โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กาตตวรายัน

ดัชนี กาตตวรายัน

กาตตวรายัน (lord kathavarayan) เป็นเทพเจ้าที่สำคัญองค์หนึ่งในอินเดีย เป็นเทพพื้นเมืองท้องถิ่นของชาวทมิฬที่เป็นที่รู้จักและนิยมในภาคใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดียโดยนับถือกันทั่วไปว่าเทพผู้คุ้มครองเทวสถานและหมู่บ้านของชาวทมิฬ เดิมเป็นเด็กที่พระอิศวรให้เฝ้าสวนของพระอุมา ต่อมาได้กลั่นแกล้งเทพธิดาทั้ง 7 องค์ เทพธิดาไปฟ้องพระอิศวร พระอิศวรจึงให้ไปเกิดเป็นจัณฑาล ให้ไปล่วงเกินหญิงตระกูลพราหมณ์และถูกประหารชีวิตด้วยการเสียบไม้ พระอุมาได้ขออภัยโทษให้เด็กเฝ้าสวน พระอิศวรไม่พอใจจึงให้พระอุมาไปเกิดในโลกด้วย เด็กเฝ้าสวนได้ไปเกิดเป็นบุตรของพระอุมาในโลกมนุษย์หลายชาติ ทุกชาติจะทำแต่ความชั่ว แม้ว่าแม่จะสั่งสอนให้ทำความดีก็ตาม จนชาติสุดท้ายเด็กเฝ้าสวนไปเกิดเป็นจัณฑาล ลักพานางพราหมณ์ที่เป็นธิดาบุญธรรมของกษัตริย์ไป จึงถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตด้วยการเสียบไม้ เด็กเฝ้าสวนได้แสดงอำนาจ สะกดทหารแล้วปีนขึ้นไปเสียบตัวเองอยู่บนไม้ ไม่ยอมลงมา สุดท้ายพระอิศวรต้องมาอ้อนวอน เด็กเฝ้าสวนจึงยอมลงมาและกลายเป็นเทวดารักษาบ้านเมืองในที่สุด ชาวอินเดียที่นับถือเทพองค์นี้จะจัดงานฉลองปีละครั้ง โดยจะเล่นดนตรีและแสดงละครเกี่ยวกับตำนานของเทพ คนทรงจะร่ายรำจนถึงเที่ยงคืนโดยมีทั้งเครื่องพันธนาการและพวงมาลัย ในปัจจุบันใช้เพียงพวงมาลัย คนทรงจะร่ายรำแล้วขึ้นไปนั่งบนไม้เสียบจนสว่างจึงลงมา ฉีกพวงมาลัยแจกชาวบ้านโดยถือว่าเป็นของศักดิ์สิท.

11 ความสัมพันธ์: พระศิวะพระปารวตีมทุไร วีรันม้ารัฐทมิฬนาฑูอรูวาลจัณฑาลดาบประเทศอินเดียเทพารักษ์เทวสถาน

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: กาตตวรายันและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระปารวตี

ปารวตี (पार्वती Pārvatī) หรือ อุมา (उमा Umā) เป็นเทวดาสตรีในศาสนาฮินดู เป็นเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ความรัก การอุทิศตน ตลอดจนพลังอำนาจศักดิ์สิทธิ์Suresh Chandra (1998), Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses,, pp 245-246 ถือกันว่า พระนางเป็นด้านอ่อนโยนและเอาใจใส่ของเทวีศักติ พระนางยังแสดงพระองค์เป็นหลายด้าน เรียกว่า "ปาง" แต่ละปางเป็นที่รู้จักด้วยหลายชื่อหลายเรื่องราวKeller and Ruether (2006), Encyclopedia of Women and Religion in North America, Indiana University Press,, pp 663 พระนาง พร้อมด้วยพระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่งรุ่งเรือง และพระสรัสวดี เทวีแห่งความรู้ ประกอบกันเป็นองค์สาม (trinity) ของเทวีฮินดู เรียกว่า ตรีเทวี พระนางเป็นพระชายาของพระศิวะ เทพเจ้าผู้ปกปักรักษาสรรพชีวิตและทำลายล้างความชั่วร้ายEdward Balfour,, The Encyclopaedia of India and of Eastern and Southern Asia, pp 153 พระนางเป็นพระธิดาของพระหิมวัต เทพแห่งภูเขา กับพระนางไมนาวติ ผู้เป็นพระชายาH.V. Dehejia, Parvati: Goddess of Love, Mapin,, pp 11 พระนางทรงให้กำเนิดพระคเณศกับพระขันทกุมาร คัมภีร์ปุราณะยังกล่าวว่า พระนางเป็นพระพี่นางหรือน้องนางของพระวิษณุ และของพระคงคาWilliam J. Wilkins,, Hindu Mythology - Vedic and Puranic, Thacker Spink London, pp 295 พระนางกับพระสวามีทรงเป็นเทพศูนย์กลางแห่งไศวนิกาย หรือลัทธิซึ่งถือพระศิวะเป็นใหญ่ ศาสนาฮินดูยังเชื่อว่า พระนางทรงเป็นพลังงานและอำนาจแห่งการสร้างสรรค์ใหม่ของพระสวามี เป็นรากเหง้าของพันธะที่รัดรึงสรรพสิ่งเข้าด้วยกัน และเป็นหนทางแห่งการปลดปล่อยทางจิตวิญญาณในเทวาลัยฮินดูที่สร้างถวายพระนางและพระสวามี มักใช้โยนี (อวัยวะเพศหญิง) เป็นสัญลักษณ์แทนพระนาง.

ใหม่!!: กาตตวรายันและพระปารวตี · ดูเพิ่มเติม »

มทุไร วีรัน

ระมทุไรวีรัน (மதுரை வீரன்; Madurai Veeran) เป็นเทพพื้นเมืองท้องถิ่นของชาวทมิฬที่เป็นที่รู้จักและนิยมในภาคใต้ของรัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย พระนามของเทวะองค์ได้มาเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ในฐานะเป็นผู้พิทักษ์แห่งเมืองมทุไร และยังเป็นที่เคารพบูชาโดยทั่วไปของชาวทมิฬ.

ใหม่!!: กาตตวรายันและมทุไร วีรัน · ดูเพิ่มเติม »

ม้า

ม้า เป็นชนิดย่อยหนึ่งในสองชนิดของ Equus ferus หรือม้าป่าที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกีบคี่ในวงศ์ Equidae ม้ามีวิวัฒนาการมากว่า 45 ถึง 55 ล้านปีจากสิ่งมีชีวิตหลายกีบเท้าขนาดเล็กสู่สัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน มนุษย์เริ่มนำม้ามาเลี้ยงเมื่อราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และเชื่อว่าการเลี้ยงแพร่หลายเมื่อ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ม้าชนิดย่อย caballus เป็นม้าบ้านแม้ว่าจะมีประชากรม้าบ้านบางส่วนจะอาศัยอยู่ในป่า เช่น ม้าเถื่อน (feral horses) ม้าเถื่อนไม่ใช่ม้าป่าที่แท้จริง ดังเช่นม้าป่ามองโกเลียซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาเป็นชนิดย่อยและเป็นชนิดเดียวที่เหลืออยู่ของม้าป่าที่แท้จริง คำว่าม้าเถื่อนใช้เพื่อแสดงว่าม้านี้ไม่ใช่ม้าบ้าน มีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่ใช้อธิบายแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับม้า ครอบคลุมจากกายวิภาคถึงช่วงชีวิต ขนาด สี สัญลักษณ์ การเพาะพันธุ์ การเคลื่อนไหว และพฤติกรรม กายวิภาคของม้าช่วยให้ม้าใช้ความเร็วในการหนีนักล่า และม้ายังพัฒนาความสมดุลได้อย่างยอดเยี่ยมและสัญชาตญาณสู้หรือถอยที่แข็งแกร่ง ม้ายังมีลักษณะพิเศษเพื่อใช้สำหรับหลบหลีกนักล่า คือ ม้าสามารถยืนหลับหรือล้มตัวลงนอนหลับก็ได้ ม้าตัวเมียจะอุ้มท้องประมาณ 11 เดือน ลูกม้าจะยืนและวิ่งได้ในเวลาไม่นานหลังกำเนิด ม้าบ้านจำนวนมากจะเริ่มฝึกภายใต้อานม้าหรือบังเหียนระหว่างอายุสองถึงสี่ปี ม้าจะโตเต็มที่เมื่ออายุห้าปี และมีช่วงอายุประมาณ 25 ถึง 30 ปี สายพันธุ์ม้าแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะนิสัย พวก "เลือดร้อน (hot blood) " ที่เร็ว ทนทาน "เลือดเย็น (cold blood) " เช่น ม้าแคระ และม้าพันธุ์เล็กบางพันธุ์ ที่ช้าแต่มั่นคง ทำงานหนัก และ "เลือดอุ่น (warmblood) " ที่พัฒนามาจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างเลือดร้อนและเลือดเย็น เป็นการเพาะพันธุ์เพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานพิเศษบางประการ โดยเฉพาะในยุโรป ม้าบ้านมีมากกว่า 300 พันธุ์ในปัจจุบัน เป็นการพัฒนาเพื่อการใช้งานที่ต่างกันไป ม้าและมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันอย่างหลากหลายทั้งในการแข่งขันกีฬาและงานที่ไม่ใช่กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานตำรวจ การเกษตร การบันเทิง และการบำบัดรักษา ในอดีต มีการนำม้ามาใช้งานในสงคราม ด้วยเหตุนี้จึงเกิดการพัฒนาเทคนิคการขับขี่ที่หลากหลาย โดยใช้ลักษณะที่แตกต่างของอุปกรณ์และวิธีการของการควบคุม มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างได้จากม้า ประกอบด้วย เนื้อ นม หนัง ขน กระดูก และยาที่สกัดมาจากน้ำปัสสาวะของม้าตัวเมียที่ตั้งครรภ์ เทพนิยายเกี่ยวกับม้า เพกาซัสเกิดมาจากนางกอร์กอน เมดูซ่า ถูกวีรบุรุษเพอร์ซีอุสฟันคอขาดตาย ในขณะที่นางสิ้นใจตายนั้น เพกาซัสก็กระโจนออกมาจากลำคอของนาง ไม่มีใครสามารถปราบเพกาซัสได้เลยซักคน ตอนที่มันเกิดมาใหม่ ๆ และออกวิ่งอย่างคึกคะนองนั้น น้ำที่กระเซ็นจากรอยเท้าที่มันวิ่งก่อให้เกิดน้ำพุสวยงาม คือน้ำพุพีเรเนียน (Pyrenean spring).

ใหม่!!: กาตตวรายันและม้า · ดูเพิ่มเติม »

รัฐทมิฬนาฑู

รัฐทมิฬนาฑู คือหนึ่งในรัฐของที่ตั้งอยู่ใต้สุดของประเทศอินเดีย มีเขตแดนทางทะเลติดต่อกับประเทศศรีลังกา และอ่าวเบงกอล เป็นดินแดนของชาวทมิฬ เป็นรัฐใหญ่อันอับ 11 ของประเทศ เมืองหลักคือเชนไนหรือมัทราส ตั้งขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 22 เป็นเมืองหลักและฐานทัพเรือของอังกฤษ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของอินเดีย และเป็นแหล่งผลิตภาพยนตร์ภาษาทมิฬ (Kollewood) ทม หมวดหมู่:รัฐทมิฬนาฑู หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2493.

ใหม่!!: กาตตวรายันและรัฐทมิฬนาฑู · ดูเพิ่มเติม »

อรูวาล

right อรูวาล(அருவாள்aruval)เป็นดาบชนิดหนึ่งของประเทศอินเดียนิยมใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พบในรัฐทางตอนใต้ของรัฐทมิฬนาดูและถูกใช้เป็นทั้งเครื่องมือในการชีวิตทั่วไปและอาวุธในยามคับขัน ชาวทมิฬนั้นถือว่าอาวุธนี้เป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าท้องถิ่นของอินเดียใต้ด้ว.

ใหม่!!: กาตตวรายันและอรูวาล · ดูเพิ่มเติม »

จัณฑาล

ัณฑาลในรัฐเกรละของอินเดีย พ.ศ. 2449 โรงเรียนของพวกจัณฑาลใกล้กับเมืองบังคาลอร์ ในระบบวรรณะของศาสนาฮินดู จัณฑาล เป็นชนชั้นทางสังคมชนชั้นหนึ่งซึ่งจัดว่าอยู่ในชนชั้นต่ำ หมายถึงคนที่มีบิดาและมารดาเป็นคนต่างวรรณะ จึงเกิดมาไร้วรรณะและมีสถานะทางสังคมต่ำยิ่งกว่าวรรณะศูทร จัณฑาลบางคนในอินเดียกำเนิดมาจากวรรณะระดับบน ก็อาจได้รับการยอมรับจากคนในสังคมมากกว่าจัณฑาลที่กำเนิดมาจากวรรณะระดับล่าง ในปัจจุบันมีจัณฑาลหลายคนที่กำเนิดมาจากวรรณะล่าง แต่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของอินเดียได้ ในบริบทสากล ผู้มิควรยุ่งเกี่ยว (untouchable) หมายถึงกลุ่มคนที่สังคมไม่ให้การยอมรับและไม่อยากไปคบค้าสมาคมด้วย อาทิ คนดำในรวันดาและแอฟริกาใต้, บุระกุมินในญี่ปุ่นยุคศักดินา ในปัจจุบันทั้งโลกมีผู้เว้นต้องอยู่ราว 160 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นจัณฑาลที่อาศัยอยู่ในอนุภูมิภาคอินเดี.

ใหม่!!: กาตตวรายันและจัณฑาล · ดูเพิ่มเติม »

ดาบ

ญี่ปุ่น หรือ คะตะนะ เป็นดาบที่มีคมด้านเดียว ดาบ เป็นชื่อเรียกของอาวุธที่มีขนาดยาวและมีคมที่ด้าน มีการใช้ทั่วโลกโดยมีชื่อเรียกและลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ส่วนประกอบหลักของดาบจะประกอบด้วยสามส่วนหลักคือ คมดาบ ไว้สำหรับฟันและตัด, ปลายดาบไว้สำหรับแทง, และ ด้ามดาบไว้สำหรับจับถือ.

ใหม่!!: กาตตวรายันและดาบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: กาตตวรายันและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

เทพารักษ์

ศาลพระภูมิ ซึ่งมนุษย์สร้างให้เป็นที่สถิตของเทพารักษ์ เทพารักษ์ หมายถึง เทวดาที่ดูแลรักษาที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตามศาสนาพุทธ ถือว่าเทพารักษ์เป็นเทพระดับหนึ่ง ในสวรรค์ชั้นกามาพจรภพ บางที่อาจเรียกว่าเป็นเทวดา บางที่อาจเรียกว่าผีเสฐียรโก.

ใหม่!!: กาตตวรายันและเทพารักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถาน

ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: กาตตวรายันและเทวสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระกัตตราวรายัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »