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัญจบเบญจมาและเจ้าจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »