เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)

ดัชนี พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)

ระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร) อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนมหรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๒๒ หรือ ๒๔๒๓) ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ภาคอีสานของประเทศไทย เป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผู้ปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๘ เดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ท้าวอุปละ ผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระมหาธาตุพนม สืบเชื้อสายเจ้านายลาวจากราชวงศ์เวียงจันทน์และจำปาศักดิ์ ตั้งแต่สมัยก่อนสงครามกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ที่ พระพิทักษ์เจดีย์ เป็นท่านแรกของเมืองธาตุพนมจากทั้งหมด ๔ ท่าน ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้นคู่กันกับบรรดาศักดิ์พระพิทักษ์เจดีย์พระมหาธาตุเชิงชุมแห่งเมืองสกลนคร.

สารบัญ

  1. 7 ความสัมพันธ์: พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น รามางกูร)ศาสนาพุทธจังหวัดนครพนมท้าวอุปละ (มุง รามางกูร)เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)

พระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น รามางกูร)

ระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น รามางกูร) อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุพนมหรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๔๒๒-๒๔๒๗) ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ภาคอีสานของประเทศไทย เป็นเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์ผู้ปกครองธาตุพนมในลำดับที่ ๙ เดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นที่ ท้าวพระลคร หรือ ท้าวพลคร เจ้านายตระกูลนี้ปกครองธาตุพนมมาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ที่ พระพิทักษ์เจดีย์ เป็นท่านที่ ๒ ต่อจาก.

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และพระพิทักษ์เจดีย์ (แก่น รามางกูร)

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑.

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และศาสนาพุทธ

จังหวัดนครพนม

ังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนตั้งอยู่ในแอ่งสกลนคร นับเป็นเมืองชายแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ความสวยงามของทิวทัศน์ และมีความหลากหลายของวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ รวมทั้งประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมีพระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมือง พื้นที่ด้านเหนือและตะวันออกของจังหวัดติดกับแม่น้ำโขงโดยตลอ.

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และจังหวัดนครพนม

ท้าวอุปละ (มุง รามางกูร)

ท้าวอุปละ (มุง รามางกูร) อดีตนายกองข้าอุปัฏฐากผู้ควบคุมท้าวเพี้ยตัวเลกข้าพระมหาธาตุพนม หรือนายกองบ้านธาตุพนมลำดับที่ ๔ (ก่อน พ.ศ.

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และท้าวอุปละ (มุง รามางกูร)

เจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

ระอาชญาเจ้าขุนรามราชรามางกูร (ลาว: ພຣະອາດຊະຢາເຈົ້າຂຸນຣາມມະຣາຊຣາມາງກູຣ, ราว พ.ศ. ๒๓๐๐-๒๔๐๐) ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์แรกจากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม และทรงเป็นเจ้าขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้รักษากองข้าอุปัฏฐากพระบรมมหาธาตุเจ้าเจดีย์พระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์แรกแห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ระหว่างราวปี..

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และเจ้าพระรามราชรามางกูรขุนโอกาส (ราม รามางกูร)

เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)

้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท มีพระนามเต็มว่า พระอาชจญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณี ศรีมหาพุทธปริษัท ขัติยวรราชวงศา อุกาสะราชาพนม บ้างออกพระนามว่า อาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุณ หรือ แสนกางน้อยสีมุงคุร พระนามเดิมว่า ท้าวกลางน้อยหรือท้าวศรี บรรดาศักดิ์เดิมที่ ท้าวศรีวรมุงคุณ ทายาทบุตรหลานนิยมออกพระนามโดยยกย่องว่า เจ้าพ่อขุนโอกาส หรือ ญาปู่หลวงกาง หรือ เจ้าปู่หลวงกางน้อย ทรงเป็นเจ้าเมืองพนม (เมืองธาตุพนม) อันเป็นเมืองกัลปนาหรือเมืองพุทธศาสนานครพระองค์ที่ 2 จากราชวงศ์เวียงจันทน์ เมื่อครั้งธาตุพนมยังเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์ ก่อนตกเป็นประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม ทรงเป็นเจ้าโอกาส (ขุนโอกาส) ผู้ปกครองกองข้าอุปัฏฐากพระมหาธาตุเจ้าพระนม (พระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร) พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์เวียงจันทน์ ในตำนานบ้านดงนาคำกล่าวว่า ทรงเป็นผู้รักษาคัมภีร์อุรังคธาตุ (พื้นตำนานพระธาตุพนม) หรือตำนานธาตุหัวอกฉบับลานคำ (ลาวเรียกว่า บั้งจุ้ม) อีกทั้งเป็นผู้อพยพไพร่พลข้าโอกาส (ข้าอุปัฏฐาก) พระธาตุพนมไปก่อตั้งบ้านดงใน บ้านดงนอก และบ้านหมากนาว (บ้านมะนาว) ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ปัจจุบันคือบ้านหมากนาวในแขวงคำม่วน ประเทศลาว เจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร) เป็นพระปัยกาหรือทวดของ ดร.

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และเจ้าพระรามราชปราณีศรีมหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)

เจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)

้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร) หรือ ท้าวสุวรรณบุญมี อดีตคณะอาญาสี่เมืองธาตุพนม อดีตกรมการชั้นผู้ใหญ่เมืองธาตุพนม และอดีตกรมการชั้นผู้ใหญ่เมืองคำเกิด แขวงบอลิคำไซ ในประเทศลาว ทรงดำรงพระยศในคณะอาญาสี่ตำแหน่งที่ พระอัคร์บุตรเมืองธาตุพนม เป็นองค์แรกและองค์เดียวของเมืองธาตุพนม ทรงเป็นต้นตระกูล บุคคละ และ รามางกูร ณ โคตะปุระ แห่งอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในภาคอีสานของประเทศไทย อนึ่ง ใน..

ดู พระพิทักษ์เจดีย์ (ถง รามางกูร)และเจ้าพระอัคร์บุตร (บุญมี รามางกูร)