โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระบรมสารีริกธาตุ

ดัชนี พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

32 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพุทธเจ้าพระมหาเถรศรีศรัทธาพระยาคำแหงพระรามพระโคตมพุทธเจ้าพระเขี้ยวแก้วพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้พุทธบริษัทพงศาวดารพ่อขุนผาเมืองกระดูกวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารวัดมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย)วันอัฏฐมีบูชาศาสนาพุทธสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1สมเด็จพระนเรศวรมหาราชสมเด็จพระเอกาทศรถสาละอยุธยาอาณาจักรสุโขทัยจารึกวัดศรีชุมธาตุทวีปเอเชียทะนานท้องสนามหลวงปรินิพพานนิวเดลีเจดีย์

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระมหาเถรศรีศรัทธา

มเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสวามีเป็นเจ้า เป็นเชื้อสายของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้สถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย สันนิษฐานว่าเป็นผู้สร้าง จารึกวัดศรีชุม หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เป็นสมเด็จพระสังฆราชในสมัยสุโขทัย พระมหาเถรศรีศรัทธาปรากฏนามตามจารึกวัดศรีชุมว่า สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีปมหาสามี ตามเรื่องเล่าในศิลาจารึก กล่าวว่า พระมหาเถรศรีศรัทธา อยู่ในเชื้อสายตระกูลของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม เกิดในเมืองสรลวงสองแคว (พิษณุโลก) เป็นบุตรของ พระยาคำแหงพระราม และ เป็นหลานของ พ่อขุนผาเมือง ในวัยหนุ่มเมื่ออายุ 17 ปีได้ช่วยบิดารบกับ ท้าวอีจาน จนชนะ ต่อมาเมื่ออายุได้ 26 ปีได้ช่วย พระยาเลอไทยในการสงคราม และทำการชนช้างชนะ ขุนจัง จนถูกยกย่องว่าเป็นนักรบที่เข้มแข็งมีฝีมือ เมื่ออายุ 31 ปี มีความจำเป็นทำให้ต้องสละทรัพย์สมบัติ ภรรยารวมทั้ง ธิดาอีกสองคน ออกบวชเดินทางจาริกแสวงบุญ ช่วยบูรณะศาสนสถานที่ต่าง ๆ จนถึงอินเดียและลังกา จนกระทั่งได้กลับมาสร้างจารึกเล่าเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของตระกูลไว้ในแคว้นสุโขทัยในสมัยการปกครองของพระยาลิไทย มีผู้สันนิษฐานว่าเนื่องจากกษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงได้ขยายอำนาจของสุโขทัยเข้ามายังลุ่มน้ำน่านซึ่งเป็นบริเวณที่ตระกูลนาวนำถุมมีอำนาจครอบครองอยู่ อาจเป็นสาเหตุที่กดดันให้พระมหาเถรศรีศรัทธา ต้องออกบวช จารึกวัดศรีชุม ที่พระมหาเถรศรีศรัทธาได้สร้างขึ้น นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่บอกเล่าถึงการสถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย ที่ไม่มีปรากฏในหลักฐานอื่น.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระมหาเถรศรีศรัทธา · ดูเพิ่มเติม »

พระยาคำแหงพระราม

ระยาคำแหงพระราม ทรงเป็นเจ้าเมืองสรลวงสองแคว ซึ่งในจารึกวัดศรีชุมยืนยันได้ว่า ทรงมีการสัมพันธ์ใกล้ชิดทางเครือญาติ และเป็นพระบิดาใน พระมหาเถรศรีศรัทธา พระองค์จะเป็นพระโอรสของพ่อขุนศรีนาวนำถุมหรือพ่อขุนผาเมือง ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระยาคำแหงพระราม · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเขี้ยวแก้ว

ระเขี้ยวแก้วจำลอง ในพิพิธภัณฑ์เมืองโคลอมโบ ศรีลังกา พระเขี้ยวแก้ว หรือ พระทาฐธาตุ คือพระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งตามลักขณสูตรในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ได้กล่าวถึงมหาปุริสลักขณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้เชื่อกันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 อง.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพระเขี้ยวแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

ทธชยันตี 2600 ปี หรือ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ (Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. 2555 การฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน) ในประเทศไทย มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า งานฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ระยะเวลาจัดงานตั้งแต่ เทศกาลวิสาขบูชา วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2555.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

พุทธบริษัท

ทธบริษัท คือหมู่ชนที่นับถือพระพุทธศาสนา มี 4 จำพวกคือ.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพุทธบริษัท · ดูเพิ่มเติม »

พงศาวดาร

งศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับเถื่อน ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพงศาวดาร · ดูเพิ่มเติม »

พ่อขุนผาเมือง

อขุนผาเมือง เป็นบุคคลที่มีความสำคัญที่สุดผู้หนึ่งในการก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นผู้นำอพยพไพร่พลจากบริเวณลุ่มน้ำคาย เมืองเชียงทอง หรือล้านช้าง หลวงพระบาง นำไพร่พลมาตั้งเมืองใหม่ริมลำน้ำพุง ตั้งแต่บ้านหนองขี้ควาย มาจนถึงบริเวณวัดกู่แก้ว สถาปนาอาณาจักรขึ้นให้เรียกว่าเมืองลุ่ม อาณาจักรแห่งนี้เดิมอยู่ในเขตอิทธิพลของขอม นอกจากนั้นยังปรากฏหลักฐานในนิทานโบราณคดีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงสันนิษฐานว่า เหตุจะเกิดเมืองหล่มเก่า เห็นจะเป็นด้วยพวกราษฎรที่หลบหนีภัยอันตรายในประเทศล้านช้าง มาตั้งซ่องมั่วสุมกันอยู่ก่อน แต่เป็นที่ดินดีมีน้ำบริบูรณ์เหมาะแก่การทำเรือกสวนไร่นาและเลี้ยงโคกระบือ จึงมีพวกตามมาอยู่มากขึ้นโดยลำดับจนเป็นเมือง แต่เป็นเมืองมาครั้งสุโขทัย มีปรากฏในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงว่า เมืองลุ่ม ต่อมาภายหลังมาเรียกว่าเมือง หลุ่ม และยังเป็นอีกท่านที่กอบกู้แผ่นดินเอาไว้.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและพ่อขุนผาเมือง · ดูเพิ่มเติม »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ องค์พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย องค์พระปฐมเจดีย์ปัจจุบันนี้ เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แบบสุโขทัย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสร้างครอบเจดีย์เดิมถึงสององค์ ได้แก่ เจดีย์ทรงสถูปสาญจีตามแบบอินเดียยุคพระเจ้าอโศกมหาราช และเจดีย์ทรงขอมโบราณ นอกจากองค์พระปฐมเจดีย์แล้ว ในลานชั้นลดด้านทิศใต้องค์พระปฐมเจดีย์และพระอุโบสถมีพระประธาน พระพุทธรูปศิลาขาว ซึ่งเป็นสองในสี่พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท ปางแสดงธรรม ที่สร้างขึ้นในยุคทราวดี.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย)

วัดมหาธาตุ เป็นวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตเมืองสุโขทัยมาตั้งแต่โบราณ และเป็นวัดประจำอาณาจักรสุโขทัย ปัจจุบันนี้วัดมหาธาตุตั้งอยู่ในเขตอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ได้ชื่อว่าเป็นวัดใหญ่ใจกลางเมืองสุโขทัย พื้นที่โดยรวมมีรั้วรอบขอบชิด หมวดหมู่:วัดในจังหวัดสุโขทัย.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและวัดมหาธาตุ (จังหวัดสุโขทัย) · ดูเพิ่มเติม »

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้ว.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและวันอัฏฐมีบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1

มเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือ ขุนหลวงพะงั่ว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกในราชวงศ์สุพรรณภูมิที่ได้ครองกรุงศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

มเด็จพระนเรศวรมหาราช มีพระนามเดิมว่าพระนเรศ หรือ "พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตรีย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและสมเด็จพระนเรศวรมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเอกาทศรถ

มเด็จพระเอกาทศรถ หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3 เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 19 แห่งอาณาจักรอยุธยาสมัยราชวงศ์สุโขทั.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและสมเด็จพระเอกาทศรถ · ดูเพิ่มเติม »

สาละ

ละ เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์แห่งอินทรา ในทางพุทธศาสนา ต้นสาละคือต้นที่พระพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งในขณะประสูติไม่ใช่ต้นสาละลังกา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง ใบอ่อนและตาดอกในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและสาละ · ดูเพิ่มเติม »

อยุธยา

อยุธยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและอาณาจักรสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จารึกวัดศรีชุม

ำเนาจารึกวัดศรีชุม วัดศรีชุม สุโขทัย จารึกวัดศรีชุม หรือ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ เป็นศิลาจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ที่เล่าเรื่องราวการสถาปนากรุงสุโขทัย และ วีรกรรมของกษัตริย์ราชวงศ์นำถุม โดยสันนิษฐานว่าผู้สร้างศิลาจารึกหลักนี้คือ พระมหาเถรศรีศรัทธา ผู้เป็นเชื้อสายของ พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้สถาปนาแคว้นสุโขทัย-ศรีสัชนาลั.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและจารึกวัดศรีชุม · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะนาน

ทะนานเป็นเครื่องมือสำหรับตวงของเหลวและของแห้ง ใช้ในไทยมาตลอดจนถึง..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและทะนาน · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและท้องสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

นิวเดลี

นิวเดลี (New Delhi; नई दिल्ली) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินเดี.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและนิวเดลี · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์

ระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เจดีย์ (ภาษาบาลี: เจติย, ภาษาสันสกฤต: ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี: ถูป, ภาษาสันสกฤต: สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้ว.

ใหม่!!: พระบรมสารีริกธาตุและเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Buddha relicsBuddha's relicsพระสารีริกธาตุพระอรหันตธาตุพระอัฐิธาตุพระอังคารธาตุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »