เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

พระธาตุไจทีโย

ดัชนี พระธาตุไจทีโย

ระธาตุไจทีโย หรือ พระธาตุอินทร์แขวน (ကျိုက်ထီးရိုးဘုရား,; ကျာ်သိယဵု) เป็นเจดีย์ที่จาริกแสวงบุญของพุทธศาสนิกชน ตั้งอยู่ในรัฐมอญ ประเทศพม่า เป็นพระเจดีย์ขนาดเล็ก สร้างขึ้นบนก้อนหินแกรนิตที่ปิดด้วยทองคำเปลวโดยผู้ที่นับถือศรัทธา เชื่อว่าพระธาตุไจทีโยเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาสูงชันบนยอดเขาไจทีโยอย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลกโดยไม่ตกลงมา ตามตำนานระบุว่าฤๅษีติสสะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าและนำมาไว้ในมวยผม ตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของฤๅษี ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์) จึงช่วยเสาะหาก้อนหินดังกล่าวจากใต้ท้องมหาสมุทรและนำมาวางไว้บนภูเขา พระธาตุไจทีโยนับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวพม่า ปัจจุบันผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปด้านในบริเวณพระธาตุ ซึ่งดูแลโดยพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งเฝ้าประตูรั้วรอบขอบชิด ผู้หญิงสามารถเข้าออกได้ที่ระเบียงด้านนอกและลานด้านล่างของก้อนหิน.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 19 ความสัมพันธ์: พญานาคพระพุทธรูปพระอินทร์พระโคตมพุทธเจ้าพุทธศาสนิกชนภาษาบาลีภาษามอญระบบภาพสามมิติรัฐมอญฤๅษีศาสนาพุทธสุวรรณภูมิจันทร์เพ็ญประเทศพม่านะ (วิญญาณ)เมาะลำเลิงเจดีย์เถรวาทเทือกเขาตะนาวศรี

  2. พระธาตุเจดีย์
  3. วัดในประเทศพม่า
  4. สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศพม่า
  5. สิ่งก่อสร้างในรัฐมอญ
  6. เจดีย์ในประเทศพม่า

พญานาค

ญานาค (नागराज นาคราช) หมายถึง นาคผู้เป็นใหญ่ นาคผู้เป็นหัวหน้า ตามความเชื่อในศาสนาแบบอินเดีย คล้ายกับพญามังกร (龍王 หลงหวัง) ตามคติศาสนาพื้นบ้านจีน.

ดู พระธาตุไจทีโยและพญานาค

พระพุทธรูป

ระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน.

ดู พระธาตุไจทีโยและพระพุทธรูป

พระอินทร์

http://www.school.net.th/library/create-web/10000/literature/10000-5627.html | สถานบำบวงหลัก.

ดู พระธาตุไจทีโยและพระอินทร์

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ดู พระธาตุไจทีโยและพระโคตมพุทธเจ้า

พุทธศาสนิกชน

ทธศาสนิกชน (Buddhist) แปลว่า คนที่นับถือศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมามกะ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ พุทธศาสนิกชน ที่พึงประสงค์คือผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาทมัวเมา ไม่หลงไปตามกระแสกิเล.

ดู พระธาตุไจทีโยและพุทธศาสนิกชน

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ดู พระธาตุไจทีโยและภาษาบาลี

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ.

ดู พระธาตุไจทีโยและภาษามอญ

ระบบภาพสามมิติ

แผ่นภาพ 2 มิติสองภาพวางเคียง ดูแบบไขว้ตา จึงจะเห็นเป็นภาพสามมิติ ''ภาพแมนฮัตตัน ประมาณ พ.ศ. 2452'' ระบบภาพสามมิติ หรือ สเตอริโอสโคปี หรือ สเตอริโอสโคปิก หรือ ระบบภาพทรีดี หรือ ระบบภาพสามดี (Stereoscopy หรือ stereoscopic imaging หรือ 3-D imaging) เป็นเทคนิคในการสร้างภาวะลวงตา (จากภาพถ่าย หรือ ภาพยนตร์ ที่อยู่บนระนาบสองมิติ แบนๆ) ให้ดูมีมิติความตื้นลึก (illusion of depth) หลักการเบื้องต้นคือ ส่งภาพสองมิติ 2 ภาพสำหรับตาแต่ละข้างโดยมีมุมมองต่างกันเล็กน้อย เสมือนกับที่สองตาของคนเห็นภาพตามธรรมชาติ การถ่ายภาพ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (photogrammetry) และเพื่อความบันเทิง โดยทำเป็นภาพสามมิติ (ภาพสเตอริโอแกรมส์, stereograms) ซึ่งดูด้วยกล้องดูภาพสามมิติ (สเตอริโอสโคป, stereoscope) การถ่ายภาพสามมิติมีประโยชน์ในการดูภาพเห็นมิติตื้นลึก ภาพถ่ายสามมิติในการอุตสาหกรรมสมัยใหม่อาจใช้เครื่องสแกนภาพ 3 มิติ (3D scanners) สำหรับสแกนและบันทึกข้อมูล 3 มิติ ข้อมูลความลึกสร้างจากภาพ 2 ภาพโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ด้วยการใส่จุดภาพสมนัยลงบนภาพซ้ายและภาพขว.

ดู พระธาตุไจทีโยและระบบภาพสามมิติ

รัฐมอญ

รัฐมอญ (မွန်ပြည်နယ်; တွဵုရးဍုၚ်မန်၊ ရးမညဒေသ) เป็นหนึ่งในรัฐที่ตั้งอยู่ทางใต้ของประเทศพม.

ดู พระธาตุไจทีโยและรัฐมอญ

ฤๅษี

วนฤๅษีผู้เลื่องชื่อในเทพปกรณัมฮินดู ฤๅษี หรือ ฤษี (สันสกฤต: ṛṣi; เทวนาครี: ऋषि) ภาษาสันสกฤตอ่านว่า ฤษิ หมายความว่า ผู้แต่งพระเวท หรือผู้เห็น ฤๅษีเป็นนักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ ตามสถานที่สงัดต่างๆ ในป่าเขาหรือถ้ำ และเดิมมักเป็นหญิง ซึ่งเรียก "ฤษิก" (rishika) ตามความในคัมภีร์สารวานุกรมนี (Sarvanukramani) ในบรรดาผู้แต่งฤคเวทนั้น เป็นฤษีหญิงถึงยี่สิบคน ฤษี อาจหมายถึงมุนี (muni) ฤษี อีกความหมายหนึ่งคือ ฤษีเพศชาย ส่วน "ฤษิณี" หมายถึง ฤษีเพศหญิง ฤษีที่มีชื่อเสียงชื่อ ฤษี วยาส ผู้สร้างโศลกเรื่องมหากาพย์ภารตะ ซึ่งเป็นมหากาพย์ที่มีจำนวนโศลกมากจำนวนประมาณถึง 1 แสนโศลก ตำนานเล่าว่า ฤๅษีเวทวฺยาส หรือ กฤษฺณ ไทฺวปายน เป็นปู่ของสองพี่น้องตระกูลเการพและปาณฑพ และเป็นเหลนใหญ่ของท้าวภรต คัมภีร์โบราณของฮินดูระบุไว้ว่า ท้าวภรต (ภะ-ระ-ตะ) ผู้นี้เป็นโอรสท้าวทุษยันต์ อันเกิดจากนางศกุนตล.

ดู พระธาตุไจทีโยและฤๅษี

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑.

ดู พระธาตุไจทีโยและศาสนาพุทธ

สุวรรณภูมิ

วรรณภูมิ อาจหมายถึง.

ดู พระธาตุไจทีโยและสุวรรณภูมิ

จันทร์เพ็ญ

นอวกาศกาลิเลโลถ่ายภาพดวงจันทร์หลายภาพแล้วนำมาประกอบเป็นภาพเดียว เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยเดินทางไปเพื่อสำรวจระบบดาวพฤหัส ระหว่าง พ.ศ.

ดู พระธาตุไจทีโยและจันทร์เพ็ญ

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ดู พระธาตุไจทีโยและประเทศพม่า

นะ (วิญญาณ)

ตะจาเมงหรือท้าวสักกะ (พระอินทร์) ประมุขแห่งนะทั้งปวง นะ (nat) ออกเสียง น่ะต์ (มาจากคำว่า นาถะ ในภาษาบาลี ที่แปลว่า "ที่พึ่ง") หมายถึงวิญญาณของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาในพม่า แบ่งเป็น 37 นะหลวง กับส่วนที่เหลือทั้งหมด (เช่น รุกขเทวดา เจ้าป่า เจ้าเขา ฯลฯ) นะหลวง 37 ตน เกือบทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นมนุษย์ที่มีการตายร้าย นะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ นะชั้นล่างหรือ อัคนะ (အောက်နတ်) คือวิญญาณคนทั่วไปไม่ว่าจะมีชื่อหรือไม่มีชื่อ ในขณะที่ อเทตนะ (အထက်နတ်) สูงกว่านะชั้นล่าง เป็นเทวดาอาศัยอยู่ในหกชั้นฟ้า นะมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของพม่า การบูชานะมีน้อยลงในเขตเมืองมากกว่าในชนบทและสังคมพม่าทั่วไป บุคคลที่จะได้รับการนับถือเป็นนะนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีคนยกย่องนับถือ มีเรื่องราวขณะยังมีชีวิตเป็นที่พูดถึงโดยทั่วไป และเป็นผู้ที่มีสาเหตุการตายที่ไม่ใช่การตายแบบธรรมดาด้วยโรคชรา เป็นที่สลดใจแก่ผู้ที่ได้ยินเรื่องราว เช่น ตายโหง (เสียชีวิตอย่างปัจจุบันทันด่วน) ตายด้วยโรคระบาดหรือถูกลอบสังหาร เพราะเชื่อว่ายังมีแรงจิตและฤทธานุภาพสูงกว่าผีทั่ว ๆ ไป.

ดู พระธาตุไจทีโยและนะ (วิญญาณ)

เมาะลำเลิง

มาะลำเลิง หรือ มะละแหม่ง (မော်လမြိုင်) ในเอกสารเก่าของไทยเรียก เมืองพัน เป็นเมืองหลวงของรัฐมอญและเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับที่สี่ของประเทศพม.

ดู พระธาตุไจทีโยและเมาะลำเลิง

เจดีย์

ระปฐมเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม เจดีย์ (ภาษาบาลี: เจติย, ภาษาสันสกฤต: ไจติยะ) หรือ สถูป (ภาษาบาลี: ถูป, ภาษาสันสกฤต: สฺตูป) เป็นสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนา พบได้ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชีย เจดีย์ หมายถึงสิ่งก่อสร้างหรือสิ่งของที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่เคารพบูชาระลึกถึง สถูป หมายถึงสิ่งก่อสร้างเหนือหลุมฝังศพ หรือสร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ลูกหลานและผู้เคารพนับถือได้สักการบูชา ถือกันว่ามีบุคคลที่ควรบรรจุอัฐิธาตุไว้ในสถูปเพื่อเป็นที่สักการะของมหาชนอยู่เพียง 4 พวก เรียกว่า ถูปารหบุคคล ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระเจ้าจักรพรรดิ์ สำหรับประเทศไทย คำว่า สถูป และ เจดีย์ เรามักรวมเรียกว่า “สถูปเจดีย์” หรือ “เจดีย์” มีความหมายเฉพาะ ถึงสิ่งก่อสร้างในพุทธศาสนาที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิ หรือเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป หรือเพื่อเป็นที่ระลึก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ในสมัยหลังลงมาคงมีการสร้างสถานที่เพื่อบรรจุอัฐิธาตุ และเพื่อเคารพบูชาระลึกถึงพร้อมกันไปด้ว.

ดู พระธาตุไจทีโยและเจดีย์

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ดู พระธาตุไจทีโยและเถรวาท

เทือกเขาตะนาวศรี

ทือกเขาตะนาวศรีในอำเภอกะปง จังหวัดพังงา เทือกเขาตะนาวศรี (တနင်္သာရီ တောင်တန်း; Tenasserim Hills, Range) เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขาซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศพม่ากับประเทศไทย และลากยาวผ่านคอคอดกระลงไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ยอดเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาตะนาวศรี ชาวพม่าเรียกว่า "บีล็อกตอง" (Bilauktaung).

ดู พระธาตุไจทีโยและเทือกเขาตะนาวศรี

ดูเพิ่มเติม

พระธาตุเจดีย์

วัดในประเทศพม่า

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศพม่า

สิ่งก่อสร้างในรัฐมอญ

เจดีย์ในประเทศพม่า

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Kyaiktiyo Pagodaพระธาตุอินทร์แขวนพระธาตุไจก์ถิโยพระธาตุเจดีย์ไจก์ถิโยพระธาตุเจดีย์ไจทีโย